นพ. ปัญญาวุฒิ ลิ้มสุขวัฒน์ แพทย์เฉพาะทางด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
เขียนโดย
นพ. ปัญญาวุฒิ ลิ้มสุขวัฒน์ แพทย์เฉพาะทางด้านสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

แท้ง (Abortion)

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะแท้ง คือ ภาวะที่ตัวอ่อนในครรภ์มารดาไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อได้ โดยในประเทศไทย หญิงตั้งครรภ์ที่แท้งมักจะตั้งครรภ์อยู่ที่ไตรมาสที่หนึ่ง และสอง
  • ปัจจัยทำให้เกิดภาวะแท้งมีหลายอย่าง ทั้งจากตัวทารกที่อาจมีโครโมโซมผิดปกติ มารดาเกิดการติดเชื้อ มีโรคประจำตัว หรือโครโมโซมจากฝ่ายพ่อผิดปกติ
  • อาการแท้งแบ่งได้ตามระยะของการแท้ง เช่น หากมีอาการเลือดออกในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ จะเรียกว่า “การแท้งคุกคาม” หากพบว่าถุงการตั้งครรภ์กำลังจะหลุด เรียกว่า “การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้” หากทารกในครรภ์เสียชีวิตแล้ว แต่ปากมดลูกยังปิดเรียกว่า “การแท้งค้าง”
  • การรักษาภาวะแท้งขึ้นอยู่กับชนิดของการแท้ง โดยมีทั้งรักษาแบบสังเกตการณ์ หรือการรักษาโดยใช้ยา
  • คุณสามารถป้องกันภาวะแท้งได้โดยวางแผนการตั้งครรภ์ให้ดี หากมีโรคประจำตัวระหว่างตั้งครรภ์ให้แจ้งแพทย์เมื่อไปฝากครรภ์ รวมถึงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นตรวจสุขภาพ ออกกำลังกาย รับประทานยาบำรุงครรภ์ตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร

ภาวะแท้ง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยครั้งในสตรีตั้งครรภ์ช่วงแรก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก มีทั้งที่พบและไม่พบสาเหตุ

แต่ในปัจจุบัน ด้วยความรู้สมัยใหม่ และเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในบางสาเหตุของการแท้งก็สามารถตรวจพบได้แล้ว รวมถึงสามารถให้การป้องกันรักษาในกลุ่มเสี่ยงได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะมีอาการผิดปกติด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นสตรีที่ตั้งครรภ์แล้ว หรือที่กำลังพยายามมีลูก จึงควรมีความรู้เกี่ยวกับอาการแท้งในเบื้องต้น เพื่อจะได้รับการตรวจรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างทันท่วงที

ความหมายของภาวะแท้

ภาวะแท้ง ทางการแพทย์ให้คำจำกัดความไว้ว่า "การที่มีการยุติการตั้งครรภ์" ทั้งโดยเจตนาหรือโดยธรรมชาติ โดยตัวอ่อนที่ออกมาไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้

คำจัดความนี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ และกฎหมายของแต่ละประเทศ เช่น องค์การอนามัยโรค และประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ว่า อายุครรภ์ของตัวอ่อนที่แท้งออกมาต้องน้อยกว่า 20 สัปดาห์ หรือน้ำหนักตัวน้อยกว่า 500 กรัม

ในขณะที่ระบบสาธารณสุขไทยกำหนดไว้ว่า อายุครรภ์จะต้องน้อยกว่า 28 สัปดาห์ จึงถือเป็นการแท้ง

สืบเนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างมาก ทำให้การตรวจเจาะค่าระดับฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ (hCG) และการตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดนั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมในเกือบทุกสถานพยาบาล

แพทย์จึงวินิจฉัยภาวะแท้งในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมได้มากขึ้น เช่น ครรภ์ไข่ลม คือการที่มีการตั้งครรภ์ มีถุงการตั้งครรภ์ชัดเจน แต่ภายในถุงนั้นไม่มีตัวอ่อนของเด็ก หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในการตั้งครรภ์ โดยปกติจะแบ่งเป็นสามไตรมาสหลักๆ อันประกอบไปด้วย

  • ไตรมาสที่หนึ่ง คือ ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์-13 สัปดาห์
  • ไตรมาสที่สอง คือ ตั้งแต่ 13สัปดาห์-28 สัปดาห์
  • ไตรมาสที่สาม คือ ตั้งแต่ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป

เนื่องจากภาวะแท้งนั้น ในประเทศไทยจะครอบคลุมทั้งในไตรมาสที่หนึ่ง และสอง แต่มากกว่า 80% จะพบมากในช่วงไตรมาสที่หนึ่ง ดังนั้นในที่นี้จะขอกล่าวถึงแต่การแท้งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นหลัก

อุบัติการณ์การแท้งในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์

ในการศึกษาสตรีที่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 5-20 สัปดาห์นั้น พบว่ามีอุบัติการณ์ของการเกิดการแท้งอยู่ที่ 11-22% และอุบัติการณ์การแท้งนี้จะมากขึ้นในอายุครรภ์ที่น้อยลง

ในบางการศึกษา พบถึง 33% ที่เป็นการแท้งในอายุครรภ์น้อยกว่า 5 สัปดาห์โดยไม่มีอาการผิดปกติ หรือในผู้ป่วยบางรายก็เข้าใจว่าเป็นเลือดประจำเดือนที่มาผิดปกติเล็กน้อยเท่านั้น

สาเหตุของการแท้ง

ปัจจัยที่อาจมีผลทำให้เกิดการแท้งนั้นแบ่งได้เป็น 3 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่

1. ปัจจัยจากตัวทารก

มีการศึกษาพบว่า สาเหตุของการแท้งทั่วโลกเกินกว่าครึ่งหนึ่งเกิดจากความผิดปกติทางโครโมโซมของตัวทารกเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยการแท้งที่อายุครรภ์น้อยๆ มักเกิดจากสาเหตุความผิดปกติของโครโมโซมนี้ มากกว่าการแท้งในอายุครรภ์มากๆ มากว่า 75% จะแท้งก่อนอายุครรภ์ครบ 8 สัปดาห์ และรูปแบบของโครโมโซมที่ผิดปกติมาที่สุดคือ คู่โครโมโซมเกินมามากผิดปกติ (Trisomy) 

โดยหนึ่งในโรคที่คู่โครโมโซมเกินมากผิดปกตินั้นที่มักรู้จักกันดี คือ โรคดาวน์ซินโดรม โรคดังกล่าวนี้จะสัมพันธ์กับอายุของมารดาที่สูงขึ้นด้วย

2. ปัจจัยจากมารดา

ในการแท้งที่ตรวจพบว่าไม่มีความผิดปกติทางด้านโครโมโซมของทารกนั้น ในปัจจุบันการศึกษาก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่พบว่าโรคผิดปกติ หรือโรคประจำตัวต่างๆ ของมารดา รวมทั้งปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อาจจะส่งผลทำให้เกิดการแท้งได้

อุบัติการณ์ของภาวะแท้งดังกล่าวมักเกิดในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป

ปัจจัยจากมารดาที่ทำให้แท้ง ได้แก่

  1. การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือโปรโตซัว ทั้งจากการติดเชื้อทางกระแสเลือด หรือการลุกลามของเชื้อจากทางช่องคลอดเข้าไปในโพรงมดลูกที่มีการฝังตัวของตัวอ่อนอยู่ ก็อาจจะมีผลกระทบต่อตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์ และนำมาซึ่งการแท้งได้
    แม้ว่าการติดเชื้อที่นำมาซึ่งการแท้งนั้นจะพบได้น้อย และยากมาก ผู้ป่วยก็ควรเฝ้าระวัง และดูการให้แน่ชัด และรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถ้ามีอาการสงสัย
  2. โรคประจำตัวของมารดา เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ทั้งที่เป็นก่อนตั้งครรภ์ หรือเริ่มเป็นตอนตั้งครรภ์ โรคอ้วน โรคแพ้ภูมิตนเอง หรือโรคประจำตัวอื่นๆ
    เมื่อทราบว่า มีการตั้งครรภ์หรือระหว่างที่พยายามตั้งครรภ์ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อพิจารณาว่าจะมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หรือไม่
    ทั้งนี้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว และรับประทานยาเป็นประจำก็ควรนำยา และประวัติการรักษาทั้งหมดมาให้แพทย์ที่จะฝากครรภ์ด้วย เพื่อเตรียมความพร้อมหากเกิดภาวะที่ผิดปกติ หรือผลข้างเคียงของการตั้งครรภ์ได้อย่างทันท่วงที
  3. มะเร็งในสตรี ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งและทราบว่ามีการตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านมะเร็งและการฝากครรภ์ เพราะการรักษามะเร็งในหลายๆ วิธีอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ และนำมาซึ่งการแท้งได้ เช่น การฉายแสง การได้รับเคมีบำบัด
  4. อุบัติเหตุต่างๆ พบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแท้งในไตรมาสแรกน้อยมาก แต่ทั้งนี้ หากประสบอุบัติเหตุขณะตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อยืนยันว่าไม่มีผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์
  5. ความอ้วน จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากหรือมีภาวะโรคอ้วนจะพบโอกาสเสี่ยงที่จะแท้งได้มากกว่าคนทั่วไป
  6. การใช้สารเสพติด ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ในปริมาณมาก เพิ่มโอกาสเสี่ยงการแท้งได้
  7. การดื่มกาแฟ ในบางการศึกษาพบว่า ถ้าร่างกายได้รับคาเฟอีนปริมาณมาก ก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงแท้งได้
  8. การสัมผัสสารพิษ หรือสารรังสีต่างๆ ก็อาจส่งผลทำให้เกิดการแท้งได้

3. ปัจจัยจากบิดา

อายุที่เพิ่มขึ้นของฝ่ายชาย ทำให้พบโอกาสเสี่ยงของการแท้งมากขึ้น โดยเชื่อว่า น่าจะมาจากโครโมโซมของสเปิร์มจากฝ่ายชายที่ผิดปกติ 

จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 25 ปี โอกาสเสี่ยงแท้งของภรรยาจะต่ำ และโอกาสเสี่ยงดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ปี

อาการที่บ่งบอกว่าอาจมีภาวะแท้ง

โดยปกติ การแท้งจะแบ่งเป็นชนิด ตามระยะของการแท้ง ดังนี้

1. การแท้งคุกคาม

มีอาการเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยหลังจากการที่ตรวจภายในแล้ว ปากมดลูกยังปิดอยู่ และต้องแยกจากภาวะเลือดออกผิดปกติอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในสตรีตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก

เช่น เลือดที่ออกจากการฝังตัวของตัวอ่อน หรือการติดเชื้ออื่นๆ ในช่องคลอด เป็นต้น

ลักษณะเลือดที่ออกเมื่อแท้งคุกคามมักเป็นสีแดง อาจออกอยู่เป็นหลักวันจนถึงสัปดาห์ หรืออาจจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น รู้สึกไม่สบายเชิงกรานด้านล่าง เกร็ง ปวดหลัง

ภาวะแท้งคุกคามนี้ มีเกินครึ่งที่สามารถตั้งครรภ์คลอดต่อเนื่องจนทารกคลอดออกมาปกติ และบางส่วนที่อาการเลือดออกปวดท้องมากขึ้นจนกลายเป็นการแท้งจริงๆ ได้

อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ไม่เกิดการแท้งจริงๆ ตามมา ภาวะแท้งคุกคามดังกล่าวก็จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงภาวะผิดปกติอื่นๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ได้ เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด เพิ่มโอกาสการต้องผ่าตัดคลอด มีภาวะตกเลือด หรือต้องล้วงรกออกหลังคลอด ไปจนถึงอาจเกิดผลกระทบต่อทารกได้

เช่น ทารกน้ำหนักตกเกณฑ์ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด น้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด เป็นต้น

ดังนั้น ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีเลือดออกหรือปวดท้อง ควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยเบื้องต้นอาจนอนพักติดเตียง หรือกินยาแก้ปวดเองก่อน

2. การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

จะมีลักษณะอาการคล้ายภาวะแท้งคุกคาม แต่หลังจากที่ตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยการตรวจภายในแล้ว จะพบว่าปากมดลูกมีการเปิด และหรือถุงการตั้งครรภ์กำลังจะหลุด แต่ยังไม่หลุดออกมา

การแท้งแบบนี้ไม่สามารถยับยั้งไม่ให้เป็นการแท้งจริงได้

3. การแท้งไม่ครบ

แท้งไม่ครบ จะมีอาการเลือดออกจากช่องคลอด และจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้น หรือมีเศษถุงการตั้งครรภ์ออกมาจากช่องคลอด แต่ออกมาไม่ครบทั้งถุงการตั้งครรภ์ ร่วมกับอาจจะมีอาการปวดเกร็งท้องได้

และถ้าผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวแล้วไม่ได้มารับการรักษาการตกเลือด ต่อไปอาจทำให้มีอาการวิงเวียนหน้ามืดจากการเสียเลือดมากได้

ภาวะแท้งไม่ครบดังกล่าวจะสามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจภายใน ควบคู่กับการอัลตราซาวด์ว่ามีเศษถุงการตั้งครรภ์ค้างอยู่ในโพรงมดลูกอีกหรือไม่ และถ้ายังมีค้างอยู่ก็มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาอื่นๆ ต่อไป

4. การแท้งครบ

หมายถึง การแท้งที่ถุงการตั้งครรภ์ทั้งถุงหลุดลอกออกมาครบ ไม่เหลือเศษซากค้างในโพรงมดลูก

โดยปกติ ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการเลือดออกและปวดมาก จนกระทั้งมีเศษซากถุงการตั้งครรภ์หลุดออกมาทั้งหมด อาการปวดและเลือดออกจึงเบาลง หรือในบางรายจะไม่เหลืออาการอะไรเลย

ดังนั้นเพื่อความมั่นใจ หลังมีอาการที่สงสัยแท้งครบ ผู้ป่วยควรเก็บเศษชิ้นเนื้อที่ออกมาจากช่องคลอดใส่ถุงพลาสติก และรีบนำมาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและเลือกแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง

5. การแท้งค้าง

คือการที่ทารกในครรภ์เสียชีวิตเป็นเวลาหลายวันและปากมดลูกยังปิดอยู่ โดยปกติผู้ป่วยอาจไม่มีเลือดออก แต่อาจจะมีอาการรู้สึกไม่สบายบริเวณอุ้งเชิงกรานได้

การรักษาภาวะแท้ง

การรักษาภาวะแท้งนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของการแท้ง โดยการรักษาการแท้งคุกคามคือ การนอนพัก ส่วนการให้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนหรือยากันแท้ง ยังไม่พบว่ามีประโยชน์มากนักในการรักษาการแท้งชนิดนี้

การแท้งอื่นๆ เช่น การแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การแท้งไม่ครบ หรือการแท้งค้าง สามารถรักษาได้ 3 แบบ การรักษาโดยการเฝ้าสังเกตอาการ การรักษาโดยการใช้ยา และการรักษาโดยการทำหัตถการ

การรักษาภาวะแท้งแต่ละแบบมีรายละเอียดดังนี้

1. การรักษาโดยการสังเกตการณ์

โดยปกติ การแท้งแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้และแท้งไม่ครบนั้น ถ้าใช้วิธีการรักษาแบบสังเกตการณ์เพียงอย่างเดียวโดยไม่รับการักษาอื่นๆ จะเกิดการแท้งครบได้เองแบบสมบูรณ์ 80% ภายในระยะเวลา 3 วัน

แต่โดยส่วนใหญ่ ผู้ป่วยจะมีความวิตกกังกลกับการเฝ้ารอ และในบางส่วนอาการก็อาจแย่ลงจนต้องได้รับการรักษาแบบอื่นอย่างฉุกเฉินได้

2. การรักษาโดยการใช้ยา

การใช้ยาเหน็บหรือรับประทาน แพทย์จะเป็นผู้เลือกให้ตามชนิด และอาการของการแท้ง

โดยปกติจะพิจารณาในรายที่ผู้ป่วยเป็นเพียงแค่แท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หรือแท้งค้าง หรือแท้งครบที่อาการตกเลือดเป็นไม่มาก

การรักษาดังกล่าวควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ ไม่แนะนำให้ใช้เองที่บ้าน เนื่องจากมีผู้ป่วยบางรายที่การรักษาด้วยยาไม่สำเร็จ หรือเศษซากถุงการตั้งครรภ์หลุดลอกไม่ครบ ต้องได้รับการรักษาโดยการทำหัตถการอื่นๆ ต่อ

การรักษาโดยการทำหัตถการนั้นแบ่งคร่าวๆ ได้ดังนี้

  • การขยายปากมดลูก และทำการขูดหรือดูดโพรงมดลูก
  • การผ่าตัดเปิดโพรงมดลูกเพื่อนำเศษชิ้นส่วนการตั้งครรภ์ออก
  • การผ่าตัดมดลูก

การที่จะเลือกหัตถการที่เหมาะสม ต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา 

แต่โดยปกติ วีธีที่นิยม และมักเลือกทำบ่อยๆ คือ การขยายปากมดลูกและทำการขูด หรือดูดโพรงมดลูก ซึ่งถือเป็นการผ่าตัดเล็ก ใช้เวลาเตรียมตัวไม่นานมาก หรือสามารถทำฉุกเฉินได้ทันที ระยะเวลาการทำสั้น ประมาณ 10-15 นาที พักฟื้นประมาณ 1-2 วัน

ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดได้จากการขูดมดลูก เช่น มดลูกทะลุ การติดเชื้อในโพรงมดลูก ซึ่งปกติก่อนและหลังทำจะมีการให้ยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว หรือการเกิดพังพืดในโพรงมดลูก

การป้องกันภาวะแท้ง

สืบเนื่องจากสาเหตุของการแท้งตามที่กล่าวไปแล้ว ส่วนมากมักไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ฉะนั้นแนวทางในการป้องกันการเป็นหรือการแท้งซ้ำจึงยังไม่มีแนวทางที่แน่ชัด อาจทำได้แค่เพียงปรับลดสาเหตุอื่นๆ ที่ทราบแน่ชัดแล้วเช่น

  • ควรวางแผนก่อนการตั้งครรภ์ โดยแนะนำให้ตั้งครรภ์ตอนที่อายุของมารดาไม่ควรเกิน 35 ปี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงของภาวะที่โครโมโซมของทารกในครรภ์ที่ผิดปกติ
  • ถ้าสตรีตั้งครรภ์ใดมีโรคประจำตัว หรือยารักษาประจำ ควรรีบแจ้งแพทย์ประจำที่ทำการตรวจรักษาโรคนั้นๆ เพื่อควบคุมอาการและยาที่อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์และการแท้งให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
  • ควรรับการตรวจเลือด ตรวจสุขภาพ และตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่ตอนก่อนตั้งครรภ์ รวมถึงระหว่างตั้งครรภ์แล้วด้วย เพื่อประเมินโรคแฝงอื่นๆ ที่อาจจะยังไม่แสดงอาการ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และนำมาซึ่งการแท้งได้
  • หากมีอาการผิดปกติระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ปวดท้อง เลือดออก ตกขาว หรือไข้ขึ้นสูง ให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทาง
  • รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ เน้นสุกสะอาด
  • ห้ามใช้สารเสพติด งดเว้นการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณจำกัดไม่ควรเกิน 5 แก้วต่อวัน
  • ฝากครรภ์สม่ำเสมอ รับประทานยาบำรุงครรภ์ตามที่แพทย์สั่ง
  • ควบคุมให้น้ำหนักไม่มาก หรือน้อยเกินไป และแต่ละครั้งที่ฝากครรภ์พยายามทำน้ำหนักให้ขึ้นตามเกณฑ์ไม่มากไปหรือน้อยไป
  • ออกกำลังกาย ทำงานเบาๆ ได้ตามปกติ
  • ในผู้ที่มีการแท้งบ่อยๆ มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจโรคแฝงอื่นๆ กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป

การวางแผนครอบครัวถือเป็นเป้าหมายในชีวิตที่ใหญ่ที่สุดของใครหลายคน เพื่อให้คุณสามารถมีลูกน้อยได้อย่างปลอดภัย แม่และเด็กไม่มีภาวะแทรกซ้อน และร่างกายแข็งแรงดีกันทั้งคู่ คุณควรศึกษาปัจจัยที่เสี่ยงทำให้แท้ง รวมถึงวิธีป้องกันไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะสูญเสียนี้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Nicholson, R. (1991). Abortion remains a live issue. The Hastings Center report. 21. 5-6. 10.2307/3562882. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/21411741_Abortion_remains_a_live_issue)
Reardon, David. (2018). The abortion and mental health controversy: A comprehensive literature review of common ground agreements, disagreements, actionable recommendations, and research opportunities. SAGE Open Medicine. 6. 205031211880762. 10.1177/2050312118807624. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/328592805_The_abortion_and_mental_health_controversy_A_comprehensive_literature_review_of_common_ground_agreements_disagreements_actionable_recommendations_and_research_opportunities)
Rocca, Corinne & Kimport, Katrina & Roberts, Sarah & Gould, Heather & Neuhaus, John & Foster, Diana. (2015). Decision Rightness and Emotional Responses to Abortion in the United States: A Longitudinal Study. PloS one. 10. e0128832. 10.1371/journal.pone.0128832. ResearchGate. (Available via: https://www.researchgate.net/publication/279965687_Decision_Rightness_and_Emotional_Responses_to_Abortion_in_the_United_States_A_Longitudinal_Study)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
ขอถามกรณีที่เราแท้งบุตร เราต้องดูแลสุขภาพยังไงค่ะและสามารถมีบุตรได้อีกใหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
แท้งบ่อย 4ครั้งค่ะ ปี45 57 59 60 เป็นท้องลมตลอดเลยค่ะ สาเหตุจากอะไรได้บ้างคะ อยากมีลูกมากๆค่ะอายุ41แล้วค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ถ้าเคยแท้งบุตร แล้วจะมีผลกระทบต่อการมีบุตรครั่งต่อไปอีกไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
แม่ที่มีภาวะแท้งคุกคาม เมื่อตั้งครรภ์ปกติแล้ว (ผ่านวิกฤตแล้ว) จะมีผลกับการคลอดก่อนกำหนดหรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
แท้งลูกแต่ไม่ได้ขูดมดลูก สามารถปล่อยให้มีลูกต่อเลยได้ไหมค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการท้องลมเกิดจากสาเหตุใดค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)