ทำอย่างไรเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ทำอย่างไรเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย

ไม่มีวิธีใดที่ถูกต้องในการจัดการกับคำว่ามะเร็งระยะสุดท้าย และแต่ละคนมีแนวทางที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามควรพิจารณาถึงผลกระทบ และทางเลือกที่คุณมีอยู่ภายหลังจากทราบว่ามะเร็งของคุณไม่สามารถรักษาให้หายได้

การวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย

ขณะที่ฟังผลการวินิจฉัย คุณอาจรู้สึกมึน เหมือนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เกิดขึ้นกับคนอื่น หรืออาจรู้สึกเศร้า กลัว สูญเสีย และโกรธ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

Greta Greer ผู้อำนวยการโครงการผู้รอดชีวิต (Survivor Program) ของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) กล่าวว่า “ผู้ป่วยบางคนไม่เคยยอมรับว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้ายและพยายามหาหนทางที่จะรักษา ในขณะที่บางคนตอบแค่ว่า โอเค หลังจากนั้นก็เริ่มจัดการกับเรื่องต่าง ๆ ตามลำดับ”

แต่ละคนมีการบอกเรื่องนี้แก่คนรอบข้างที่ต่างกัน บางคนมีการพูดคุยกันในทุกรายละเอียด ในขณะที่บางคนอาจบอกเพียงเล็กน้อย บางคนที่มีเด็กเล็ก อาจต้องการทำให้ทุกสิ่งเป็นปกติไปให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

อาจต้องใช้เวลามากกว่าการพบแพทย์เพียง 1 ครั้งเพื่อให้คุณได้แจ้งความกังวลและได้รับข้อมูลมากเท่าที่ต้องการ การขอความคิดเห็นทางการแพทย์ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ทาง online เช่น เว็บไซต์ของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาในหัวข้อเรื่องช่วงที่ใกล้เสียชีวิต (Nearing the end of life)

แนวทางการรักษามะเร็งระยะสุดท้าย – การดูแลทางการแพทย์และการเข้าร่วมโครงการวิจัยในมนุษย์

ถึงแม้ว่ามะเร็งระยะสุดท้ายจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็ยังมีวิธีการรักษา นายแพทย์ William Breitbart หัวหน้าสาขาจิตเวชศาสตร์ที่ศูนย์โรคมะเร็ง New York’s Memorial Sloan-Kettering  (New York’s Memorial Sloan- Kettering Cancer Center) คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างน้อย 35% ที่จะได้รับประโยชน์จากการรักษากับนักสังคมสงเคราะห์, นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เนื่องจากผู้ป่วยโดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นมะเร็งระยะสุดท้ายสามารถมีอาการซึมเศร้า หรือวิตกกังวล ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการบำบัดหรือการใช้ยา

คุณอาจได้รับประโยชน์จากการฉายรังสีหรือการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งจะช่วยยืดระยะเวลาในการมีชีวิตออกไปแต่ไม่ได้รักษาโรค การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะมุ่งเน้นที่การลดอาการ เช่น อาการปวดซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ คุณควรสอบถามถึงแนวทางการรักษาต่าง ๆ รวมถึงการรักษาทางเลือกเช่นการฝังเข็ม มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่าอาการปวดอาจไม่ได้รับการรักษาเนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับการติดยาที่อาจเกิดตามภายหลัง

บางคนเข้าร่วมในโครงการวิจัยการรักษาแบบใหม่ ซึ่งจะทำให้คุณได้รับการรักษาชนิดล่าสุด และคุณจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งต่อไปในอนาคต สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกามีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ และในเว็บไซต์ของสถาบันโรคมะเร็งแห่งชาติ (National Cancer Institute) ก็สามารถให้คุณค้นหาการศึกษาที่กำลังเปิดรับผู้เข้าร่วมโครงการ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การเข้าสู่ช่วงเสียชีวิต

ความกังวลส่วนใหญ่ของผู้ป่วย มักจะเกี่ยวข้องกับการได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ทางการแพทย์ การมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและการไม่เจ็บปวดทรมาน หลายคนต้องการแนวความคิดเกี่ยวกับอะไรคือสิ่งที่ควรคาดหวังเมื่อเวลานั้นมาถึง

การตายจากโรคมะเร็งนั้นมักจะเกิดจากการค่อย ๆ อ่อนแรงลงเรื่อย ๆ (ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณจะมีสุขภาพที่แข็งแรงคงที่ก่อนจะเกิดการทรุดลงอย่างรวดเร็ว) ผู้ที่ใกล้เสียชีวิตจะเริ่มใช้เวลาอยู่บนเตียงนานขึ้นเรื่อย ๆ และตื่นน้อยลง หลังจากนั้นจะเข้าสู่ช่วงของการนอนหลับลึกก่อนการเสียชีวิต

ต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับมะเร็งระยะสุดท้าย

การเลิกคาดหวังเกี่ยวกับการรักษาไม่ได้หมายความว่าให้เลิกคาดหวังในทุก ๆ เรื่อง ตัวอย่างวิธีการจัดการกับปัญหาของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายจากงานวิจัยในปี 2005 กล่าวว่า

  • ใช้ช่วงเวลาหนึ่งของวันในการอยู่กับปัจจุบัน
  • คิดว่ามันจะต้องมีวันที่ดีและวันที่ไม่ดี
  • พยายามใช้ชีวิตไปตามปกติ
  • หลีกเลี่ยงการคิดถึงในสิ่งที่ไม่ดีซึ่งอาจ (หรือไม่มีทาง) เกิดขึ้น
  • ทำในสิ่งที่มีความสุข อย่าคิดถึงแต่ว่าตัวเองกำลังจะตาย
  • คิดไว้ว่าชีวิตไม่ได้จบลงหลังป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย

การดูแลด้านจิตใจ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญและอาจจะไม่ได้มาจากครอบครัวเพียงอย่างเดียว นายแพทย์ Greer กล่าวว่า “ภายหลังจากการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย บางครอบครัวกลับมาใกล้ชิดกันมากขึ้นแต่บางครอบครัวกลับห่างกันมากขึ้น” หลายโรงพยาบาลจึงมีบริการแนะนำสำหรับคู่ชีวิตและครอบครัวของผู้ป่วย

การหาความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือญาติอาจเป็นสิ่งที่ง่ายกว่าถ้าเริ่มจากการทำสิ่งต่าง เช่น การเลี้ยงเด็ก การทำอาหาร หรือการขับรถไปส่ง นอกจากนั้นเครือข่ายช่วยเหลือโรคมะเร็งของสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society’s Cancer Resource Network) ก็มีการให้ความช่วยเหลือเช่นกัน

ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจำนวนมากได้รับความช่วยเหลือจากผู้ป่วยโรคมะเร็งคนอื่น ๆ โรงพยาบาลหลายแห่งสนับสนุนให้มีการตั้งกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งขึ้น และยังมีชุมชนเครือข่ายออนไลน์เช่น “เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง – Dying with Cancer” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ CancerChat.org.uk ให้ความช่วยเหลือด้วยเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เรื่องอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องคิดถึงเมื่อเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย

  • คุณต้องการการดูแลในสถานพยาบาลผู้ป่วยหรือไม่
  • มีหัตถการอะไร (เช่นการใส่สายให้อาหาร การช่วยชีวิตด้วยการปั้มหัวใจ) ที่คุณไม่ต้องการหรือไม่
  • แนวทางการรักษาที่คุณต้องการ หรือไม่ต้องการเพื่อช่วยในการดูแลขณะที่คุณไม่สามารถตัดสินใจได้

เรื่องทางการเงินและกฎหมาย

  • คุณจัดการเรื่องทางการเงินเรียบร้อยแล้วหรือไม่?
  • มีคนรู้สถานที่เก็บเอกสารสำคัญหรือยัง?
  • คุณทำพินัยกรรมหรือยัง และเป็นฉบับล่าสุดหรือไม่?
  • คุณมีประกันชีวิตหรือไม่? มีผลประโยชน์อะไรที่จะได้รับบ้าง?

การเตรียมตัวระยะสุดท้าย

  • มีอะไรที่อยากมอบให้คนที่คุณรักหรือไม่?
  • ต้องเตรียมจดหมายหรือวีดีโอสำหรับใครหรือเปล่า
  • คุณต้องการเสียชีวิตที่อื่นนอกจากโรงพยาบาลหรือไม่
  • คุณต้องการให้มีนักบวชอยู่ในขณะที่คุณเสียชีวิตหรือไม่
  • คุณต้องการฝังหรือเผาศพ คุณมีที่ฝังศพแล้วหรือยัง? หรือต้องการให้นำอัฐิไปไว้ที่ใดเป็นพิเศษ
  • คุณได้แสดงความเห็นหรือความต้องการต่อการจัดงานศพของตัวเองหรือยัง?

เรียงลำดับความสำคัญ

สิ่งแรกที่ต้องทำคือคุณจะต้องตัดสินใจว่าต้องการจะทำอะไรบ้างในเวลาที่เหลืออยู่ มีอะไรที่ยังคิดค้างและต้องการแก้ไข คุณต้องการใช้ชีวิตตามปกติให้นานที่สุด หรือมีโครงการอะไรที่อยากทำให้สำเร็จ? ต้องการเดินทาง? ถ้าคุณมีเด็กเล็กอยู่ด้วยคุณอาจจะต้องการใช้เวลากับพวกเขาให้มากที่สุด

บางคนเลือกที่จะเป็นผู้ให้ เช่นในปี 2008 Randy Pausch ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ได้ทำการพูดในหัวข้อ “การสอนครั้งสุดท้าย” ซึ่งกลายเป็นหนังสือขายดีและคลิปที่โด่งดังบน youtube โดยเขาต้องการทำในสิ่งที่จะช่วยเพิ่มความตื่นตัวต่อการเป็นมะเร็งตับอ่อนก่อนที่จะเสียชีวิต

ไม่ว่าคุณจะเลือกทางไหน คุณจะเริ่มรู้สึกถึงเวลาที่เหลืออยู่ แพทย์อาจมีการคาดเดาช่วงเวลาที่เหลืออยู่แต่การรู้เวลาอย่างคร่าว ๆ นั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น

นายแพทย์ Breitbart ยังกล่าวอีกว่า มะเร็งระยะสุดท้ายถือเป็นการต่อสู้ครั้งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการยอมรับการมีชีวิตอยู่ การทำให้ชีวิตมีความหมายและการเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต คุณอาจต้องการถามตัวเองว่าขณะนี้คุณมีความสงบสุขแล้วหรือยัง


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Terminal illness: Supporting a terminally ill loved one. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/end-of-life/in-depth/grief/art-20047491)
What to Do When You Are Diagnosed With Terminal Cancer. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/what-to-do-when-you-are-diagnosed-with-terminal-cancer-514015)
Terminal Cancer: Definition, Life Expectancy, Treatment, Support. Healthline. (https://www.healthline.com/health/terminal-cancer)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การทำอาหารง่าย ๆ ที่มีโภชนาการที่เหมาะสมระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการซื้อสินค้าเพื่อการต่อต้านภัยมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?
มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

คำตอบต่อคำถามทางสุขภาพที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม