โรคโครห์น (Crohn's disease) เป็นภาวะอักเสบระยะยาวที่ผนังเยื่อบุระบบย่อยอาหาร (digestive system) โดยการอักเสบสามารถเกิดขึ้นส่วนใดของระบบก็ได้ตั้งแต่ปากไปจนถึงขอบทวารหนัก แต่ส่วนมากมักเกิดขึ้น ณ ส่วนท้ายสุดของลำไส้เล็ก (ileum) หรือลำไส้ใหญ่ (colon)
อาการทั่วไปของโรคโครห์นมีดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ท้องร่วง
- ปวดท้อง
- เหน็ดเหนื่อยรุนแรง
- น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ
- มีเลือดและเมือกปนอุจจาระ
ผู้ป่วยโรคโครห์นอาจมีทั้งช่วงที่มีอาการต่าง ๆ เบาบางหรือไม่มีเลย ไปจนถึงช่วงที่อาการกำเริบขึ้นมา (remission) จนกลายเป็นปัญหาที่น่ารำคาญ
เหตุใดจึงเกิดโรคโครห์นขึ้นมา?
สาเหตุการเกิดโรคโครห์นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็มีงานวิจัยที่กล่าวว่าอาจมีปัจจัยต่าง ๆ ผสานรวมกัน ดังนี้: พันธุกรรม: ยีนที่สืบทอดมาจากพ่อแม่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคโครห์นมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกัน: การอักเสบอาจเกิดมาจากระบบภูมิคุ้มกันโจมตีแบคทีเรียดีภายในลำไส้ การติดเชื้อครั้งก่อน: การติดเชื้อที่ผ่านมากอาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองจากระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ การสูบบุหรี่: ผู้สูบบุหรี่ที่เป็นโรคโครห์นมักจะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่สูบ ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม: โรคโครห์นถูกพบบ่อยในประเทศแถบตะวันตก แต่หายากตามประเทศยากจนอย่างแอฟริกา จึงอาจเป็นหลักฐานที่ว่าสภาพแวดล้อมก็มีส่วนในการก่อโรคโครห์นขึ้นมาเช่นกัน
การรักษาโรคโครห์น
ยังไม่มีวิธีรักษาโรคโครห์น การรักษาที่มีจะดำเนินการเพื่อหยุดการลุกลามของภาวะอักเสบ บรรเทาอาการที่เป็นอยู่ และเลี่ยงการรักษาด้วยการผ่าตัดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
การรักษาแรกมักจะมีขึ้นเพื่อบรรเทาอาการ และมักเป็นการใช้ยาสเตียรอยด์ (คอร์ติโคสเตียรอยด์) หากยากลุ่มนี้ไม่ได้ผล จะมีการใช้ยากดภูมิ (immunosuppressants) กับยาลดอักเสบแทน
ในบางกรณีอาจต้องมีการผ่าตัดส่วนของลำไส้ที่อักเสบออก
เมื่อแพทย์สามารถควบคุมอาการของคุณได้แล้ว (อาการของคุณนิ่ง หรือ remission) จะยังคงมีการเพื่อคงสภาพอาการของคุณ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ใครได้รับผลกระทบจากโรคโครห์นบ้าง?
โรคโครห์นเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย รวมไปถึงเด็กเช่นกัน อย่างไรก็ตาม กรณีส่วนมากมักจะเริ่มมีอาการครั้งแรกในช่วง 16 ถึง 30 ปี ยังมีกรณีมากมายที่เกิดโรคนี้ขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 60 ถึง 80 ปี เช่นกัน
โรคนี้ส่งผลกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเล็กน้อย แต่สำหรับเด็กจะเกิดกับเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กหญิง
ภาวะนี้พบได้บ่อยกับคนผิวขาวมากกว่าชาวเอเชียหรือคนผิวดำ และจะพบมากที่สุดกับชาวยิวที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวยุโรป
อาการของโรคโครห์น
อาการของโรคโครห์นจะแตกต่างกันออกไปตามส่วนของระบบย่อยที่เกิดการอักเสบขึ้น
อาการทั่วไปของโรคมีดังนี้:
- ท้องร่วงซ้ำซาก
- ปวดบิดท้อง
ซึ่งอาจจะทรุดลงหลังจากรับประทานอาหาร เหน็ดเหนื่อยรุนแรง น้ำหนักลดโดยไม่ตั้งใจ มีเลือดและเมือกปนอุจจาระ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
คุณอาจประสบกับอาการข้างต้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมดก็ได้ อีกทั้งผู้ป่วยบางรายยังอาจประสบกับอาการรุนแรงกว่าผู้ป่วยอื่นก็ได้เช่นกัน
อาจมีช่วงเวลาที่ผู้ป่วยไม่ประสบกับอาการใด ๆ ยาวนานกว่าหนึ่งอาทิตย์ หรืออาจเป็นเดือน ๆ และตามมาด้วยช่วงกำเริบของอาการต่าง ๆ ที่มีความรุนแรงจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตก็ได้ (flare-ups หรือ relapses)
อาการที่พบได้ไม่บ่อยของโรคมีดังนี้: มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส คลื่นไส้ อาเจียน ปวดและข้อบวม (ข้ออักเสบ) ตาอักเสบและระคายเคือง (uveitis) เจ็บปวดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และมีผิวแดงบวม ส่วนมากมักจะเป็นที่ขา มีแผลในปาก
เด็กที่ป่วยเป็นโรคโครห์นอาจจะมีอัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าที่ควรเป็น เนื่องจากการอักเสบทำให้ร่างกายดูดซับสารอาหารได้ยากขึ้นนั่นเอง
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
คุณควรติดต่อแพทย์หากว่าคุณประสบกับ: ท้องร่วงเรื้อรัง ปวดท้องเรื้อรัง น้ำหนักลดอย่างหาสาเหตุไม่ได้ มีเลือดปนอุจจาระ
อีกทั้งควรไปพบแพทย์เมื่อมีคุณกังวลเรื่องพัฒนาการของลูกคุณ
สาเหตุการเกิดโรคโครห์น
สาเหตุการเกิดของโรคโครห์นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่นักวิจัยส่วนมากคาดกันว่าเกิดมาจากหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน ซึ่งอาจเป็นทั้ง: พันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกัน การสูบบุหรี่ การติดเชื้อที่ผ่านมา ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
ยังไม่มีหลักฐานที่กล่าวว่าอาหารบางประเภทก็ส่งผลให้เกิดโรคโครห์นขึ้น กระนั้นการเปลี่ยนอาหารการกินก็สามารถช่วยควบคุมบางอาการของโรคได้ และยังเป็นวิธีที่ทางแพทย์และนักโภชนาการนิยมแนะนำกันมากที่สุดอีกด้วย
พันธุกรรม
มีหลักฐานบ่งชี้ว่าพันธุกรรมเป็นสาเหตุของการเกิดโรคโครห์นขึ้น โดยนักวิจัยได้ชี้ว่าผู้ป่วยโรคโครห์นจะมียีนบางชนิดที่แตกต่างจากกลุ่มคนปรกติถึง 200 ตัว
อีกทั้งยังมีหลักฐานว่าโรคโครห์นสามารถส่งต่อให้ลูกหลานได้ โดยผู้ป่วยประมาณ 3 จาก 20 คนจะมีญาติใกล้เคียง (พ่อแม่หรือพี่น้อง) ที่เป็นโรคโครห์น ยกตัวอย่างเช่น หากคุณมีฝาแฝดที่มีภาวะนี้ คุณจะมีโอกาสเป็นโรคโครห์นเหมือนกันมากกว่า 70%
ยังมีข้อมูลว่าโรคโครห์นจะพบได้มากกับบางชนชาติมากกว่าชนชาติอื่น ๆ ทำให้คาดได้ว่าพันธุกรรมมีบทบาทต่อการเกิดโรคนี้
ระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกันได้ช่วยป้องกันร่างกายจากแบคทีเรียอันตรายที่อาจเข้ามายังระบบย่อยอาหาร โดยระบบย่อยจะมีแบคทีเรียที่เป็นมิตรหลายประเภทที่มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหาร ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันจะจดจำแบคทีเรียดีเหล่านั้นไว้และปล่อยให้ทำหน้าที่ต่อไปโดยไม่เข้าไปทำลายแบคทีเรียเหล่านั้น
แต่สำหรับผู้ป่วยโรคโครห์น แบคทีเรียดีเหล่านั้นจะถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันโดยการใช้โปรตีนชนิดพิเศษที่เรียกว่า tumour necrosis factor -alpha (TNF-alpha) โดยไม่คำนึงว่าแบคทีเรียนั้น ๆ มีประโยชน์ต่อร่างกายหรือไม่ และทำให้เกิดภาวะอักเสบขึ้น
การติดเชื้อที่ผ่านมา
ผู้ป่วยที่มีความอ่อนไหวทางพันธุกรรมบางชนิดที่เคยประสบกับการติดเชื้อเมื่อวัยเด็กอาจส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติไปจนทำให้เกิดอาการของโรคโครห์นขึ้น
การสูบบุหรี่
นอกจากประวัติครอบครัวกับชนชาติของคุณแล้ว การสูบบุหรี่ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคโครห์นอีกหนึ่งประการ ผู้สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงต่อภาวะนี้มากกว่าคนที่ไม่สูบถึงสองเท่า
ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วยโรคโครห์นที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่มักจะประสบกับอาการต่าง ๆ รุนแรงและอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดในที่สุด
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
มีสองทฤษฎีของการเกิดโรคโครห์นที่ทำให้นักวิจัยมากมายเชื่อว่าปัจจัยภายนอกก็อาจมีส่วนในการก่อโรคเช่นกัน ซึ่งมีข้อมูลดังนี้: โรคโครห์นเป็น “โรคของคนรวย” โดยจำนวนผู้ป่วยที่พบส่วนมากจะเกิดขึ้นในประเทศแถบตะวันตกของโลกอย่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรอังกฤษ และมีจำนวนที่พบน้อยที่สุดในประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ อย่างแอฟริกาและแถบเอเชีย และมีการพบผู้ป่วยโรคโครห์นมากขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 1950 เป็นต้นมา
นี่จึงกล่าวได้ว่าโรคนี้เกี่ยวพันกับอะไรสักอย่างของโลกตะวันตกสมัยใหม่ที่ทำให้ผู้คนมีความเสี่ยงต่อโรคโครห์นเพิ่มขึ้น
อีกทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ที่เรียกว่าสมมติฐานโรคภูมิแพ้จากสุขอนามัย (hygiene hypothesis) กล่าวว่าเด็กที่โตมาในสภาพแวดล้อมปราศจากเชื้อโรคจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่โตเต็มที่เพราะขาดประสบการณ์การติดเชื้อเมื่อวัยเด็ก อย่างไรก็ตามก็ยังไม่สามารถหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนทฤษฎีนี้ได้
อีกทฤษฎีที่เรียกว่า cold-chain hypothesis กล่าวว่าโรคโครห์นอาจเกี่ยวพันกับความนิยมในการใช้ตู้เย็นหลังจากช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
การวินิจฉัยโรคโครห์น
ต้องมีการใช้วิธีทดสอบหาโรคโครห์นหลายวิธีเนื่องจากเป็นโรคที่มีอาการคล้ายคลึงกับภาวะอื่น ๆ
การทดสอบขั้นต้น
ระหว่างการทดสอบขั้นต้น แพทย์ผู้ดูแลจะสอบถามรูปแบบอาการและตรวจสอบสาเหตุของอาการเหล่านั้น เช่น: อาหารการกิน การเดินทางในช่วงที่ผ่านมา: ยกตัวอย่างเช่น คุณมีอาการท้องเสียหลังไปต่างประเทศ การใช้ยาของคุณ รวมไปถึงยาที่หาซื้อจากร้านขายยา ประวัติครอบครัวกับโรคโครห์น
แพทย์อาจดำเนินการตรวจทั่วไปเพื่อประเมินสุขภาพโดยรวมของคุณ ยกตัวอย่างเช่น: การตรวจชีพจร การวัดความดันโลหิต การวัดน้ำหนักและส่วนสูง การวัดอุณหภูมิร่างกาย ตรวจสอบช่องท้องของคุณ
การตรวจเลือด
แพทย์จะจัดการตรวจเลือดขึ้นเป็นชุดเพื่อใช้ประเมิน: ระดับของภาวะอักเสบในร่างกายของคุณ ว่าคุณมีการติดเชื้อหรือไม่ ว่าคุณมีภาวะโลหิตจาง (anaemic) ที่บ่งชี้ถึงภาวะขาดสารอาหาร (malnourished) หรือเสียเลือดจากลำไส้หรือไม่
การตรวจอุจจาระ
แพทย์อาจขอดำเนินการตรวจอุจจาระของคุณเพื่อตรวจหาเลือดและเมือกที่ออกมาพร้อมกัน ซึ่งยังสามารถช่วยบ่งชี้ว่าคุณมีอาการที่เกิดจากการติดเชื้อปรสิตหรือไม่อีกด้วย เช่นหนอนตัวกลม หรือภาวะติดเชื้ออื่น ๆ เป็นต้น
การทดสอบ faecal calprotectin เป็นการตรวจสำหรับผู้ใหญ่ที่เพิ่งเริ่มมีอาการอย่างการปวดท้อง ท้องร่วงหรือท้องผูก และถูกพิจารณาว่าควรได้รับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ การทดสอบจะช่วยให้แพทย์จำแนกระหว่างกลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome - IBS) กับโรคลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease - IBD) ได้
หลังจากที่คุณนำตัวอย่างอุจจาระไปให้แพทย์ตรวจ คุณอาจถูกส่งไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบย่อยอาหารต่อเพื่อทำความเข้าใจผลการทดสอบ และดำเนินการทดสอบเพิ่มเติมดังต่อไปนี้ตามความจำเป็น
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colonoscopy) เป็นการทดสอบเพื่อตรวจภายในลำไส้ใหญ่ของคุณ โดยเป็นการสอดท่อยาวที่มีความยืดหยุ่นสูงที่เรียกว่า endoscope เข้าไปทางทวารหนัก (ไส้ตรง)
ท่อ endoscope จะมีกล้องและไฟฉายติดอยู่ที่ปลาย ตัวกล้องจะสามารถส่งภาพกลับไปยังหน้าจอเพื่อแสดงให้เห็นระยะของการอักเสบภายในลำไส้ใหญ่
ท่อ endoscope จะมีที่พอสำหรับให้แพทย์สอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อขนาดเล็กออกมาจากส่วนต่าง ๆ ของระบบย่อยอาหาร (เรียกว่าการเจาะตรวจชิ้นเนื้อ หรือ biopsy) กระบวนการนี้อาจสร้างความไม่สบายเนื้อสบายตัวแก่คนไข้บ้าง แต่ก็ไม่สร้างความเจ็บปวดแต่อย่างใด
เนื้อเยื่อที่นำออกมาจะถูกตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์หาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคโครห์นหลาย ๆ กรณี
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนักแบบไร้สาย
การส่องกล้องลำไส้ใหญ่แบบไร้สาย (wireless capsule endoscopy) เป็นการทดสอบประเภทใหม่ที่เป็นการกลืนแคปซูลขนาดเล็ก (ขนาดเท่ากับวิตามินชนิดเม็ด) เข้าไป แคปซูลจะเคลื่อนตัวลงไปยังลำไส้เล็กและบันทึกภาพกลับไปยังอุปกรณ์ที่ติดอยู่บนเข็มขัดหรือบนกระเป๋าสะพายไหล่
หลังจากนั้นไม่กี่วัน แคปซูลจะออกจากร่างกายพร้อมอุจจาระ โดยตัวแคปซูลจะสลายไปเองโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องไปเก็บออกมาจากอุจจาระ
เนื่องจากกระบวนการนี้เป็นการทดสอบที่ใหม่และจำกัดอยู่มาก ทำให้มีการใช้วิธีสแกน MRE หรือ CTE แทน
การสแกน MRE และ CTE
การสแกนที่เรียกว่า magnetic resonance enterography/enteroclysis (MRE) หรือ computerised tomography enterography/enteroclysis (CTE) อาจใช้เพื่อตรวจสอบลำไส้เล็กของผู้ที่คาดว่าจะเป็นโรคโครห์น
ก่อนเข้ารับการทดสอบเหล่านี้ คุณจะต้องได้รับสารที่ไม่เป็นอันตรายที่เรียกว่าสารทึบรังสี (contrast agent) เข้าไป ในร่างกายเสียก่อน โดยสารเหล่านี้จะทำให้ภาพของลำไส้เล็กชัดเจนมากขึ้นระหว่างการสแกน
ระหว่างการสแกน MRE คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุจะถูกใช้สร้างภาพลำไส้เล็กของคุณ ส่วนระหว่างการสแกน CTE จะมีการถ่ายภาพเอกซเรย์หลายชุดออกมาก่อนต่อเข้าด้วยกันด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้ภาพร่างกายที่ละเอียดมาก ๆ ออกมา
การทดสอบเหล่านี้เป็นที่นิยมใช้กันมากขึ้นเรื่อย ๆ แทนการใช้กระบวนการสวนลำไส้เล็ก (small bowel enema) หรือ small bowel follow-through เพราะว่าเป็นวิธีสามารถตรวจสอบลำไส้เล็กได้ละเอียดกว่า อีกทั้งการสแกน MRE ยังเป็นวิธีที่ไม่ใช้รังสีเอกซเรย์อีกด้วย
Small bowel enema หรือ small bowel follow-through
small bowel enema (SBE) กับ small bowel follow-through (SBFT) คือการทดสอบที่คล้ายคลึงกันที่มักใช้ตรวจสอบส่วนลำไส้เล็กในร่างกายจนถึงตำแหน่งที่ลำไส้เล็กบรรจบกับลำไส้ใหญ่ แต่ปัจจุบัน วิธีการเหล่านี้มักไม่ค่อยดำเนินการกันแล้วเนื่องจากจะมีการตรวจสอบส่วนของลำไส้เล็กระหว่างการสอดกล้องได้เพียง 20 cm เท่านั้น
ระหว่างการดำเนินการ SBE/SBFT จะมีการใช้สเปรย์ยาชาเฉพาะส่วนกับลำคอและจมูกคนไข้ก่อนสอดท่อลงผ่านลำคอและโยงไปยังลำไส้เล็ก คุณจะรู้สึกไม่สบายตัวเพียงช่วงแรก ซึ่งคนที่เข้ารับการทดสอบประเภทนี้จะชินกับความรู้สึกที่มีท่อพาดลงไปในร่างกายภายในเวลาไม่กี่นาที
จากนั้นจะมีการฉีดสารที่ไม่เป็นอันตรายที่เรียกว่าแบเรียม (barium) ผ่านท่อเข้าไป แบเรียมจะเคลือบเยื่อบุลำไส้เล็กเพื่อทำให้ฟิล์มเอกซเรย์แสดงภาพลำไส้เล็กได้ชัดเจนมากขึ้น การถ่ายชุดภาพเอกซเรย์จะทำให้เห็นการอักเสบและการตีบแคบของลำไส้ที่เกิดจากโรคโครห์นได้อย่างชัดเจน
หลังการทดสอบนี้ คุณต้องดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อชะล้างแบเรียมออกจากร่างกายให้หมด โดยคุณจะสังเกตว่าอุจจาระของคุณมีสีขาวในช่วงไม่กี่วันหลังการทดสอบ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องปรกติมากจนไม่มีอะไรให้กังวล
การรักษาโรคโครห์น
ณ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโครห์น มีเพียงการรักษาบรรเทาอาการต่าง ๆ และเพื่อ: ลดอาการต่าง ๆ ลง: เรียกเป้าหมายเช่นนี้ว่าการชักพาโรคสู่ระยะสงบ (inducing remission) คงสภาพระยะสงบของโรค
สำหรับเด็ก การรักษาจะมีเป้าหมายเพื่อให้พวกเขามีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี
การรักษาจะจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายท่านรวมไปถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (อย่างผู้เชี่ยวชาญหรือศัลยแพทย์ด้านระบบทางเดินอาหาร) แพทย์ผู้ดูแล และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ เป็นต้น
การบรรเทาอาการ
หากคุณป่วยเป็นโรคโครห์น และมีอาการปานกลางจนถึงรุนแรงมาก หรือที่เรียกว่า “ช่วงกำเริบ” (active disease) การรักษามักจะเป็นการใช้ยาต่าง ๆ กระนั้นวิธีที่ชะงัดที่สุดก็ยังคงเป็นการผ่าตัดอยู่ดี
การรักษาขั้นต้น
กรณีส่วนมากจะเริ่มการรักษาแรกด้วยการใช้ยาสเตียรอยด์ (คอร์ติโคสเตียรอยด์) เพื่อลดอักเสบ โดยตัวอย่างยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ใช้กับผู้ป่วยเป็นโรคโครห์นมีทั้ง prednisolone ชนิดเม็ด หรือยาฉีด hydrocortisone
ยาเหล่านี้มักจะมีประสิทธิภาพในการลดอาการของโรคโครห์นอย่างมาก แต่ก็มีผลข้างเคียงมากมายเช่นกัน ดังนี้: น้ำหนักเพิ่ม หน้าบวม ความอ่อนไหวต่อการติดเชื้อมากขึ้น กระดูกบางและอ่อนแอ (โรคกระดูกบาง และosteoporosis' target='_blank'>โรคกระดูกพรุน)
เนื่องจากผลข้างเคียงเหล่านี้จึงทำให้แพทย์ต้องค่อย ๆ ปรับลดขนาดยาที่ใช้ลงเมื่อคุณมีอาการดีขึ้นแล้ว
หากคุณต้องการ คุณก็สามารถเลือกใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดอ่อนกว่าข้างต้นที่เรียกว่า budesonide หรือยาที่เรียกว่า 5-aminosalicylate (เช่น mesalazine) ก็ได้
สำหรับเด็กและผู้ที่ยังมีอายุน้อยที่ซึ่งแพทย์กังวลเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการ จะมีการใช้อาหารเหลว (elemental หรือ polymeric diet) เป็นการรักษาขั้นต้นที่สามารถลดการอักเสบได้ด้วยการทำให้ระบบย่อยอาหารฟื้นตัวพร้อมกับป้อนสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
การรักษาเพิ่มเติม
หากคุณประสบกับการกำเริบของอาการสองครั้งหรือมากกว่าภายในช่วง 12 เดือน หรือมีอาการกลับมาเมื่อมีการลดขนาดยาสเตียรอยด์ จะมีการรักษาเพิ่มเติมตามความจำเป็น
ในกรณีเช่นนี้จะมีการใช้ยากดภูมิคุ้มกันของคุณ (immunosuppressants) ร่วมกับยาที่ใช้ระหว่างการรักษาขั้นต้น ซึ่งมักจะเป็นยาที่ชื่อว่า azathioprine หรือ mercaptopurine
ยาเหล่านี้อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยทุกคน ดังนั้นต้องมีการตรวจเลือดเพื่อดูว่าคุณสามารถรับยานี้ได้หรือไม่ ซึ่งหากคุณไม่สามารถใช้ยาเหล่านี้ได้ จะมีการใช้ยากดภูมิอีกประเภทที่เรียกว่า methotrexate แทน
ผลข้างเคียงจากยากดภูมิมีดังนี้: คลื่นไส้และอาเจียน อ่อนไหวต่อการติดเชื้อมากขึ้น ตับอ่อนอักเสบ เหน็ดเหนื่อย หายใจอ่อนและลำบาก ซึ่งเกิดจากภาวะโลหิตจาง ปัญหากับตับ
ระหว่างการใช้ยา คุณต้องทำการตรวจเลือดบ่อยครั้งเพื่อตรวจหาผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่าง ๆ
ยากดภูมิ azathioprine และ mercaptopurine นับว่าเป็นยาที่ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร แปลว่าผู้หญิงยังสามารถมีครรภ์และใช้ยาเหล่านี้ไปตลอดการตั้งท้องได้
อย่างไรก็ตาม ยา methotrexate ถูกกำหนดห้ามใช้ก่อนมีบุตรเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน เพราะยาตัวนี้จะส่งผลให้ทารกมีความผิดปรกติเกิดขึ้น ซึ่งข้อห้ามนี้ส่งผลทั้งผู้ชายและผู้หญิง อีกทั้งไม่ควรใช้ยาตัวนี้ขณะที่ต้องนมบุตรอีกด้วย
หากคุณตั้งครรภ์หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ระหว่างการใช้ยารักษาโรคโครห์น จะต้องทำการปรึกษากับแพทย์ก่อน
โรคโครห์นรุนแรง
สำหรับผู้ที่มีสุขภาพโดยรวมไม่ดีที่ยังมีอาการของโรคโครห์นรุนแรง จะมีการใช้ยาที่เรียกว่าการรักษาทางชีวบำบัด (biological therapies) เพื่อลดอาการของโรคในกรณีที่ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์กับยากดภูมิไม่ได้ผลหรือไม่เหมาะสม
การรักษาด้วยชีวบำบัดเป็นการใช้ยากดภูมิชนิดแรงที่ผลิตออกมาด้วยส่วนผสมทางชีวภาพตามธรรมชาติ เช่นแอนติบอดีและเอนไซม์
ยา 2 ตัวที่ใช้ในการรักษาโรคโครห์นรุนแรงคือ infliximab กับ adalimumab (ข้อมูลจากสหราชอาณาจักร) ยาเหล่านี้ออกฤทธิ์เข้าไปโจมตีโปรตีน tumour necrosis factor -alpha (TNF-alpha) ที่เชื่อกันว่าเป็นสาเหตุของการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคโครห์น เด็กอายุมากกว่า 6 ปีและผู้ใหญ่สามารถใช้ยา infliximab ได้ แต่สำหรับยา adalimumab จะมีไว้สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
ยา infliximab จะเป็นยาหยดเข้าเส้นเลือดที่แขนที่ต้องให้ตามโรงพยาบาล ส่วนยา adalimumab จะเป็นยาฉีด และต้องทำการฝึกสอนคุณหรือสมาชิกในครอบครัวของคุณถึงวิธีการฉีดยาตัวนี้เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องมาโรงพยาบาลบ่อย ๆ
การรักษามักจะดำเนินไปอย่างน้อย 12 เดือน นอกจากว่ายาจะไม่แสดงผลเร็วกว่าที่คาดไว้ หลังจากช่วงเวลาดังกล่าว ภาวะของคุณจะถูกประเมินเพื่อพิจารณาว่าคุณควรได้รับการรักษาเพิ่มเติมหรือไม่
ความเสี่ยงต่อยาเหล่านี้คือปฏิกิริยาแพ้ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้: คันผิวหนัง มีไข้สูง ปวดข้อต่อและกล้ามเนื้อ มือหรือริมฝีปากบวม ปัญหาการกลืน
คุณควรเข้าพบแพทย์ทันทีที่ประสบกับอาการข้างต้น โดยปฏิกิริยาเหล่านี้จะเกิดขึ้นทันทีหลังได้รับยา กระนั้นก็สามารถเกิดขึ้นหลังจากนั้นนานหลายเดือน หรือแม้แต่หลังยุติการรักษาไปแล้วก็ได้
การผ่าตัด
การผ่าตัดจะมีขึ้นเพื่อลดอาการต่าง ๆ ซึ่งจะดำเนินการขึ้นหากทีมรักษาของคุณลงความเห็นว่าคุณจะได้รับประโยชน์จากการผ่าตัดมากกว่าความเสี่ยงของกระบวนการ
หลาย ๆ กรณีจะมีการผ่าตัดที่เรียกว่า resection ซึ่งเป็นการผ่านำพื้นที่ลำไส้ที่อักเสบออกก่อนจะเย็บส่วนที่ยังคงสุขภาพดีเข้าด้วยกัน
ในบางกรณีแพทย์จะแนะนำให้คุณเข้ารับหัตถการที่เรียกว่าไอลีออสโตมี (ileostomy) เพื่อแยกลำไส้และของเสียออกจากส่วนลำไส้ใหญ่ที่อักเสบเพื่อให้ส่วนที่เสียหายฟื้นตัว
ระหว่างหัตถการนี้ ส่วนปลายของลำไส้เล็ก (ileum) จะถูกตัดแยกออกจากลำไส้ใหญ่ และถูกเชื่อมไปยังช่องเปิดหน้าท้องที่ทำขึ้นมาจนกลายเป็นช่องสโตม่า (stoma) โดยจะมีการติดตั้งถุงที่นอกช่องท้องเพื่อรองรับของเสียที่ออกมา
เมื่อลำไส้ใหญ่ฟื้นตัวเพียงพอแล้ว (มักจะเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากนั้น) จะมีหัตถกรรมครั้งที่สองเพื่อปิดสโตม่าและผ่าตัดเชื่อมลำไส้เล็กเข้ากับลำไส้ใหญ่เหมือนเดิม
การคงสภาพระยะสงบของโรค
ระยะสงบของโรคคือช่วงที่คุณไม่มีอาการใด ๆ หรือมีอาการจากโรคเพียงเล็กน้อย ระหว่างช่วงระยะสงบ คุณจะสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ยาคงสภาพระยะนี้หรือไม่
หากคุณตัดสินใจไม่ดำเนินการรักษาเพิ่มเติม แพทย์จะแนะนำให้คุณเข้าพบตรวจร่างกายเป็นประจำแทน ซึ่งจะช่วยเฝ้าระวังอาการต่าง ๆ ที่เป็นอันตราย เช่นอาการน้ำหนักลดโดยหาสาเหตุไม่ได้ ปวดท้อง และท้องร่วง
หากคุณเลือกรับการรักษาต่อ มักจะเป็นการใช้ยากดภูมิ แต่จะไม่ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อการคงสภาพระยะสงบของโรค
อาหารและการสูบบุหรี่
แม้จะยังไม่มีหลักฐานว่าอาหารก็เป็นตัวการเกิดโรคโครห์น บางคนก็ยังเชื่อว่าอาหารบางประเภทกระตุ้นให้เกิดอาการขึ้นมา ทำให้แพทย์แนะนำให้คุณจดบันทึกการรับประทานอาหารของตนเองเพื่อดูว่าอาหารประเภทใดที่ส่งผลต่อการเกิดอาการของโรคโครห์น
หากคุณสังเกตว่าอาหารบางประเภททำให้อาการของคุณทรุดลง พยายามเลี่ยงอาหารประเภทนั้นเพื่อลดโอกาสประสบกับอาการ อย่างไรก็ตาม การตัดอาหารบางประเภทโดยสมบูรณ์ก็ไม่ใช่สิ่งที่คุณควรทำแต่อย่างใด
บางคนพบว่าการทานอาหารมื้อเล็ก 6 มื้อต่อวันแทนการทานมื้อใหญ่ 3 มื้อต่อวันก็ช่วยให้อาการของคุณดีขึ้นได้
หากคุณสูบบุหรี่ แพทย์จะแนะนำให้คุณเลิกสูบเสียเพื่อลดอาการและคงสภาพระยะโรคสงบให้นานที่สุด
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคโครห์น
เมื่อผ่านไปนานเข้า ภาวะอักเสบจะสร้างความเสียหายต่อส่วนของระบบย่อยอาหารจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้น เช่นลำไส้ตีบแคบ (stricture) หรือเกิดฝีขึ้น ณ ส่วนปลายของลำไส้ใหญ่และผิวหนังใกล้ทวารหนักหรือช่องคลอด (fistula)
หากคุณเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคโครห์นขึ้นมา เช่นฝีคัณฑสูตร (anal fistulas) หรือสำไส้ตีบแคบ (stricture) คุณจำต้องได้รับการรักษา และอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหากเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
ภาวะลำไส้ตีบแคบ
ภาวะลำไส้ตีบแคบ (stricture) ที่เกิดจากโรคโครห์นสามารถทำให้เนื้อเยื่อที่เป็นแผลก่อตัวขึ้นมาจนทำให้อวัยวะเกิดการตีบแคบมากขึ้น
หากเกิดภาวะเช่นนี้จะมีความเสี่ยงที่ทำให้ของเสียจากระบบย่อยอาหารเกิดการอุดตันภายใน ซึ่งจะทำให้คุณไม่สามารถถ่ายหนักได้ตามปรกติ หรือทำให้คุณถ่ายได้เพียงอุจจาระเหลว ๆ เท่านั้น
อาการอื่น ๆ ของภาวะลำไส้อุดตันมีดังนี้: ปวดบิดท้อง อาเจียน ท้องอืด รู้สึกอิ่มจนไม่สบายตัวในช่องท้อง
หากปล่อยไว้โดยไม่ทำการรักษาจะมีความเสี่ยงต่อการฉีกขาดของลำไส้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดรูที่ทำให้สิ่งที่อยู่ภายในลำไส้รั่วไหลออกมาทำให้คุณต้องติดต่อแพทย์ทันทีที่คุณคาดว่าลำไส้ของคุณอุดตัน
ภาวะลำไส้ตีบแคบสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดขยายส่วนของลำไส้ที่เป็นภาวะนี้ ในบางกรณีก็สามารถทำได้โดยไม่ต้องผ่าตัด หรือใช้กระบวนการที่เรียกว่าการขยายด้วยบอลลูน (balloon dilation) ที่ดำเนินการระหว่างการสอดกล้องลำไส้และทวารหนัก
ระหว่างกระบวนการขยายด้วยบอลลูน กล้องสวนทวารจะถูกสอดเข้าพร้อมกับบอลลูน จากนั้นบอลลูนจะพองตัวออก ณ ตำแหน่งที่ตีบแคบ
หากกระบวนการข้างต้นไม่ได้ผลหรือไม่เหมาะกับคุณ จะมีหัตถกรรมที่เรียกว่า stricturoplasty ขยายส่วนของลำไส้เล็กขึ้น เปลี่ยนรูปร่าง และเย็บติดเข้าด้วยกัน
ฝี
ฝีเกิดจากการที่ระบบย่อยของคุณเกิดแผลจากการอักเสบมากเกินไป เมื่อผ่านไปนานวันเข้า แผลจะเปลี่ยนไปเป็นช่องทางใหม่สู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ หรือในบางกรณีก็อาจจะเกิดขึ้นมาบนกระเพาะปัสสาวะ ช่องคลอด ทวารหนัก หรือผิวหนัง ซึ่งช่องทางใหม่ที่เกิดขึ้นก็คือฝี (fistulas)
ฝีขนาดเล็กจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ แต่หากฝีมีขนาดใหญ่และอักเสบขึ้น ก็อาจจะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น: อาการปวดตุ๊บ มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส มีเลือดหรือหนองปนปัสสาวะ อุจจาระหรือมูกเล็ด
หากมีฝีเกิดขึ้นบนผิวหนัง (มักจะอยู่นอกหรือใกล้กับทวารหนัก) อาจจะมีของเสียกลิ่นแรงขับออกมาด้วย
สำหรับการรักษาฝีนั้นมักจะใช้ยารักษาทางชีวภาพ ส่วนการผ่าตัดจะนำมาพิจารณาเมื่อการรักษาข้างต้นไม่ได้ผล
ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
ผู้ป่วยโรคโครห์นจะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มข้น เช่น:
โรคกระดูกพรุน (osteoporosis): ภาวะกระดูกบางลงที่เกิดจากลำไส้ไม่สามารถดูดซับสารอาหาร และจากการใช้สเตียรอยด์ต่อเนื่อง
ภาวะโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anaemia): ภาวะที่เกิดจากการเลือดออกในระบบย่อยอาหาร (กรณีผู้ป่วยโรคโครห์น) จนทำให้มีอาการเหน็ดเหนื่อย หายใจติดขัด และผิวซีด
ภาวะโลหิตจางจากการพร่องวิตามิน B12 หรือโฟเลต (vitamin B12 or folate deficiency anaemia): ภาวะที่เกิดจากการขาดวิตามิน B12 หรือโฟเลตจนทำให้มีอาการหมดเรี่ยวแรง
pyoderma gangrenosum: ภาวะผิวหนังหายากที่ทำให้เกิดแผลบนผิวหนังที่เจ็บปวดมาก
เด็กที่ป่วยเป็นโรคโครห์นอาจประสบกับปัญหาด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการเนื่องจากร่างกายไม่สามารถดูดซับสารอาหารที่จำเป็นได้
มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
ผู้ป่วยโรคโครห์นบางรายจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง (Colorectal cancer) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงท้ายของชีวิต
คุณจะได้รับการตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อเฝ้าระวังโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หากทีมรักษารู้สึกว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคนี้เพิ่มขึ้น โดยการตรวจมักดำเนินการด้วยการสอดกล้องทวารหนักและการเจาะตรวจชิ้นเนื้อ