ถึงแม้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนต้องการที่จะไม่ใช้ยาใดๆเลยในช่วงระยะตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามในบางครั้งหญิงตั้งครรภ์อาจมีอาการแพ้ท้อง หรือแม้กระทั่งบางรายที่มีโรคเรื้อรังจึงเป็นไปได้ยากที่จะไม่ใช้ยาเลยในช่วงตั้งครรภ์ ดังนั้นข้อมูลทั้งหมดหมดที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จึงเป็นข้อมูลจำเป็นที่หญิงตั้งครรภ์ควรทราบเกี่ยวกับการใช้ยาขณะตั้งครรภ์
ยาที่พิจารณาแล้วว่าใช้ได้อย่างปลอดภัยในขณะตั้งครรภ์
ไม่มียาใดที่ใช่ได้อย่างปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ในขณะตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง หรือยาสมุนไพร แต่อย่างไรก็ตามมียาเพียงไม่กี่ชนิดที่ถูกพิจารณาว่าเป็นยาที่อันตรายต่อการพัฒนาของตัวอ่อน และมียาหลายชนิดที่ใช้ได้ในช่วงตั้งครรภ์ แต่กระนั้นก่อนใช้ยาทุกชนิด ควรปรึกษาแพทย์ถึงขนาดการใช้ และวิธีใช้ก่อนเสมอ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ยาที่มีสามารถใช้ได้ในช่วงตั้งครรภ์มีดังนี้
- ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ซึ่งเป็นตัวยาสำคัญของยายี่ห้อไทลินอล (Tylenol) ใช้สำหรับแก้ปวด ลดไข้ ซึ่งสามารถใช้ได้ในระยะสั้น
- ยาลดกรด (Antacids) ซึ่งมีส่วนประกอบของแคลเซียม คาร์บอเนต ใช้ลดอาการกรดไหลย้อนได้
- ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) หรือยาแก้แพ้ สามารถใช้ได้แต่ไม่ได้ปลอดภัยทุกชนิด ตัวที่แพทย์นิยมใช้คือ ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ลาราตาดีน (Loratadine) ในบางรายแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
- ยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของเด็กซ์โตรเมทโทแฟน (dextromethorphan) หรือรวมถึงยาขับเสมหะต่างๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
- ยาระบายชนิดไฟเบอร์ (Fiber laxatives) ใช้สำหรับอาการท้องผูกได้อย่างปลอดภัย
- ยาขับลม สำหรับท้องอืดท้องเฟ้อ สามารถใช้ได้เป็นครั้งคราว เช่น แอร์เอ็กซ์ (Air-X) เป็นต้น
- ยาพ่นจมูกที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ (steroids) ใช้สำหรับลดอาการคัดจมูก หรืออาจใช้น้ำเกลือแทนก็ได้
- ยาที่ใช้สำหรับโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด หรือ เบาหวาน โดยรวมสามารถใช้ได้ที่จะใช้ต่อไปในช่วงตั้งครรภ์ แต่ทั้งนี้ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
- วิตามิน วิตามินสำหรับก่อนคลอดสามารถรับประทานได้ เพื่อเสริมสร้างวิวัฒนาการของตัวอ่อน แต่สารอาหารต่างๆ แต่ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
- ยาครีมสำหรับผื่นผิวหนัง เช่น ยาทาผื่นภูมิแพ้ หรือยาทาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ สามารถทาได้เป็นครั้งคราว และใช้ในปริมาณน้อย
- วิค วาโปรับ (Vicks Vaporub) สามารถใช้ในการถูนวด หรือลดการคัดจมูกได้
- ยาเหน็บสำหรับริดสีดวง สามารถใช้ กลีเซอรีนแบบเหน็บได้
ยาที่หญิงตั้งครรภ์อาจจะใช้ได้
ในบางกรณีแพทย์อาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อรักษาโรคบางชนิด โดยใช้ในความดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ยาปฏิชีวนะบางชนิดสามารถใช้ได้ในการรักษาโรคติดเชื้อ โดยใช้เมื่อแพทย์สั่งเท่านั้น
- ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาแอสไพรินเป็นยาที่ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สาม เนื่องจากจะเพิ่มโอกาสในการเกิดเลือดไหลไม่หยุดและอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบต่อของตัวอ่อนได้ แต่ในบางการศึกษาได้พบว่าการใช้แอสไพรินขนาดต่ำสามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ (preeclampsia) ได้ หรือในบางการศึกษาพบว่าการใช้แอสไพรินขนาดต่ำร่วมกับแฮปาริน (Heparin) สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดการแท้งบุตรได้ในบางราย ดังนั้นในการใช้จึงขึ้นอยู่กับแพทย์ประจำตัวผู้ป่วยนั้นเท่านั้น
- ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) โดยทั่วไปหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยานี้ โดยเฉพาะในไตรมาสที่หนึ่งและไตรมาสที่สาม ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้ จะใช้ได้เมื่อแพทย์สั่งใช้ยาเท่านั้น
- ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressant) ยาต้านซึมเศร้าบางชนิดสามารถใช้ได้ในช่วงตั้งครรภ์ แต่บางชนิดก็ห้ามใช้อย่างเด็ดขาดในช่วงตั้งครรภ์ ดังนั้นขึ้นอยู่กับแพทย์ประจำตัวและดูเป็นกรณีไป ว่าควรใช้ยาหรือไม่ จะเป็นประโยชน์หรือโทษมากกว่าต่อมารดาและบุตร ทั้งนี้ขึ้นกับการวินิจฉัยของแพทย์
ยาที่หญิงตั้งครรภ์ห้ามใช้มีดังนี้
- ตัวยับยั้ง แองจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ (Angiotensin-converting enzyme inhibitors) ซึ่งเป็นยารักษาภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งมีผลทำให้แท้งบุตรหรือทารกพิการได้
- ยาแก้คัดจมูก ซูโดอีฟริดีน และ ฟีนิลอิฟรีน (Pseudoephedrine,Phenylephrine) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกพิการและส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปสู่รกได้ และควรหลีกเลี่ยงยาแก้อักเสบและการดื่มแอลกอฮอล์
- ไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) ยานี้ใช้รักษาสิวอักเสบรุนแรง โดยจะทำให้แท้งบุตรและอาจเสี่ยงต่อการทำให้ทารกพิการได้
- ยาเมโธเทรกเซท (Methotrexate) เป็นยารักษาสะเก็ดเงินและข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยาจะทำให้แท้งบุตรและอาจเสี่ยงต่อการทำให้ทารกพิการได้
- ยานาพรอกเซน (Naproxen) เป็นยากลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ โดยการใช้ในช่วงไตรมาสที่หนึ่งและสองอาจทำให้แท้งบุตรหรือทารกวิรูป การใช้ในช่วงไตรมาสที่สามจะส่งผลให้ความดันในปอดของเด็กสูงได้
- ยาพ่นจมูกที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีส่วนผสมของออกซีเมทาโซลิน (Ozymetazoline) โดยมากจะไม่แนะนำให้ใช้ หรืออาจให้ใช้เพียง 1-2 วัน หลังจากผ่านช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก
- วาโปรอิก แอซิด (Valproic acid) เป็นยากันชัก รักษาโรคไบโพล่า หรือบางรายอาจใช้รักษาไมเกรน ซึ่งการใช้ยานี้จะก่อให้เกิดทารกพิการ เช่น หัวใจผิดปกติ ปากแหว่งเพดานโหว่ หรืออาจทำให้เด็กมีพัฒนาการช้าได้
การใช้ยาปฏิชีวนะในหญิงตั้งครรภ์
ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่มีความสำคัญมาก เป็นยาช่วยชีวิต ใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากแพทย์ให้ยาปฏิชีวนะมาใช้ในขณะตั้งครรภ์ นั่นหมายถึงแพทย์เห็นถึงประโยชน์ในการช่วยชีวิตมากกว่าโทษหรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งโดยมากแพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มแพนนิซิลลิน (penicillin) หรือ อิริโทรมัยซิน (erythromycin)
แต่การใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยเกินไป หรือใช้อย่างไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดการดื้อยาได้ สิ่งที่ควรพิจารณาไว้เสมอมีดังนี้
- ยาปฏิชีวนะใช้สำหรับรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ดังนั้นโรคที่เกิดจากการติดเชื้ออื่น เช่น ไวรัส (ไข้หวัด) จะใช้ไม่ได้ผล
- ยาปฏิชีวนะหลายชนิดสามารถใช้ได้ในขณะตั้งครรภ์ ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
- การติดเชื้อแบคทีเรียแต่ละชนิด จะรักษาได้โดยยาปฏิชีวนะต่างชนิดและขนาดกันไป และแต่โรค ดังนั้นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ทุกครั้ง และใช้ตรงตามขนาดที่แพทย์สั่ง
- รับประทานยาปฏิชีวนะให้ตรงตามแพทย์สั่งทุกครั้ง ไม่ควรรับประทานยาเป็นสองเท่า หรือลดปริมาณลงด้วยตัวเอง อาจทำให้เชื้อดื้อยาได้
- รับประมานยาที่ได้รับจากแพทย์ที่ทราบว่าท่านตั้งครรภ์เท่านั้น
- ปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มรับประทานอาหารเสริมโปรไบโอติก เพื่อรักษาสมดุลของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้
- ยาปฏิชีวนะที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ เตตราไซคลีน (tetracycline) ซึ่งโดยมากจะใช้รักษาสิว อาจจะทำให้แท้งบุตร และทารกพิการ เกิดปัญหาต่อกระดูกและฟันของทารกได้ โดยทำให้ฟันมีสีเทาและลดการเจริญเติบโตของกระดูก
- มีการศึกษาจากประเทศแคนาดาพบว่ายาปฏิชีวนะที่ประกอบด้วย อะซิโทรมัยซิน คลาริโทรมัยซิน และ เมโทรนิดาโซล อาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตรได้ และยังพบว่ายากลุ่มควิโนโลน เตตราไซคลีน และซัลโฟนาไมด์ สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้
การรับประทานยาปฏิชีวนะอย่างปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์
- แจ้งแพทย์ทุกครั้งว่าท่านกำลังตั้งครรภ์ โดยให้แจ้งทุกครั้งที่เข้าพบแพทย์ ไม่ว่าจะแพทย์คนเดิมหรือคนใหม่ และแจ้งถึงยาที่ได้ใช้อยู่ปัจจุบันด้วย
- แจ้งแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งว่าใช้ยาอะไรอยู่บ้าง หรือ อาหารเสริม วิตามิน เช่นกัน เนื่องจากระบบเผาผลาญและดูดซึมยาในหญิงตั้งครรภ์นั้นแตกต่างจากคนปกติ ดังนั้นขนาดการใช้จึงต้องปรับเปลี่ยนใหม่หรือเปลี่ยนชนิดยา ดังนั้นจึงต้องปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนเสมอ
- ใช้ยาอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์และโทษของยาต่อแม่และทารกก่อนเสมอ ประโยชน์ต้องมีมากกว่าโทษ
- สอบถามข้อมูลให้ครบถ้วน โดยข้อมูลที่ต้องทราบคือ ขนาดการใช้ยา วิธเก็บรักษายาที่เหมาสม ยา อาหารเสริม หรือเครื่องดื่ม อาหารใดที่ไม่เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น
- ควรจำรูปร่าง ลักษณะเม็ดยาที่ใช้ประจำให้ได้
- อ่านฉลากยา และตรวจสอบฉลาก ก่อนเปิดรับประทานยาเสมอ ว่าตรงตามขนาดที่ต้องใช้ หรือ ถูกชนิดหรือไม่
- อ่านฉลาก ใบปลิวที่แนบมากับยาด้วยเสมอ เพื่อให้ทราบถึงข้อมูล กลไกการออกฤทธิ์ของยาที่จะใช้
- ห้ามแบ่งยาใช้ร่วมกับผู้อื่น หรือใช้ยาของผู้อื่น
การอ่านและทำความเข้าใจฉลากยา
ภายในฉลากยา จะมีข้อมูลเกี่ยวกับยาชนิดนั้นอยู่อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะผลกระทบต่อหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ ซึ่งจะทำให้เข้าใจต่อกลไลและผลกระทบต่อร่างกายได้ง่ายขึ้น
ในส่วนของข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ในฉลากนั้น จะเป็นส่วนที่แจ้งถึงผลกระทบที่ยานั้นจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้มากน้อยเพียงใด เมื่อไรที่หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับยานี้ ผลข้างเคียงของยา ข้อมูลการศึกษา ทางเลือกการรักษาอื่น เป็นต้น นอกจากส่วนของหญิงตั้งครรภ์แล้ว ยังมีส่วนของหญิงให้นมบุตร ซึ่งเช่นเดียวกันในส่วนนี้จะเน้นถึงผลของยาต่อน้ำนมแม่ มียาผสมอยู่ในน้ำนมหรือไม่ ส่งผลต่อทารกที่กินนมอย่างไร และส่วนสุดท้ายคือผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์จะอธิบายถึงผลข้างเคียงของยาต่อระบบสืบพันธุ์ การคุมกำเนิด สมรรถภาพทางเพศ และข้อควรระวังต่างๆในการใช้ยา เป็นต้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง