กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Chlorella (คลอเรลลา)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

ข้อมูลภาพรวมของคลอเรลลา

คลอเรลลา (Chlorella) คือสาหร่ายที่โตในน้ำสะอาดที่สามารถนำทั้งต้นไปใช้ผลิตอาหารเสริมและยาได้

คลอเรลลาส่วนมากที่หาได้ในสหรัฐอเมริกาจะถูกปลูกที่ประเทศญี่ปุ่นหรือไต้หวันโดยผ่านกระบวนการผลิตให้กลายเป็นยาเม็ดและสารสกัดเหลว สารสกัดจะประกอบด้วย “chlorella growth factor” ที่ถูกบรรยายว่าเปนสารสกัดที่ละลายน้ำได้ของคลอเรลลาที่มีสารเคมีอย่างกรดอะมิโน, เปปไทด์, โปรตีน, วิตามินต่าง ๆ , น้ำตาล, และกรดนิวคลีอิก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือผลิตภัณฑ์จากคลอเรลลานั้นแตกต่างกันออกไปตามขั้นตอนการเพาะปลูก, เก็บเกี่ยว, และแปรรูป โดยมีรายงานที่พบว่าสินค้าที่ผลิตด้วยการนำคลอเรลลาไปตากแห้งนั้นจะมีโปรตีนตั้งแต่ 7-88%, มีคาร์โบไฮเดรตตั้งแต่ 6-38%, และมีไขมันที่ 7-75%

คลอเรลลาออกฤทธิ์อย่างไร?

คลอเรลลาเป็นแหล่งโปรตีน, ไขมัน, คาร์โบไฮเดรต, ใยอาหาร, คลอโรฟิลล์, วิตามิน, และแร่ธาตุที่ดีมาก อีกทั้งยังออกฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลลงแม้จะยังคงต้องมีงานวิจัยเพิ่มเติมอยู่ก็ตาม

วิธีใช้และประสิทธิผลของคลอเรลลา

ภาวะที่อาจใช้คลอเรลลาได้อย่างมีประสิทธิผล

  • ภาวะขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiency) ระหว่างตั้งครรภ์ งานวิจัยพบว่าการทานคลอเรลลาจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง (anemia) จากการที่ร่างกายขาดธาตุเหล็กระหว่างช่วงการมีครรภ์ได้
  • กลุ่มคนที่มีภูมิต้านทานต่ำต่อการติดเชื้อ 
  • กลุ่มคนที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อย

ภาวะที่คลอเรลลาอาจไม่สามารถรักษาได้

  • ความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ งานวิจัยพบว่าการทานคลอเรลลาระหว่างตั้งครรภ์ไม่ได้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ (gestational hypertension)

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้คลอเรลลารักษาได้หรือไม่

  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานยาเม็ดสกัดจากคลอเรลลาเป็นเวลา 6 สัปดาห์ร่วมกับยาต้านซึมเศร้า (antidepressant) ทางการแพทย์แล้ว ทั้งสองอาจช่วยกันลดอาการจากภาวะซึมเศร้าและภาวะวิตกกังวลของผู้ป่วยที่มีปัญหาซึมเศร้ารุนแรงได้
  • ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) ผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียบางรายกล่าวว่าพวกเขารู้สึกดีขึ้นหลังจากทานยาเม็ดและยาน้ำสกัดจากคลอเรลลาที่ประกอบด้วยกรดมาลิก (malic acid) ทุกวันนานสองเดือน
  • เนื้องอกในสมอง (glioma) งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการทานยาเม็ดและยาน้ำคลอเรลลาอาจช่วยผู้ที่มีปัญหามะเร็งสมองที่เรียกว่า glioma ให้รับมือกับการบำบัดเคมีและรังสีได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามตัวของคลอเรลลาไม่ได้ชะลอการลุกลามของเนื้อร้ายหรือเพิ่มอัตราการรอดชีวิตแต่อย่างใด
  • ตับอักเสบ C (Hepatitis C) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานคลอเรลลา 12 สัปดาห์ต่อเนื่องจะทำให้อาการอักเสบของตับดีขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยลดระดับไวรัสตับอักเสบ C ในเลือดลง
  • คอเลสเตอรอลสูง งานวิจัยพบว่าการทานคลอเรลลานาน 4 สัปดาห์จะลดปริมาณคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ลง แต่ไม่ได้ลดปริมาณ LDL หรือเพิ่ม HDL ขึ้นแต่อย่างใด
  • ความดันโลหิตสูง งานวิจัยพบว่าการทานคลอเรลลาทุกวันนาน 1-2 เดือนไม่ได้ช่วยลดความดันโลหิตของผู้มีปัญหาความดันสูง
  • โรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) งานวิจัยพบว่าการทานผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยข้าวยีสต์แดง, มะระ, คลอเรลลา, ชะเอมเทศ, และโปรตีนถั่วเหลืองเป็นเวลา 12 สัปดาห์ไปลงปริมาณคอเลสเตอรอลรวม, LDL, และระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ลง แต่ไม่ได้ช่วยลดรอบเอว, HDL, หรือระดับน้ำตาลในเลือด
  • กลิ่นปาก
  • ป้องกันมะเร็ง
  • หวัด
  • ท้องผูก
  • โรคโครห์น (Crohn's disease)
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเป็นแผล (Ulcerative colitis)
  • แผลบนเยื่อบุ
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของคลอเรลลาเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของคลอเรลลา

คลอเรลลาน่าจะปลอดภัยหากรับประทานในระยะสั้น (มากถึง 29 สัปดาห์) โดยผลข้างเคียงส่วนมากคือท้องร่วง, คลื่นไส้, ท้องอืด, อุจจาระออกสีเขียว, ผื่นขึ้นตามตัว, ปวดศีรษะ, ไม่อยากอาหาร, พบไข้, อ่อนเพลีย และปวดท้อง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงสองสัปดาห์หลังการรับประทาน

คลอเรลลายังทำให้ผิวหนังอ่อนไหวต่อแสงอาทิตย์มากขึ้น หากคุณมีผิวสีอ่อนควรทาครีมกันแดดก่อนออกไปนอกอาคาร

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: คลอเรลลาถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยหากใช้ในปริมาณพอเหมาะระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยของกลุ่มผู้ที่ต้องให้นมบุตรอยู่ ดังนั้นผู้ใช้ในกลุ่มนี้ควรเลี่ยงการทานคลอเรลลาไปจะดีที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ที่มีอาการแพ้เชื้อรา: คลอเรลลาอาจทำให้ผู้ที่แพ้เชื้อราเกิดอาการแพ้ขึ้นได้

ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ (immunodeficiency) : มีความกังวลที่ว่าคลอเรลลาอาจทำให้แบคทีเรียที่ไม่ดีเข้าลุกลามลำไส้ของผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ดังนั้นหากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรงดและเลี่ยงการใช้คลอเรลลาเพื่อความปลอดภัย

อ่อนไหวต่อไอโอดีน : คลอเรลลาอาจมีส่วนผสมของไอโอดีนได้บางยี่ห้อ ดังนั้นจึงอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ในกลุ่มผู้ที่อ่อนไหวต่อไอโอดีนได้

การใช้คลอเรลลาร่วมกับยาชนิดอื่น

ควรใช้คลอเรลลาร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

คลอเรลลาอาจเพิ่มการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันขึ้นได้ ซึ่งจะไปลดประสิทธิภาพของยากดภูมิคุ้มกันในที่สุด โดยยากดภูมิคุ้มกันมีตัวอย่างดังนี้  azathioprine (Imuran), basiliximab (Simulect), cyclosporine (Neoral, Sandimmune), daclizumab (Zenapax), muromonab-CD3 (OKT3, Orthoclone OKT3), mycophenolate (CellCept), tacrolimus (FK506, Prograf), sirolimus (Rapamune), prednisone (Deltasone, Orasone), corticosteroids (glucocorticoids), และอื่น ๆ

คลอเรลลาประกอบด้วยวิตามิน K ปริมาณมาก ซึ่งเป็นวิตามินที่ร่างกายใช้ในการก่อให้เกิดลิ่มเลือด ส่วน Warfarin (Coumadin) ก็เป็นยาที่ใช้ชะลอการเกิดลิ่มเลือด ด้วยเหตุนี้การใช้คลอเรลลากับยาWarfarin (Coumadin) จะทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง 

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน:

  • สำหรับภาวะขาดธาตุเหล็กระหว่างตั้งครรภ์: ควรใช้คลอเรลลา 2 กรัม สามครั้งต่อวันตั้งแต่ช่วงอายุครรภ์ที่ 12-18 สัปดาห์ไปจนกว่าจะคลอด
  • สำหรับทานเพื่อบำรุงร่างกายเป็นอาหารเสริม ใช้ขนาด 200-400 mg วันละครั้ง

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chlorella vulgaris: A Multifunctional Dietary Supplement with Diverse Medicinal Properties. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26561078)
Chlorella: Benefits, Side Effects, Dosage, Interactions. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/the-benefits-of-chlorella-89048)
Chlorella: Health Benefits, Uses, Side Effects, Dosage & Interactions. RxList. (https://www.rxlist.com/chlorella/supplements.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)