โรคมะเร็ง สามารถป้องกันได้ จริงหรือ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
โรคมะเร็ง สามารถป้องกันได้ จริงหรือ

   เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า มะเร็งป้องกันโดยตรงไม่ได้ เพราะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงแต่อาจจะป้องกันสาเหตุร่วมที่จะทำให้เป็นมะเร็งได้ ซึ่งมะเร็งต่าง ๆ วิธีป้องกันไม่เหมือนกัน แต่จะกล่าวเฉพาะมะเร็งที่พบได้บ่อย ๆ เท่านั้น ดังต่อไปนี้


วิธีป้องกันโรคมะเร็งในช่องปาก

  1. รักษาปากให้สะอาด โดยแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน
  2. ฟันผุ, เหงือกเป็นหนอง, ฟันเก, ฟันคม ต้องรีบหาทันตแพทย์รักษา
  3. ฟันปลอม ถ้าใส่ไม่สนิท กดเหงือก ควรให้ทันตแพทย์แก้ไขให้ใหม่
  4. เป็นแผล, ฝ้าขาวในปากที่ไม่หายภายในสองสัปดาห์ ต้องรีบไปหาแพทย์ทันที
  5. อย่าสูบกล้องหรือบุหรี่ กดรีมฝีปากอยู่ที่เดียวอย่าจุกยาฉุนในปาก ถ้าเป็นในระยะแรกโอกาสหายได้ถึง 80 เปอร์เซ็นต์

วิธีป้องกันโรคมะเร็งมดลูกและปากมดลูก

เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง มักมีอาการตกขาว, กลิ่นเหม็น, บางครั้งมีเลือดออกปนสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ เลือดออกกะปริบกะปรอย การป้องกันสาเหตุร่วม คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. รักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายและหญิง
  2. สำหรับผู้ที่แพทย์ตรวจแล้วพบว่ามีแผลที่ปากมดลูก ควรรีบรักษา และปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ
  3. สำหรับผู้หญิงที่อายุเกิน 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  4. ถ้ามีอาการดังกล่าวข้างบน ควรปรึกษาแพทย์

วิธีป้องกันโรคมะเร็งเต้านม

เป็นมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันดับที่ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก ในสตรีพบประมาณ 11% ในระยะแรกไม่มีอาการ นอกจากจะคลำพบก้อนเข้าเองโดยบังเอิญ ซึ่งก้อนจะเคลื่อนไปมาได้ ไม่มีอาการเจ็บปวด, ในระยะเริ่มต้น ถ้าท่านคลำพบก้อนขนาด 1 เซนติเมตรเท่านั้นและได้รับการรักษาที่ถูกต้องในระยะนี้จะมีโอกาสหายขาดแน่นอน

การป้องกัน

  1. ควรเลี้ยงลูกด้วยนมของท่านเอง
  2. ควรระวังอย่าให้น้ำนมคั่ง
  3. ถ้ามีการอักเสบ หรือเป็นฝีที่เต้านม ควรรีบรักษา
  4. ควรตรวจเต้านมด้วยตนเอง อย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยเฉพาะท่านที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปซึ่งมีวิธีการดังนี้...


ก. การตรวจเต้านมนั้นควรตรวจประมาณวันที่ 8 ของประจำเดือน โดยนับวันแรกที่มีเลือดออกเป็นวันที่ 1 ของประจำเดือนนับไปเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 8 เลือดจะหยุดหรือไม่ ไม่มีปัญหา ตรวจเต้านมด้วยตนเองได้

ข. ถอดเสื้อออก ตรวจดูรูปทรงของเต้านมทั้งสองข้างที่หน้ากระจก สังเกตด่ามีผิวหนังบุ๋มตรงที่ตรงไหนหรือไม่, หัวนมทั้ง 2 ข้าง ควรจะเท่ากันไม่ถูกดึงลงไป เส้นเลือดที่ผิวหนังไม่พองโตผิดปกติ จากนั้นให้ชะโงกตัวไปข้างหน้า ตรวจดุโดยทั่วอีกครั้ง ถ้ามีก้อนเนื้องอกอยู่ข้างในมักจะดึงผิวหนังตรงนั้นให้บุ๋มลง นอกจากก้อนเนื้องอกจะโตจะทำให้เห็นโตป่องออกมา

ค. นอนหงายเอาหมอนหนุนตรงสะบักข้างที่จะตรวจ สมมติว่าจะตรวจเต้านมข้างซ้ายก่อนให้ยกแขนซ้ายขึ้นเหนือศีรษะ ใช้มือขวาของท่านคลำเต้านมซ้ายโดยวิธีคลึงฝ่ามือ และฝ่านิ้วไปทั่วเต้านม ทางด้านครึ่งในของเต้านม หมุนไปรอบ ๆ ไปครึ่งล่าง, ครึ่งนอกและครึ่งบนบริเวณไหปลาร้า

ตรวจหัวนมด้วย ถ้าพบมีก้อนสะดุดใต้ฝ่ามือควรรีบไปหาแพทย์

ปฏิบัติเช่นเดียวกันเอจะตรวจเต้านมทางข้างขวา โดยสลับมือกัน ท่านสามารถตรวจพบก้อนด้วยตนเอง โดยวิธีดังกล่าวและยืนก็ได้เช่น ในขณะอาบน้ำในห้องน้ำ ถึงแม้ก้อนจะมีขนาดเล็ก 1 เซนติเมตร ถ้าท่านตั้งใจจริงก็จะคลำพบได้ แล้วรีบไปกาแพทย์ผู้ชำนาญรักษาให้ถูกวิธี ท่านมีโอกาสหายถึง 90 เปอร์เซ็นต์


วิธีป้องกันโรคมะเร็งปอด

พบมากเป็นอันดับหนึ่งในผู้ชาย ของจังหวัดทางภาคเหนือในระยะแรกไม่มีอาการนอกจากตรวจพบโดยการถ่ายเอกซเรย์ปอดอาจมีอาการไอแห้ง ๆ เหมือนไอจากการสูบบุหรี่ในระยะต่อมา

การป้องกัน

  1. งดสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่มีสารจำพวกเบนซิไฟริน ซึ่งเป็น (คาร์ซิโนเจน) สารทำให้เกิดมะเร็งในปอดได้ โดยการสูดเอาสารพวกนี้เข้าไปในปอดทุกวัน วันละเล็กละน้อย เป็นเลา 10-20 ปี
  2. อย่าอยู่ในห้องที่มีผู้สูบบุหรี่ เพราะท่านอาจเป็นมะเร็งปอดได้เช่นเดียวกับผู้สูบบุหรี่
  3. อย่าอยู่ในที่มีเขม่า, ควันไฟ หรือควันจากท่อไอเสียรถยนต์ เพราะควันพวกนี้มีเบนซินไฟริน ทำให้เป็นมะเร็งปอดได้เช่นกัน
  4. ควรอยู่ในอากาศบริสุทธิ์ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
  5. สำหรับผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจปอดด้วยเอกซเรย์ปีละ 2 ครั้ง

วิธีป้องกันโรคมะเร็งตับ

พบมากที่สุดในสุภาพบุรุษของประเทศไทย แต่สำหรับผู้ชายเชียงใหม่เป็นมากเป็นอันดับที่ 2 เป็นโรคที่ให้การวินิจฉัยยากที่สุด และรักษายากเช่นกัน ส่วนมากถ้ามีอาการจะรักษาไม่ได้แล้ว อาการต่าง ๆ มีดังนี้ เช่น เบื่ออาหาร, ท้องอืด, แน่นท้อง, ท้องผูก, ซีด, ตัวเหลือง, ตาเหลือง, เจ็บชายโครงขวา, เหนื่อยง่าย, อ่อนเพลีย มะเร็งตับอาจเกิดขั้นแบบโดดเดี่ย หรือเกิดร่วมกับโรคตับแข็ง, โรคพยาธิของตับ หรือเป็นมะเร็วของอวัยวะอื่นกระจายมาที่ตับมะเร็งของเนื้อตับเกิดจากกินอาหารที่มีเชื้อราซึ่งมีอะฟาท๊อกซินปนอยู่ในอาหารจำพวกถั่ว, แป้ง

การป้องกัน

  1. ไม่ควรกินอาหารจำพวกถั่วที่ขึ้นรา เช่น ถั่วป่น, พริกป่น
  2. อาหารขนมปังที่เก็บไว้หลายวันมีรา ควรทิ้งไปเสีย
  3. อาหารจำพวกแป้งที่มีความชื้น และมีราขึ้นควรทำอาหารมื้อละน้อย ๆ ให้หมดภายในวันหนึ่ง ๆ
  4. ไปหาแพทย์ตรวจเลือดตรวจสารเอลฟาฟีโตโปรตีนทุก 6 เดือน

วิธีป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้

มีอาการกลืนอาหารติดคอ, กินข้าฝืดคอ, กินแล้วต้องสำรอกออกมา เป็นอาการนำของมะเร็งหลอดอาหาร, มะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะแรกไม่มีอาการ มะเร็งลำไส้ใหญ่มีอาการท้องผูก สลับกับท้องเดิน, อุจจาระมีมูกเลือด

การป้องกัน

  1. ไม่ควรกินข้าวต้ม, น้ำ หรืออาหารที่ร้อนจัด
  2. ไม่ควรดื่มสุราที่แรง ๆ โดยไม่ผสมให้เจือจางลง
  3. ควรตรวจอุจจาระทุก 6 เดือน ดุว่ามีเลือดออกมาปนกับอุจจาระหรือไม่ โดยใช้สารเคมีทดสอบ ถ้ามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

วิธีป้องกันโรคมะเร็งกล่องเสียง และนาโซฟาริงซ์

มีอาการเจ็บคอ กลืนน้ำลายเจ็บ เสียงแหบแห้ง เป็นอาการของมะเร็งกล่องเสียง แต่ของนาโซฟาริงซ์ อาจมีอาการเป็นหวัด คัดจมูก ปวดศีรษะ, หูอื้อ บางครั้งมีเลือดกำเดาออก

การป้องกัน

  1. อย่าสูบบุหรี่มาก
  2. ระวังรักษาร่างกายให้แข็งแรง อย่าให้เป็นหวัดหรือเจ็บคอบ่อย ๆ
  3. ถ้ามีอาการเจ็บคอ, เป็นหวัดคัดจมูก ควรไปหาแพทย์ให้ตรวจ โดยใช้กระจำส่องลงไปดูที่กล่องเสียง และลักษณะเม็ดเลือดขาวว่ามีความผิดปกติ อาจเป็นมะเร็งของเม็ดเลือดได้ไหม ถ้าปกติก็ไม่ใช่
  4. ถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด
  5. เจาะเลือดดูหน้าที่ของตับ และดูเอลฟาฟีโตโปรตีนว่าเป็นมะเร็งตับหรือไม่
  6. ตรวจภายในปีละ 1 ครั้ง ดูเซลล์มะเร็งในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของสุภาพสตรี
  7. ตรวจร่างกายทั่วไป ผิวหนัง, ช่องปากมีก้อน, มีแผล
  8. ตรวจกล่องเสียงและโพรงหลังจมูก

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The 10 commandments of cancer prevention. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/newsletter_article/the-10-commandments-of-cancer-prevention)
Cancer prevention. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/cancer/prevention/en/)
How to Prevent Cancer or Find It Early. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/cancer/dcpc/prevention/index.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป