อาการแพ้แลคโตส หรือ “ภาวะย่อยน้ำตาลแลคโตสผิดปกติ (Lactose intolerance)” เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ แต่ก็พบในเด็กได้เช่นกัน สาเหตุหลักๆ เกิดจากระบบย่อยอาหารไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสได้
อาการแพ้แลคโตส
แลคโตส เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่พบมากในนม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม โดยอาการแพ้มักเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีแลคโตสเข้าไป
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการแพ้แลคโตสมีดังนี้
- ท้องเฟ้อจนต้องผายลมบ่อยๆ
- ท้องร่วง
- ท้องอืด
- ปวดเกร็งที่ท้อง
- มีอาการป่วย
ความรุนแรงของอาการ และระยะเวลาการปรากฏอาการ จะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลแลคโตสที่บริโภค
ผู้ที่มีอาการแพ้บางรายสามารถดื่มนมในปริมาณน้อยได้โดยไม่มีอาการแพ้ ในขณะที่บางรายไม่สามารถรับประทานนมได้เลยแม้จะเป็นการผสมในชา หรือกาแฟก็ตาม
สาเหตุของการเกิดอาการแพ้แลคโตส
กระบวนการย่อยแลคโตสจะเริ่มจากลำไส้เล็กผลิตน้ำย่อยที่ชื่อว่า “แลคเตส (Lactase)” เพื่อย่อยแลคโตสออกเป็นน้ำตาล 2 ชนิดคือ กลูโคส และกาแลคโตส ทำให้สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย
แต่ผู้ที่มีอาการแพ้แลคโตส ร่างกายจะไม่สามารถผลิตแลคเตสออกมาได้เพียงพอ ทำให้แลคโตสไม่สามารถย่อยได้หมด และตกค้างไปยังลำไส้ใหญ่ที่เต็มไปด้วยแบคทีเรีย ส่งผลให้เกิดแก๊สต่างๆ ตามมาจนทำให้เกิดอาการแพ้แลคโตสนั่นเอง
ประเภทของอาการแพ้แลคโตส
อาการแพ้น้ำตาลแลคโตสแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
1. ภาวะพร่องแลคเตส
- เป็นลักษณะของการแพ้น้ำตาลแลคโตสที่พบมากที่สุด
- มีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่สืบเชื้อสายมาจากคนในครอบครัว
- เกิดขึ้นเมื่อร่างกายผลิตแลคเตสได้น้อยลง อาจเกิดจากการลดปริมาณการดื่มนม หรืออาหารที่มีนมเป็นส่วนประกอบอย่างรวดเร็ว
- มักเกิดกับเด็กเล็กที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปที่ไม่ได้ดูดนมแม่ หรือนมขวดอีกต่อไป อาจไม่สามารถสังเกตเห็นอาการแพ้ได้จนกว่าจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
2. ภาวะขาดแลคเตสตามหลังการอักเสบติดเชื้อของลำไส้
มีสาเหตุมาจากลำไส้เล็กมีปัญหา ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย โดยอาจเกิดจากอาการป่วยอื่นๆ การผ่าตัดลำไส้เล็ก หรือการรับประทานยาบางชนิด
ตัวอย่างสาเหตุของภาวะขาดแลคเตสตามหลังการอักเสบติดเชื้อของลำไส้
- โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ
- โรคแพ้กลูเตน หรือการอักเสบที่ลำไส้เล็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยาต่อโปรตีนกลูเตน
- โรคโครห์น เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อในระบบย่อยอาหาร
- โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง
- การทำคีโม หรือการรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด ซึ่งเป็นการรักษามะเร็งด้วยยาปฏิชีวนะในระยะยาว
ปริมาณการลดลงของแลคเตสในลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อย่างไรก็ตามอาจเกิดขึ้นอย่างถาวรได้หากเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ
นอกจากนี้ ภาวะขาดแลคเตสลักษณะนี้ยังสามารถปรากฏอาการขึ้นภายหลังในวัยผู้ใหญ่ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีโรคใดๆ กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เพราะปกติแล้ว ร่างกายของคนเราจะผลิตแลคเตสได้น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น
3. ภาวะขาดแลคเตสตั้งแต่เกิด
- ภาวะขาดแลคเตสตั้งแต่เกิดพบได้ไม่บ่อยนัก ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่สืบเชื้อสายมาจากคนในครอบครัว และพบบ่อยในทารกแรกเกิด
- เป็นลักษณะของการส่งผ่านยีนส์ผิดปกติของพ่อและแม่มายังลูก
4. ภาวะขาดแลคเตสที่เกิดขึ้นในภายหลัง
- ทารกบางรายที่คลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์) มักเกิดอาการแพ้แลคโตสชั่วคราว
- สาเหตุเกิดจากลำไส้เล็กยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้ทารกมีอาการแพ้เมื่อโตขึ้น
การวินิจฉัยอาการแพ้แลคโตส
หากคุณสงสัยว่า ตัวเอง บุตรหลาน หรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการแพ้แลคโตสก็ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ เนื่องจากอาการแพ้แลคโตสคล้ายกับอาการป่วยอื่นๆ ทำให้อาจเกิดความเข้าใจผิดได้
ก่อนพบแพทย์ แนะนำให้คุณจดบันทึกเกี่ยวกับอาหารที่รับประทาน สิ่งที่ดื่ม และลักษณะอาการที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะบอกกับแพทย์ได้ว่า มีลักษณะอาการเช่นไร และร่างกายมีปฏิกิริยาต่ออาหารชนิดใดเป็นพิเศษหรือไม่
หลังจากที่แพทย์ซักประวัติคุณแล้วก็จะทดสอบอาการแพ้ โดยการให้งดรับประทานอาหาร และดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแลคโตสเป็นเวลา 2 สัปดาห์
ให้คุณสังเกตว่า ยังมีอาการแพ้หรือไม่ หากไม่มีอาการก็อาจแสดงได้ว่า คุณมีอาการแพ้แลคโตส
หลังจากนั้นแพทย์ก็อาจให้คุณทดสอบอาการแพ้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ตรวจภูมิแพ้อาหาร ตรวจน้ำตาลกลูโคสในเลือด หรือตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย และระดับความรุนแรงในการแพ้
วิธีการรักษาอาการแพ้แลคโตส
การรักษาอาการแพ้แลคโตสจะขึ้นอยู่กับประเภทของอาการแพ้ หากคุณแพ้แลคโตสจากความผิดปกติของลำไส้ การรักษาที่ต้นตอก็อาจทำให้อาการแพ้ดีขึ้นได้ ส่วนประเภทของอาการแพ้อื่นๆ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้
อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการแพ้สามารถควบคุมอาการได้ โดยการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารดังนี้
- หากคุณมีอาการแพ้เล็กน้อย สามารถดื่มนมได้ในปริมาณน้อยโดยไม่เกิดอาการแพ้
- หันไปดื่มนมถั่วเหลือง หรือน้ำนมรำข้าวแทน เพื่อป้องกันการขาดสารอาหารได้
- หากมีอาการแพ้แลคโตสมากให้หลีกเลี่ยงนมที่มีแลคโตส เช่น นมวัว นมแพะ หรือนมแกะ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม เช่น เนย ไอศกรีม หรือชีส
- ก่อนรับประทานอาหารให้ศึกษาส่วนประกอบของอาหารแต่ละชนิด เพราะอาจมีแลคโตสผสมอยู่ เช่น ครีมสลัด มายองเน็ส เวย์โปรตีน ช็อกโกแลต ขนมเค้ก เนื้อแปรรูปต่างๆ แพนเค้ก หรือธัญพืชอบกรอบ
- ยารักษาโรค หรือสมุนไพรต่างๆ อาจมีส่วนผสมของแลคโตส
- ลองดื่มนมวัวที่มีแลคเตสเสริม หรือนมปราศจากแลคโตสก็อาจทำให้อาการแพ้ดีขึ้นได้
- ปัจจุบันมีสารทดแทนแลคเตสซึ่งสามารถช่วยย่อยแลคโตสแทนได้ แต่ควรสอบถามเภสัชกรก่อนใช้งาน
แนะนำอาหารที่สามารถทนแทนการดื่มนมได้ เพื่อป้องกันการขาดแคลเซียม
ผู้ที่มีอาการแพ้แลคโตสหลายคนเลี่ยงที่จะดื่มนมเลย อาจทำให้เกิดอาการขาดแคลเซียม และขาดสารอาหารได้
อาหารต่อไปนี้เป็นแหล่งของแคลเซียมที่สามารถทดแทนการดื่มนม หรือรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมได้
- ผักใบเขียว เช่น คะน้า บร๊อคโคลี่ กะหล่ำปลี ผักโขม หรือกระเจี๊ยบ
- ถั่วเหลือง
- นมที่ทำจากข้าว ข้าวโอ๊ต ถั่วอัลมอนด์ ถั่วฮาเซลนัท มะพร้าว ข้าวคีนัว และมันฝรั่ง
- อาหารมังสวิรัต
- เต้าหู้
- ถั่วต่างๆ
- ปลาที่สามารถทานได้ทั้งก้าง เช่น ปลาซาร์ดีน แซลมอน ปลาพีลชาร์ด เป็นต้น
- โยเกิร์ต
ผลข้างเคียงจากการแพ้น้ำตาลแลคโตส
นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมต่างๆ นั้น มีความจำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากอาหารเหล่านี้เป็นแหล่งแคลเซียม โปรตีน และวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี12 และวิตามินดี
นอกจากนี้แลคโตสยังมีความสำคัญ เพราะสามารถช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ได้อย่างปกติ เช่น แม็กนีเซียม และธาตุเหล็ก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิตามิน หรือแร่ธาตุต่างก็มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
การแพ้แลคโตสจึงอาจทำให้เกิดการขาดสารอาหารได้ หากคุณรับประทานอาหารไม่หลากหลายพอ โดยอาจส่งผลให้น้ำหนักลด และเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น
- โรคกระดูกบาง เป็นลักษณะของกระดูกที่มีความหนาแน่นของมวลแร่ธาตุในกระดูกต่ำ หากไม่ได้รับการรักษา โรคกระดูกบางอาจพัฒนาไปเป็นโรคกระดูกพรุนได้
- โรคกระดูกพรุน เกิดขึ้นเมื่อกระดูกมีลักษณะบาง และอ่อนแอลง เมื่อเป็นโรคกระดูกพรุนจะทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกหักได้สูง
- ภาวะทุพโภชนาการ เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่ย่อยไปแล้วได้ หากคุณมีภาวะเช่นนี้ เมื่อเกิดแผลจะทำให้แผลหายช้ากว่าปกติ และอาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรง และมีภาวะซึมเศร้าได้
หากคุณกังวลว่า ข้อจำกัดในการบริโภคอาหารอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน แนะนำให้ขอคำปรึกษาจากแพทย์ หรือนักโภชนาการ
พวกเขาจะช่วยแนะนำวิธีการควบคุมอาหาร และการรับประทานอาหารต่างๆ เสริมในส่วนที่ขาดไปให้คุณได้
Q&A
1. อาการแพ้แลคโตสมีลักษณะเหมือนภูมิแพ้ทั่วไป หรือไม่
คำตอบ: อาการแพ้แลคโตสมีลักษณะที่แตกต่างไปจากการแพ้นม หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
อาการแพ้นมจะคล้ายกับอาการแพ้อาหารอื่นๆ คือ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยาไวต่ออาหาร ส่งผลให้เกิดผดผื่นคัน และบวมแดงบริเวณผิวหนัง หรือส่วนต่างๆ ของร่างกาย
เมื่อคุณแพ้อะไรสักอย่าง แม้จะเป็นเพียงอณูเล็กๆ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ต่อสิ่งนั้นได้
ในขณะที่ผู้มีอาการแพ้แลคโตสจะยังคงสามารรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มนั้นๆ ได้ในปริมาณเล็กน้อยโดยไม่เกิดอาการแพ้ใดๆ แต่ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนด้วย
ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหาร และภูมิแพ้อาหารแฝง เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
แพ้อาหารทะเลรักษาหายได้ไหมคะ