กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. ศักดิ์สิทธิ์ พรรัตนศรีกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. ศักดิ์สิทธิ์ พรรัตนศรีกุล

8 อาหารเสริมเพิ่มความแข็งแรงให้ฮอร์โมนเพศชาย

อาหารบำรุงฮอร์โมนเพศชาย เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและระดับฮอร์โมนที่คงที่
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 11 เม.ย. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ม.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
8 อาหารเสริมเพิ่มความแข็งแรงให้ฮอร์โมนเพศชาย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฮอร์โมนเพศชาย หรือ ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) มีผลต่อสุขภาพของกระดูกและกล้ามเนื้อ การสร้างอสุจิ และการเจริญของขน เส้นผม และความแข็งแรงของร่างกาย
  • ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ วินิจฉัยได้จากการตรวจขนาดหน้าอก ขนาดของอัณฑะ การกระจายของขนตามร่างกาย และอาจมีการตรวจเลือดด้วย
  • วิตามินดีและสังกะสี คือวิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญช่วยเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย
  • การทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี และสังกะสี อาจช่วยเรื่องการปรับระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนให้สูงขึ้นได้บ้าง แต่มักจะไม่สามารถรักษาภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำให้หายขาดได้
  • ดูแพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมนได้ที่นี่

รู้จักกับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน

ฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชายที่มีบทบาทมากกว่าเรื่องอารมณ์ทางเพศ แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพของกระดูกและกล้ามเนื้อ การสร้างอสุจิ และการเจริญของขน เส้นผม และความแข็งแรงของร่างกาย ฮอร์โมนชนิดนี้จะลดลงเมื่อร่างกายมีอายุมากขึ้น มีภาวะโรคเรื้อรัง หรือได้รับผลกระทบมาจากการรักษาโรคบางอย่าง เช่น การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด ทำหมัน โรคตับ โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง เป็นต้น

ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ

การมีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำ เรียกได้อีกชื่อว่า "ภาวะไฮโพโกนาดิซึม" (Hypogonadism) ซึ่งแปลได้ง่ายๆ ว่า "ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ" นั่นเอง โดยภาวะนี้จะต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพในระยะยาว โดยแพทย์จะวินิจฉัยจากการตรวจขนาดหน้าอก ขนาดของอัณฑะ การกระจายของขนตามร่างกาย และอาจมีการตรวจเลือดด้วย เพื่อดูว่าค่าฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนอยู่ในระดับปกติหรือไม่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณอาจปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่จะช่วยเพิ่มฮอร์โมนชนิดนี้ ซึ่งสารอาหารที่ควรมีในอาหารเหล่านั้นก็คือ วิตามินดีและสังกะสี (Zinc)

ปลาทูน่า

ปลาทูน่า (Tuna) อุดมไปด้วยวิตามินดี ซึ่งพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนด้วย นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมความแข็งแรงต่อสุขภาพหัวใจ และอุดมไปด้วยโปรตีนที่มีพลังงานต่ำ คุณสามารถเลือกรับประทานปลาทูน่าได้ทั้งแบบกระป๋อง หรือปลาทูน่าสด เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินดีในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน

หรือหากคุณไม่ชื่นชอบปลาทูน่า คุณอาจจะเลือกรับประทานปลาชนิดอื่นแทน เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน แต่ควรรับประทานในระดับปานกลาง ไม่ควรรับประทานเกิน 2-3 ครั้งต่อวันเพื่อลดการได้รับสารปรอทซึ่งพบในอาหารทะเล

นมไขมันต่ำ

นมไขมันต่ำ (Low fat milk) เป็นแหล่งของโปรตีนและแคลเซียมชั้นดี ทั้งยังมีปริมาณไขมันอิ่มตัวน้อย เหมาะสำหรับผู้ที่อยากควบคุมน้ำหนักด้วย การดื่มนมไม่ได้จำกัดแค่ในผู้ชายเท่านั้น แต่รวมไปถึงเด็กและผู้หญิงซึ่งควรดื่มนมเพื่อให้มีสุขภาพของกระดูกที่แข็งแรง ส่วนประโยชน์ของนมที่มีต่อฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนนั้น ปริมาณวิตามินดีที่พบในนมสามารถมีส่วนช่วยทำให้ระดับเทสโทสเทอโรนเป็นปกติได้

ไข่แดง

ไข่แดง (Egg yolk) นั้นเป็นอาหารอีกชนิดที่อุดมไปด้วยวิตามินดี และให้สารอาหารมากกว่าไข่ขาว ถึงแม้ว่าไข่แดงจะมีปริมาณคอเลสเตอรอล (cholesterol) ค่อนข้างสูงก็ตาม แต่คอเลสเตอรอลในไข่แดงนั้นสามารถรักษาผู้ป่วยที่มีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำได้ 

ซีเรียล

ซีเรียล (Cereal) นั้นไม่ได้เป็นแค่อาหารเช้ายอดนิยมเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่ต่ำอยู่สูงขึ้นจนอยู่ในระดับปกติได้ นอกจากนี้มีซีเรียลบางยี่ห้อยังมีการผสมกันของวิตามินดี และอุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หอยนางรม

ในหอยนางรมมีธาตุอาหารสังกะสีสูง ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นในช่วงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนในช่วงวัยผู้ใหญ่อยู่ในระดับที่เหมาะสมไปตลอดวัยด้วย ส่วนผู้ชายที่มีระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนต่ำ หากรับประทานหอยนางรมก็จะช่วยปรับระดับฮอร์โมนให้สูงขึ้นได้

สัตว์ทะเลมีเปลือก

การรับประทานปู หรือกุ้งล็อบสเตอร์ (Lobster) สามารถช่วยในการปรับระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนได้ เนื่องจากอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยธาตุอาหารสังกะสี หรือจะเป็นการรับประทานปูอลาสกา ก็สามารถช่วยเติมสังกะสีให้กับร่างกายได้ถึง 43% ของปริมาณที่ต้องการในแต่ละวัน

เนื้อวัว

เพราะเนื้อวัวบางส่วนนั้น มีสารอาหารที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนได้ ส่วนตับวัวก็เป็นแหล่งรวมของวิตามินดี ในขณะที่เนื้อส่วนสันคอ (Beef chuck) กับเนื้อบด (Ground beef) นั้นก็มีธาตุอาหารสังกะสีประกอบอยู่ แต่ควรเลือกรับประทานเฉพาะเนื้อส่วนที่ไม่ติดมันและหลีกเลี่ยงการรับประทานทุกวัน เพราะถึงแม้ว่าการรับประทานเนื้อแดงและเนื้อติดไขมันนั้นอาจจะส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่หากรับประทานมากเกินไป ก็อาจนำพาไปสู่การเกิดโรคมะเร็งได้ โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

ถั่ว

ถั่วขาว (White kidneys bean) และถั่วดำ (Vigna mungo) นั้นเป็นแหล่งของวิตามินดีและสังกะสี นอกจากนี้ อาหารประเภทถั่วยังอุดมไปด้วยโปรตีนจากพืช ที่จะช่วยบำรุงสุขภาพของหัวใจให้แข็งแรงขึ้น

อาหารที่กล่าวมาข้างต้นอาจช่วยเรื่องการปรับระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนที่ต่ำอยู่ให้สูงขึ้นได้บ้าง แต่มักจะไม่สามารถรักษาภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำให้หายขาดได้ หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะนี้ คุณอาจต้องได้รับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนเสริมจากแพทย์ ซึ่งอยู่ในรูปแบบดังต่อไปนี้

  • ในรูปแบบเม็ด
  • แบบแผ่นแปะ
  • แบบเจลทาผิว
  • แบบยาฉีด

อย่างไรก็ตาม ฮอร์โมนเสริมเหล่านี้อาจมาพร้อมกับความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยา และควรปรับอาหารที่รับประทาน เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพโดยรวมที่แข็งแรงขึ้น ไม่เพียงแต่เพื่อรักษาระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนเท่านั้น

นอกจากอาหารดังกล่าวแล้ว ยังต้องพักผ่อนให้เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ บริหารอารมณ์ให้ดี และหลีกเลี่ยงสารเคมีที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rudy Mawer, MSc, CISSN, testosterone-boosting-foods (https://www.healthline.com/nutrition/8-ways-to-boost-testosterone), May 20, 2016
Jayne Leonard, testosterone-boosting-foods (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323759.php), November 21, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป