เหงื่ออกตอนกลางคืน เป็นอาการของโรคมะเร็งหรือไม่

ปรึกษาปัญหาเรื่องเหงื่อออกตอนกลางคืนกับแพทย์ของคุณ
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เหงื่ออกตอนกลางคืน เป็นอาการของโรคมะเร็งหรือไม่

หลายคนสงสัยว่าอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนเกิดจากอะไร บางทีก็อากาศไม่ได้ร้อน แต่ทำไมถึงมีเหงื่อออก จนเป็นกังวลว่าจะเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงอย่างมะเร็งหรือไม่ สามารถหาคำตอบได้ที่นี่

แบบไหนที่เรียกว่าเหงื่อออกตอนกลางคืน?

ประการแรกที่ควรรู้คืออาการเหงื่อออกตอนกลางคืน เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ทุกคนสามารถเป็นได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ประการที่สองก็คืออาจต้องพิจารณาว่าอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนของคุณเรียกว่าเหงื่อออกตอนกลางคืนจริงหรือเปล่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เหงื่อออกตอนกลางคืน หมายถึง การที่มีเหงื่อออกปริมาณมากจนชุ่มผ้าปูเตียงจนถึงขั้นอาจต้องเปลี่ยนผ้าปูเตียงออก หรือเกิดความผิดปกติอย่างเห็นได้ชัดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

เหงื่อออกตอนกลางคืนเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งหรือไม่?

เหงื่อออกตอนกลางคืนสามารถเป็นอาการของโรคมะเร็งได้หลายชนิด และมักพบในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบ่อยที่สุด อย่างไรก็ตามหากคุณไม่ได้มีอาการแสดงอื่น ๆ ที่พบได้บ่อยของโรคนี้ แพทย์ก็อาจไม่คิดถึงโรคนี้ในทันที ซึ่งเหงื่อออกตอนกลางคืนไม่ได้เป็นอาการที่จำเพาะต่อโรคมะเร็ง ถึงแม้ว่าอาการนี้จะเป็นหนึ่งในอาการแสดงที่สำคัญของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แต่ก็สามารถมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน

ในความเป็นจริงแล้ว สาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เกิดเหงื่อออกตอนกลางคืน คือการเข้าสู่วัยทองและการรับประทานยาที่ทำให้เกิดการเข้าสู่วัยทอง แพทย์อาจทำการตรวจทั่วไปซึ่งรวมถึงการตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุของอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน และอาจซักประวัติเพิ่มเติมถึงความถี่ในการเกิดอาการและอาการนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่

นอกจากนั้นยังต้องซักถึงประวัติการรักษาและยาที่เคยได้รับ เป็นเรื่องสำคัญมากที่แพทย์จะต้องทราบถึงยาทั้งหมดที่คุณกำลังใช้อยู่ไม่ว่าจะเป็นยาที่แพทย์สั่งจ่าย ยาที่คุณซื้อเองหรือยาสมุนไพรต่าง ๆ

ถ้าหากไม่ใช่โรคมะเร็งแล้วอะไรคือสาเหตุของการเกิดเหงื่อออกตอนกลางคืน?

อย่างแรกเลยคือคุณควรประเมินสภาพแวดล้อมขณะที่คุณกำลังนอนว่าเป็นอย่างไร คุณใส่ชุดนอนที่หนาเกินไปหรือไม่ มีผ้าห่มบนเตียงมากเกินไปหรือไม่ และคุณตั้งอุณหภูมิไว้สูงเกินไปหรือเปล่า 

คุณอาจลองเข้านอนโดยสวมชุดนอนที่บางลง หรือใช้ผ้าห่มน้อยลงเพื่อดูว่าอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนนี้หายไปหรือไม่ อย่างไรก็ตามคุณควรแจ้งแพทย์ของคุณให้ทราบว่าคุณกำลังมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนอยู่ ไม่ควรรอให้อาการดีขึ้นหรือให้หายไปเอง โดยเฉพาะหากยังคงมีอาการอยู่ตลอดเวลา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มียาบางชนิดที่ทำให้เกิดเหงื่อออกตอนกลางคืนได้เช่น ยาที่แพทย์สั่งจ่ายเช่นยาในกลุ่มลดอาการซึมเศร้า (antidepressants) มักทำให้เกิดอาการนี้ ยาอื่น ๆ เช่น พาราเซตามอล ก็อาจทำให้เกิดเหงื่อออกตอนกลางคืนหรือหน้าแดงได้เช่นกัน ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ยา

ภาวะอื่นที่อาจมีความสัมพันธ์กับอาการเหงื่อออกกลางคืน เช่น

ในบางครั้งอาการนี้อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุได้ โดยหากทำการตรวจอย่างละเอียดแล้วไม่พบสาเหตุที่สามารถอธิบายได้ทางการแพทย์

เหงื่อออกตอนกลางคืนกับอาการร้อนวูบวาบหรือหน้าแดง

บางคนอาจเกิดความสับสนระหว่างเหงื่อออกตอนกลางคืน กับอาการร้อนวูบวายหรือหน้าแดง ซึ่งมีอาการคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน อาการร้อนวูบวาบเป็นอาการที่เกิดความรู้สึกร้อนขึ้นมาฉับพลันจากหน้าอกขึ้นมาที่หน้า สามารถเกิดได้ทุกช่วงเวลาไม่เฉพาะตอนกลางคืน ส่วนหน้าแดงเป็นอาการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นฉับพลัน ทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือสีแดง


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mayo Clinic Staff. (2014, April 12). Night sweats. Retrieved from (http://www.mayoclinic.org/symptoms/night-sweats/basics/definition/SYM-20050768)
Gastroesophageal reflux (GER) and gastroesophageal reflux disease (GERD) in adults. (2014, November 13) (https://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/digestive-diseases/ger-and-gerd-in-adults/Pages/all-content.aspx)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สถิติของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งขั้นพื้นฐาน
สถิติของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งขั้นพื้นฐาน

ข้อเท็จจริงจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)

อ่านเพิ่ม
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การทำอาหารง่าย ๆ ที่มีโภชนาการที่เหมาะสมระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)
ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)

ความเป็นมาของโรคมะเร็ง: การค้นพบและรักษา โรคมะเร็งครั้งแรก

อ่านเพิ่ม