7 สิ่งที่ทันตแพทย์อยากให้คุณรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
7 สิ่งที่ทันตแพทย์อยากให้คุณรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก

การที่คุณแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง อย่างถูกต้องและมีการขัดฟันบ้างในบางโอกาส แต่นั่่นยังไม่เพียงพอ การดูแลสุขภาพช่องปากไม่เคยเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงขวบปีแรก มีความเชื่อบางอย่างที่เกี่ยวกับสุขอนามัยของช่องปาก พวกเราจึงตัดสินใจที่จะคุยกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คุณเข้าใจว่าอะไรที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขอนามัยของฟัน และสุขภาพช่องปากนี่คือสิ่งที่เราจะแนะนำคุณตามหัวข้อต่อไปนี้

1. การดูแลฟันน้ำนมเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง

ความไม่เอาใจใส่ในการดูแลฟันของบุตรหลานของคุณอาจส่งผลให้เกิดปัญหา เช่น การสูญเสียฟันของทารก และฟันผุ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดความเจ็บปวด การสูญเสียฟันน้ำนมก่อนเวลาอันควร เป็นสาเหตุให้เกิดการเลื่อนของช่องของซี่ฟันในช่องปาก เช่นเหลือพื้นที่ไม่พอlสำหรับการขึ้นของฟันแท้ ฟันน้ำนมยังมีหน้าที่เป็นตัวจัดช่องว่างตามธรรมชาติสำหรับฟัน ดังนั้นถึงแม้ว่าคุณคิดว่าจะมีฟันแท้ขึ้นแทนในภายหลัง คุณก็ยังจำเป็นที่จะต้องดูแลเป็นอย่างดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. เลือกยาสีฟันที่เหมาะสม

เมื่อคุณเลือกซื้อยาสีฟันควรเลือกยาสีฟันที่มีสารฟลูออไรด์ ฟลูออไรด์ในยาสีฟันมีหน้าที่ในการป้องกันฟันผุ ต่อมาเมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติอื่นๆของยาสีฟัน เช่น ทำให้ฟันขาว,ควบคุมหินปูน,ดูแลเหงือก,ลดการเสียวฟัน ฯลฯ มันเป็นเรื่องดีที่จะปรึกษาหมอฟันของคุณเกี่ยวกับการดูแลฟันของคุณ สุดท้ายนี้ความชื่นชอบส่วนตัวก็เป็นเรื่องสำคัญ การเลือกยาสีฟันที่มีรสชาติที่ทำให้รู้สึกดี ทั้งแบบเจล และแบบยาสีฟันก็ทำงานได้ดีเหมือนกัน หากคุณพบว่าส่วนผสมของยาสีฟัน ได้ทำให้ฟันระคายเคือง,กระพุ้งแก้มหรือริมฝีปากหรือทำให้ฟันของคุณเกิดอาการเสียว หรือคุณรู้สึกระคายเคืองปากหลังแปรงฟันคุณควรที่จะลองเปลี่ยนยาสีฟัน

3. คุณควรทำอย่างไรเมื่อฟันหลุด

การที่เด็กหกล้มในระหว่างเล่น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดความเจ็บปวดของเนื้อเยื่อ ซึ่งมีตั้งแต่เลือดออกตามไรฟันจนถึงการฉีกขาด แต่ยิ่งกว่านั้นคือการที่ฟันหลุดออกมา ในกรณีนี้โปรดจำไว้ว่าห้ามโยนฟันทิ้งอย่างเด็ดขาด มันสามารถรักษาได้หากฟันนั้นสะอาดโดยการที่ใส่กลับเข้าไปที่เดิม หากสิ่งนี้เป็นไปไม่ได้หรือมีโอกาสที่ฟันอาจถูกกลืนให้นำฟันไปใส่ไว้ในขวดนมไว้ก่อน ชั่วโมงแรกๆจะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ดังนั้นคุณควรรีบที่จะไปพบทันตแพทย์พร้อมทั้งนำฟันไปด้วย

4. การถอนฟันไม่ได้ส่งผลต่อสายตาและการมองเห็น

ความเชื่อนี้เกิดขึ้นมาจาก”เขี้ยว”ฟันด้านบนที่ถูกเรียกว่า ฟันที่ใช้ในการมองเห็นเกิดขึ้นในยุคก่อนที่จะมียาปฎิชีวนะ และยาแผนปัจจุบัน การติดเชื้อของฟันบนมักจะแพร่เชื้อไปที่ดวงตาและใบหน้านำไปสู่การตาบอด อย่างไรก็ตามไม่มีการพบหลักฐานใดๆ ว่าการถอนฟันมีความสัมพันธ์กับดวงตาและการมองเห็น ในขณะที่อาการชาที่ส่งผลมาจากการถอนฟันอาจส่งผลให้บริเวณใบหน้าโดยรอบมีอาการชา ซึ่งจะหายเป็นปกติภายใน 3- 4 ชั่วโมง

5. การทำความสะอาด/การขูดหินปูน ไม่ได้ทำให้ฟันอ่อนแอลง

การขูดหินปูนไม่ได้ทำให้ฟันอ่อนแอลง การเสียฟันเกิดขึ้นจากการที่เหงือกถูกทำลายโดยการยึดเกาะของหินปูนเป็นเพียงแค่การขูดหินปูนออกจากฟันเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นทันตแพทย์เพียงแค่ทำความสะอาดสิ่งสกปรกที่ยึดเกาะภายนอกที่ไม่ใช่เคลือบฟัน การเสียวฟันภายหลังจากการขูดหินปูนเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากพื้นที่ของฟันที่โดนหินปูนปกคลุมไว้ได้ถูกขูดออกทำให้เรารู้สึกว่าเราเสียวฟันมากกว่าปกติ คุณรู้หรือไม่ว่าสุขอนามัยของฟันที่ไม่ดีอาจนำไปสู่มะเร็งที่ช่องปาก? 

6. การจัดฟันก็จำเป็นสำหรับผู้ใหญ่เช่นกัน

ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการพัฒนาสุขภาพช่องปากและความสวยงามของรอยยิ้ม ปัญหาที่พบเช่น ฟันเก ฟันคุด ฟันเหลื่อม และการผิดรูปของขากรรไกร หรืออาการผิดปกติของขากรรไกร หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้เกิดโรคฟันผุ โรคเหงือก  และการยิ้มที่ผิดปกติ ในปัจจุบันทันตกรรมได้มีทางเลือกที่หลากหลายสำหรับการจัดฟันในผู้ใหญ่ที่มากไปกว่าเหล็กจัดฟันแบบเดิมๆ ซึ่งรวมไปถึงการจัดฟันแบบเซรามิก และใหม่ล่าสุดคือการจัดฟันแบบใส

7. การพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน

ปัญหาช่องปากและฟันหากถูกแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆจะสามารถทำได้ง่าย , ไม่ซับซ้อน , เจ็บปวดน้อยและประหยัดกว่าหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การเลเซอร์ปรับปรุงรูปเหงือก , การเลเซอร์เหงือกชมพู การเลเซอร์ฟันขาว ทุกอย่างเป็นไปได้โดยทันตกรรมเพื่อความสวยงาม 


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Take care of your teeth and gums. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/take-care-of-your-teeth-and-gums/)
The 8 best practices for healthy teeth and gums. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324708)
Mayo Clinic Staff. (2016). Oral health: Brush up on dental care basics. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/dental/art-20045536)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เมื่อเหงือกบวมเป็นปัญหา ควรรักษาอย่างไร?
เมื่อเหงือกบวมเป็นปัญหา ควรรักษาอย่างไร?

เหงือกบวม ปัญหาช่องปากที่สร้างความลำบากให้กับคุณ อ่านวิธีรักษาและสาเหตุของอาการเหงือบวม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น

อ่านเพิ่ม
รวมรูปแบบและราคาการจัดฟันโดยประมาณ
รวมรูปแบบและราคาการจัดฟันโดยประมาณ

จัดฟันมีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร ราคาประมาณเท่าไหร่บ้าง

อ่านเพิ่ม