ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)

บทนำ

steroids' target='_blank'>ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือเรียกสั้นๆว่า ยาสเตียรอยด์ (steroids) เป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบใช้รักษาโรคได้หลากหลายโรค ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นฮอร์โมนที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมนุษย์ซึ่งเลียนแบบการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไต โดยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์มีหลายรูปแบบ ดังนี้  

  • แบบเม็ดรับประทาน
  • แบบฉีด สามารถฉีดเข้าเส้นเลือด ข้อ หรือกล้ามเนื้อ
  • แบบสูดพ่น เช่น สเปรย์ฉีดทางปาก หรือ จมูก
  • แบบโลชั่น ครีม หรือเจลทาเฉพาะที่

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ใช้ในกรณีใด

โดยมากยาคอร์ติโคสเตียรอยด์จะใช้ในกรณีลดอาการอักเสบและกดภูมิคุ้มกัน สามารถรักษาโรคได้หลายชนิด ดังเช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หรืออาจใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เป็นฮอร์โมนทดแทนในผู้ที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเองได้ เช่น โรคแอดดิสัน (Addison's disease)

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์จะถูกสั่งใช้เมื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเห็นแล้วว่ามีประโยชน์มากกว่าโทษที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเท่านั้น และจะใช้ในระยะเวลาที่สั้นที่สุดในขนาดที่น้อยที่สุดที่จะให้ผลรักษาได้เท่านั้น

การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในรูปแบบเม็ด แบบฉีด หรือแบบสูดพ่นในระยะสั้นนั้นจะมีผลข้างเคียงต่ำ แต่หากใช้ยาในระยะยาวนั้นอาจจะมีผลเสียได้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดกับผู้ที่ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในระยะยาว มีดังนี้

  • เพิ่มความอยากอาหาร อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มได้
  • ผิวหนังบาง และเกิดแผลรอยข่วนได้ง่าย
  • เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
  • มีภาวะอารมณ์แปรปรวน และเกิดภาวะซึมเศร้าได้
  • มีภาวะโรคเบาหวาน
  • กระดูกพรุน

อาการถอนยาเมื่อหยุดใช้ยาทันทีอาจจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากกินยากดการทำงานของต่องหมวกไตไว้เป็นเวลานาน ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติต่างๆเกิดขึ้นควรแจ้งแพทย์ให้ทราบทันที และไม่ควรหยุดยาด้วยตนเอง ควรหยุดโดยแพทย์สั่งปรับลดขนาดยาลงเรื่อยๆ อย่างช้าๆ อาจเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก็ได้

ข้อควรระวังและปฏิกิริยาระหว่างยาคอร์ติโคสเตียรอยด์กับยาอื่น

ผู้ใช้ยาทั่วไปและรวมถึงหญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดและชนิดสูดพ่นถือว่ามีความปลอดภัยในการใช้ แต่อย่างไรก็ตามการใช้ยาจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์เท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาสเตียรอยด์ชนิดเม็ดรับประทานสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้มากกว่า และไม่ควรใช้กับผู้ป่วยในภาวะเหล่านี้เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงได้

  • มีภาวะติดเชื้ออยู่
  • มีภาวะอารมณ์แปรปรวนและมีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น ซึมเศร้าหรือติดแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง หรือ เบาหวาน เป็นต้น

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์รูปแบบเม็ด

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์รูปแบบเม็ดเป็นรูปแบบที่ออกฤทธิ์แรงที่สุดเนื่องจากสามารถออกฤทธิ์ได้ทั้งร่างกาย ไม่ควรใช้ยาหากร่างกายอยู่ในภาวะติดเชื้อ เนื่องจากยาจะทำให้อาการติดเชื้อแย่ลงได้ หรือใช้ตามวิจารณญาณของแพทย์เท่านั้น

ผู้ที่ควรใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์แบบเม็ดอย่างระมัดระวังได้แก่

  • ผู้ที่มีปัญหาโรคตับ เนื่องจากยาคอร์ติโคสเตียรอยด์จะถูกเปลี่ยนแปลงและทำลายที่ตับ หากตับทำงานได้ไม่ดี จะทำให้มียาอยู่ในกระแสเลือดสูงเกินไปได้
  • ผู้ที่มีภาวะทางจิต เช่น มีอาการซึมเศร้า หรือมีปัญหาติดแอลกอฮอล์ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ป่วยได้
  • ผู้ที่มีแผล ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์จะทำให้แผลหายช้าลง
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ ควรใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์อย่างระมัดระวังเนื่องจากจะทำให้โรคประจำตัวเหล่านี้แย่ลงได้ โรคเหล่านั้นมีดังนี้ หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ลมชัก ต้อ ต่อมไธรอยด์ทำงานน้อย กระดูกพรุน โรคอ้วน กลุ่มโรคทางจิต แผลในกระเพาะอาหาร โดยในผู้ที่มีกลุ่มโรคเหล่านี้อาจต้องลดขนาดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ลง หรือห้ามใช้ยา

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์รูปแบบฉีด

คนส่วนใหญ่สามารถใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์รูปแบบฉีดได้อย่างปลอดภัย แต่ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้หรือใช้อย่างระมัดระวังคือผู้ที่มีปัญหาในเรื่องการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่นโรค ฮีโมฟีเลีย (haemophilia) เป็นต้น หรือผู้ที่มีภาวะติดเชื้ออยู่

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์รูปแบบสูดพ่นหรือสเปรย์

ทุกคนสามารถใช้ยากลุ่มนี้ได้อย่างปลอดภัย แต่ผู้ที่มีโรควัณโรค หรือ ผู้ที่ติดเชื้อรุนแรง ควรหลีกเลี่ยงการใช้

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่แนะนำให้ใช้หากมีผลเสียมากกว่าผลดีที่จะเกิดขึ้น ดังเช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดเม็ดอาจจะถูกแนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์บางรายที่มีภาวะหอบหืดอย่างรุนแรง เนื่องจากภาวะหอบหืดรุนแรงอาจส่งผลกระทบถึงทารกในครรภ์ได้มากกว่าผลข้างเคียงของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ต่อเด็กในครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ส่วนยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นนั้นยังไม่มีหลักฐานที่แสดงผลของยาต่อทารก ดังนั้นจึงสามารถใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่นได้ตามปกติในหญิงตั้งครรภ์

การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในหญิงให้นมบุตร

หากหญิงให้นมบุตรมีความจำเป็นต้องใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ โดยมากแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาเพรดนิโซโลน (prednisolone) เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะส่งผลข้างเคียงไปสู่เด็กน้อยที่สุด โดยแนะนำให้หญิงให้นมบุตรควรรออย่างน้อย 3-4 ชั่วโมงหลังกินยา ถึงจะเริ่มให้นมบุตรได้

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดฉีด สูดพ่น หรือสเปรย์นั้นไม่มีผลต่อเด็กที่กินนมแม่

ปฏิกิริยาระหว่างยาคอร์ติโคสเตียรอยด์กับยาชนิดอื่น

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์สามารถเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นได้หากมีการใช้ร่วมกัน โดยจะเกิดได้น้อยมากในยาฉีดหรือยาชนิดสูดพ่นแต่ก็อาจจะเกิดได้ ในกรณีที่ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในขนาดสูงเป็นเวลานาน

ยาที่เกิดปฏิกิริยากับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้บ่อย มีดังนี้

  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant medicines) โดยยากลุ่มนี้จะให้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน การใช้ยาสเตียรอยด์ร่วมกับยากลุ่มนี้นั้น บางครั้งอาจจะทำให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดออกฤทธิ์ได้น้อยลง หรือในทางกลับกันอาจทำให้เลือดไหลง่าย เกิดเลือดไหลภายในระบบทางเดินอาหารได้
  • ยากันชัก (Anticonvulsants) คือยาประจำตัวที่ใช้ในผู้ป่วยโรคลมชัก โดยยากันชักจะลดประสิทธิภาพของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดยา ความรุนแรงของโรคลมชัก
  • ยาสำหรับโรคเบาหวาน โดยยาคอร์ติโคสเตียรอยด์สามารถลดประสิทธิภาพของยาเบาหวานได้
  • ยาต้านเชื้อเอชไอวี (HIV medications) โดยยากลุ่มนี้จะเพิ่มฤทธิ์ของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นได้
  • วัคซีนเชื้อเป็น (Live vaccines) วัคซีนบางชนิดจะเป็นวัคซีนเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลงเพื่อนำมาใช้ในการป้องกันโรค เช่น วัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน (Measles Mumps Rubella Vaccine) วัคซีนสําหรับวัณโรค เป็นต้น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์นั้นสามารถกดภูมิคุ้มกันของผู้ใช้ได้ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้วัคซีนชนิดเชื้อเป็นอย่างน้อย 3 เดือนหลังจากรับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ครบถ้วน
  • ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs) ส่วนมากจะใช้เป็นยาแก้ปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) เป็นต้น โดยมากจะซื้อได้ตามร้านยาทั่วไป การใช้ยาต้านอักเสบร่วมกับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลในทางเดินอาหาร (Peptic Ulcer) และเลือดออกภายในทางเดินอาหารได้ หากผู้ป่วยต้องใช้ยาสองชนิดร่วมกัน แพทย์อาจต้องให้ยากลุ่มยับยั้งการหลั่งกรด  (proton pump inhibitor) เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวลงได้

ผลข้างเคียงของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์มีผลข้างเคียงค่อนข้างกว้าง โดยความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงนั้นจะขึ้นอยู่กับ

  • รูปแบบของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่ใช้หา โดยชนิดเม็ดจะมีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงมากกว่ารูปแบบอื่นๆ
  • ขนาดของการใช้ ขนาดสูงจะมีความเสี่ยงสูงกว่าการใช้ยาขนาดต่ำ
  • ระยะเวลาในการใช้ยา เช่น หากใช้นานเป็นระยะเวลามากกว่า 3 สัปดาห์ก็จะมีความเสี่ยงสูง
  • อายุของผู้ใช้ จะพบผลข้างเคียงในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูดพ่น

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์รูปแบบนี้จะมีผลข้างเคียงต่ำ แต่อย่างไรก็ตามอาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้บ้าง ดังนี้

  • เป็นแผลในปาก หรือ คอ
  • เลือดกำเดาไหล
  • เสียงแหบพร่า
  • ไอ
  • ฝ้าขาวจากเชื้อราในปาก การบ้วนปากหลังสูดพ่นยาจะสามารถช่วยป้องกันการเกิดเชื้อราในปากได้
  • ในผู้.ใช้ที่เป็นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary disease, COPD) จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อในปอดได้

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดฉีด

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดฉีดใช้ฉีดเข้ากล้ามเนื้อและข้อต่อ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นคือมีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด แต่จะหายได้เองในเวลา 2-3 วัน

การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าสู่กล้ามเนื้ออาจก่อให้เกิดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นในบริเวณนั้นอ่อนแรงได้ ผลข้างเคียงอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้คือ ผิวหนังแดง ผิวหนังบางลง ในบริเวณที่ฉีด

เนื่องด้วยผลข้างเคียงข้างต้นการฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์จึงแนะนำให้ฉีดเป็นช่วง อย่างน้อยทุก 6 สัปดาห์และไม่เกิน 3 เข็มในบริเวณเดียวกัน

ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์รูปแบบเม็ด

การใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์รูปแบบเม็ดในระยะสั้น และใช้ในระยะเวลาไม่เกิน 3 สัปดาห์ จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้น้อย แต่หากจำเป็นต้องใช้ในระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 3 สัปดาห์ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ ดังนี้

  • เพิ่มความอยากอาหาร อาจก่อให้เกิดน้ำหนักเพิ่มได้
  • อารมณ์แปรปรวน อาจใช้ความรุนแรงและอารมณ์ร้อน
  • ผิวบางลง เกิดแผลได้ง่าย
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • แผลหายช้า
  • มีการสะสมของไขมันบริเวณใบหน้า ผิวหนังแตกลาย และมีสิว หรืออาจเรียกว่า คุชชิงซินโดรม (Cushing’s syndrome)
  • กระดูกพรุน บางลง
  • เบาหวาน
  • ความดันโลหิตสูง
  • ต้อ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา
  • แผลในกระเพาะอาหาร อาจต้องมีการใช้ยาร่วมกับยาลดกรดเพื่อลดความเสี่ยงนี้ลง
  • ปัญหาด้านจิตใจ เช่น อาจมีอารมณ์ซึมเศร้า เครียด มีความคิดฆ่าตัวตาย สับสน มึนงง
  • เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ เช่น อาจเป็นโรคอีสุกอีใส งูสวัด หัด เป็นต้น
  • ในเด็กอาจมีการเจริญเติบโตช้า

ผลข้างเคียงต่างๆจะลดลงได้หากลดขนาดยาลง หรือ หยุดใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์หากท่านมีอาการไม่พึงประสงค์ต่างๆเพื่อปรับขนาดยาหรือเปลี่ยนยาได้


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)