กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เห็ดหูหนูดำ (Jelly Ear Fungus)

แนะนำเมนูเพื่อสุขภาพจากเห็ดหูหนูดำ พร้อมประโยชน์ที่คุณคาดไม่ถึง
เผยแพร่ครั้งแรก 15 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เห็ดหูหนูดำ (Jelly Ear Fungus)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เห็ดหูหนูดำมีประโยชน์มากในด้านคุณค่าทางอาหารและสุขภาพ นิยมนำมาประกอบอาหาร
  • เห็ดหูหนูดำ มีกากใยอาหารสูง ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
  • ผู้สูงอายุที่รับประทานเห็ดหูหนูดำเป็นประจำ ช่วยลดโอกาสภาวะกระดูกพรุนได้ เพราะเห็ดชนิดนี้มีแคลเซียมสูง
  • เห็ดหูหนูดำมีฤทธิ์เย็น หากรับประทานมากเกินไป อาจจะมีน้ำมูกไหล หรือตัวเย็นกว่าปกติ
  • หลังรับประทานเห็ดหูหนูเข้าไปแล้วพบอาการผิดปกติ ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ที่นี่

เห็ดหูหนูดำ เป็นเห็ดที่มีรสชาติที่อร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย สามารถนำมาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย โดยเห็ดหูหนูดำสามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน ดังนี้

ทำความรู้จักเห็ดหูหนูดำ

เห็ดหูหนูมีด้วยกัน 2 ชนิด คือเห็ดหูหนูขาว และเห็ดหูหนูดำ เห็ดหูหนูดำ (Jelly Ear Fungus) เป็นเห็ดที่อยู่ในตระกูลเห็ด Fungi มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Auriculari spp. อยู่ในวงศ์ Auriculariaceae ซึ่งเห็ดตระกูลนี้มักจะชอบขึ้นตามต้นไม้ที่ตายแล้ว ลักษณะของเห็ดจะเป็นแผ่นนิ่มๆ ซ้อนทับกันคล้ายกับใบหูของหนู เนื้อเห็ดบาง ผิวด้านบนเรียบ มีขนเล็กๆ เป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านในสีเหมือนด้านนอก

คุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหูหนูดำ

เห็ดหูหนู 100 กรัม ให้พลังงาน 25 แคลอรี่ มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

สรรพคุณของเห็ดหูหนูดำ

สรรพคุณของเห็ดหูหนูดำที่น่าสนใจ มีดังต่อไปนี้

  1. กระตุ้นระบบขับถ่าย เห็ดหูหนูดำ เป็นเห็ดที่มีไฟเบอร์สูงมาก และยังมีน้ำยางธรรมชาติที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย จึงช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูก เป็นโรคริดสีดวง และยังดีต่อผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย

  2. ช่วยลดระดับไขมัน ในเห็ดหูหนูดำมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่าอะดีโนซีน มีหน้าที่ลดคอเรสเตอรอลที่อยู่ในเลือด นอกจากนี้ยังช่วยลดความเข้มของเลือด อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดเหนียวข้นจนจับตัวเป็นลิ่ม ซึ่งถ้าหากลิ่มเลือดนี้มีขนาดใหญ่และไปกีดขวางการสูบฉีดโลหิตไปยังหัวใจ ก็อาจทำให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

  3. มีแคลเซียมสูง เห็ดหูหนูดำ เป็นเห็ดที่มีแคลเซียมสูง และยังมีฟอสฟอรัสในปริมาณมาก การรับประทานเห็ดหูหนูดำบ่อยๆ จะช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ในวัยผู้สูงอายุ หากรับประทานเห็ดหูหนูดำเป็นประจำก็จะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้

  4. ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย เห็ดหูหนูดำมีคุณสมบัติที่ช่วยบำรุงปอด ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ด้วยฤทธิ์เย็นของเห็ดหูหนูดำ ยังช่วยให้ร่างกายมีความสดชื่น กระปรี้กระเปร่าอีกด้วย

เมนูสุขภาพที่ทำจากเห็ดหูหนูดำ

เห็ดหูหนูสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด เช่น

  1. ผัดกระเพราเห็ดหูหนูดำ นำพริกกับกระเทียมไปตำ ล้างเห็ดหูหนูดำให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำกระทะขึ้นตั้งไฟ ใส่กระเทียมกับพริกลงไปเจียวให้หอม ใส่หมูสับลงไปผัด ใส่ผงปรุงรส น้ำตาล ซอส ผัดให้แห้ง เติมน้ำลงไปเล็กน้อย ใส่ใบกระเพรากับเห็ดหูหนูดำลงไป ผัดต่อสักพัก ปิดไฟ ตักใส่จาน

  2. ไก่ผัดขิงเห็ดหูหนูดำ ล้างอกไก่ให้สะอาดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ซอยกระเทียมกับเห็ดหูหนูดำและขิงเตรียมไว้ นำกระทะขึ้นตั้งไฟใส่น้ำมันลงไป ใส่กระเทียมกับขิงลงไปผัดจนสุก ใส่เห็ดหูหนูดำลงไป เร่งไฟ ใส่ซอสปรุงรส น้ำตาล น้ำปลา ผงปรุงรส ผัดให้เข้ากัน ใส่เหล้าจีน พริกไทยป่นลงไป หอมหัวใหญ่ซอย พริกชี้ฟ้า ผัดจนทุกอย่างสุก ปิดไฟ ตักใส่จาน

  3. สปาเก็ตตี้ลาบเห็ดหูหนูดำ นำเห็ดหูหนูดำไปล้างน้ำแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หั่นไส้กรอก ผักชี หอมแดง นำน้ำใส่หม้อต้มจนเดือด ใส่น้ำมันพืชกับเกลือลงไป แล้วต้มเส้นสปาเก็ตตี้ประมาณ 8 นาที แล้วนำลงไปล้างในน้ำเย็น จากนั้นนำกระทะขึ้นตั้งไฟ ใส่น้ำมันไส้กรอกกับเห็ดหูหนูดำลงไปผัด ใส่ผักชี ข้าวคั่ว หอมแดง ใส่น้ำปลา น้ำตาล พริกป่น น้ำมะนาว ผัดส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ปิดไฟ นำเส้นสปาเก็ตตี้ลงไปผัดคลุกเคล้าในกระทะให้เข้ากัน ปรุงรสตามความชอบ

  4. ตุ๋นกระดูกหมูเห็ดหูหนู โขลกกระเทียม รากผักชี พริกไทยให้เข้ากัน หั่นเห็ดหูหนูดำเป็นชิ้นเล็กๆ นำกะหล่ำปลีมาผ่าเป็น 4 ส่วน นำน้ำใส่หม้อขึ้นตั้งไฟจนเดือด ใส่ซุปก้อน หอมหัวใหญ่ กระดูกหมู กะหล่ำปลี ใส่เห็ดหูหนูลงไป ปิดฝา ตุ๋นทิ้งไว้ด้วยไฟกลาง ตักฟองออก แต่งหน้าด้วยผักชี ตักใส่ชามยกขึ้นเสิร์ฟ

  5. ยำเห็ดหูหนูดำ นำเห็ดหูหนูไปล้างให้สะอาด ตัดโคนออก หั่นเป็นเส้นเล็กๆ แล้วนำไปลวกในน้ำเดือด ตักใส่ชามพักไว้ ลวกหมูสับให้สุก ตักใส่ชามที่มีเห็ด ผสมพริกสดตำ กระเทียม น้ำตาลปี๊ป น้ำปลา แล้วเอามาราดลงบนเห็ดหูหนูกับหมูสับ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จาน แต่งหน้าด้วยขึ้นฉ่าย

ข้อควรระวัง

  • สิ่งที่ต้องระวังตามตำราแพทย์จีนได้ระบุไว้ว่า ไม่ควรรับประทานเห็ดหูหนูดำในช่วงเวลากลางคืน เนื่องจากตอนกลางคืนนั้น ธาตุเย็นในร่างกายจะทำงานมากกว่าธาตุร้อน
  • เนื่องจากเห็ดหูหนูดำมีฤทธิ์เย็น ถ้าหากรับประทานมากเกินไป อาจจะพบอาหารตาแฉะ มีน้ำมูกไหล หรือตัวเย็นมากกว่าปกติ 

6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
United States Department of Agriculture Agricultural Research Service, Basic Report: 11228, Jew's ear, (pepeao), raw (https://ndb.nal.usda.gov/ndb/foods/show/11228?fgcd=&manu=&format=&count=&max=25&offset=&sort=default&order=asc&qlookup=Jew%27s+ear%2C+%28pepeao%29%2C+raw&ds=&qt=&qp=&qa=&qn=&q=&ing=)
Rachael Link, Wood Ear Mushroom Benefits the Heart, Immunity & More (https://draxe.com/nutrition/mushrooms/wood-ear-mushroom-benefits/)
Fukunaga AF, Hypotensive effects of adenosine and adenosine triphosphate compared with sodium nitroprusside. ( https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/7199840)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป