อ่านข้อมูลที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์เรื่องสารต้านการแข็งตัวของเลือดหรือละลายทรอมบินและไฟบริโนเจน (Anticoagulants, thrombolytic and fibrinolytic agents) ได้แก่ Abciximab, Aspirin, Cilostazol,
Clopidogrel และ Dipyridamol อ่านข้อมูลเกี่ยวกับชื่อสามัญ ชื่อการค้า ประเภท ข้อบ่งใช้ การออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง และการพยาบาล หากคุณสนใจ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
คําอธิบายอย่างกว้างๆ โดยย่อ
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นสารที่ป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น Aspirin, Dipyridamole และ Ticlopidine ยับยั้งการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด อาจใช้เพื่อป้องกันโรคต่างๆ เช่น Stroke, โรคหัวใจ (Heart attact) เป็นต้น ส่วน Heparin, Enoxaparin และ Antitrombin II จะยับยั้งการเปลี่ยนจาก Prothrombin เป็น Thrombin โดยตรง มักใช้กับผู้ป่วยหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการอุดตันของลิ่มเลือด Anisindione Dicumarol และ Warfarin เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน โดยปิดกั้นการสร้างวิตามิน เค และยับยั้งการสร้าง Factor ในการแข็งตัวของเลือด ได้แก่ Factor Il, VI, IX และ X ทําให้เลือดแข็งตัวช้า ใช้ป้องกัน Deep venous หรือ Pulmonary thrombi formation ในผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนเลือดไม่ดี
ยาละลายลิ่มเลือด จะละลาย Thrombi จึงมักให้ในผู้ป่วยภายหลังมี Heart attact เพื่อป้องกัน เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ และรักษาภาวะ Pulmonary embolism และ Deep vein thrombosis
Abciximab
ชื่อสามัญ Abciximab
ชื่อการค้า Clotinab, ReoPro
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ประเภท ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet)
ข้อบ่งใช้ สําหรับผู้ป่วยที่ทํา Percutaneous coronary intervention เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือใช้เป็นยาเสริมในผู้ป่วย Unstable angina ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน โดยให้ยานี้ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
การออกฤทธิ์ ออกฤทธิ์ที่ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด คือ ยับยั้งที่ Glycoprotein IIb/IIa receptor
ผลข้างเคียง อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ การมีเลือดออกผิดปกติ อาการที่พบบ่อย คือ ปวดหลัง ความดัน โลหิตต่ำ คลื่นไส้ เจ็บหน้าอก อาเจียน และปวดศีรษะ
การพยาบาล
- ติดตามอาการผู้ป่วยบ่อยๆ ว่ามีเลือดกําเดาออก มีเลือดออกบริเวณเหงือก ปัสสาวะมีเลือดปน อุจจาระเป็นเลือด หรือมีเลือดสดๆ ออกมาจากกระเพาะอาหารหรือบาด แผล มีรอยช้ำเป็นห้อเลือด ความดันโลหิตต่ำ หรือชีพจรเต้นเร็ว หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
- ติดตามอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน หายใจมีเสียงหวีด กลืนลําบากจากการบวมของ Larynxเป็นต้น หากพบรายงานแพทย์ทันที
- บันทึกสัญญาณชีพ และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะให้ยา
- ติดตามผล PT, Bleeding time, INR (International normalized ratio) PT ประมาณ20 วินาที INR = 1.5-2.5
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
Aspirin
ชื่อสามัญ Aspirin (Acetylsalicylic acid, ASA)
ชื่อการค้า *Aggrenox, Asatab 60, Aspent enteric coated, Aspent-M, Aspilets, Aspirin BD,
B-Aspirin 81, Caparin 100, Cardipen, Cardiprin 100, "CoPlavix, Entrarin,
Infarcard, Seferin-5/ Seferin-10
ประเภท ยาต้านการจับกลุ่มเกล็ดเลือด (Antiplatelet)
ข้อบ่งใช้ ใช้เป็นยาป้องกันการรวมตัวของเกล็ดเลือด ลดความเสี่ยงของ Recurrent transient is
chemic attacks หรือ CVA ในผู้ป่วยลดความรุนแรง หรือป้องกัน Acute Ml ลดความเสี่ยงของ MI ในผู้ป่วยที่มี Unstable angina
การออกฤทธิ์ ใช้ป้องกันการเกิดการแข็งตัวของเลือด (Clotting) โดยออกฤทธิ์ลดการจับกลุ่มของเกล็ด
เลือด (Platelet aggregation)
ผลข้างเคียง ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทําลายหน้าที่ของเกล็ดเลือด อาจมีเลือดกําเดาออก เลือดแข็ง
ตัวช้า หูอื้อ เวียนศีรษะ หากแพ้จะมีอาการบวม ผื่นคัน ผิวหนังลอก อาจเกิดอาการพิษ ตั้งแต่น้อยจนรุนแรง ได้แก่ หอบ มีเสียงในหู การได้ยินไม่ชัดเจน วิงเวียน สับสน ปวด ศีรษะ ซึม เหงื่อแตก กระหายน้ำ หายใจเร็ว คลื่นไส้อาเจียน มีความผิดปกติในสมอง มีความไม่สมดุลของกรด-ด่าง และหายใจเร็ว
การพยาบาล
- ให้รับประทานยาหลังอาหารทันที หรือดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อช่วยลดความเข้มข้นของกรดในยาให้เจือจางลง ป้องกันยาระคายเคืองกระเพาะอาหาร ห้ามรับประทานพร้อมนมหรือยาลดกรด ควรเว้น 2 ชั่วโมง
- ให้ดื่มน้ำ เครื่องดื่ม หรือรับประทานอาหารเหลวบ่อยๆ เพื่อช่วยลดความร้อน ไม่ควรดื่มน้ำผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์เป็นกรดหลังรับประทานยา
- แนะนําให้หยุดยาแอสไพรินในผู้ป่วยก่อนผ่าตัดประมาณ 1 สัปดาห์ หรือตามคําแนะนําของแพทย์
- แนะนําให้ผู้ป่วยไม่ซื้อยารับประทานเองและใช้ยาเป็นเวลานาน เพราะอาจรับประทานยาเกินขนาด เกิดพิษและอาการข้างเคียง
- สังเกตพิษและผลข้างเคียงของยา เช่น หูอื้อ เวียนศีรษะ จุดจําเลือด ผื่นคัน เป็นต้น
- หากผู้ป่วยรับประทานยาเกินขนาดให้การช่วยเหลือโดยหยุดใช้ยา เตรียมตรวจหาระดับ
Salicylate ในเลือด กระตุ้นให้อาเจียนหรือล้างท้อง และให้ยาแก้ฤทธิ์ยา เช่น Activated charcoal เป็นต้น เตรียมสารน้ําให้ทางหลอดเลือดดํา เพื่อให้ไตทํางานปกติ โดยใช้ 5% DW อาจให้โซเดียมไบคาร์บอเนตเพื่อเพิ่ม pH เร่งการขับถ่ายยา หากอาการ ไม่ดีขึ้นแพทย์อาจพิจารณาทํา dialysis ชนิดแลกเปลี่ยนพิษยาทางหน้าท้อง (Peritoneal dialysis) หรือทางเลือด (Hemodialysis)
Cilostazol
ชื่อสามัญ Cilostazol
ชื่อการค้า Cilostazol Cilosol, Citazol. Pletaal
ประเภท เป็นตัวยับยั้งฟอสโฟไดเอสเทอเรส 3 (Phosphodiesterase III inhibitor) และเป็นยาต้าน การจับกลุ่มของเกล็ดเลือด (Antipatelet agents หรือ Platelet aggregation inhibitors)
ข้อบ่งใช้ ลดอาการปวดขาเมื่อเดินไกลๆ
การออกฤทธิ์ ยับยั้งการจับกลุ่มของเกล็ดเลือด Avatiplatelet aggregation) และขยายหลอดเลือดที่ขาหนีบ
ผลข้างเคียง พบบ่อย ได้แก่ ปวดศีรษะ ท้องเสียใจสัน มีนงง คอหอยอักเสบ อาจเกิดอาการคลื่นไส้ น้ำมูกไหล ปวดหลัง ปลายมือปลายเท้าบวม อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง หัวใจเต้นเร็ว ได้ และท้องอืด พบน้อย ได้แก่ ชาเป็นตะคริว ผื่น และอาเจียน
การพยาบาล ประเมิน Platelet count, Hb, Hct ก่อนรักษา และระหว่างการรักษา ให้ยาขณะท้องว่างอย่างน้อย 30 นาทีก่อนอาหาร หรือ 2 ชั่วโมงหลังอาหาร อย่าดื่มพร้อมน้ำผลไม้
Clopidogrel
ชื่อสามัญ Clopidogrel bisulfate
ชื่อการค้า Aplets, Ceruvin, Clopidogrel Sandoz, *CoPlavix. Plavix
ประเภท ยาด้านเกล็ดเลือด (Antplatelet aggregation inhibitor)
ข้อบ่งใช้ ลดอุบัติการณ์ของการเกิดอาการอันเนื่องจากหลอดเลือดแข็ง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Stoke ผู้ที่เคยเกิดอาการอันเนื่องจากหลอดเลือดแข็ง เช่น Ischermic stroke, กล้ามเนื้อ หัวใจขาดเลือด หรือมีความผิดปกติของหลอดเลือดส่วนปลาย ให้ในระยะสั้นในการสอด ฝังขดลวดคํายันผนังหลอดเลือด (Stent implantation) ใช้กับผู้ป่วยที่ใช้ Aspirin ไม่ได้ผล หรือใช้ไม่ได้ เนื่องจากอาการข้างเคียงที่รุนแรงของ Aspirin
การออกฤทธิ์ ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด โดยยับยั้งการจับของ ADP บน Platelet receptor เป็น
ผลให้ ADP ไม่สามารถกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงที่ Glycoprotein llb/lla complex ซึ่งปกติเมื่อ จะเกิดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ADP หรือตัวเหนี่ยวนําอื่นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง Glycoprotein llb/lla ทําให้ Fibrinogen สามารถจับกับ Glycoprotein llb/lla ได้ง่าย จึง เกิดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดขึ้น โดยมี Forinoger เป็นตัวเชื่อม นั่นคือเมื่อ Clopidogrelไปห้ามการเปลี่ยนแปลงของ Glycoprotein llb/lla จึงมีผลยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
ผลข้างเคียง อาการที่อาจพบได้ คือ การมีเลือดออกในทางเดินอาหาร ในสมอง อาจเกิดเม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophil ต่ำมาก
การพยาบาล
- ติดตามอาการผู้ป่วยบ่อยๆ ว่ามีเลือดกําเดาออก มีเลือดออกบริเวณเหงือก ปัสสาวะมีเลือดปน อุจจาระเป็นเลือด หรือมีเลือดสดๆ ออกมาจากกระเพาะอาหารหรือบาดแผลมีรอยช้ำเป็นห้อเลือด ความดันโลหิตต่ำ หรือชีพจรเต้นเร็ว
- ติดตามผล PT. Bleeding time, INR (International normalized ratio) โดย PT ประมาณ20 วินาที และ INR = 1.5-2.5 และเก็บยาให้พ้นแสงโดยใส่ซองสีชา
- ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักใบเขียว ซึ่งมีวิตามินเคมาก ได้แก่ ผักกาดหอมกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักขม หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น เนื่องจากวิตามินเคสามารถ ต้านฤทธิ์ยาทําให้เกิดการแข็งตัวของลิ่มเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดอุดตันได้
Dipyridamole
ชื่อสามัญ Dipyridamol
ชื่อการค้า *Aggrenox, Agremol, Persantin
ประเภท ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet agents), ช่วยในการวินิจฉัย (Diagnotic agents) โดย ดูการขยายตัวของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ (Coronary vasodilators), Platelet adhesion inhibitors
ข้อบ่งใช้ ใช้เป็น Thromboermbolic complication ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด ใช้ยานี้เพื่อป้องกันหลอด
เลือดอุดตันในผู้ป่วยใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Prosthetic heart valves) ที่ให้ Warfarin ใช้ยานี้ ในผู้ป่วยที่ทํา Graft เช่น ทํา Coronary artery bypass graft ที่ให้ Aspirin นอกจากนี้ ยังใช้วินิจฉัย โดยใช้เป็นสารแทนของ Thalium ระหว่างการออกกําลังกาย ในการตรวจ Thallium imaging
การออกฤทธิ์ ยับยั้งการทํางานของ Adenosine deaminase และ Phosphodiesterase ซึ่งเป็นเอนไซม์
ที่สะสม Adenosine และ Cyclic AMP
ผลข้างเคียง รู้สึกไม่สบายในท้อง ท้องเสียเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ผืนขึ้น อาเจียน หน้าแดง มีอาการคัน การพยาบาล
- . ประเมินอาการเจ็บหน้าอก วัดความดันโลหิต จับชีพจร เมื่อใช้ยาต้านเกล็ดเลือดให้ตรวจสอบระดับ Hematologic
- ช่วยเหลือผู้ป่วยขณะลงจากเตียง หากผู้ป่วยมีอาการมึนงง
- ฟังเสียงหัวใจ ประเมินความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ประเมินผิวหนังว่ามีอาการหน้าแดง มีผื่น
- แนะนําให้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากคลื่นไส้ อาจดื่มโคล่า ขนมปังหรือขนมปังปิ้ง จะช่วยลดอาการคลื่นไส้
- ต้องใช้เวลารักษานาน 2-3 เดือนอย่างต่อเนื่อง
- ระวังการลุกขึ้นยืนทันทีจากท่านอน หรือท่านั่ง
หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุนผู้แต่ง รองศาสตราจารย์ปราณี ทู้ไพเราะ ได้โดยการซื้อหนังสือ “คู่มือยา (Handbook of Drugs)