คุณคิดว่าการแปรงและขัดฟันทุกเช้าเย็นนั้นสามารถรักษาความสะอาดในช่องปากของคุณได้ใช่ไหม? ความเป็นจริงแล้วแนวทางการป้องกันฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ และการขจัดกลิ่นปากนั้นมีมากกว่าที่คุณอาจทราบเสียอีก เราลองมาศึกษาขั้นตอนดังกล่าวกันเถอะ!
แม้ว่าคุณจะแปรงฟันและขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ แต่มันมีกรรมวิธีดูแลรักษาฟันมากกว่าที่คุณคาดคิด บรรดาทันตแพทย์ต่างแนะนำให้คุณปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้หากคุณยังคงต้องการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ครบ 32 ต่อไป
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ขั้นตอนที่ 1: เข้าใจถึงความต้องการด้านสุขภาพในช่องปากของคุณ
สุขภาพช่องปากนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวรวมไปถึงสิ่งที่คุณรับประทาน ประเภทและปริมาณของน้ำลายในปาก นิสัยส่วนตัว สุขภาพองค์รวม และกิจวัตรการรักษาอนามัยในช่องปากของคุณ
การเปลี่ยนแปลงสุขภาพทางร่างกายของคุณก็ส่งผลต่อสุขภาพทางช่องปากของคุณเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การใช้ยาที่มีฤทธิ์ลดปริมาณน้ำลายในช่องปากซึ่งทำให้ปากแห้ง เป็นต้น
ผู้หญิงมีครรภ์เองก็มักประสบกับการเปลี่ยนแปลงในช่องปาก ที่มักออกมาในรูปของอาการเหงือกอักเสบจากการตั้งครรภ์ รวมไปถึงกรณีผู้ป่วยโรคหอบหืดที่มักมีการหายใจผ่านช่องปากในขณะนอนหลับโดยไม่รู้ตัว ทำให้ปากแห้งมากกว่าคนทั่วไป ซึ่งเพิ่มอัตราการสะสมของแบคทีเรียและก่อให้เกิดโรคเหงือกอักเสบขึ้นมา
ขั้นตอนที่ 2: ทำให้การดูแลสุขภาพช่องปากเป็นกิจวัตรประจำวัน
กิจวัตรในแต่ละวันของคุณควรต้อง:
- ง่ายดายและเหมาะสมตรงความต้องการด้านสุขภาพของคุณเอง ยกตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังทานยาที่มีฤทธิ์ทำให้ปากของคุณแห้ง คุณก็ควรใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เป็นต้น
- แปรงฟันสองครั้งต่อวัน และทำการขัดฟันทุกวัน
- หากคุณประสบปัญหาในช่องปากอย่างเลือดออกตามไรฟัน หรือมีอาการปวดฟัน ให้ปรึกษาทันตแพทย์ทันที
ขั้นตอนที่ 3: ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
นอกจากที่ฟลูออไรด์จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการฟันของเด็กเล็กแล้ว มันยังช่วยป้องกันการสึกหรอของฟันทั้งในผู้ใหญ่และเด็กอีกด้วย จึงทำให้ฟลูออไรด์มีประโยชน์ต่อผู้คนทุกเพศทุกวัย ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากส่วนมากมีฟลูออไรด์ผสมอยู่ แต่หากจำเป็นจริง ๆ คุณก็สามารถขอให้ทันตแพทย์จ่ายเจล น้ำยาบ้วนปาก หรือยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เข้มข้นพิเศษให้คุณใช้ได้เช่นกัน
ขั้นตอนที่ 4: ทำการแปรงและขัดฟันเพื่อคราบแบคทีเรีย
การแปรงฟันอย่างน้อยสองครั้งต่อวัน กับการขัดฟันอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อวันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญที่ช่วยรักษาสุขภาพในช่องปากของคุณให้ดีอยู่เสมอ กิจวัตรเหล่านี้ช่วยคราบแบคทีเรีย (ซึ่งเป็นการสะสมและก่อตัวกันของแบคทีเรียบนฟันของคุณ) ซึ่งหากไม่ได้กำจัดมันเป็นประจำ มันจะก่อตัวจนแข็งและพัฒนากลายเป็นหินปูน ซึ่งหากปล่อยให้หินปูนดังกล่าวแข็งตัว ต้องให้ทันตแพทย์เป็นคนจัดการเท่านั้น อีกทั้งคราบแบคทีเรียที่อยู่ในช่องปากนั้นสามารถเปลี่ยนน้ำตาลที่อยู่ในอาหารให้กลายเป็นกรดซึ่งนำไปสู่การเกิดฟันผุอีกด้วย มันจึงสำคัญอย่างมากที่คุณต้องคอยแปรงและขัดฟันอย่างถูกต้องและถี่ถ้วน เพื่อกำจัดคราบแบคทีเรียออกจากทุกซอกมุมของฟันทุก ๆ ซี่ โดยเฉพาะจุดที่ฟันบรรจบกับเหงือก เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับเหงือกไปพร้อมกัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ขั้นตอนที่ 5: แปรงฟันหรือบ้วนปากทุกครั้งหลังอาหาร
การทำความสะอาดปากด้วยน้ำยาฟลูออไรด์จะช่วยทำให้ช่องปากของคุณสะอาดและสดชื่น เนื่องจากหลังจากการรับประทานอาหารทุกครั้ง เศษอาหารขนาดเล็กจำนวนมากจะยังคงติดอยู่ตามซอกในช่องปากของคุณ เมื่อเศษอาหารเหล่านี้สัมผัสกับคราบแบคทีเรียบนฟัน มันจะสร้างกรดซึ่งก่อให้เกิดโรคฟันผุในที่สุด
ขั้นตอนที่ 6: งดการสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่ทั้งแบบมีควันหรือไม่มีควันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเหงือกอักเสบ โรคฟันผุ โรคปริทันต์ และมะเร็งช่องปาก อีกทั้งการสูบบุหรี่ยังทำให้เกิดกลิ่นปาก และเปลี่ยนสีฟันของคุณได้
ขั้นตอนที่ 7: คอยตรวจ/สอดส่องช่องปากของคุณอย่างสม่ำเสมอ
แม้ว่าคุณจะมีนัดกับหมอฟันหรือทันตานามัยไม่กี่ครั้งในหนึ่งปี คุณก็สามารถทำการตรวจช่องปากของคุณด้วยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในช่วงเวลารายสัปดาห์ การเปลี่ยนแปลงที่คุณควรสังเกตเห็นยกตัวอย่างเช่น:
- เหงือกบวม
- ฟันบิ่น
- สีฟันเปลี่ยนไป
- อาการปวดหรือแผลที่เหงือก กระพุ้งแก้ม หรือลิ้น
สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ควรมีการตรวจช่องปากกับทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อตรวจหาร่องรอยความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งช่องปาก
ขั้นตอนที่ 8: นัดเจอกับทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
สำหรับผู้มีประวัติเคยเป็นฟันผุ ดัดฟัน กำลังใส่ฟันปลอม หรือเป็นโรคเบาหวาน เป็นสิงห์อมควัน รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาด้านภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มีแนวโน้มที่จะประสบกับปัญหาทางช่องปากอยู่บ่อยครั้ง (อย่างผู้ป่วย HIV หรือผู้ที่เข้ารับการรักษามะเร็ง เป็นต้น) ต้องคอยระมัดระวังด้านสุขภาพในช่องปากมากเป็นพิเศษ ทำให้ควรต้องมีการนัดพบทันตแพทย์บ่อยกว่าคนทั่วไป