โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Bowel cancer)

เผยแพร่ครั้งแรก 17 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 27 นาที
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Bowel cancer)

หากกล่าวถึงมะเร็งลำไส้ โดยทั่วไปจะหมายถึงมะเร็งซึ่งเกิดจากเซลล์เยื่อบุบริเวณลำไส้ใหญ่และพัฒนากลายเป็นเซลล์มะเร็ง โดยโรคนี้จะมีอาการสำคัญคือเลือดออกปนอุจจาระ ปวดท้อง และพฤติกรรมขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไป

บทนำ

โรคมะเร็งลำไส้ (Bowel cancer) นั้นเป็นชื่อเรียกสั้น ๆ ของมะเร็งที่เริ่มต้นเกิดขึ้นที่บริเวณลำไส้ใหญ่ โดยอาจเรียกว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งลำไส้ตรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคมะเร็งบางครั้งอาจเริ่มต้นในส่วนของลำไส้เล็กได้เช่นกัน แต่จะพบได้ยากกว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ค่อนข้างมาก

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งชนิดที่พบมากที่สุดในสหราชอาณาจักรโดยมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 40,000 รายที่ได้รับการวินิจฉัยทุกปี และสำหรับในไทยมะเร็งลำไส้ใหญ่ถือเป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุแห่งการเสียชีวิตในลำดับต้นๆ ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมดในประเทศไทย พบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชายมากเป็นลำดับ 3 รองจากมะเร็งตับและมะเร็งปอด ส่วนในผู้หญิงพบเป็นลำดับ 5 รองจากมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งปอด

อาการและอาการแสดงของมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาการที่สำคัญของมะเร็งลำไส้ใหญ่มีทั้งหมดสามอาการ ได้แก่ พบเลือดปนในอุจจาระ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับถ่าย เช่น อุจจาระบ่อยมากขึ้น อุจจาระเหลว และอาการปวดท้อง

อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ที่พบได้บ่อยและผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการเหล่านั้นไม่ได้เกิดจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น การพบเลือดปนในอุจจาระมักเกิดจากโรคริดสีดวงทวาร และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับถ่าย หรืออาการปวดท้องก็มักเป็นผลมาจากสิ่งที่คุณทานเข้าไป

เนื่องจากเกือบ 9 ใน 10 คนที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นมีอายุเกิน 60 ปี อาการเหล่านี้จึงมีความสำคัญมากกว่าเมื่ออายุมากขึ้น และอาการเหล่านี้ก็จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเมื่ออาการยังคงอยู่แม้จะได้รับการรักษาง่าย ๆ ไปแล้วก็ตาม

ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่มักมีอาการแทรกซ้อนอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การเปลี่ยนแปลงนิสัยลำไส้และการขับถ่ายอย่างถาวรทำให้ผู้ป่วยต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นและอุจจาระเหลวมากขึ้น และมักจะพบร่วมกับเลือดในอุจจาระด้วย
  • การเปลี่ยนแปลงนิสัยลำไส้อย่างถาวรแม้ไม่พบเลือดในอุจจาระแต่มีอาการปวดท้องร่วมด้วย
  • พบเลือดในอุจจาระโดยไม่พบอาการของริดสีดวงทวารอื่น  ๆ เช่น ความเจ็บปวด อาการอ่อนเพลีย อาการไม่สบาย อาการปวด อาการคัน หรือก้อนเนื้อที่ยื่นออกมานอกทวารหนัก
  • อาการปวดท้อง  อึดอัดหรือท้องอืดซึ่งเกิดขึ้นอยู่เสมอเมื่อทานอาหาร และบางครั้งทำให้ไม่อยากทานอาหารและสูญเสียน้ำหนักตามมา
  • การเปลี่ยนแปลงนิสัยการขับถ่ายอย่างถาวร ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น หรือพบอุจจาระเหลว และมักพบเลือดในอุจจาระร่วมด้วย
  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับถ่ายอย่างถาวรโดยไม่พบเลือดปนในอุจจาระ แต่มีอาการปวดท้องร่วมด้วย
  • พบเลือดในอุจจาระโดยไม่พบอาการของริดสีดวงทวารอื่น  ๆ เช่น อาการเจ็บปวด อ่อนเพลีย ไม่สบาย อาการปวด อาการคัน หรือก้อนเนื้อที่ยื่นออกมานอกทวารหนักแต่อย่างใด
  • อาการปวดท้อง เสียดแน่น หรืออาการท้องอืดซึ่งเกิดขึ้นเสมอเมื่อทานอาหาร และบางครั้งทำให้ไม่อยากทานอาหารและเกิดการสูญเสียน้ำหนักตามมา

อาการของโรคมะเร็งลำไส้อาจเบาบางมากได้เช่นกัน และไม่จำเป็นที่อาการเหล่านั้นต้องทำให้คุณรู้สึกไม่สบาย

คุณควรเข้าปรึกษาแพทย์เมื่อไหร่

ศึกษาอาการของโรคมะเร็งลำไส้ และเมื่อใดที่คุณควรจะไปพบแพทย์เกี่ยวกับการตรวจหรือทดสอบใด ๆ  หรือไม่

แพทย์ของคุณอาจจะทำการตรวจสอบง่าย ๆ ในบริเวณท้องและบริเวณช่วงล่างของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าคุณมีก้อนเนื้อใดหรือไม่

นอกจากนี้ แพทย์ของคุณอาจส่งตรวจเลือดเพื่อตรวจหาคุณเป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการมีเลือดออกจากลำไส้ของคุณ

ในบางกรณี แพทย์ของคุณอาจตัดสินใจว่าคุณควรเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลต่อหรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าอาการของคุณไม่รุนแรง

ให้แน่ใจว่าคุณได้กลับไปพบแพทย์ของคุณ หากอาการยังคงเป็นอยู่หรือกลับมาเป็นซ้ำหลังจากการรักษาง่าย ๆ เหล่านั้นเสร็จสิ้น โดยไม่คำนึงถึงความรุนแรงของอาการหรืออายุของคุณใด ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ใครมีความเสี่ยงจะเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้บ้าง

ไม่ทราบแน่ชัดว่าสิ่งใดเป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่มีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของคุณ ได้แก่:

  • อายุ - เกือบ 9 ใน 10 ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นในคนที่อายุมากกว่า 60 ปี
  • อาหาร - การทานอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์สีแดงหรือเนื้อสัตว์แปรรูปหรืออาหารที่มีเส้นใยต่ำจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • น้ำหนัก - มะเร็งลำไส้ใหญ่พบได้บ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
  • การออกกำลังกาย - การไม่ออกกำลังกายสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • แอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ - การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณสูงและการสูบบุหรี่เป็นประจำอาจเพิ่มโอกาสในการเป็นมะเร็งลำไส้
  • ประวัติครอบครัว - ผู้ป่วยที่มีญาติสายตรง เช่น มารดา บิดา พี่หรือน้องที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในช่วงอายุต่ำกว่า 50 ปี ทำให้คุณมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งแบบเดียวกัน

บางคนมีความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความผิดปกติอื่นที่ส่งผลต่อลำไส้ เช่น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบรุนแรง (Ulcerative colitis) หรือโรคโครนส์ (Crohn’s disease) เป็นระยะเวลายาวนาน

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

การตรวจคัดกรองลำไส้ใหญ่ควรทำในผู้ป่วยชายและหญิงช่วงอายุระหว่าง 50-74 ปี เพื่อช่วยในการค้นหามะเร็งลำไส้ในช่วงเริ่มแรก ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้

การตรวจคัดกรองลำไส้ใหญ่เป็นการทดสอบแบบง่าย ๆ ซึ่งสามารถทำได้ที่บ้านทุกๆ 2 ปี การทดสอบนี้จะช่วยค้นหาเลือดที่ซ่อนอยู่ในอุจจาระของคุณ เพราะนั่นอาจหมายถึงโอกาสเกิดจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การรักษาและพยากรณ์โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้สามารถรักษาได้โดยการรักษาที่แตกต่างกันหลายรูปแบบร่วมกัน โดยขึ้นอยู่กับมะเร็งที่อยู่ในลำไส้ของคุณ และรูปแบบการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งดังกล่าว

การรักษาหลักที่ใช้ ได้แก่

  • การผ่าตัด - ส่วนที่เป็นมะเร็งของลำไส้ใหญ่จะถูกกำจัดออก และถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยหลายคนจะได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้
  • เคมีบำบัด - โดยใช้ยาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง
  • การฉายรังสีรักษา - ใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  • การใช้ชีวบำบัด - ยาชนิดใหม่ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของยาเคมีบำบัดและช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง

เช่นเดียวกับโรคมะเร็งส่วนใหญ่โอกาสในการหายขาดจากโรคมะเร็งนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคในช่วงที่ได้รับการวินิจฉัย ถ้ามะเร็งยังไม่แพร่กระจายและจำกัดที่อยู่เพียงในลำไส้ใหญ่ การผ่าตัดมักจะสามารถจำกัดโรคดังกล่าวออกได้อย่างสมบูรณ์

โดยทั่วไป ประมาณ 7 -8 คนทุก 10 คนที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จะมีชีวิตอยู่ได้อีกอย่างน้อยหนึ่งปีหลังจากได้รับการวินิจฉัย และมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่จะมีชีวิตอยู่ได้อีกอย่างน้อย 10 ปี ซึ่งทุก ๆ ปีมีผู้ป่วยประมาณ 16,000 คนที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

อาการที่สำคัญของมะเร็งลำไส้ใหญ่มีทั้งหมดสามอาการ ได้แก่ พบเลือดปนในอุจจาระ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับถ่าย เช่น อุจจาระบ่อยมากขึ้น อุจจาระเหลว และอาการปวดท้อง

อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ที่พบได้บ่อยและผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการเหล่านั้นไม่ได้เกิดจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น การพบเลือดปนในอุจจาระมักเกิดจากโรคริดสีดวงทวาร และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการขับถ่าย หรืออาการปวดท้องก็มักเป็นผลมาจากสิ่งที่คุณทานเข้าไป

ประมาณ 7 ล้านคนพบเลือดปนในอุจจาระของตนเองในแต่ละปี และพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวของพฤติกรรมการขับถ่ายและมีอาการปวดท้อง แต่คนส่วนใหญ่ที่มีอาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แต่อย่างใด

เนื่องจากผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนใหญ่นั้นมีอายุเกิน 60 ปี อาการเหล่านี้จึงมีความสำคัญมากเมื่ออายุมากขึ้น และอาการเหล่านี้ก็จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเมื่ออาการยังคงอยู่แม้จะได้รับการรักษาง่าย ๆ ไปแล้วก็ตาม

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งลำไส้มีอาการผสมแบบใดแบบหนึ่งต่อไปนี้:

อาการของโรคมะเร็งลำไส้เล็กก็อาจเบาบางมากได้เช่นกัน และไม่จำเป็นที่อาการเหล่านั้นต้องทำให้คุณรู้สึกไม่สบายอย่างชัดเจน

คุณควรเข้าพบแพทย์เมื่อใด

ลองศึกษาเกี่ยวกับอาการของโรคมะเร็งลำไส้จากบทความข้างต้น และตัดสินใจว่าคุณควรจะไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจทดสอบหรือไม่

แพทย์ของคุณอาจจะทำการตรวจสอบช่องท้องและตรวจภายใน เพื่อให้แน่ใจว่าคุณไม่มีก้อนเนื้อ รวมถึงอาจส่งตรวจเลือดเพื่อตรวจหาโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กซึ่งอาจเป็นสาเหตุของเลือดที่ปนออกมาในอุจจาระก็เป็นได้

ในบางกรณี แพทย์ของคุณอาจตัดสินใจว่าควรทำการทดสอบในโรงพยาบาลต่อหรือไม่ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้มีสาเหตุที่รุนแรงใด ๆ สำหรับอาการดังกล่าวของคุณ

ให้แน่ใจว่าคุณได้กลับไปพบแพทย์ของคุณเสมอ หากอาการยังคงเป็นอยู่หรือกลับมาเป็นซ้ำหลังจากได้รับการรักษาแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความรุนแรงของอาการเหล่านั้นหรืออายุของคุณ

ภาวะลำไส้อุดตัน (Bowel obstruction)

ในบางกรณี มะเร็งลำไส้ใหญ่จะปิดกั้นไม่ให้ของเสียจากการย่อยอาหารผ่านลำไส้ไปได้เลย ภาวะนี้เรียกว่า ลำไส้อุดตัน

อาการของลำไส้อุดตัน ได้แก่:

  • ปวดท้องรุนแรงซึ่งอาจเป็น ๆ หาย ๆ ในตอนแรก
  • ไม่สามารถอุจจาระได้เมื่อเข้าห้องน้ำ
  • ท้องบวมหรือท้องอืดอย่างเห็นได้ชัด
  • คลื่นไส้ อาเจียน

ภาวะลำไส้อุดตันถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ หากคุณสงสัยว่าลำไส้ของคุณอุดตัน และมีอาการข้างต้น คุณควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ของคุณให้เร็วที่สุด โดยอาจเป็นแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

สาเหตุของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายของคุณเริ่มแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนมากเกินไป และค่อย ๆ ก่อเป็นก้อนเนื้อเยื่อที่รู้จักกันในชื่อว่า เนื้องอก (tumor)

กรณีส่วนใหญ่ของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นเริ่มแรกภายในกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่บุผิวด้านในของลำไส้ใหญ่ซึ่งเมื่อแบ่งตัวเป็นก้อนก็จะเรียกว่า ติ่งเนื้อ (polyps) อย่างไรก็ตาม หากติ่งเนื้อเกิดขึ้นภายในลำไส้ของคุณก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เสมอไป

สิ่งที่เป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยที่ผ่านมาพบว่ามีหลายปัจจัยที่อาจทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะพัฒนาโรคดังกล่าวได้มากขึ้น ปัจจัยที่กล่าวถึงนั้น มีดังต่อไปนี้

อายุ

โอกาสที่คุณจะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้นเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น ประมาณ 9 คนจาก 10 คนที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นคนที่มีอายุเกิน 60 ปี

ประวัติครอบครัว

การมีประวัติครอบครัวที่เป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากญาติสายตรง เช่น มารดา บิดา น้องชายหรือน้องสาว นั้นได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ช่วงที่อายุต่ำกว่า 50 ปี

หากคุณกังวลเป็นพิเศษว่าประวัติทางการแพทย์ของครอบครัวคุณนั้นอาจทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณซึ่งจะสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้

หากจำเป็น แพทย์ประจำตัวของคุณสามารถส่งต่อคุณไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมซึ่งสามารถให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับความเสี่ยงของคุณและแนะนำการทดสอบที่จำเป็นเพื่อตรวจสอบเกี่ยวกับโรคนี้เป็นระยะ ๆ

พฤติกรรมการทานอาหาร

มีหลักฐานจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าอาหารที่ส่วนใหญ่เป็นเนื้อสีแดงและเนื้อสัตว์แปรรูปสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

ด้วยเหตุนี้กรมอนามัยจึงให้คำแนะนำแก่ผู้ที่รับประทานอาหารซึ่งมีเนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์แปรรูปน้ำหนักเกิน 90 กรัมต่อวันให้ลดปริมาณเนื้อดังกล่าวลงเหลือ 70 กรัมต่อวัน

นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีเส้นใยสูงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ของคุณได้

การสูบบุหรี่

ผู้ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะพัฒนามะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งชนิดอื่น ๆ และโรคร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ ได้มากมายหลายโรค

การดื่มแอลกอฮอล์

มีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณดื่มเป็นประจำในปริมาณมาก

น้ำหนักเกิน

การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะในผู้ชาย

หากคุณมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การลดน้ำหนักอาจช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งและโรคอื่น ๆ ได้อีกหลายชนิด

การไม่ออกกำลังกาย

คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

คุณสามารถลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ได้โดยการใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉง และเริ่มออกกำลังกายเป็นประจำ

ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร

ภาวะทางการแพทย์บางอย่างที่ส่งผลต่อลำไส้ของคุณ อาจทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงขึ้นในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ตัวอย่างเช่น โรคมะเร็งลำไส้พบได้บ่อยในคนที่เป็นโรคโครนส์ (Crohn’s disease) หรือโรคลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผลเป็นเวลาหลายปี

หากคุณมีโรคเหล่านี้ร่วมด้วย คุณมักจะได้รับการตรวจสุขภาพเป็นระยะ ๆ เพื่อคัดกรองอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นเวลาประมาณ 10 ปีหลังจากคุณเริ่มมีอาการของโรคดังกล่าว

การตรวจร่างกายมักได้แก่การตรวจลำไส้ของคุณด้วยการส่องกล้อง (Colonoscope) ซึ่งเป็นการสอดท่อที่มีความยืดหยุ่น ลักษณะยาวและแคบและมีกล้องขนาดเล็กเข้าไปในทวารหนักของคุณ

ความถี่ของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่จะเพิ่มขึ้น เมื่อคุณยังมีอาการของโรคอยู่ และยังจะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความรุนแรงของโรคลำไส้ใหญ่อักเสบของคุณ และถ้าคุณมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็ยิ่งต้องตรวจคัดกรองให้บ่อยยิ่งขึ้น

ปัจจัยทางพันธุกรรม

มีความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรมซึ่งพบได้ยากสองชนิดสามารถนำไปสู่การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ นั่นคือ:

  • Familial adenomatous polyposis (FAP) - ความผิดปกตินี้จะทำให้เกิดการเจริญเติบโตของติ่งเนื้อชนิดที่ไม่เป็นมะเร็งภายในลำไส้ ซึ่งมีจำนวนมากมายเป็นหลักสิบจนถึงหลักพัน แม้ว่าติ่งเนื้อที่เกิดจากโรคดังกล่าวจะไม่ใช่มะเร็ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป ก็มีความเสี่ยงสูงที่ติ่งเนื้ออย่างน้อยหนึ่งอันจะพัฒนากลายเป็นมะเร็ง คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรค FAP นั้นจะเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่ออายุครบ 50 ปี เนื่องจากการมีติ่งเนื้อภายในลำไส้ทำให้มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ผู้ป่วยจึงมักได้รับการแนะนำจากแพทย์ให้กำจัดส่วนลำไส้ใหญ่ของตนออกก่อนที่พวกเขาจะอายุครบ 25 ปี
  • Hereditary non-polyposis colorectal cancer (HNPCC) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Lynch syndrome - เป็นความผิดปกติของยีนกลายพันธุ์ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ การตัดลำไส้ใหญ่นั้นแนะนำในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว  เนื่องจากความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
  • การถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณท้องและอกของคุณ - เพื่อตรวจสอบว่าส่วนที่เหลือของลำไส้ของคุณนั้นมีสุขภาพดีหรือไม่ และเซลล์มะเร็งนั้นได้แพร่กระจายไปยังตับหรือปอดหรือไม่
  • การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) - ซึ่งสามารถให้ภาพรายละเอียดของอวัยวะโดยรอบในผู้ที่เป็นมะเร็งในบริเวณทวารหนักและลำไส้ตรง

การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

เมื่อคุณเข้าพบแพทย์เป็นครั้งแรก  พวกเขาจะซักถามเกี่ยวกับอาการของคุณ และคุณมีประวัติครอบครัวของคุณว่ามีใครเคยเป็นมะเร็งลำไส้หรือไม่

จากนั้นพวกเขาจะทำการตรวจสอบบริเวณท้องและท้องน้อยของคุณ โดยปกติจะใช้การตรวจผ่านทวารหนักด้วยนิ้วมือ หรืออาจคุ้นหูในชื่อการตรวจภายในผ่านทางทวารหนัก (Digital rectal examination: DRE)

การตรวจนี้เป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการตรวจสอบว่ามีก้อนใด ๆ ในบริเวณท้องน้อยหรือทวารหนักของคุณหรือไม่ การตรวจดังกล่าวอาจรู้สึกอึดอัด และคนส่วนใหญ่รู้สึกว่าการตรวจทวารหนักนั้นเป็นเรื่องน่าอาย อย่างไรก็ตามการตรวจนี้สำคัญและใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งนาที

หากอาการของคุณชี้ให้เห็นว่าคุณอาจเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือการวินิจฉัยได้ผลไม่แน่นอน คุณอาจถูกส่งตัวไปที่โรงพยาบาลในพื้นที่ของคุณเพื่อทำการตรวจสอบอื่นที่เรียกว่า การ ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Flexible sigmoidoscopy)

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Flexible sigmoidoscopy)

หมายถึง การตรวจทวารหนักและลำไส้ใหญ่ส่วนหนึ่งของคุณโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Sigmoidoscope

Sigmoidoscope มีลักษณะเป็นท่อยาว บางและยืดหยุ่นที่ติดอยู่กับกล้องและหลอดไฟซึ่งมีขนาดเล็กมาก อุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกสอดผ่านทวารหนักของคุณและเข้าไปในลำไส้ของคุณ

กล้องจะจับภาพและฉายไปยังจอภาพ และอุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถใช้เพื่อทำการตัดตรวจชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวิเคราะห์เนื้อเยื่อขนาดเล็กได้ด้วย

ลำไส้ของคุณควรจะเกลี้ยงและสะอาดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อวางแผนจะทำการตรวจส่องกล้อง ดังนั้น คุณอาจถูกขอให้ทานยาระยายซึ่งเป็นขั้นตอนง่ายๆในการล้างลำไส้ใหญ่ของคุณที่บ้านก่อนทำการตรวจ และควรอุจจาระให้เกลี้ยงอย่างน้อยสองชั่วโมงก่อนออกจากบ้านสำหรับการนัดหมาย

การส่องกล้องตรวจผ่านทางทวารหนักสามารถทำให้รู้สึกอึดอัดได้บ้าง แต่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีและคนส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังการตรวจ

การตรวจสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ละเอียดยิ่งขึ้น

คนส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลายเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งบางชนิดสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจทดสอบลำไส้ที่ละเอียดมากขึ้นกว่านั้น

การตรวจทดสอบที่มักใช้เพิ่มเติมมีสองแบบ คือ การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมดและการถ่ายเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยการตรวจทดสอบเหล่านี้จะอธิบายในรายละเอียดด้านล่าง

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุกส่วน (Colonoscopy)

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุกส่วน คือ การตรวจลำไส้ใหญ่โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Colonoscope ซึ่งคล้ายกับ Sigmoidoscope เพียงแต่ใช้เวลานานกว่า

ลำไส้ของคุณต้องโล่ง และว่างเปล่าเมื่อทำการส่องกล้องดังกล่าว ดังนั้นคุณจะได้รับคำแนะนำให้รับประทานอาหารพิเศษในช่วงไม่กี่วันก่อนการตรวจและได้รับยาระบาย เพื่อช่วยล้างลำไส้ของคุณในตอนเช้าของการตรวจส่องกล้อง

คุณจะได้รับยากล่อมประสาทเพื่อช่วยให้คุณผ่อนคลายในระหว่างการตรวจ หลังจากนั้น แพทย์จะสอดท่อพร้อมกล้องขนาดเล็กเข้าไปในทวารหนักของคุณและเคลื่อนไปตามลำไส้ใหญ่ของคุณ ขั้นตอนนี้มักไม่เจ็บปวด แต่สามารถรู้สึกอึดอัดได้บ้าง

กล้องจะถ่ายภาพและฉายไปยังจอภาพซึ่งช่วยให้แพทย์ตรวจหาบริเวณที่ผิดปกติภายในไส้ตรงหรือลำไส้ใหญ่ส่วนอื่นซึ่งอาจเป็นผลมาจากโรคมะเร็ง เช่นเดียวกับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย การตรวจชิ้นเนื้ออาจดำเนินการในระหว่างการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทุกส่วนได้ด้วยเช่นกัน

การส่องกล้องผ่านทวารหนักเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ทุกส่วนนั้นมักใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง จนเสร็จสมบูรณ์ และคนส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังจากฤทธิ์ยากล่อมประสาทนั้นหมดลง

หลังจากการตรวจแล้วคุณอาจรู้สึกง่วงเป็นระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้นคุณต้องมีคนมารับคุณกลับบ้าน เป็นการดีที่สุดสำหรับผู้สูงอายุที่จะมีคนอยู่กับพวกเขาเป็นเวลา 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ และคุณจะได้รับคำแนะนำไม่ให้ขับรถเป็นเวลา 24 ชั่วโมง

ผู้ป่วยจำนวนหนึ่ง อาจไม่สามารถทำการส่องกล้องผ่านทางทวารหนักเพื่อไปตรวจรอบลำไส้ใหญ่ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ของลำไส้ใหญ่ร่วมด้วย

การส่องตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT colonography)

การตรวจลำไส้ใหญ่ดังกล่าวอาจรู้จักในชื่อ การส่องตรวจลำไส้ใหญ่เสมือนจริง ทำโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scanner) เพื่อสร้างภาพสามมิติของลำไส้ใหญ่และบริเวณไส้ตรง

ระหว่างการตรวจ จะมีการใช้แก๊สในการขยายลำไส้ผ่านท่อบางและยืดหยุ่นที่วางอยู่ในทวารหนักของคุณ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะสร้างภาพจากหลาย ๆ มุม

เช่นเดียวกับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ทุกส่วน คุณอาจต้องรับประทานอาหารเป็นพิเศษเป็นเวลาสองสามวันและทานยาระบายก่อนการทดสอบเพื่อให้แน่ใจว่าลำไส้ของคุณนั้นสะอาดและโล่งดีก่อนเข้ารับการตรวจ

การตรวจนี้สามารถช่วยระบุพื้นที่ที่เกิดมะเร็งได้ในผู้ป่วยที่ไม่เหมาะสมสำหรับการตรวจส่องกล้องผ่านทางทวารหนักโดยทั่วไปเนื่องจากสาเหตุทางการแพทย์อื่น ๆ

การตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเครื่องเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์จัดเป็นการตรวจที่รุกรานน้อยกว่าการส่องกล้อง แต่คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการส่องกล้องเพื่อตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือทุกส่วนอยู่ดีในระยะหลัง ๆ ของโรค เพื่อทำการกำจัดบริเวณที่ผิดปกติ หรือตัดส่วนดังกล่าวออกมาตรวจชิ้นเนื้อได้

การทดสอบเพิ่มเติมสำหรับโรคมะเร็งลำไส้

หากการวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้รับการยืนยันแล้ว การทดสอบเพิ่มเติมจะถูกดำเนินการเพื่อตรวจสอบว่ามะเร็งได้แพร่กระจายจากลำไส้ไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายหรือไม่ การทดสอบเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์ของคุณตัดสินใจว่าทางเลือกใดในการรักษาจะมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับภาวะของคุณ

การตรวจทดสอบเหล่านี้ ได้แก่:

การแบ่งระยะและระดับของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

เมื่อการตรวจและการทดสอบข้างต้นเสร็จสิ้นแล้ว แพทย์จะทำการระบุระยะโรคและระดับของโรคมะเร็งของคุณ

ระยะนั้นหมายถึงมะเร็งของคุณมีความก้าวหน้าหรือลุกลามมากเพียงใด ส่วนระดับของโรคหรือเกรดนั้นสัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคมะเร็งของคุณและแนวโน้มว่ามะเร็งดังกล่าวจะแพร่กระจายหรือไม่อย่างไร

ขั้นตอนนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากช่วยทีมรักษาของคุณให้สามารถเลือกวิธีที่ดีที่สุดในการกำจัดหรือควบคุมโรคมะเร็งลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แพทย์จะใช้ระบบการจัดระยะของโรคมะเร็งได้หลายรูปแบบ แต่ระบบที่นิยมใช้กันทั่วไปและเรียบง่ายนั้นมีรายละเอียดดังนี้

ระยะที่ 1 - หมายถึง มะเร็งยังคงอยู่แค่ภายในเยื่อบุของลำไส้หรือทวารหนัก

ระยะที่ 2 - มะเร็งแพร่กระจายออกมานอกชั้นของกล้ามเนื้อรอบลำไส้และอาจมีการทะลุผ่านผิวที่ปกคลุมลำไส้ไปยังอวัยวะข้างเคียง

ระยะที่ 3 - มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง

ขั้นตอนที่ 4 - มะเร็งแพร่กระจายเกินลำไส้ใหญ่ไปสู่ส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ตับ

ส่วนการจัดระดับหรือเกรดของมะเร็งลำไส้แบ่งออกเป็นสามแบบ:

เกรด 1 - หมายถึง มะเร็งที่เติบโตช้าและมีโอกาสน้อยที่จะแพร่กระจายไปไกลกว่าลำไส้

เกรด 2 - หมายถึง มะเร็งที่โตเร็วปานกลางและมีโอกาสปานกลางในการแพร่กระจายเกินกว่าลำไส้

เกรด 3 - หมายถึง มะเร็งที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีโอกาสสูงที่จะแพร่กระจายไปไกลกว่าลำไส้

หากคุณไม่แน่ใจว่าคุณมีระดับหรือระยะของมะเร็งในขั้นไหน คุณควรพูดคุยและปรึกษากับแพทย์ของคุณ

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

หากมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นอยู่ในระยะเริ่มแรกอาจเป็นไปได้ที่จะกำจัดเพียงชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่เยื่อบุผนังลำไส้ออก กระบวนการนี้เรียกว่า การผ่าตัดกำจัดเฉพาะส่วนก้อนมะเร็ง (Local excision)

แต่ถ้ามะเร็งได้แพร่กระจายเข้าไปในกล้ามเนื้อโดยรอบลำไส้ใหญ่ก็มักจำเป็นที่จะต้องกำจัดส่วนของลำไส้ใหญ่ส่วนนั้นทั้งหมดซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า การผ่าตัดเอาลำไส้ออกหรือการตัดลำไส้ใหญ่ (Colectomy)

การผ่าตัดเพื่อเอาลำไส้ใหญ่ออกสามารถทำได้สองวิธี คือ:

  • การผ่าตัดแบบผ่าเปิดหน้าท้อง (Open colectomy) - โดยศัลยแพทย์จะกรีดเปิดบริเวณช่องท้องของคุณ และกำจัดส่วนของลำไส้ใหญ่ของคุณที่มีปัญหาออก
  • การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopinc colectomy) - โดยศัลยแพทย์จะทำการกรีดแผลเล็ก ๆ จำนวนหนึ่งในบริเวณท้องของคุณ และใช้เครื่องมือพิเศษซึ่งนำทางผ่านกล้องเพื่อเข้าไปกำจัดส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ที่มีปัญหา

โดยทั่วไป ในระหว่างการผ่าตัดจะมีการกำจัดต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงทิ้งด้วย ปกติการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกแล้วนั้นจะมีการทำการต่อลำไส้ส่วนที่เหลือเข้าด้วยกัน แต่บางครั้งสภาวะผู้ป่วยหรือสภาวะโรคทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะทำเช่นนั้นและจำเป็นต้องทำรูเปิดบริเวณหน้าท้อง (Stoma)

วิธีการผ่าตัดทั้งสองวิธีคือผ่าตัดเปิดผ่านหน้าท้อง หรือผ่านกล้องมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันในการกำจัดโรคมะเร็งและมีความเสี่ยงเรื่องภาวะแทรกซ้อนที่คล้ายคลึงกัน

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดผ่านกล้องสามารถลดเวลาในการฟื้นตัวให้เร็วขึ้น และลดอาการปวดหลังผ่าตัดได้ดีมากกว่า วิธีนี้จึงกลายเป็นวิธีที่นิยมในผู้ป่วยและแพทย์ส่วนใหญ่

โรงพยาบาลทุกแห่งที่ดำเนินการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ควรมีทางเลือกในการผ่าตัดผ่านกล้อง แม้ว่าจะไม่ใช่ศัลยแพทย์ทุกรายที่สามารถทำศัลยกรรมประเภทนี้ได้ก็ตาม ให้เข้าปรึกษาทางเลือกการรักษาของคุณกับศัลยแพทย์ประจำตัวคุณว่าสามารถใช้วิธีการผ่าตัดแบบนี้ได้หรือไม่

การผ่าตัดมะเร็งบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหรือไส้ตรง (Rectal cancer)

มีรูปแบบของการผ่าตัดมากมายที่สามารถดำเนินการเพื่อรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใด

รูปแบบการผ่าตัดหลัก ๆ บางส่วนอธิบายในบทความต่อไปนี้:

การผ่าตัดกำจัดเฉพาะส่วน (Local resection)

หากคุณมีมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้น และยังมีขนาดของก้อนมะเร็งที่ไม่ใหญ่มากนัก ศัลยแพทย์ของคุณอาจสามารถกำจัดส่วนของมะเร็งทั้งหมดผ่านการผ่าตัดที่เรียกว่าการผ่าตัดกำจัดเฉพาะส่วนผ่านทางทวารหนัก (transanal resection)

ศัลยแพทย์จะสอดท่อซึ่งมีกล้องอยู่ผ่านทางทวารหนักของคุณและทำการกำจัดมะเร็งออกจากผนังลำไส้ส่วนปลาย

การผ่าตัดแบบ Total mesenteric excision

อย่างไรก็ตามในหลาย ๆ กรณี การผ่าตัดกำจัดเฉพาะส่วนนั้นไม่สามารถทำได้ และจำเป็นต้องกำจัดส่วนลำไส้ใหญ่ส่วนปลายที่กว้างขึ้นมากกว่านั้น

การผ่าตัดนี้จะกินบริเวณขอบของเนื้อเยื่อลำไส้ตรงที่ปราศจากเซลล์มะเร็งรวมถึงเนื้อเยื่อไขมันรอบ ๆ ลำไส้ซึ่งเรียกว่า mesentery ไปด้วย และจะเรียกหัตถการประเภทนี้ว่า Total mesenteric excision (TME)

การกำจัดเนื้อเยื่อไขมันที่หุ้มรอบลำไส้ใหญ่ไปด้วยนั้นช่วยให้มั่นใจได้ว่าเซลล์มะเร็งทั้งหมดจะถูกกำจัดออกไปด้วย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นโรคมะเร็งซ้ำในระยะภายหลัง

การผ่าตัดรูปแบบนี้แบ่งชนิดย่อยหลัก ๆ ได้สองชนิด ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งของมะเร็งในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายของคุณว่าอยู่บริเวณใด

การผ่าตัดบริเวณด้านหน้าล่าง (Low anterior resection)

การผ่าตัดรูปแบบนี้ คือ กระบวนการที่ใช้ในการรักษากรณีที่มะเร็งนั้นอยู่ในส่วนบนของไส้ตรงของคุณ

ศัลยแพทย์จะกรีดช่องท้องของคุณและกำจัดส่วนบนของไส้ตรงของคุณรวมถึงเนื้อเยื่อรอบ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าต่อมน้ำเหลืองที่อาจมีเซลล์มะเร็งนั้นจะถูกนำออกไปด้วย

จากนั้น พวกเขาจะเชื่อมลำไส้ใหญ่ของคุณไปยังส่วนล่างสุดของลำไส้ตรงที่ยังเหลืออยู่ หรือเชื่อมไปยังส่วนบนของทวารหนัก และในบางครั้ง ก็จำเป็นต้องหันปลายลำไส้ใหญ่ให้กลายเป็นกระเปาะภายในเพื่อทำหน้าที่แทนลำไส้ตรงที่ถูกตัดออกไป

คุณอาจจะจำเป็นต้องมีรูเปิดบริเวณหน้าท้อง (Stoma) ชั่วคราวเพื่อทำการขับถ่ายจนกว่าแผลลำไส้จะหายสนิทดี

การผ่าตัดบริเวณเยื่อหุ้มอวัยวะช่องท้อง (Abdominoperitoneal resection)

การผ่าตัดชนิดนี้ใช้ในการรักษากรณีที่มะเร็งนั้นอยู่ในส่วนต่ำสุดของลำไส้ตรงของคุณ

ในกรณีนี้จำเป็นต้องกำจัดทั้งส่วนของลำไส้ตรงทั้งหมดและกล้ามเนื้อรอบ ๆ ออกไปด้วยเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำในบริเวณเดียวกัน

การผ่าตัดนี้เกี่ยวข้องกับการผ่ากำจัดส่วนของมะเร็ง และเย็บปิดส่วนทวารหนักและย้ายกล้ามเนื้อหูรูด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีรูเปิดบริเวณหน้าท้องเพื่อทำการขับถ่ายอย่างถาวรหลังจากการผ่าตัดดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่มักเลือกการผ่าตัดที่ดีที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้รูเปิดบริเวณหน้าท้องเพื่อขับถ่ายเท่าที่จะเป็นไปได้อยู่แล้ว

การผ่าตัดรูเปิดบริเวณหน้าท้อง (Stoma surgery)

ในกรณีที่ส่วนหนึ่งของลำไส้ถูกกำจัดออกไปและเชื่อมลำไส้ส่วนที่เหลือเข้าด้วยกัน บางครั้งศัลยแพทย์อาจตัดสินใจที่จะเปลี่ยนทางออกของอุจจาระของคุณออกจากบริเวณนั้นเพื่อปล่อยให้แผลสามารถหายได้สนิท

ทางเดินอุจจาระถูกเบี่ยงไปชั่วคราวโดยการนำส่วนของลำไส้ผ่านออกทางผนังช่องท้องและเย็บติดกับผิวหนังซึ่งรูเปิดของลำไส้จะเรียกว่ารูเปิดบริเวณหน้าท้องสำหรับขับถ่าย โดยจะมีกระเป๋าคลุมเหนือรูเปิดดังกล่าวเพื่อดักเก็บอุจจาระที่ไหลผ่านมา

หากรูเปิดบริเวณหน้าท้องนั้นทำจากลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) จะเรียกว่า ileostomy และหากทำขึ้นจากส่วนของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (colon) จะเรียกว่า colostomy

แพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญสามารถให้คำแนะนำแก่คุณเกี่ยวกับตำแหน่งของรูเปิดบริเวณหน้าท้องว่าควรเป็นตำแหน่งใดจึงจะเหมาะสมก่อนการผ่าตัดได้

พวกเขาจะพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น รูปร่างและวิถีชีวิตของคุณ แม้ว่าจะไม่สามารถทำการประเมินเหมาะสมได้ในกรณีที่ต้องผ่าตัดฉุกเฉินก็ตาม

ใน 2-3 วันแรกหลังจากการผ่าตัด พยาบาลที่ดูแลรูเปิดดังกล่าวจะให้คำแนะนำที่จำเป็นในการดูแลรูเปิดบริเวณหน้าท้อง และการใช้ชนิดของถุงที่เหมาะสม

เมื่อบริเวณที่ทำการเชื่อมลำไส้หายสนิทดีแล้ว และปลอดภัยซึ่งอาจกินเวลาหลายสัปดาห์ ก็สามารถทำการปิดรูเปิดดังกล่าวด้วยการผ่าตัดต่อไปได้

ในผู้ป่วยบางคน อาจมีเหตุผลหลายประการ เช่น  เป็นไปไม่ได้ที่จะทำการเชื่อมลำไส้ หรือมีปัญหาในการควบคุมการทำงานของลำไส้ รูเปิดบริเวณหน้าท้องดังกล่าวอาจกลายเป็นทางออกของอุจจาระอย่างถาวรได้

ก่อนที่จะมีการผ่าตัด ทีมผู้ดูแลจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าอาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดลำไส้เล็กส่วนต้นหรือลำไส้ใหญ่หรือไม่ และให้คำปรึกษาว่ารูเปิดจากลำไส้ดังกล่าวนั้นจะเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร

มีกลุ่มสนับสนุนผู้ป่วยที่พร้อมให้การสนับสนุนสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งมีหรือกำลังจะต้องทำรูเปิดบริเวณหน้าท้อง คุณสามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมจากแพทย์หรือพยาบาลประจำตัวของคุณหรือลองค้นหาข้อมูลหรือกลุ่มออนไลน์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงของการผ่าตัดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

การผ่าตัดโรคมะเร็งในลำไส้มีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการผ่าตัดใหญ่อื่น ได้แก่ การสูญเสียเลือด การติดเชื้อ การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจหรือปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ

การผ่าตัดบางอย่างมีความเสี่ยงมาก บางอย่างมีความเสี่ยงน้อยกว่า  ความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือ ลำไส้ที่นำมาเชื่อมติดกันอาจไม่เกิดการหายอย่างถูกต้อง และทำให้อุจจาระรั่วซึมภายในช่องท้องของคุณ ซึ่งโดยปกติจะเป็นความเสี่ยงเพียงแค่ในสองสามวันแรกหลังจากการผ่าตัด

ความเสี่ยงอีกประการหนึ่ง คือ ในผู้ที่มีการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ส่วนปลายหรือลำไส้ตรง เส้นประสาทที่ควบคุมการถ่ายปัสสาวะและเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์นั้นทอดตัวอยู่ใกล้กับไส้ตรงมาก และบางครั้งการผ่าตัดเพื่อกำจัดมะเร็งบริเวณลำไส้ตรงอาจทำให้เส้นประสาทเหล่านี้กระทบกระเทือนหรือเสียหายได้

หลังจากการผ่าตัดมะเร็งบริเวณไส้ตรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่ายบ่อยขึ้นกว่าเดิม ซึ่งโดยปกติแล้วจะค่อย ๆ อยู่ตัวภายในไม่กี่เดือนหลังการผ่าตัด

การฉายรังสีรักษา

มีสองวิธีหลักในการรักษาด้วยรังสีรักษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่  คืออาจทำรังสีรักษาก่อนการผ่าตัดเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็งในช่องท้องและเพิ่มโอกาสในการกำจัดอย่างหายขาด หรือใช้รังสีรักษาเพื่อควบคุมอาการและชะลอการแพร่กระจายของมะเร็งในกรณีที่เป็นมะเร็งระยะท้าย ๆ ซึ่งเรียกว่ารังสีรักษาแบบประคับประคอง

การรักษาด้วยรังสีรักษาก่อนการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถทำได้สองวิธี:

  • การฉายรังสีภายนอก - โดยการใช้เครื่องปล่อยคลื่นพลังงานสูงไปยังบริเวณลำไส้ตรงของคุณเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
  • การรักษาด้วยรังสีภายใน (brachytherapy) - โดยการใส่ท่อกัมมันตภาพรังสีเข้าไปในบริเวณทวารหนัก และสอดไปไว้ด้านข้างก้อนมะเร็งเพื่อทำให้ก้อนมะเร็งหดตัวเล็กลง

การฉายรังสีภายนอกมักจะต้องทำการฉายรังสีรักษาทุกวัน เป็นเวลาห้าวันต่อสัปดาห์โดยหยุดในช่วงสุดสัปดาห์ ส่วนความยาวนานของการรักษาขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอกหรือมะเร็งของคุณ ซึ่งคุณอาจต้องใช้เวลานานหนึ่งถึงห้าสัปดาห์ การบำบัดด้วยรังสีรักษาแต่ละครั้งใช้เวลาสั้น  ๆ เพียง 10 - 15 นาที

การรักษาด้วยรังสีรักษาภายในสามารถทำได้ในหนึ่งเซสชั่นก่อนการผ่าตัดจะดำเนินการไม่กี่สัปดาห์ต่อมา

การฉายรังสีเพื่อประคับประคองอาการมักจะทำเป็นช่วงสั้น ๆ ทุกวันโดยกินเวลาตั้งแต่ 2 - 3 วันนานถึง 10 วัน

ผลข้างเคียงในระยะสั้นของการฉายรังสีรักษา ได้แก่:

  • คลื่นไส้
  • เมื่อยล้า
  • ท้องร่วง
  • แสบร้อนและระคายเคืองบริเวณผิวหนังรอบ ๆ ลำไส้ตรงและกระดูกเชิงกราน - ลักษณะเหมือนกับผิวโดนแดดเผาจนแสบ
  • ปัสสาวะบ่อยครั้ง
  • รู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะ

ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะหมดไปไม่นานหลังจากการฉายรังสีรักษานั้นเสร็จสิ้น แจ้งทีมแพทย์ผู้ดูแลของคุณว่าผลข้างเคียงของการรักษานั้นเป็นเรื่องที่ลำบากมากหรือไม่ อย่างไรเพื่อรับการรักษาเพิ่มเติมซึ่งอาจช่วยให้คุณรับมือกับผลข้างเคียงดังกล่าวได้ดีขึ้น

ผลข้างเคียงระยะยาวของการฉายรังสีรักษา ได้แก่:

  • ต้องปัสสาวะหรืออุจจาระบ่อยครั้งขึ้น
  • มีเลือดปนในปัสสาวะและอุจจาระ
  • ภาวะเป็นหมัน
  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

หากคุณวางแผนหรือต้องการมีบุตรในอนาคต อาจจำเป็นต้องเก็บอสุจิหรือไข่ก่อนเริ่มการรักษาเผื่อจำเป็นต้องใช้ในอนาคต

เคมีบำบัด

เคมีบำบัดสามารถใช้ในการรักษามะเร็งลำไส้ได้ทั้งหมดสามวิธี คือ:

  • ก่อนการผ่าตัด - โดยใช้ร่วมกับการรับรังสีรักษาเพื่อลดขนาดของก้อนเนื้องอก
  • หลังการผ่าตัด - เพื่อลดความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นโรคมะเร็งซ้ำ
  • เคมีบำบัดเพื่อประคับประคองอาการ - เพื่อชะลอการแพร่กระจายของมะเร็งลำไส้ไม่ให้ลุกลามไปมากขึ้นและช่วยควบคุมอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากมะเร็ง

เคมีบำบัดสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มักเกี่ยวกับการใช้ยาหลายตัวร่วมกันเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยอาจได้รับด้วยการทานเป็นยาเม็ด (oral chemotherapy) หรือได้รับโดยการฉีดเข้าสู่หลอดเลือดดำของคุณ (intravenous chemotherapy) หรือผสมทั้งสองวิธีเข้าด้วยกัน

การรักษาด้วยเคมีบำบัดมักจะได้รับเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือเรียกว่าเป็นคอร์สของการรักษา โดยกินระยะเวลาประมาณสองถึงสามสัปดาห์ขึ้นอยู่กับระยะหรือระดับของโรคมะเร็งของคุณ

คอร์สหนึ่งของการรักษาด้วยเคมีบำบัดผ่านทางหลอดเลือดดำสามารถกินเวลาตั้งแต่หลายชั่วโมงไปจนถึง หลายวัน

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดโดยการทาน จะได้รับยาเม็ดเป็นเวลาสองสัปดาห์ก่อนที่จะหยุดพักการรักษาอีกหนึ่งสัปดาห์

คอร์สหนึ่งของเคมีบำบัดอาจยาวนานถึงหกเดือน ขึ้นอยู่กับว่าคุณตอบสนองต่อการรักษาได้ดีเพียงใด ในบางกรณี อาจได้รับในปริมาณยาน้อยลงในช่วงเวลาที่ยาวนานขึ้นเพื่อคงสภาพของการรักษานั้นไว้

ผลข้างเคียงของเคมีบำบัด ได้แก่:

  • ความเมื่อยล้า
  • คลื่นไส้
  • อาเจียน
  • โรคท้องร่วง
  • แผลในช่องปาก
  • ผมร่วงด้วยสูตรการรักษาบางอย่าง แต่โดยทั่วไปมักไม่เกิดขึ้นกับการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
  • รู้สึกเหน็บ ชา หรือแสบร้อนตามมือ เท้าและคอของคุณ

ผลข้างเคียงเหล่านี้ควรค่อย ๆ ทุเลาลงเมื่อการรักษาเสร็จสิ้น โดยทั่วไป จะใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนที่ผมของคุณจะกลับมาเต็มศีรษะหากคุณประสบปัญหาผมร่วงระหว่างการได้รับเคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัดสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณลดลงทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น

แจ้งให้ทีมดูแลหรือแพทย์ประจำตัวของคุณทราบโดยเร็วที่สุด หากคุณพบอาการของการติดเชื้ออันได้แก่ อุณหภูมิร่างกายสูง เป็นไข้ หรือรู้สึกไม่สบายเหมือนเดิม

ยาที่ใช้ในเคมีบำบัดอาจสร้างความเสียหายชั่วคราวต่อตัวอสุจิของเพศชายและไข่ของเพศหญิง ซึ่งหมายความว่าหากผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อยู่ หรือผู้ชายที่เป็นพ่อของลูกในครรภ์นั้นกำลังได้รับเคมีบำบัดก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ขึ้น

ดังนั้นจึงขอแนะนำให้คุณทำการคุมกำเนิดในขณะที่รักษาด้วยเคมีบำบัด และใช้ต่อไปอีกระยะเวลาหนึ่งหลังจากการรักษาเสร็จสิ้น

การรักษาด้วยชีวบำบัด

การรักษาด้วยชีวบำบัด (Biological treatment) ซึ่งได้แก่ การใช้ยากลุ่ม cetuximab, bevacizumab และ panitumumab ซึ่งเป็นยาชนิดใหม่ที่เรียกว่า Monoclonal antibodies

Monoclonal antibodies คือ แอนติบอดีหรือสารภูมิคุ้มกันที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรมในห้องปฏิบัติการ พวกเขาจะมุ่งเป้าพิเศษทำลายโปรตีนที่พบบนพื้นผิวของเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ ซึ่งมีชื่อว่า epidermal growth factor receptors (EGFR)

เนื่องจากโปรตีน EGFRs ดังกล่าวมีหน้าที่ช่วยให้เซลล์มะเร็งเติบโตขึ้น การตั้งเป้าหมายทำลายโปรตีนเหล่านี้จะช่วยลดขนาดของเนื้องอก และเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของเคมีบำบัดได้

ดังนั้นการรักษาทางชีวบำบัดจึงมักใช้ร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัดเมื่อมะเร็งนั้นแพร่กระจายไปไกลกว่าลำไส้ใหญ่ หรือมะเร็งขั้นลุกลาม

การรักษาเหล่านี้ไม่สามารถใช้กับทุกคนที่เป็นมะเร็งลำไส้ได้เสมอไป โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจพิจารณาใช้ Cetuximab ในกรณีที่:

สามารถทำการผ่าตัดเพื่อกำจัดมะเร็งในลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรง

  • หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้แพร่กระจายไปยังตับและไม่สามารถผ่าตัดเพื่อกำจัดได้
  • หรือผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะได้รับการผ่าตัดเพื่อกำจัดมะเร็งออกจากตับถ้าเป็นไปได้ หลังจากการรักษาด้วย ยา Cetuximab เรียบร้อยแล้ว

โดยทั่วไปยากลุ่มนี้จะไม่อยู่ในบัญชียาที่เบิกได้ แต่สามารถสั่งจ่ายเฉพาะราย ชำระเองและมีราคาแพงมาก

การใช้ชีวิตเมื่อเป็นโรคมะเร็งลำไส้

พูดคุยกับคนอื่น

แพทย์หรือพยาบาลประจำตัวของคุณอาจสามารถให้ความมั่นใจ หรือตอบคำถามให้กับคุณได้หากคุณมีข้อสงสัย หรือคุณอาจรู้สึกดีและเข้มแข็งมากขึ้นหากได้ พูดคุยกับที่ปรึกษาผู้ได้รับการอบรม นักจิตวิทยา จิตแพทย์หรือผู้ให้บริการสายด่วนเฉพาะทาง แพทย์ประจำตัวของคุณจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้และสามารถให้คำแนะนำได้ว่าต้องส่งต่อให้ใครช่วยดูแล

ผู้ป่วยบางคนพบว่าการพูดคุยกับคนอื่น ๆ ที่โรคมะเร็งลำไส้เช่นเดียวกันนั้นทำให้รู้สึกดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพูดคุยกันต่อหน้าในกลุ่มท้องถิ่น หรือผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ตาม

การจัดการอารมณ์ของคุณ

การเป็นโรคมะเร็งสามารถทำให้เกิดภาวะทางอารมณ์ได้หลากหลาย ปัญหาทางอารมณ์เหล่านี้อาจได้แก่ ความตระหนกตกใจ ความวิตกกังวล ความเครียด ความเศร้า และภาวะซึมเศร้า

ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีวิธีการจัดการปัญหาร้ายแรงในรูปแบบต่าง ๆ กันไป ยากที่จะคาดการณ์ได้ว่ารู้หากคุณทราบว่าเป็นโรคมะเร็งแล้วนั้นจะส่งผลต่ออารมณ์หรือพฤติกรรมของคุณได้อย่างไร

อย่างไรก็ตาม คุณและคนที่คุณรักอาจได้รับประโยชน์จากการอ่านรายงานหรือพูดคุยกับคนที่เป็นมะเร็งมาก่อนหน้าว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรและจัดการกับอารมณ์ ณ จุดนั้นอย่างไร

การฟื้นตัวหลังจากการผ่าตัด

ศัลยแพทย์และวิสัญญีแพทย์ทราบดีว่าการให้โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพแก่ผู้ป่วยหลังจากการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น

โรงพยาบาลส่วนใหญ่ใช้โปรแกรมฟื้นฟูสุขภาพนี้อยู่แล้ว ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่คุณคาดหวังก่อนการผ่าตัด หลีกเลี่ยงการให้ยาระบายชนิดรุนแรงในการทำความสะอาดลำไส้ก่อนผ่าตัด และในบางกรณีให้คุณดื่มน้ำหวานที่มีน้ำตาลสองชั่วโมงก่อนการผ่าตัดเพื่อให้พลังงานเพียงพอในร่างกาย

ระหว่างและหลังการผ่าตัด วิสัญญีแพทย์หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าหมอดมยานั้นจะควบคุมปริมาณของของเหลวที่เข้าและออกร่างกายอย่างระมัดระวัง และหลังการผ่าตัดคุณจะได้รับยาแก้ปวดซึ่งช่วยให้คุณสามารถลุกขึ้นและออกจากเตียงได้ภายในวันถัดไป

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถรับประทานอาหารอ่อน ๆ ได้ในวันหลังการผ่าตัดหนึ่งวัน

เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันของหลอดเลือดดำส่วนลึกในบริเวณขานั้น คุณอาจได้รับถุงน่องแบบพิเศษเพื่อช่วยป้องกันการอุดตันของเลือด หรือได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อให้เลือดจางลงที่เรียกว่า ยาเฮปารินจนกว่าคุณจะมีสุขภาพสมบูรณ์และสามารถลุกเดินไปไหนมาไหนได้เองสะดวก

พยาบาลหรือนักกายภาพบำบัดจะช่วยให้คุณลุกขึ้นจากเตียงและฟื้นฟูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคุณเพื่อให้คุณสามารถกลับบ้านได้ภายในสองถึงสามวัน

ด้วยโปรแกรมการฟื้นฟูสุขภาพหลังการผ่าตัดที่ดีขึ้นเหล่านี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้ภายในหนึ่งสัปดาห์นับจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น ระยะเวลาพักฟื้นนั้นขึ้นอยู่กับว่าคุณ แพทย์ของคุณ และพยาบาลที่ดูแลคุณนั้นยอมรับร่วมกันว่าคุณแข็งแรงพอที่จะกลับบ้านได้แล้ว

คุณจะได้รับนัดให้กลับไปที่โรงพยาบาลสักสองสามสัปดาห์หลังจากการรักษาของคุณเสร็จสิ้น เพื่อทำการตรวจหาสัญญาณหรืออาการต่าง ๆ ที่อาจมาจากส่วนของมะเร็งที่หลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ คุณอาจต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำในช่วงหลายปีข้างหน้าเพื่อค้นหาสัญญาณของการเกิดโรคมะเร็งซ้ำหากมีส่วนของมะเร็งที่หลงเหลืออยู่

การทานอาหารหลังการผ่าตัดลำไส้

ถ้าคุณถูกผ่าตัดกำจัดส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ออกไป อาจเป็นไปได้ว่าอุจจาระของคุณจะเหลวลง เพราะหนึ่งในหน้าที่ที่สำคัญของลำไส้ใหญ่ คือ การดูดซับน้ำจากอุจจาระและทำให้อุจจาระข้นขึ้น

นั่นอาจหมายความว่าคุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นเพื่อขับถ่ายอุจจาระที่เหลวลงเหล่านั้น  แจ้งให้แพทย์ประจำตัวของคุณทราบ หากปัญหานี้รบกวนการดำเนินชีวิตของคุณมากเนื่องจากมียาช่วยในการควบคุมการขับถ่ายที่สามารถใช้บรรเทาอาการได้

คุณอาจพบว่าอาหารบางอย่างทำให้ท้องเสียได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังการผ่าตัด

อาหารแต่ละชนิดอาจส่งผลเสียต่อผู้คนในระดับที่แตกต่างกัน แต่อาหารและเครื่องดื่มที่มักเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหา ได้แก่ ผลไม้และผักที่มีเส้นใยสูง เช่น ถั่ว กะหล่ำปลี แอ็ปเปิ้ล และกล้วย และเครื่องดื่มที่มีฟอง เช่น โคล่า และเบียร์

คุณอาจพบว่ามีประโยชน์ในการการจัดบันทึกไดอารี่อาหาร เพื่อบันทึกผลกระทบของอาหารที่แตกต่างกันต่อทางเดินอาหารและลำไส้ของคุณ

ติดต่อแพทย์ประจำตัวของคุณหากพบว่าคุณมีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้เนื่องมาจากอาหารที่คุณทาน หรือคุณรู้สึกลำบากมากที่จะหาอาหารที่เหมาะสมทานและคิดไม่ออกว่าต้องทานอะไรดี หากเป็นเช่นนั้น คุณอาจต้องได้รับการแนะนำจากนักโภชนาการเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

การใช้ชีวิตกับรูเปิดบริเวณหน้าท้อง

หากคุณจำเป็นต้องมีรูเปิดบริเวณหน้าท้องไม่ว่าชั่วคราวหรือถาวร ร่วมกับถุงหรือกระเป๋าที่ปิดไว้ด้านนอก คุณอาจรู้สึกกังวลกับสายตาของคนรอบข้างและวิธีที่คนอื่นจะตอบสนองต่อคุณ

ข้อมูลและคำแนะนำอย่างละเอียดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกับรูเปิดบริเวณหน้าท้อง รวมถึงการดูแลรูเปิดบริเวณหน้าท้อง ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องและอาหารที่เป็นมิตรกับรูเปิดบริเวณหน้าท้อง นั้นอยู่ในบทความถัด ๆ ไป

คุณสามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมจากแพทย์หรือพยาบาลซึ่งทำการดูแลรูเปิดบริเวณหน้าท้องของคุณ หรือไปที่กลุ่มสนับสนุนทางออนไลน์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

เพศสัมพันธ์ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้

ทั้งตัวโรคมะเร็งเองและการรักษามะเร็งอาจส่งผลต่อความรู้สึกของคุณเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกายและเพศสัมพันธ์ แม้ว่าคนส่วนใหญ่สามารถมีชีวิตทางเพศได้ปกติหลังจากการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่คุณอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่มั่นใจหรือไม่สบายใจถ้าคุณมีรูเปิดบริเวณหน้าท้อง

พูดคุยอย่างเปิดอกเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณกับคู่รักของคุณอาจช่วยให้คุณทั้งสองสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ดียิ่งขึ้น หรือหากคุณรู้สึกว่าคุณต้องการพูดคุยกับคนอื่นเกี่ยวกับความรู้สึกเหล่านี้ของคุณ แพทย์หรือพยาบาลของคุณจะสามารถช่วยได้

ปัญหาทางการเงิน

การวินิจฉัยโรคมะเร็งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินเพราะคุณอาจไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป หรือคนที่ใกล้ชิดคุณต้องหยุดทำงานเพื่อดูแลตัวคุณ

มีการสนับสนุนทางการเงินสำหรับผู้ดูแลและตัวคุณเองหากคุณต้องพักงานสักระยะหนึ่งหรือหยุดทำงานเพราะความเจ็บป่วยของคุณ

ปรึกษาองค์กรทางสังคมสงเคราะห์เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมและเป็นไปได้สำหรับครอบครัวของคุณ

บั้นปลายของชีวิต

หากคุณได้รับการแจ้งจากแพทย์ว่าไม่มีอะไรที่สามารถทำได้ในการรักษามะเร็งลำไส้ของคุณให้หายขาด แพทย์ประจำตัวของคุณจะยังคงให้การสนับสนุน ดูแลและบรรเทาอาการปวดให้แก่คุณ กระบวนการนี้เรียกว่าการดูแลแบบประคับประคองช่วงระยะท้ายของโรค การสนับสนุนนั้นยังมีให้สำหรับครอบครัวและคนรอบตัวของคุณเช่นกัน

การป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

แม้ว่าบางปัจจัยซึ่งช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นเป็นปัจจัยที่คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ประวัติครอบครัว หรืออายุของคุณ

อย่างไรก็ตาม คุณสามารถลดโอกาสในการพัฒนาโรคดังกล่าวได้อีกหลายวิธี

รูปแบบการทานอาหาร

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทานอาหารของคุณสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้

อาจมีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ หากคุณทาน:

ทานเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการผลิตหรือแปรรูปน้อยลง เช่น ไม่ทานเบคอน ไส้กรอกหรือแฮม

ทานปริมาณเนื้อแดงน้อยลง และทานกลุ่มเนื้อปลามากขึ้น

ทานเส้นใยจากธัญพืช ถั่ว ผลไม้ และผักให้มากขึ้น

กรมอนามัยแนะนำว่าผู้ที่ทานเนื้อแดงและเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกมากกว่า 90 กรัมต่อวันให้ลดลงเหลือประมาณ 70 กรัมต่อวันเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ของพวกเขา

การออกกำลังกาย

มีหลักฐานที่ชัดเจนชี้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายเป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งอื่น ๆ ได้

แนะนำให้ผู้ใหญ่ทำการออกกำลังกายเป็นเวลาอย่างน้อย 150 นาที หรือประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งทุกสัปดาห์ โดยแนะนำให้เป็นกิจกรรมแอโรบิคความหนักปานกลางเช่น การปั่นจักรยาน หรือเดินเร็ว

มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม

การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนช่วยเพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ดังนั้นคุณควรพยายามรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมหากคุณต้องการลดความเสี่ยงดังกล่าว

คุณสามารถดูว่าคุณมีน้ำหนักตัวที่สุขภาพดีหรือไม่หรือไม่โดยเทียบดัชนีมวลกาย ซึ่งหาได้ทางอินเตอร์เน็ต หรือแผ่นพับของกรมอนามัย

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทานอาหารและการออกกำลังกายให้มากขึ้นจะช่วยให้น้ำหนักของคุณอยู่ภายใต้การควบคุมอย่างมีสุขภาพดี

หยุดสูบบุหรี่

ถ้าคุณสูบบุหรี่ การหยุดสูบสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้และมะเร็งอื่น ๆ ได้

สายด่วนเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ Quitline 1600 สามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับคุณได้เป็นอย่างดี

แพทย์ประจำตัวหรือเภสัชกรของคุณยังสามารถให้ความช่วยเหลือสนับสนุนและให้คำแนะนำได้หากคุณต้องการเลิกสูบบุหรี่

ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นคุณอาจลดความเสี่ยงดังกล่าวได้โดยการลดปริมาณแอลกอฮอล์ที่คุณดื่ม

ถ้าคุณดื่มเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการทำร้ายสุขภาพของคุณ มีคำแนะนำดังนี้:

  • ผู้ชายและผู้หญิงไม่แนะนำให้ดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 14 หน่วยต่อสัปดาห์
  • กระจายการดื่มของคุณให้เกินสามวันหรือมากกว่า หากคุณต้องดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากถึง 14 หน่วยต่อสัปดาห์

การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

แม้ว่าการตรวจคัดกรองจะไม่สามารถหยุดยั้งการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่ก็สามารถช่วยให้สามารถตรวจพบโรคได้ในระยะต้น ๆ ซึ่งสามารถทำการรักษาได้ง่ายขึ้น

เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตและการเฝ้าดูอาการที่เป็นไปได้ของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ การเข้าร่วมในการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่หากเป็นไปได้ ก็สามารถช่วยลดโอกาสในการเสียชีวิตจากโรคนี้ได้

การตรวจคัดกรองลำไส้ใหญ่แนะนำในผู้ชายและผู้หญิงอายุระหว่าง 50-74 ปี หากคุณอายุเกิน 75 ปีขึ้นไปคุณอาจต้องทำการตรวจคัดกรองบ่อยขึ้น

https://www.nhsinform.scot/ill...


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Colorectal Cancer Risk Factors. American Cancer Society. (https://www.cancer.org/cancer/colon-rectal-cancer/causes-risks-prevention/risk-factors.html)
Bowel cancer - Causes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/bowel-cancer/causes/)
What Are the Risk Factors for Colorectal Cancer?. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/cancer/colorectal/basic_info/risk_factors.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชนิดของมะเร็งลำไส้
ชนิดของมะเร็งลำไส้

มะเร็งลำไส้ชนิดต่าง ๆ

อ่านเพิ่ม
9 สาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่
9 สาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่อาจเกิดจากพฤติกรรมแลอาหารการกินที่สะสมมานานโดยที่เราไม่รู้ตัว อ่านสาเหตุใกล้ตั้ง 9 ข้อได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?
ฉันควรกินอาหารอย่างไรหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว?

ตัวเลือกอาหารที่เหมาะสมช่วยเรื่องการรับประทานอาหารที่ดีหลังจากตัดลำไส้ใหญ่ไปแล้ว

อ่านเพิ่ม