กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทพญ.สิริพัชร ชำนาญเวช

ฟันปลอม

ทำความรู้จักฟันชุดที่สามของชีวิต ฟันที่คุณอาจมีโอกาสต้องใช้บริการบ้างก็เป็นได้ ใครจะไปรู้
เผยแพร่ครั้งแรก 26 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ฟันปลอม

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฟันปลอม หรือทางการแพทย์เรียกว่า ฟันเทียมคือ สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเลียนแบบฟันเพื่อใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไป หากทันตแพทย์แจ้งว่า จำเป็นต้องใส่ฟันปลอมจริงๆ ก็ต้องใส่ เพราะมีข้อดีมากกว่าข้อเสียแน่ๆ
  • ฟันปลอมมี 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดถอดได้ ชนิดติดแน่น และรากเทียม แต่ละชนิดมีข้อบ่งใช้แตกต่างกันไป
  • แม้จะเป็นฟันปลอมแต่ต้องดูแลรักษา ทำความสะอาดให้ดีไม่ต่างจากฟันแท้ เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของฟันปลอมไว้ให้นานที่สุด
  • เมื่อไหร่ที่ฟันปลอมมีปัญหา ไม่ว่าจะการพูด การบดเคี้ยวอาหาร ควรรีบไปพบทันตแพทย์เพื่อรับการแก้ไข
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำฟันปลอมแบบต่างๆ

ฟันปลอม หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า "ฟันเทียม" ฟันปลอมคือ สิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นเลียนแบบฟันเพื่อใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไป

ประโยชน์ของฟันปลอมมีมากมาย เช่น เพื่อความสะดวกในการบดเคี้ยวอาหาร เสริมบุคลิกภาพ ทำให้การออกเสียงชัดเจนขึ้น ป้องกันปัญหาการล้มเอียงของฟันซี่ที่เหลือไปยังช่องว่างของเหงือก รวมทั้งปัญหาเรื่องขากรรไกรที่อาจเกิดขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชนิดของฟันปลอม

สามารถแบ่งฟันปลอมออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดถอดได้ ชนิดติดแน่น และรากเทียม 

ฟันปลอมชนิดถอดได้ 

อาจใช้ทดแทนซี่ฟันที่หายไปเพียงบางซี่ หรือมากกว่านั้น กรณีที่หายไปเพียงบางซี่ ทันตแพทย์จะกรอแต่งรูปร่างของฟันในบางตำแหน่งให้เป็นที่อยู่ของฐานฟันเทียมและตะขอ เพื่อให้ฟันปลอมสามารถใช้งานได้โดยไม่หลุดออกจากปาก 

หากเป็นกรณีที่ทำทั้งขากรรไกรก็อาจเป็นการพิมพ์ปากทั้งแนว (บน หรือล่าง) เพื่อเสริมวัสดุเป็นฐานรากไม่ให้ฟันปลอมหลุด 

ส่วนวัสดุที่ใช้ทำฟันปลอมมักทำจากอะคลิลิก (พลาสติก) หรือโลหะผสม 

ฟันปลอมชนิดติดแน่น 

มีหลายชนิด ถ้าใช้ในการซ่อมแซมฟันซี่ใดซี่หนึ่งเพียงซี่เดียวจะเรียกว่า “ครอบฟัน” แต่ถ้าหากใช้ทดแทนซี่ฟันที่หายไปด้วยในลักษณะทำครอบฟันติดกัน จะเรียกว่า “สะพานฟัน” หรือ "สะพานฟันติดแน่น" 

ฟันชนิดนี้ทันตแพทย์จะกรอแต่งฟันซี่ข้างเคียงก่อนเพื่อสวมสะพานฟัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำฟันปลอมวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2,425 บาท ลดสูงสุด 42%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รากเทียม 

การรักษาเพื่อทดแทนซี่ฟันที่หายไปเพียงบางซี่ หลายซี่ หรือทั้งปาก รากเทียมทำจากโลหะไทเทเนียมซึ่งมีคุณสมบัติเข้ากันได้ดีกับกระดูกและเนื้อเยื่อของมนุษย์ เมื่อใส่ครอบฟันลงบนรากเทียม ก็จะใช้งานได้เหมือนฟันธรรมชาติ

ทันตแพทย์จะผ่าตัดฝังรากเทียมไว้ในกระดูกขากรรไกรเพื่อทดแทนรากฟันธรรมชาติที่หายไปจากการถอนฟัน จากนั้นจะรอระยะเวลาให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกดีแล้ว ทันตแพทย์จึงสามารถใช้รากเทียมเป็นฐานยึดครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมได้

นอกจากนี้ ในบางเทคนิคการทำฟัน ทันตแพทย์สามารถทำฟันปลอมชั่วคราวให้กับผู้เข้ารับบริการที่เพิ่งถอนฟันมาได้ ซึ่งจะต้องมีการพิมพ์ปากก่อนการถอน แล้วหลังจากนั้นประมาณ 5-7 วัน จึงจะได้ตัวฟันปลอมมาใส่

ต้องใช้เวลานานแค่ไหนจึงเริ่มทำฟันปลอมได้

ภายหลังการถอนฟันหลายๆ ซี่ เหงือก และกระดูกจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างค่อนข้างเร็ว ทันตแพทย์จึงปล่อยให้ช่องเหงือกรักษา และเปลี่ยนรูปร่างตัวเองก่อนเป็นเวลาประมาณ 1-3 เดือน ก่อนจะทำฟันปลอมให้ 

ความรู้สึกเมื่อใส่ฟันปลอม

การใส่ฟันปลอมในตอนแรกจะมีความรู้สึกแปลกๆ เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาอยู่ในปาก จากนั้นเมื่อใส่ฟันปลอมเป็นประจำทุกๆ วัน คุณจะค่อยๆ ชินไปเอง 

ทันตแพทย์จะแนะนำให้สวมใส่ฟันปลอมตลอดเวลา ยกเว้นเวลาแปรงฟันและนอนเพื่อให้เหงือกได้พัก และป้องกันเนื้อเยื่อในช่องปากอักเสบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ทำฟันปลอมวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 2,425 บาท ลดสูงสุด 42%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีรับประทานอาหารด้วยฟันปลอมอย่างถูกต้อง

  • เมื่อเริ่มใส่ฟันปลอมครั้งแรกควรรับประทานแต่อาหารอ่อนๆ ก่อน
  • ตัดอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ และค่อยๆ เคี้ยวโดยใช้ฟันทั้งสองข้าง
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งและอาหารที่มีความเหนียว แข็ง หรือมีความคม 

กาวติดฟันปลอมจำเป็นอย่างไร

หากฟันปลอมของคุณสามารถใส่ได้อย่างพอดี ไม่หลุดง่าย ก็ไม่จำเป็นต้องใช้กาวติดฟันปลอม แต่หากกระดูกรองรับฟันปลอมเหลือน้อยมากจนรู้สึกว่า "ฟันปลอมหลวม หรือหลุดง่าย" ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการแก้ไข หรือใช้กาวติดฟันปลอมทำให้รู้สึกมั่นใจมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์และหลีกเลี่ยงการใช้กาวปริมาณมากเกินไป 

วิธีกำจัดกาวติดออกจากฟันปลอมสามารถทำได้ด้วยการใช้สบู่และน้ำ ส่วนคราบกาวที่ติดอยู่ในช่องปากก็สามารถล้างออกด้วยกระดาษทิชชู่ชุบน้ำ หรือด้วยผ้าเนื้ออ่อนชุบน้ำสะอาดนำมาเช็ดฟันปลอมให้ทั่ว

การดูแลช่องปากและทำความสะอาด

การดูแลความสะอาดช่องปากก็สำคัญพอๆ กับการทำความสะอาดตัวฟันปลอม ควรทำความสะอาดฟันปลอมให้สม่ำเสมอเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารที่อาจสะสมอยู่ 

เนื่องจากฟันปลอมที่ไม่สะอาดจะเป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆ เช่น กลิ่นปาก โรคปริทันต์ ฟันผุ และการติดเชื้อราในช่องปาก 

นอกจากนี้ควรแปรงฟันที่เหลืออยู่ ใช้ไหมขัดฟันหากยังมีฟันที่อยู่ชิดกันกับต้องแปรงเหงือกและแปรงลิ้นให้สะอาดอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน ด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุและปัญหาในช่องปากอื่นๆ และไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันทำความสะอาดฟันปลอมในช่องปาก

  • หากเป็นฟันปลอมชนิดติดแน่น ให้ดูแลเหมือนฟันธรรมชาติด้วยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟัน เนื่องจากหากทำความสะอาดไม่ดีอาจเกิดรอยผุตามขอบของวัสดุได้ 
  • หากเป็นฟันปลอมชนิดถอดได้ แช่ฟันปลอมในสารละลายที่มีฟองฟู่ หรือใส่เม็ดทำความสะอาดฟันลงในน้ำแช่ฟันปลอม เพื่อกำจัดคราบแบคทีเรียที่หลงเหลืออยู่ 
  • แปรงและขัดฟันปลอมชนิดถอดได้ด้วยยาสีฟัน หรือสบู่ และล้างด้วยน้ำสะอาดเพื่อกำจัดเศษอาหาร
  • ควรหาภาชนะใส่น้ำมารองไว้ขณะทำความสะอาดฟันปลอมเพื่อป้องกันการหล่นแตกหัก
  • การถอดฟันปลอมไว้ข้างนอก ควรให้ฟันปลอมมีความชื้นตลอดเวลาเพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุฟันปลอมเปลี่ยนรูปร่างไป

หลังใส่ฟันปลอมควรไปพบทันตแพทย์เมื่อไร

หากต้องใส่ฟันปลอม คุณควรไปพบทันตแพทย์ตามนัดและสม่ำเสมอ (แม้แต่ฟันปลอมแบบทั้งปากก็ตาม) เพื่อตรวจสภาพหาร่องรอยปัญหาต่างๆ 

โดยทั่วไปฟันปลอมมีอายุการใช้งานหลายปีหากดูแลอย่างดี แต่ส่วนใหญ่แล้วเหงือกและกระดูกรองรับฟันปลอมอาจละลายไปบ้างตามกาลเวลา ทำให้ฟันปลอมอาจหลวมและหลุดออกมาได้ 

ดังนั้นให้รีบไปพบทันตแพทย์หากว่า 

  • ฟันปลอมส่งเสียงขณะที่คุณพูด
  • ฟันปลอมหลวม หรือคุณรู้สึกได้ว่า ฟันปลอมไม่พอดีปากอีกแล้ว
  • ฟันปลอมทำให้คุณรู้สึกอึดอัด
  • ฟันปลอมมีความโทรมอย่างเห็นได้ชัด
  • คุณมีสัญญาณของโรคเหงือก หรือฟันผุ เช่น มีเลือดออกตามไรฟัน มีกลิ่นปาก เป็นต้น
  • หากไม่เปลี่ยนฟันปลอมที่เก่าและไม่พอดี ฟันปลอมอาจทำให้คุณเมื่อยปากได้ บางครั้งอาจส่งผลไปถึงการติดเชื้อ การรับประทานอาหาร การพูด ได้

แม้ว่าคุณจะไม่อยากใช้ฟันชุดที่สามที่ชื่อว่า "ฟันปลอม" เลย  แต่เชื่อเถอะว่า หากถึงเวลาที่จำเป็นต้องใช้ฟันปลอมจริงๆ รับรองว่า สิ่งประดิษฐ์นี้จะให้ประโยชน์มากกว่าโทษแน่นอน 

อย่างน้อยๆ การมีฟันปลอมก็ทำให้คุณรับประทานอาหารได้อย่างเอร็ดอร่อย ยิ้มกว้างได้อย่างไม่เคอะเขิน และเป็นตัวช่วยเสริมบุคลิกภาพชั้นดีจริงๆ 

คำถามที่พบบ่อย

ถ้าไม่อยากทำฟันปลอม มีทางเลือกอื่นหรือไม่? 

ตอบ คุณสามารถเลือกทำรากฟันเทียมแทนที่การทำฟันปลอมได้ โดยรากฟันเทียม เป็นวัสดุทำจากไทเทเนียมซึ่งจะเข้ามาทำงานแทนที่รากฟันจริงที่หายไป ทันตแพทย์จะฝังรากฟันเทียมกับกระดูกขากรรไกรบริเวณที่สูญเสียฟันและรากธรรมชาติ จากนั้นจะนำฟันปลอมมาใส่ 

พยายามรักษาฟันและช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอและหมั่นไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพฟัน ขูดหินปูน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือทุกๆ  6 เดือน เพื่อให้สุขภาพฟันแข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งห่างไกลการใส่ฟันชุดที่ 3 ก่อนวัยอันควร  

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำฟันปลอมแบบต่างๆ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สะพานฟันถอดได้ ปีกผีเสื้อ แบบติดข้างเดียว ต่างกันยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/dental-bridge-type).
สะพานฟัน คืออะไร? ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร? รวมข้อมูลครบแบบถามตอบเรื่องสะพานฟัน, (https://hdmall.co.th/c/what-you-need-to-know-about-dental-bridge).
Yu Hao, et. al., Influence of Dental Prosthesis and Restorative Materials Interface on Oral Biofilms (https://www.mdpi.com/1422-0067/19/10/3157), 25 December 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี
5 อาหารที่น่าตกใจสำหรับการมีสุขภาพฟันที่ดี

อาหารที่สามารส่งเสริมสุขภาพของช่องปากได้อย่างน่ามหัศจรรย์

อ่านเพิ่ม