การขาดวิตามินดีสัมพันธ์กับหอบหืดและภูมิแพ้หรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การขาดวิตามินดีสัมพันธ์กับหอบหืดและภูมิแพ้หรือไม่?

วิตามินดี (Vitamin D) เป็นสารอาหารและฮอร์โมนสำคัญที่พบได้ตามธรรมชาติในอาหารเพียงบางชนิด (ปลาที่มีมันมาก น้ำมันตับปลา ไข่แดง) แต่ก็สามารถสร้างได้เองในผิวหนังเมื่อถูกแสงแดด อาหารหลายชนิดถูกเสริมวิตามินดี รวมถึงซีเรียลอาหารเช้า นม และผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ

ความสำคัญของวิตามินดี

วิตามินดีมีหน้าที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกระดูก (ป้องกันเรื่องกระดูกบาง (osteomalacia) หรือกระดูกอ่อน (rickets) วิตามินดียังมีหน้าที่สำคัญอีกหลายอย่างต่อระบบภูมิคุ้มกัน โดยทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อหลายชนิด ได้แก่ วัณโรค (tuberculosis) และยังช่วยป้องกันโรค เช่น มะเร็ง ลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเต้านม เช่นเดียวกันกับโรคแพ้ภูมิ ต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง (autoimmune disease) เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ (multiple sclerosis) และเบาหวานประเภทที่ 1

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจแร่ธาตุวิตามินวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 68%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เมื่อเร็วๆ นี้ยังมีการศึกษาที่บ่งชี้ว่าวิตามินดีมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคภูมิแพ้หลายชนิด โดยการกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ป้องกันการหลั่งสารเคมีที่ทำให้เกิดอาการภูมิแพ้และทำให้อาการแย่ลง โรคภูมิแพ้เกือบทุกชนิด รวมถึงโรคหอบหืด โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) โรคแพ้อาหาร (food allergies)โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (eczema) และแม้แต่ภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลัน (Anaphylaxis) กลายเป็นสิ่งที่รู้จักคุ้นเคยกันมากขึ้นในช่วงเวลาไม่กี่สิบปีมานี้ ซึ่งอาจอธิบายได้จากสมมติฐาน

ความสัมพันธ์ของวิตามินดีและระบบภูมิคุ้มกัน

hygiene hypothesis* (หมายเหตุจากผู้แปลคือสมมติฐานว่าประชากรที่มีการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิลดลง เช่น ประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้ที่มากขึ้น) แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเห็นว่าสิ่งนี้อาจสัมพันธ์กับการขาดวิตามินดีเช่นกัน การศึกษามากมายบ่งชี้ว่าการขาดวิตามินดีนั้นพบได้ทั่วไป โดยไม่ถึงระดับที่ส่งผลต่อกระดูก แต่มีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน เหตุผลของการขาดวิตามินดีอย่างแพร่หลายในประชากรนั้นยังไม่เป็นที่เข้าในแน่ชัด แต่ผู้ศึกษาวิจัยหลายคนคิดว่านี่อาจเป็นผลมาจากวิถีชีวิตในปัจจุบันที่ใช้เวลาอยู่ในร่มกันมากขึ้นและถูกแสงแดดน้อยลง เช่นเดียวกับการใช้ครีมกันแดดกันอย่างแพร่หลาย กิจวัตรดังกล่าว รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับรังสีอุลตราไวโอเล็ตจากแสงแดด (ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง) ทำให้การสร้างวิตามินดีในชั้นผิวหนังลดลง ดูเหมือนว่าจะมีความสัมพันธ์ระหว่างระดับวิตามินดีที่ต่ำและอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้

ภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างเฉียบพลันจากสิ่งกระตุ้นหลายชนิด (เช่น อาหาร ยา และแมลงต่อย) มีอัตราการเกิดขึ้นที่มากกว่าในบริเวณที่ถูกแสงแดดน้อยกว่า (ทางซีกโลกเหนือ) โรคหอบหืดและโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังยังสัมพันธ์กับระดับวิตามินดีที่ต่ำ โดยเฉพาะคนที่มีการกลายพันธุ์ของยีนที่เกี่ยวข้องกับตัวรับวิตามินดี (vitamin D receptor) วิตามินดีที่ให้เสริมแก่คนท้องยังช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้ต่างๆ ในเด็กเล็กอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย ยังไม่เป็นที่แน่ชัดถึงปริมาณวิตามินดีที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่งานได้ดี แต่คนส่วนใหญ่ในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ได้รับวิตามินดีเพียงพอต่อกระดูก การได้รับวิตามินดีมากเกินไปมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงสำคัญคือการเกิดนิ่วในไตได้ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะรับประทานอาหารเสริมวิตามินดี

ทั้งนี้ในความเห็นของผู้เชี่ยวชาญบางคน การได้รับวิตามินดีที่ดีที่สุดคือการได้รับปริมาณแสงแดดที่เหมาะสม เช่น สิบห้านาทีต่อวัน เป็นเวลาสองสามวันต่อสัปดาห์ สิ่งหนึ่งที่แน่ชัด คือมนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาให้ใช้ชีวิตอยู่ในร่มตลอดเวลา ออกไปใช้ชีวิตกลางแจ้ง ถูกแสงแดดบ้าง แต่ก็เช่นเดียวกันกับเรื่องอื่นๆ คือควรเดินทางสายกลางไม่สุดโต่งจนเกินไป


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Daniel More, Is Vitamin D Deficiency Linked to Allergies? (https://www.verywellhealth.com/vitamin-d-deficiency-causes-asthma-and-allergies-83031)
nhs.uk, Vitamin D 'protects against severe asthma attacks' (https://www.nhs.uk/news/heart-and-lungs/vitamin-d-protects-against-severe-asthma-attacks/)
Honor Whiteman, Vitamin D supplements may reduce asthma severity (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319617.php#1) 4 October 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)