กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Lactose intolerance (ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ)

เผยแพร่ครั้งแรก 16 เม.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติเกิดจากร่างกายไม่สามารถย่อยแลคโตสได้สมบูรณ์ ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องเฟ้อ หรือท้องอืดตามมา
  • ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่คนส่วนมากหากรับประทานแลคโตสในปริมาณน้อยก็ไม่เกิดความผิดปกติใดๆ
  • หากมีอาการปวดท้องขึ้นมาหลังรับประทานแลคโตส แนะนำให้หลีกเลี่ยงการดื่มนมจากสัตว์ และหันไปดื่มนมจากธัญพืชแทน
  • หากคุณสงสัยว่า มีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ สามารถปรึกษาแพทย์โรคภูมิแพ้เพื่อเข้ารับการตรวจได้ (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหาร และภูมิแพ้อาหารแฝง ได้ที่นี่)

หลังจากดื่มนมวัว นมแพะ นมแกะ หรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของนม เช่น เค้ก ขนมปัง ไอศกรีม แล้วเกิดอาการท้องเสีย ท้องเฟ้อ หรือท้องอืด นั่นอาจเป็นสัญญาณของ ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ (Lactose intolerance) ก็ได้

รู้จักกับภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ

ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ หรือที่รู้จักกันในหลายๆ ชื่อ เช่น อาการแพ้แลคโตส แพ้น้ำตาลแลคโตส หรือภาวะไม่ทนน้ำตาลแลคโตส คือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้อย่างสมบูรณ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปกติแล้ว ร่างกายของเราจะผลิตน้ำย่อยที่ชื่อว่า “แลคเตส (Lactase)” ออกมาบริเวณลำไส้เล็กสำหรับย่อยแลคโตสออกเป็นน้ำตาลที่มีโมเลกุลเล็กกว่า 2 ชนิด คือ กลูโคส และกาแลคโตส ทำให้ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย

แต่ในผู้ที่มีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ ร่างกายจะผลิตแลคเตสได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้แลคโตสตกค้างไปยังลำไส้ใหญ่ที่เต็มไปด้วยแบคทีเรีย ส่งผลให้เกิดแก๊สต่างๆ ในร่างกายจนทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมานั่นเอง

อาการของภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ

น้ำตาลแลคโตสเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมวัว นมแพะ หรือนมแกะ หลังจากที่ผู้มีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติดื่มนมเหล่านี้เข้าไป หรือรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจานมเข้าไปภายใน 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง ก็จะทำให้เกิดอาการเหล่านี้ตามมา

  • ท้องร่วง
  • ท้องอืด
  • ปวดเกร็งที่ท้อง
  • ท้องเฟ้อจนต้องผายลมบ่อยๆ
  • รู้สึกไม่สบายตัว หรือมีอาการป่วย

ระดับความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยข้อมูลจากสถาบัน National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK) ได้ระบุว่า คนส่วนมากสามารถรับประทานน้ำตาลแลคโตสในปริมาณเล็กน้อยได้โดยไม่เกิดปัญหาใดๆ

อย่างไรก็ตามก็มีผู้ป่วยบางรายที่มีอาการของภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติรุนแรง ทำให้ไม่สามารถดื่มนมได้เลย แม้จะเป็นนมที่ผสมอยู่ในชา หรือกาแฟก็ตาม

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้เมื่อเป็นภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ

คนส่วนมากเมื่อมีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติมักหลีกเลี่ยงการดื่มนมไปเลย ซึ่งในนมนั้นอุดมไปด้วยวิตามิน แคลเซียม และเกลือแร่ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้อาจเกิดโรคขาดสารอาหารได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับกระดูก เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • โรคกระดูกบาง เป็นลักษณะของกระดูกที่มีความหนาแน่นของมวลแร่ธาตุในกระดูกต่ำ หากไม่รักษาสามารถพัฒนาไปเป็นโรคกระดูกพรุนได้
  • โรคกระดูกพรุน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกหักได้สูง
  • ภาวะทุพโภชนาการ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่ย่อยไปแล้วได้

สาเหตุของภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ

สาเหตุของภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ เกิดจากร่างกายไม่สามารถย่อยแลคโตสได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากร่างกายผลิตแลคเตสได้เพียงพอ โดยปัจจัยที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตแลคเตสได้เพียงพอมีดังนี้

  • ภาวะพร่องแลคเตส เป็นภาวะที่พบมากในเด็ก มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม และผู้สูงวัย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่ออายุเพิ่มขึ้นร่างกายจะผลิตแลคเตสได้น้อยลง
  • ภาวะขาดแลคเตสหลังเกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อของลำไส้ ทำให้ผลิตได้แลคเตสน้อย แต่เมื่อรักษาการอักเสบ อาการต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดีขึ้น และกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง
  • ภาวะขาดแลคเตสแต่กำเนิด เป็นภาวะที่พบได้น้อย เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
  • ภาวะขาดแลคเตสที่เกิดขึ้นในภายหลัง ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมักเกิดอาการแพ้แลคโตสชั่วคราว และมักจะมีอาการแพ้อีกครั้งเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ

เนื่องจากเป็นภาวะที่สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะจึงมักพบในคนที่มีชาติพันธุ์เดียวกัน เช่น

  • ชาวเอเชีย
  • ชาวพื้นเมืองอเมริกัน
  • ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา

โดยส่วนมากจะพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก เนื่องจากเมื่อโตขึ้นร่างกายจะผลิตแลคเตสได้น้อยลง

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

  • ต้องการยืนยันว่า มีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติหรือไม่ เพราะภาวะนี้มาอาการคล้ายกับอาการป่วยอื่นๆ อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้
  • ต้องการตรวจระดับความรุนแรงของภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ
  • มีอาการแพ้ระดับรุนแรง เช่น หลังจากดื่มนมแล้วเกิดอาการแพ้ทันที หรือไม่ภายในไม่กี่ชั่วโมง เช่น เกิดลมพิษ ปากบวม ร่วมกับอาการแพ้อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผื่นคัน หายใจมีเสียงวี๊ด หรือหมดสติ โดยให้ฉีดยาอีพิเนฟริน (Epinephrine) ทันที และส่งตัวผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล

หากไปพบแพทย์เพื่อตรวจยืนยันว่า มีภาวะย่ยอน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ ให้คุณจดบันทึกเกี่ยวกับอาหารที่รับประทาน เครื่องดื่ม และลักษณะอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารต่างๆ เพื่อที่จะได้บอกแพทย์ได้

วิธีการวินิจฉัยภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ

ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติคุณ เช่น เคยมีอาการแพ้หรือไม่ หรือมีญาติที่มีประวัติของภาวะนี้หรือไม่ หลังจากนั้นจะทดสอบอาการแพ้โดยการให้คุณงดรับประทานอาหารที่มีแลคโตสเป็นเวลา 2 สัปดาห์

หากอาการผิดปกติหายไปก็อาจแสดงได้ว่า คุณมีภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากการทดสอบดังกล่าวแล้ว ยังมีวิธีการทดสอบอื่นๆ ที่สามารถยืนยันผลของภาวะได้ เช่น ตรวจภูมิแพ้อาหาร ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง หรือตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ที่เข้ารับการตรวจ

การรักษาภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติให้หายขาด แต่แพทย์อาจให้คุณลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ลองใช้สารทดแทนแลคเตสเพื่อช่วยย่อยแลคโตส เช่น ดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของสารทดแทนแลคเตส
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานแลคโตส และหันไปดื่มนมอื่นๆ แทน เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ หรือนมรำข้าว
  • จำกัดปริมาณในการรับประทานแลคโตส เพื่อไม่ให้อาการแพ้กำเริบ

น้ำตาลแลคโตสสามารถพบได้ในนม และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมต่างๆ หากคุณมีอาการของภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติก็ควรศึกษาส่วนประกอบของอาหารที่กำลังรับประทาน และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของแลคโตสเพื่อป้องกันอาการแพ้กำเริบ

หากคุณกลัวว่า จะขาดสารอาหาร คุณสามารถปรึกษานักโภชนาการ หรือแพทย์ที่ตรวจภาวะแพ้ เพื่อปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหาร และภูมิแพ้อาหารแฝง เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lactose Intolerance: Symptoms, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/180120)
Lactose intolerance. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/lactose-intolerance/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นคนท้องผูกบ่อยมาก ผลไม้ก็กินเป็นประจำ มีวิธีใหนช่วยลดอาการท้องผูกถาวรได้บ้างคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดบิดท้องข้างซ้าย เวลาไม่ขับถ่าย เป็นอาการของโรคไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
มีอาการเจ็บท้องก่อนถ่ายบางครั้งปวดจนหน้ามืด ไม่รู้เป็นอะไรแต่ก็เป็นบ่อยเดือนนึงก็ครั้งสองครั้ง พยายามกินผักผลไม้ให้ถ่ายง่ายก็ยังถ่ายยากอยู่ไม่ทราบว่าเป็นอะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
คนเราจะเป็นมะเร็งได้ทุกช่วงของอายุไหม
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ท้องผูกบ่อยๆอาจเป็นโรคอะไรได้บ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ท้องผูกบ่อยๆจะเป็นอันตรายไม๊ค่ะ แล้วมีวิธีแก้ไขยังไงบ้างค่ะให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)