โกจิเบอร์รี่ (Goji berry)

โกจิเบอร์รี่ หรือ เก๋ากี้ มักนำมาประกอบอาหารประเภทตุ๋นยาจีน มีสรรพคุณหลากหลาย
เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โกจิเบอร์รี่ (Goji berry)

โกจิเบอร์รี่ หรือรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า เก๋ากี้ มักถูกนำมาประกอบอาหารประเภทตุ๋นยาจีน ในทวีปเอเชียเชื่อกันว่าโกจิเบอร์รี่ เป็นยาอายุวัฒนะอย่างหนึ่ง โดยในประเทศได้ใช้เก๋ากี้เป็นยามาแล้วมากกว่า 2,000 ปี เนื่องจากมีสรรพคุณทางยาที่หลากหลาย และสามารถนำมาใช้เพื่อสุขภาพและนำมารับประทาน ดังนี้

โกจิเบอร์รี่ (Goji berry) หรือ Wolfberry มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lycium barbarum วงศ์ Solanaceae เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดแถบทวีปเอเชีย ในประเทศที่อยู่ตามแนวเขาหิมาลัย เช่น ประเทศจีน มองโกเลีย และทิเบต ลักษณะของต้นจะเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-2 เมตร ผลโกจิเบอร์รี่จะมีสีแดงอมส้ม ขนาดเล็กประมาณเท่าลูกเกด รสชาติจะออกเปรี้ยวอมหวาน ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก มีสรรพคุณหลากหลาย ได้รับขนานนามว่าเป็น “ซูเปอร์ฟรุต (Super fruit)”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณค่าทางอาหารของโกจิเบอร์รี่

โกจิเบอร์รี่แห้ง 100 กรัม ให้พลังงาน 83 แคลอรี โดยที่ขึ้นกับ ความสด ชนิด และวิธีการปรุงเป็นอาหาร มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้ 

และยังมีสารสําคัญ จําพวกซีแซนทีน (Zeaxanthin) และลูทีน (Lutein) สูงมากกว่าผักและผลไม้ทั่วไป 

สรรพคุณของโกจิเบอร์รี่

โกจิเบอร์รี่มีประโยชน์ดังนี้

  1. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน จากงานวิจัยในปี ค.ศ. 2015 พบว่า โกจิเบอร์รี่ช่วยเพิ่มการตอบสนองของกลูโคสและมีผลต่อการลดน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอล HDL โดยศึกษาจากการวิจัยในสัตว์ทดลอง 
  2. ช่วยต้านมะเร็งและป้องกันการเกิดมะเร็ง มีการศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยโรคมะเร็งพบว่า ผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อการรักษาดีขึ้น เมื่อเสริมอาหารที่มีส่วนผสมของโกจิเบอร์รี่ เนื่องจากพืชชนิดนี้มีไฟซาลินที่สามารถฆ่าเซลล์มะเร็ง และยังมีโพลีแซคคาไรด์ที่ทำให้เซลล์มะเร็งถูกกำจัดออกไป
  3. ช่วยลดน้ำหนัก เพราะมีแคลอรีต่ำ มีไฟเบอร์สูงถึง 20% และมีน้ำตาลน้อย จึงเหมาะสำหรับการนำมารับประทานเป็นอาหารลดน้ำหนัก เพราะจะช่วยให้อิ่มนาน ไม่หิวบ่อยอย่างที่เคย
  4. ช่วยเพิ่มคุณภาพของการมองเห็น เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามินเอและสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ได้แก่ ซีแซนทิน และ ลูทีน ซึ่งเป็นชนิดที่พบที่จุดรับภาพของจอตา ซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างสองสารนี้เองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร จึงช่วยลดการเสื่อมสภาพดวงตาและปกป้องดวงตาจากรังสียูวี
  5. เพิ่มฮอร์โมนเพศชาย จากงานวิจัยพบว่าสามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ซึ่งจะช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ และทำให้อสุจิแข็งแรงขึ้น
  6. ช่วยป้องกันโรคซึมเศร้า จากการทดลองในหนูทดลอง พบว่า ช่วยลดอาการวิตกกังวล และอาการเครียดที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโดยให้ผู้ทดลองดื่มน้ำจากพืชชนิดนี้ต่อเนื่อง 14 วัน ผลที่ได้คือผู้ทดลองรู้สึกสบายใจขึ้น และมีสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น
  7. ต้านอาการอักเสบ เนื่องจากมีวิตามินซี วิตามิน A และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดต่างๆ เช่นอาการปวดข้อ หรืออาการปวดตามกระดูก นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานในร่างกายให้แข็งแรงขึ้นอีกด้วย
  8. ช่วยฟื้นฟูสภาพผิว วิตามินซีและเบต้าแคโรทีนในโกจิเบอร์รี่ จะช่วยฟื้นฟูสภาพผิวจากแดดและมลภาวะให้กลับมากระจ่างใส จากการทดลองในหนูทดลองพบว่า การดื่มน้ำโกจิเบอร์รี่เข้มข้น 5% ก็เพียงพอต่อการป้องกันรังสี UV แล้ว

เมนูสุขภาพจากโกจิเบอร์รี่

โกจิเบอร์รี่สามารถรับประทานสด แห้ง ผง หรือทำเป็นเครื่องดื่ม เช่น ชาหรือน้ำโกจิเบอร์รี่  แม้กระทั่งนำมาทำเป็นของทานเล่น เช่น

  1. โกจิเบอร์รี่ ซีเรียลบาร์ เปิดเตาอบที่ 325 องศา ผสมข้าวโอ๊ต อัลมอนด์ อบเชยและเกลือ ในชามขนาดกลาง จากนั้นนำกระทะขนาดเล็กเทน้ำมันเมล็ดองุ่น ใส่วานิลลาและน้ำตาลทรายแดงลงไป รอจนร้อนและเดือด เคี่ยวจนน้ำตาลละลายแล้วนำออกจากกะทะ เทน้ำเชื่อมผสมกับส่วนผสมของข้าวโอ๊ตและใส่ยีสต์ลงบนแผ่นกระทะนำเข้าอบประมาณ 20 นาทีหรือจนเป็นสีเหลืองทอง ปล่อยให้เย็นแล้วแบ่งเป็นชิ้น โรยผลโกจิเบอร์รีลงไป
  2. โกจิเบอร์รี่ผสมวอดก้า ผสมวอดก้าและโกจิเบอร์รี่ลงในขวดแก้วที่ปิดสนิทและเก็บในที่มืดและเย็นประมาณ 1-2 สัปดาห์

ข้อควรระวังและผลข้างเคียงของโกจิเบอร์รี่

  • การรับประทานในปริมาณมากและต่อเนื่องกันนานๆ อาจพบอาการคลื่นไส้ และอาเจียนได้เป็นบางครั้ง แต่ไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย หากพบอาการเหล่านี้ให้หยุดรับประทานสักระยะ
  • อาจช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานโกจิเบอร์รี่ เพราะอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำมากเกินได้
  • สตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานโกจิเบอร์รี่ เพราะมีสาร Betaine ที่อาจทำให้เกิดภาวะแท้งบุตรตามมาได้
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตต่ำควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน เนื่องจากอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำลงกว่าเดิม
  • ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น ยาวาร์ฟาริน (Warfarin) หรือผู้ที่ต้องได้รับการผ่าตัด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน เนื่องจากพบว่าโกจิเบอร์รี่ทำให้ประสิทธิภาพของยาเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดภาวะเลือดออกเพิ่มขึ้นได้
  • ผู้แพ้พืชตระกูล Solonaceae เช่น มันฝรั่ง มะเขือเทศ ควรหลีกเลี่ยงโกจิเบอร์รี่

6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โกจิเบอร์รี่ ผลไม้บำรุงสายตาและชะลอจอประสาทตาเสื่อม (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/324), 24 มิถุนายน 2559
WebMD, Goji Berries: Health Benefits and Side Effects (https://www.webmd.com/diet/goji-berries-health-benefits-and-side-effects), 24 October 2017
United States Department of Agriculture, Basic Report: 09110, Goji berries, dried (https://ndb.nal.usda.gov/ndb/foods/show/09110)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป