มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

คำตอบต่อคำถามทางสุขภาพที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง
เผยแพร่ครั้งแรก 31 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

หนึ่งในคำถามที่แพทย์หรือพยาบาลมักได้เจอกันมากที่สุดก็คือ มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่ คนรอบ ๆ ข้างตัวของผู้ป่วยมักเกิดความสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นพูดดีหรือเปล่า ทำให้เกิดคำถามที่อาจไม่ค่อยพบในบทสนทนาทั่วไปที่ตามมาในภายหลัง

มะเร็งเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

หลายคนอาจเกิดคำถามนี้ขึ้นเมื่อคนใกล้ตัวหรือตัวเองเป็นโรคมะเร็ง ทำให้คนรอบข้างมักไม่ค่อยกล้าเข้าใกล้ หรือบางครั้งจะพาคนใกล้ตัวไปโรงพยาบาล ก็กลัวจะติดโรค 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความจริงแล้วโรคมะเร็งไม่ใช่โรคติดต่อเหมือนไข้หวัด รวมทั้งปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานใดที่บอกว่าโรคมะเร็งสามารถติดต่อกันได้

แต่โรคมะเร็งก็อาจจะส่งผลในบางกรณี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมสามารถส่งผลจากพ่อแม่สู่ลูกได้ ทำให้บางคนอาจมีความเสี่ยงในการเกิดเป็นโรคมะเร็งได้มากกว่าปกติ

คนเป็นมะเร็งมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม?

เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่ร้ายแรง การรักษาทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้คู่รักหรือคู่นอนหลายคู่ไม่กล้าจะมีเพศสัมพันธ์ด้วย เพราะกลัวว่าอาจติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้ 

ซึ่งโรคมะเร็งไม่สามารถติดต่อผ่านการจูบ การสัมผัส หรือการมีเพศสัมพันธ์แบบที่ไม่มีการป้องกัน ถ้าหากคุณมีการกอดหรือจูบกับผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง มั่นใจไม่เลยว่าคุณจะไม่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น

ในทางกลับกันการส่งผ่านความรักโดยการสัมผัสนั้นเป็นสิ่งที่แนะนำให้ปฏิบัติกับผู้ป่วยโรคมะเร็ง เนื่องจากมันสามารถช่วยให้พวกเขาต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ดีมาก ๆ และยังช่วยลดความรู้สึกโดดเดี่ยวระหว่างการต่อสู้กับโรคร้ายอย่างมะเร็งได้

แต่อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษา เนื่องจากมะเร็งบางชนิดก็มีไวรัสที่สามารถติดต่อได้ เช่น ผู้หญิงที่มีการติดเชื้อ HPV จะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกหากมีเพศสัมพันธ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รวมถึงผู้ที่มีการติดเชื้อ HIV ก็จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด เพราะว่าไวรัสตัวนี้จะทำประสิทธิภาพทางภูมิคุ้มกันของเขาลดลง และปรสิตบางชนิดก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน

ดังนั้นถึงแม้คุณจะควรให้ความรักผ่านการสัมผัส จูบ กอด หรือการมีเพศสัมพันธ์ แต่ก็ควรทำกิจกรรมเหล่านี้อย่างสะอาดและปลอดภัยด้วยเช่นกัน 

เราควรปฏิบัติตัวอย่างไรหากคนใกล้ตัวเป็นมะเร็ง?

ถึงแม้มะเร็งส่วนใหญ่จะไม่สามารถติดต่อกันได้โดยตรง มีเพียงไวรัสบางชนิดเท่านั้นที่จะเพิ่มความเสี่ยง แต่ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งจะมีร่างกายที่อ่อนแอ จึงควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการที่ผู้ป่วยจะติดเชื้อโรคเพิ่มเติม

  • ใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์ ในกรณีที่แพทย์อนุญาตให้มีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ผู้ป่วยอยู่ในระหว่างรักษาตัว เช่น รับเคมีบำบัด 


    เพราะว่าอาจมีสารเคมีตกค้างอยู่ในน้ำอสุจิของที่ผู้ป่วย และคู่นอนอาจได้รับไปด้วย การใช้ถุงยางอนามัยระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในวันแรกๆ หลังการได้รับยาเคมีบำบัด

  • แพทย์อาจแนะนำให้งดการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างอยู่ในช่วง Nadir period ซึ่งเป็นช่วงที่จำนวนเม็ดเลือดขาวลดต่ำที่สุดภายหลังการให้ยาเคมีบำบัด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อได้ง่าย

  • ฝึกการล้างมืออย่างถูกต้องและทำให้เป็นนิสัย

  • ใช้แอลกอฮอล์ล้างมือทุกครั้งเมื่อไม่มีน้ำและสบู่

  • อยู่ห่างจากผู้ป่วยหากรู้สึกว่าตนเองกำลังไม่สบาย

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในเรื่องการเว้นการมีเพศสัมพันธ์หรือการใช้ถุงยางอนามัย

16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Is Cancer Possibly Contagious?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/is-cancer-contagious-514238)
Is Cancer Contagious? Pregnancy, Infection, and Sex. Healthline. (https://www.healthline.com/health/is-cancer-contagious)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)
ประวัติความเป็นมาของการค้นพบและรักษาโรคมะเร็ง (Cancer)

ความเป็นมาของโรคมะเร็ง: การค้นพบและรักษา โรคมะเร็งครั้งแรก

อ่านเพิ่ม
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการซื้อสินค้าเพื่อการต่อต้านภัยมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
เหงื่ออกตอนกลางคืน เป็นอาการของโรคมะเร็งหรือไม่
เหงื่ออกตอนกลางคืน เป็นอาการของโรคมะเร็งหรือไม่

ปรึกษาปัญหาเรื่องเหงื่อออกตอนกลางคืนกับแพทย์ของคุณ

อ่านเพิ่ม