กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เลือดออกตามไรฟัน

สัญญาณเตือนสุขภาพที่เกิดได้ทุกเพศทุกวัย อย่าชะล่าใจโดยเด็ดขาด
เผยแพร่ครั้งแรก 20 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เลือดออกตามไรฟัน

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคเลือดออกตามไรฟัน หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “โรคลักปิดลักเปิด” แม้จะไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่อาจสร้างความรำคาญให้กับผู้ที่เป็น
  • เลือดออกตามไรฟันเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อที่เหงือก ร่างกายขาดวิตามินซีหรือเค การกระทบกระแทบระหว่างแปรงฟัง อุปกรณ์จัดฟัน และการใส่ฟันปลอม
  • แม้ส่วนใหญ่โรคนี้อาจไม่ร้ายแรง แต่ในบางกรณีอาจเป็นสัญญาณเตือนของ โรคฮีโมฟีเลีย โรคลูคีเมีย โรคไข้เลือดออก หรือโรคอื่นๆ ที่เป็นแล้วมีผลให้เกล็ดเลือดต่ำ
  • วิธีป้องกันคือรักษาความสะอาดในช่องปากให้ดี พบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันประจำปี ปีละ 2 ครั้ง หรือทุก 6 เดือน เพื่อขูดหินปูน ซึ่งเป็นวิธีป้องกันการสะสมพลัคที่อาจทำให้เหงือกอักเสบได้
  • ดูแพ็กเกจขูดหินปูนได้ที่นี่

โรคเลือดออกตามไรฟัน หรือที่เรียกอีกชื่อว่า “โรคลักปิดลักเปิด” เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แม้ว่าจะไม่ใช่โรคร้ายแรงจนถึงอันตรายแก่ชีวิต แต่เมื่อเป็นแล้วก็มักจะสร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ป่วย หรือเกิดความรำคาญใจ 

อีกทั้งยังอาจทำให้เสียบุคลิกภาพได้เพราะคนภายนอกจะเห็นร่องรอยสีแดงเวลายิ้ม ซ้ำร้ายยังอาจถูกมองว่าไม่รู้จักรักษาสุขภาพฟันให้ดี ปล่อยให้มีปัญหา จนกระทั่งปรากฏอาการออกมาให้เห็นได้ชัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุของโรคเลือดออกตามไรฟัน

ปัญหาเลือดออกตามไรฟันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น 

  • การแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟันอย่างรุนแรง จนทำให้เหงือกเป็นแผลและมีเลือดออก 

  • ปัญหาภายในช่องปาก เช่น คราบพลัค เหงือกบวมอักเสบ 

  • อาการติดเชื้อที่เหงือกและฟัน ทำให้มีเลือดออกตามไรฟันได้ง่าย 

  • ภาวะร่างกายขาดวิตามินซีและวิตามินเค

  • การใส่ฟันปลอม หรือการจัดฟันที่ไม่พอดีกับฟัน 

  • เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ 

  • การใช้ยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาต้านทานการแข็งตัวของเลือด 

  • สัญญาณเตือนของโรคภัย เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (โรคไหลไม่หยุด) โรคลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) โรคไข้เลือดออก หรือโรคอื่นๆ ที่เป็นแล้วมีผลให้เกล็ดเลือดต่ำ เช่นไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น

  • หากสาเหตุที่ทำให้เลือดออกตามไรฟันไม่ได้เกิดจากพวกวัสดุใส่ฟันและหาสาเหตุไม่ได้ รวมถึงมีอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆควรไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

การวินิจฉัยโรคเลือดออกตามไรฟัน

  • ซักประวัติ สอบถามพฤติกรรมการดูแลช่องปาก การเลือกใช้แปรงสีฟันกับยาสีฟัน พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เนื่องจากบางครั้งอาจเกิดจากการขาดวิตามินซี หรืออยู่ระหว่างตั้งครรภ์

  • ตรวจฟัน เหงือก และช่องปากเพื่อหาข้อสันนิษฐานของโรคว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น กรณีที่เกิดจากบริเวณคอฟันมีหินปูนและคราบพลัคเกาะอย่างหนาแน่น สามารถรักษาได้ด้วยการขูดหินปูน กรณีเกิดจากปรับเปลี่ยนฟันปลอม หรือจัดฟัน หากตรวจว่า โรคเกิดจากสาเหตุนี้ ทันตแพทย์อาจให้มีการจัดฟันใหม่ หรือเปลี่ยนฟันปลอมชุดใหม่อีกครั้ง

  • เอกซเรย์ช่องปากเพื่อดูฟันและเหงือก

  • ตรวจเลือดดูความสมบูรณ์และปริมาณของเม็ดเลือดขาวเพื่อหาค่าการอักเสบ  ตรวจดูเกล็ดเลือด

วิธีรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน

  • แนะนำวิธีดูแลรักษาความสะอาดที่ถูกวิธี รวมถึงแก้ไขตามอาการของผู้ป่วยแต่ละคน

  • ติดตามอาการหลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลดสาเหตุแล้ว 

  • กรณีที่ผู้ป่วยยังไม่หายจากโรค ต้องมีการตรวจอาการอย่างละเอียดอีกครั้งเพราะอาจมีโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น โรคที่เกี่ยวกับความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด โรคมะเร็งในช่องปาก และโรคมะเร็งเหงือก เป็นต้น

วิธีป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และต้องเลือกแปรงสีฟันที่ขนแปรงไม่แข็ง หรือนุ่มเกินไป

  • เลือกใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์

  • ใช้ไหมขัดฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีคราบพลัค และควรใช้ไหมขัดฟันให้ถูกวิธีด้วย

  • พบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันประจำปี ปีละ 2 ครั้ง หรือทุก 6 เดือน เพื่อขูดหินปูน ซึ่งเป็นวิธีป้องกันการสะสมพลัคที่อาจทำให้เหงือกอักเสบได้

  • รับประทานผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและวิตามินเคให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย วิตามินซีพบมากในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว แต่ก็มีผักผลไม้บางประเภทที่มีวิตามินซีสูงเช่นกัน เช่น ฝรั่ง มะเขือเทศ ผักบล็อกโคลี่ เป็นต้น ส่วนวิตามินเคจะพบมากในผักใบเขียว ข้าวโพด เนื้อสัตว์ นม เนย น้ำมันมะะกอก น้ำมันถั่วเหลือง

  • ไม่รับประทานคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสะสมของคราบพลัคได้

  • กรณีที่จัดฟันจะต้องใส่ใจการดูแลรักษาความสะอาดให้ดี หากมีอาการผิดปกติควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที

  • ใช้ฟันปลอมที่พอดีกับขนาดของปาก เพราะฟันปลอมที่มีขนาดไม่พอดีจะมีผลเสียในระยะยาว นอกจากทำให้มีเลือดออกตามไรฟันแล้ว อาจทำให้มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหารตามมาด้วย

  • ควรงดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยเฉพาะในช่วงระยะที่มีอาการเลือดออกตามไรฟัน แม้แต่การบ้วนปากด้วยน้ำยาที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่ก็ทำให้อาการหายช้าลงได้

ปัญหาเลือดออกตามไรฟันอาจจะดูเหมือนเป็นปัญหาเล็กๆ ที่ไม่ใหญ่โต แต่เพื่อความมั่นใจในสุขภาพช่องปาก จึงควรรักษาให้หายดี หมั่นดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเก็เพียงพอแล้ว

ดูแพ็กเกจขูดหินปูน เปรียบเทียบราคา โปรโมชันล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tada A, Miura H. The relationship between Vitamin C and periodontal diseases : A systematic review. Int. J. Environ. Res. Public health 2019, 16(4), 2472.
Carranza FA, et al. Carranza’s Clinical periodontology (10ed). Elsevier, 2016.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
9 สาเหตุของอาการปวดฟัน
9 สาเหตุของอาการปวดฟัน

"รู้" เพื่อแก้ไขอาการสุดทรมานที่ทำให้กินอาหารไม่อร่อย นอนไม่หลับ และทำลายสมาธิในการทำงาน หรือการเรียนมาแล้ว

อ่านเพิ่ม