ภาวะหลอดเลือดดำอุดตันเกิดจากลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดดำส่วนลึกที่พบมากในบริเวณขา ลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำนี้สามารถหลุดไปยังบริเวณปอด ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism) ซึ่งจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อาการของภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
อาการของโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอาจจะเริ่มจากไม่มีอาการอะไรเลย หรือมีอาการปวด หรือ บวมของขา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ถ้าคุณพบว่ามีอาการของลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ และสำคัญอย่างยิ่งคือให้พบแพทย์ทันทีถ้าคุณมีอาการของลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary embolism) คือ
- หายใจไม่สะดวกเฉียบพลัน หรือ ไม่ทราบสาเหตุ
- แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก โดยที่อาการแย่ขึ้นเมื่อหายใจลึก หรือ ไอ
- เวียนศรีษะ หน้ามืด
- ชีพจรเต้นเร็ว
- อาการไอเป็นเลือด
โดยประมาณ 25%ของโรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด พบการเสียชีวิตเฉียบพลันก่อนที่จะได้รับการวินิจฉัย
สาเหตุของภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
- ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดตั้งแต่กำเนิด
- การนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลนาน
- อัมพาต
- การบาดเจ็บของขาที่เกี่ยวเนื่องถึงเส้นเลือดดำ
- น้ำหนักตัวมาก หรือมีโรคอ้วน
- การใช้ยาคุมกำเนิด หรือ ฮอร์โมนทดแทน
- ตั้งครรภ์
- มะเร็ง
- ภาวะหัวใจล้มเหลว
- กลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร (Inflammatory bowel disease) ได้แก่ โรคโครห์น (Crohn's disease) และโรค ulcerative colitis
ในกลุ่มโรคมะเร็ง หรือ การรักษาโรคมะเร็งบางชนิด อาจจะมีการเพิ่มของสารบางอย่างทำให้เลือดเกิดการแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดได้ ถ้ามีภาวะหัวใจล้มเหลว จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ และลิ่มเลือดอุดตันในปอด เนื่องจากการทำงานของหัวใจ และปอดลดลง การมีภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมาก ทำให้ความดันของเส้นเลือดดำในขา และเชิงกรานมีมากขึ้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด
- การตั้งครรภ์เพิ่มความเสี่ยงของภาวะนี้ได้ และยังมีความเสี่ยงนานไปถึงหลังคลอด 6 สัปดาห์ (ผู้หญิงที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดแต่กำเนิดจะมีความเสี่ยงที่สูงขึ้น)
- การใช้ยาคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนทดแทน จะเพิ่มให้เลือดมีการแข็งตัวที่มากขึ้น
- การสูบบุหรี่เพิ่มให้เลือดแข็งตัวมากขึ้น นั่นหมายถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
- ประวัติในครอบครัว หรือ ประวัติการเกิดโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ หรือ ลิ่มเลือดในปอดในอดีต จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดซ้ำได้ในอนาคต
- อายุที่มากขึ้นเกิน 60 ปีขึ้นไป จะเพิ่มโอกาสการเกิดโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ แต่โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกอายุ
- สุดท้าย การนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ เช่นการเดินทางบนเครื่องบิน หรือบนรถ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำได้ ลิ่มเลือดจะเกิดขึ้นจากในบริเวณน่อง เมื่อกล้ามเนื้อไม่ได้ขยับติดต่อกันเป็นเวลานาน
การตรวจภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
- การตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือดดำเพื่อตรวจหาลิ่มเลือด
- เจาะเลือดเพื่อตรวจค่าดีไดเมอร์ (D-dimer) เป็นค่าบ่งบอกถึงการมีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
- การถ่ายภาพรังสีหลอดเลือดดำ (venography X-ray) เพื่อตรวจหาลิ่มเลือดที่ขาและเท้า
- ตรวจเอ๊กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือเครื่องตรวจวินิจฉัยโรคด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อตรวจดูเส้นเลือดดำส่วนลึก
การรักษาภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
- ยาลดการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants)
- ยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytics)
- ตะแกรงกรองลิ่มเลือด (filters)
- การผ่าตัดเพื่อเอาลิ่มเลือดออก
ยาลดการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) จะเป็นการรักษาอันดับแรกของโรคนี้ ถึงแม้ว่ายาไม่ได้ทำหน้าที่ในการสลายลิ่มเลือด แต่มันจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดใหม่ขึ้น แพทย์จะเริ่มฉีดยาลดการแข็งตัวของเลือดในระยะแรกให้ หลังจากนั้นอาจจะให้คุณฉีดยาเอง ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ได้แก
- Enoxaparin
- Dalteparin
- Fondaparinux
- Heparin
ยาลดการแข็งตัวของเลือดกลุ่มรับประทานได้แก่ warfarin, rivaroxaban, apixaban หรือ edoxaban ยากลุ่มนี้มักจะต้องรับประทานติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป แพทย์จะส่งตรวจเลือดเป็นประจำเพื่อวัดระดับค่าการแข็งตัวของเลือด ยาในกลุ่มนี้ทุกตัวควรต้องดูแลภายใต้การควบคุมของแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันอาการข้างเคียงอื่นๆ ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytics – tissue plasminogen activators) เป็นยาที่ให้ทางหลอดเลือดดำ หรือสายสวนทางหลอดเลือด เพื่อฉีดสลายลิ่มเลือดที่อุดตันอยู่ ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงที่อันตราย ซึ่งมักใช้ในภาวะฉุกเฉินที่ต้องจำเป็นในการใช้ยานี้โดยเฉพาะ ตะแกรงกรองลิ่มเลือด (filter) ถ้าคุณไม่สามารถใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือดได้ ทางเลือกของการผ่าตัดใส่ตะแกรงกรองลิ่มเลือดที่ใส่เข้าไปในเส้นเลือดดำใหญ่ (inferior vena cava) ตะแกรงกรองลิ่มเลือดเหล่านี้จะป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดหลุดเข้าไปในปอด ท้ายสุดการใส่ถุงน่องแบบรัดเพิ่มความดัน (compression stockings) ที่ขาจะช่วยลดการบวมของจากภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
ลิ่มเลือดอุดตันในปอดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ต้องระวังให้มากที่สุด เกิดจากลิ่มเลือดกระจายไปอุดตันที่เส้นเลือดในปอด ซึ่งส่วนมากมาจากเส้นเลือดดำที่ขา ภาวะนี้อันตรายถึงชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษา ภาวะอาการหลังเกิดเส้นเลือดอุดตัน (Post-thrombolic syndrome) เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบมากหลังเกิดภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน สาเหตุเกิดจากการอักเสบที่หลอดเลือดดำทำให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวลดลง โดยจะมีอาการ
- บวม หรือ ปวดขาทั้งสองข้าง
- สีผิวเปลี่ยนไป
- เจ็บที่ผิวหนัง
สุดท้ายภาวะความดันในปอดสูง (pulmonary hypertension) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบน้อยจากการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในปอด โดยจะเกิดเมื่อลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดแดงไม่สลายไปและยังอุดตันต่อเนื่อง
ยารักษาด้านลิ้นหัวใจรั่วต้องกินยาละลายลิ้มเลือดตลอดชีวิตหรือค่ะ