กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ตรวจมะเร็ง ตรวจคัดกรองมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคร้ายที่มากับความเงียบ

ป้องกันมะเร็งด้วยการปรับพฤติกรรมเป็นเรื่องที่ดี แต่หากได้ตรวจคัดกรองมะเร็ง หรือตรวจมะเร็ง ด้วยจะยิ่งมั่นใจกว่า
เผยแพร่ครั้งแรก 15 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 26 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที
ตรวจมะเร็ง ตรวจคัดกรองมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคร้ายที่มากับความเงียบ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคมะเร็งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม อายุที่มากขึ้น พฤติกรรมการดื่มสุรา สูบบุหรี่ โรคอ้วน การได้รับสารปนเปื้อน
  • ถึงแม้คุณจะไม่มีอาการของโรคมะเร็ง แต่คุณก็ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นการตรวจสุขภาพเพื่อจะได้รู้เท่าทันโรคมะเร็ง แต่หากคุณเคยตรวจสุขภาพแล้วไม่มีความเสี่ยง ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจ เพราะการคัดกรองโรคมะเร็ง เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดโรคมากกว่า
  • คุณสามารถสังเกตสัญญาณของโรคมะเร็งได้ด้วยตนเอง เช่น มีเลือดออกทางช่องคลอด มีหูด ไฝขึ้นตามร่างกาย ถ่ายเป็นเลือด ไอเป็นเลือด มีก้อนขึ้นที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • ขั้นตอนการตรวจโรคมะเร็งจะได้แก่ สอบถามประวัติสุขภาพ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด ต่อด้วยการตรวจหาเชื้อมะเร็งทางห้องปฏิบัติการ
  • ในแต่ละช่วงอายุของเพศชาย และหญิงจะมีการตรวจหาโรคมะเร็งที่แตกต่างกันไป โดยโรคมะเร็งที่ผู้ชายไทยเป็นมากที่สุด คือ โรคมะเร็งตับ ส่วนโรคมะเร็งที่ผู้หญิงไทยเป็นมากที่สุด คือ โรคมะเร็งเต้านม
  • เปรียบเทียบราคา และแพ็กเกจตรวจสุขภาพ ตรวจโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเป็นหนึ่งในโรคร้ายที่คร่าชีวิตของผู้คนทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2573 ทั่วโลกจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งราว 13 ล้านคน และประมาณ 70% ของผู้เสียชีวิตอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา 

อย่างไรก็ตาม นอกจากจะเกิดจากพันธุกรรมแล้ว ปัจจัยการเกิดโรคอีกมะเร็งอีกส่วนหนึ่ง ก็คือ มาจาก "พฤติกรรม" ของคุณเอง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นคุณจึงควรหันกลับมามองตนเองว่า มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เหมาะสม มีการดูแลสุขภาพเป็นอย่างดีแล้วหรือยัง และอีกหนึ่งสิ่งที่จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ก็คือ การเข้าตรวจคัดกรองโรคมะเร็งอย่างสม่ำเสมอ

เช็กความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งของตนเอง

  • อายุ อายุที่มากขึ้นทำให้ความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งสูงขึ้นไปด้วย โดยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งกว่าครึ่งที่ตรวจพบโรคมะเร็งมีอายุมากกว่า 66 ปี
  • มีบุคคลในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคมะเร็งมาก่อน  ทำให้รุ่นลูกหลานอาจได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมที่ผิดปกติมาด้วย
  • ดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่ ปริมาณมากและเป็นประจำ ยิ่งคุณเคยดื่ม หรือสูบมากเท่าไรก็ยิ่งมีความเสี่ยงมะเร็งมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะผู้ที่ทั้งดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ซึ่งจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเพิ่มสูงมาก โดยเฉพาะโรคมะเร็งตับ และโรคมะเร็งปอด
  • มีภาวะอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ
  • สัมผัสรังสีในธรรมชาติ หรือรังสีเอกซเรย์ รังสีนิวเคลียร์ หากคุณได้รับรังสีเหล่านี้ในปริมาณที่สูงกว่ากำหนดก็อาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งได้
  • ได้รับแสงแดด หรือรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ในปริมาณมาก และเป็นประจำ กาจไม่ทาครีมกันแดด อยู่ในที่แดดจัดเป็นประจำก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้
  • การติดเชื้อบางอย่าง เช่น เชื้อเอชพีวี เชื้อไวรัสเอชไอวี เชื่อไวรัสตับอักเสบบี และซี 
  • การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน เช่น หญิงที่มีประจำเดือนเร็ว หรือหมดประจำเดือนช้า อาจเสี่ยงเกิดมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น
  • มีโรคอ้วน การมีน้ำหนักเกินสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งหลายๆ ชนิด เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งเยื่อบุมดลูก โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งไต โรคมะเร็งตับอ่อน 
  • ได้รับสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร และเครื่องดื่ม เช่น สารพิษอัลฟาทอกซินจากเชื้อรา สารก่อมะเร็งที่เกิดจากการปิ้ง ย่าง สารเคมีที่ใช้ในขบวนการถนอมอาหารอย่างไนโตรซามิน (Nitrosamine) และสีผสมอาหาร

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความเสี่ยงดังที่กล่าวมา สามารถปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง หรือการเข้ารับการตรวจมะเร็งที่มีความเสี่ยงสูง 

อย่างไรก็ตาม การมีปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง หมายถึง โอกาสที่จะเกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่ไม่มีปัจจัยเหล่านี้จะปลอดภัยจากโรคมะเร็งได้เลย

ความแตกต่างของการตรวจโรคมะเร็งกับการคัดกรองมะเร็ง

  1. การตรวจโรคมะเร็ง เป็นการตรวจร่างกายผู้ที่เริ่มมีอาการผิดปกติคล้ายกับเป็นโรคมะเร็งไปแล้ว หรือกำลังสงสัยว่าตนเองเป็นโรคมะเร็งชนิดใดชนิดหนึ่ง
  2. การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง (Screening for Specific Cancer) เป็นการตรวจร่างกายในผู้ที่ยังไม่มีสัญญาณของโรคมะเร็งเกิดขึ้น อาจเป็นแค่การตรวจสุขภาพทั่วไป แต่จะมีการตรวจในส่วนที่มักเสี่ยงเกิดโรคมะเร็งเพื่อป้องกันเอาไว้ก่อน
    การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจะเหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมากกว่าคนธรรมดา เช่น ผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผู้ที่บริโภคแอลกอฮอล์มาก หรือติดสุรา ผู้ที่ทำงานอยู่กับสารเคมีอันตรายอยู่เป็นประจำ

สาเหตุที่ต้องมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ก็เพราะในช่วงของโรคมะเร็งระยะแรก เซลล์มะเร็งที่เติบโตขึ้นเพียงเล็กน้อยจะไม่ส่งสัญญาณเตือนเป็นอาการใดๆ ออกมา และกว่าคุณจะรู้ว่า ตนเองเป็นโรคมะเร็ง อาการ และระยะของโรคก็ลุกลามไปถึงขั้นร้ายแรงจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตแล้ว

ซึ่งการตรวจสุขภาพ และการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจะช่วยให้คุณสามารถตรวจพบความผิดปกติของร่างกายที่อาจเสี่ยงทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ทันเวลา

11 สัญญาณอันตรายที่คุณควรไปตรวจโรคมะเร็ง

คุณอาจไม่ทราบว่า แล้วอาการแบบไหนบ้างที่เป็นสัญญาณว่า คุณอาจป่วยเป็นโรคมะเร็ง โดยคุณสามารถสังเกตอาการต่อไปนี้ได้ หากมีอาการใดอาการหนึ่งเกิดขึ้น ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการไว้ก่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบขับถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ เช่น ถ่ายเป็นสีดำ ปัสสาวะปนเลือด
  • กลืนอาหารลำบาก 
  • มีอาการจุกเสียดแน่นท้อง หรือท้องอืดเป็นเวลานาน
  • เสียงแหบ
  • มีอาการไอเรื้อรัง หรือไอเป็นเลือด
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด ตกขาวปนเลือดหรือตกขาวผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
  • เป็นแผลที่รักษาแล้วไม่หาย
  • มีหูด หรือไฝตามร่างกาย ที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป เช่น สีเปลี่ยนไป ขนาดใหญ่ขึ้น
  • มีก้อนที่เต้านม หรือตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และก้อนนั้นโตเร็วกว่าปกติ 
  • หูอื้อ หรือมีเลือดกำเดาไหล
  • มีอาการอื่นๆ ที่น่าสงสัย หรือรู้สึกกังวล
  • น้ำหนักลดลง เบื่ออาหาร
  • มีเหงื่อออกตอนกลางคืน

ขั้นตอนการตรวจมะเร็ง 

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ระบุว่า การตรวจมะเร็งเพื่อหาความผิดปกติของเซลล์ในระยะเริ่มแรก มักมีวิธีการดังต่อไปนี้

1. สอบถามประวัติโดยละเอียด ได้แก่

  • ประวัติสุขภาพของคนในครอบครัวว่า มีใครเคยป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่
  • ประวัติด้านสภาพแวดล้อม ลักษณะงานที่ทำ หรือที่อยู่อาศัย อาจเป็นปัจจัยให้เสี่ยงมะเร็งยิ่งขึ้นได้ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารกัมมันตรังสีเป็นเวลานานๆ อาจเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้มากกว่าผู้ที่ทำอาชีพอื่นๆ
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง เช่น สูบบุหรี่จัด ดื่มหนัก มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีบุตรมาก ซึ่งจะเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยแต่งงาน
  • มีอาการผิดปกติที่อาจบ่งบอกถึงโรคมะเร็ง เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องอืด เสียงแหบ ไอเรื้อรัง อุจจาระ หรือปัสสาวะผิดปกติ ตกขาวมาก มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ เป็นแผลเรื้อรัง มีหูด ไฝ หรือปานที่ผิดปกติหรือไม่

2. ตรวจร่างกายอย่างละเอียด เป็นเรื่องยากที่จะตรวจดูร่างกายได้ทุกส่วน ในการตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรก แพทย์จึงจะตรวจดูอวัยวะต่างๆ เท่าที่ทำได้ ได้แก่ ผิวหนังและเนื้อเยื่อบางส่วน ศีรษะ คอ ทรวงอก เต้านม ท้อง อวัยวะเพศ ทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง

3. ตรวจมะเร็งทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม

  • การตรวจทางห้องปฎิบัติการ ได้แก่ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ และตรวจเลือดทางชีวเคมี
  • การตรวจเอกซเรย์ เช่น การเอกซเรย์ปอด การเอกซเรย์ทางเดินอาหาร การเอกซเรย์เต้านม
  • การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ มีวิธีการตรวจโดยให้ผู้ป่วยกลืน หรือฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นบริเวณที่ต้องการถ่ายภาพตรวจด้วยรังสีเอกซเรย์ หรือรังสีอื่นๆ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • การตรวจโดยเครื่องมือพิเศษ เป็นการตรวจดูลักษณะเยื่อบุภายในของอวัยวะบางอย่าง เช่น หลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือลำไส้
  • การเก็บเซลล์ไปตรวจ เป็นการตรวจมะเร็งระยะเริ่มต้นที่อวัยวะต่างๆ ทำโดยการขูดเซลล์จากเยื่อบุอวัยวะนั้นๆ เช่น ปากมดลูก และเยื่อบุช่องปาก หรือเป็นการเก็บเซลล์จากบริเวณที่มีเซลล์หลุดมาขัง เช่น ในช่องคลอด ในเสมหะ เป็นต้น
  • การตัดเนื้อเยื่อบริเวณที่สงสัยว่า อาจมีเซลล์มะเร็งไปส่งตรวจโดยกล้องจุลทรรศน์

ระยะเวลาการตรวจหาโรคมะเร็ง

ระยะเวลาในการรอผลตรวจมะเร็งนั้นไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด เพราะขึ้นอยู่กับชนิดของการตรวจ และจำนวนคิวในห้องปฏิบัติการ ผลตรวจบางอย่างรอไม่กี่วัน หรือไม่กี่สัปดาห์ ในขณะที่การตรวจบางอย่าง หรือบางตำแหน่งอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน

โรคมะเร็งที่คนแต่ละช่วงอายุควรตรวจ

แนะนำให้คนแต่ละเพศ แต่ละช่วงอายุ ตรวจคัดกรองมะเร็งดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อายุ 20-30 ปี

  • ผู้หญิง ควรตรวจ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก
  • ผู้ชาย ควรตรวจ โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งตับ และท่อน้ำดี

อายุ 31-40 ปี

  • ผู้หญิง ควรตรวจ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งลำไส้ 
  • ผู้ชาย ควรตรวจ โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็งปอด และหลอดลม

อายุ 41-50 ปี

  • ผู้หญิง ควรตรวจ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งตับ 
  • ผู้ชาย ควรตรวจ โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งปอดและหลอดลม โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งหลอดอาหาร

อายุ 51 ปีขึ้นไป

  • ผู้หญิง ควรตรวจ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งปอด และหลอดลม
  • ผู้ชาย ควรตรวจ โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งหลอดอาหาร

5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชาย 

สถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (Cancer in Thailand Vol.IX 2013-2015) พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ชายไทย เช่นเดียวกับผู้ชายทั่วโลกที่อยู่ในอันดับต้นๆ ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย

อันดับ ประเทศไทย
1 โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี
2 โรคมะเร็งปอด
3 โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
4 โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก
5 โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง

สำหรับโรคมะเร็งในผู้หญิง อันดับหนึ่งยังคงเป็นโรคมะเร็งเต้านม ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีโรคมะเร็งอีกหลายชนิดที่ผู้หญิงเป็นกันมากจึงควรตรวจคัดกรองมะเร็งให้เหมาะสมตามความเสี่ยง และอายุที่แนะนำ เพื่อการรักษาที่เหมาะสมแต่เนิ่นๆ หากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น

อันดับ ประเทศไทย
1 โรคมะเร็งเต้านม
2 โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี
3 โรคมะเร็งปากมดลูก
4 โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
5 โรคมะเร็งปอด

ราคาการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง

ราคาค่าบริการในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งขึ้นอยู่กับชนิดของโรคมะเร็งที่ต้องการตรวจ ความครอบคลุมของแพ็กเกจตรวจ และโรงพยาบาลที่คุณเลือก โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้หญิงมักมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าผู้ชาย 

หากต้องการทราบข้อมูลรายละเอียด สามารถโทรสอบถามจากโรงพยาบาลได้โดยตรง หรือเลือกแพ็กเกจที่คุณสนใจได้จากตารางเปรียบรายการตรวจคัดกรองมะเร็งจากโรงพยาบาลด้านล่างนี้

เปรียบเทียบราคาตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิง

โรงพยาบาล/คลินิก
(ชื่อแพ็กเกจ)
มิตรไมตรีคลินิก
(ตรวจมะเร็งหญิง Premium)
รพ. เจ้าพระยา
(Cancer screening)
รพ. สุขุมวิท
(ตรวจคัดกรองมะเร็ง
ทุกความเสี่ยงสำหรับสตรี)
ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์
เอกซเรย์ปอด (Chest X-Ray)
ตรวจหาสารบ่งชี้โรคมะเร็งตับอ่อน (CA19-9)
ตรวจหาสารบ่งชี้โรคมะเร็งตับ (AFP)
ตรวจหาสารบ่งชี้โรคมะเร็งลำไส้ (CEA)
ตรวจหาความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ (CA125)
ตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Stool occult blood)
ตรวจอวัยวะช่องท้องทั้งหมด (U/S whole abdomen)
ตรวจหาสารบ่งชี้โรคมะเร็งเต้านมจากเลือด (CA15-3)
เอ็กซเรย์เต้านมด้วยเครื่องดิจิตอล (Digital mammogram)
ตรวจโรคมะเร็งเต้านมและอัลตราซาวด์



(Digital mammogram&Ultrasound)
ตรวจโรคมะเร็งปากมดลูก (Pap test)
ตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV qPCR)
ราคา 1,999 8,699 9,690

เปรียบเทียบราคาตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้ชาย

โรงพยาบาล/คลินิก
(ชื่อแพ็กเกจ)
N Health
(ตรวจมะเร็งชายไทย)
มิตรไมตรีคลินิก
(ตรวจมะเร็ง Premium ชาย)
รพ. เจ้าพระยา
(Cancer screening)
ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์
ตรวจหาสารบ่งชี้โรคมะเร็งตับอ่อน (CA19-9)
ตรวจหาสารบ่งชี้โรคมะเร็งตับ (AFP)
ตรวจหาสารบ่งชี้โรคมะเร็งลำไส้ (CEA)
ตรวจหาค่าบ่งชี้โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
ราคา 999 1,999 2,699

*ราคาข้างต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง และอาจยังไม่รวมค่าแพทย์หรือค่ายา

การตรวจมะเร็งพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรกนั้นมีประโยชน์ เพราะจะทำให้การรักษาได้ผลดีมาก อีกทั้งเป็นการป้องกันโรคมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งทำให้เกิดอาการร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ความแม่นยำของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเพื่อหาสารบ่งชี้ 

ปัจจุบันมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งโดยการเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) ต่างๆ อย่างไรก็ตาม สารบ่งชี้มะเร็งหลายชนิดก็สามารถตรวจพบได้ในคนปกติเช่นกัน หรืออาจไม่พบสารบ่งชี้ที่ผิดปกติใดๆ ในผู้ป่วยมะเร็งเลยก็ได้ 

ค่าสารบ่งชี้โรคมะเร็งที่สูงผิดปกติจึงไม่ได้หมายความว่า เป็นโรคมะเร็งเสมอไป ดังนั้นการแปลผลสารบ่งชี้มะเร็งจึงต้องใช้ความระมัดระวัง และใช้ข้อมูลจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายประกอบ และต้องให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วินิจฉัยเท่านั้น

หากคุณมีค่าบ่งชี้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ แพทย์อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่า มีเชื้อโรคมะเร็งแน่หรือไม่ 

การตรวจนี้จึงมีข้อเสียตรงที่หากพบว่า มีค่าบ่งชี้มะเร็งสูง แต่ตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่นแล้วไม่พบว่า เป็นโรคมะเร็ง ก็จะทำให้เสียเวลา เสียเงินเพิ่ม และมีความเสี่ยงจากการตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเข้ามา เช่น การผ่าตัดเพื่อเก็บชิ้นเนื้อ การส่องกล้องในระบบทางเดินอาหาร 

การปฏิบัติตนหากไม่แน่ใจในผลตรวจคัดกรองมะเร็ง หรือการตรวจมะเร็ง

บางครั้งผลตรวจโรคมะเร็งก็คลาดเคลื่อนได้ หากคุณไม่แน่ใจ ควรลองตรวจกับแพทย์คนอื่น หรือโรงพยาบาลอื่นอีกครั้ง เพื่อดูว่า ผลออกมาสอดคล้องกันหรือไม่ เพราะการที่แพทย์จะวินิจฉัยพลาดทั้งสองคนนั้นเป็นไปได้น้อยกว่า

วิธีดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ความวิตกกังวลเกิดขึ้นได้เสมอเมื่อพบว่า มีความปกติร่างกาย สำหรับโรคมะเร็ง สภาพจิตใจเองก็เป็นตัวแปรสำคัญในการดูแลร่างกาย ทั้งระยะก่อนรู้ผล ระยะที่ให้การรักษา ระยะติดตามการรักษา รวมถึงระยะสุดท้าย 

ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเอง หรือมีคนใกล้ชิดกำลังเป็นอยู่ ลองสังเกตอาการตามระยะดังนี้

  1. การปฏิเสธผลที่ได้รับ ผู้ป่วยอาจมีอาการตกใจ กังวล สับสน ซึมเฉย หรือถ้าตกใจมากอาจเอะอะโวยวาย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ และโทษแพทย์ว่า ตรวจผิด อาจพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือไปหาแพทยอีกหลายคนเพื่อให้ยืนยันว่า ตนเองไม่ได้เป็นโรคมะเร็งจริงๆ 
  2. รู้สึกโกรธ ไม่แปลกหากผู้ป่วยจะรู้สึกโกรธกับการต้องเจอกับปัญหาโรคร้ายแรง ผู้ป่วยอาจโทษว่า เป็นความผิดของแพทย์ บางรายอาจมีท่าทีก้าวร้าว ต่อต้านการตรวจ และคำแนะนำ ซึ่งผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยต้องคอยปลอบโยน อาจต้องห้ามไม่ให้ผู้ป่วยก่อเหตุสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นด้วย
  3. การต่อรอง ต่อรองว่า ตนเองอาจไม่เป็นโรคร้ายแรง อาจกลับไปสู่ระยะปฏิเสธความจริงได้อีก บางรายก็หวังว่า จะมีการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อให้พบว่า ตนเองเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ไม่มีอันตราย และรักษาหายได้
  4. มีอกาารซึมเศร้า ผู้ป่วยบางรายอาจยอมจำนนต่ออาการป่วยที่เกิดขึ้น แต่ความจริงแล้ว สภาพจิตใจภายในของผู้ป่วยยังยอมรับไม่ได้ จึงทำให้มีอารมณ์ซึมเศร้าต่อการสูญเสีย รู้สึกผิด และอ้างว้าง ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว
  5. การยอมรับ เมื่อผู้ป่วยยอมรับความจริงเกี่ยวกับโรคได้ อาการเศร้าลดลง มีการซักถามถึงรายละเอียดของโรคที่เป็น และวิธีรักษา แต่ในบางรายอาจแสดงความไม่สนใจใดๆ เลย หรือไม่สนใจที่จะดูแลตนเองอีกต่อไป

ผู้ป่วยบางรายอาจมีครบทั้ง 5 ระยะอาการข้างต้น บางรายอาจเริ่มข้อใดข้อหนึ่งก่อนโดยไม่ครบทุกระยะก็ได้ 

ดังนั้นหากเพื่อน หรือคนรู้จักของคุณเป็นโรคมะเร็ง การเรียนรู้ และเข้าใจอารมณ์จิตใจของผู้ป่วยที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาจึงเป็นเรื่องจำเป็น และไม่ปล่อยทิ้งไว้นาน โดยสามารถทำตามข้อแนะนำเหล่านี้

  • พูดคุยแต่สิ่งที่ดี ให้กำลังใจอย่างจริงใจ รวมถึง แนะนำให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้แก่ผู้ป่วย หรือแนะนำให้ผู้ป่วยถามคำถามจากแพทย์โดยตรง
  • ไม่แสดงปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงภายนอกของผู้ป่วยอย่างชัดเจนเกินไป เช่น อาการก้าวร้าว ซึม ไม่สนใจดูแลตนเอง 
  • หลีกเลี่ยงการพูดถึงโรคของผู้ป่วยซ้ำๆ
  • รับฟังผู้ป่วยให้มาก พูดให้น้อย
  • ช่วยให้ผู้ป่วยได้มีกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับครอบครัว หรือเพื่อนสนิท จะทำให้เขามีกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป 

แม้โรคมะเร็งจะเป็นโรคร้ายแต่ทุกคนสามารถป้องกันตนเองจากมะเร็งได้ หากรู้ทัน และรู้จักหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงก่อมะเร็ง อย่างไรก็ดี หากมีความกังวลใจสูงยังสามารถเข้ารับการตรวจคัดโรคมะเร็ง หรือการตรวจมะเร็งได้ 

เพราะอย่างน้อย ยิ่งสามารถตรวจเจอโรคเร็วได้เท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และรวดเร็วได้มากเท่านั้น ลดการสูญเสียที่ตามมาได้ ที่สำคัญมะเร็งบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ 

ดูแพ็กเกจตรวจโรคมะเร็ง ตรวจสุขภาพทั่วไป เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
การดูแลทางด้านจิตใจในผู้ป่วยมะเร็ง (https://www.anamai.moph.go.th/)
ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล (http://www.nci.go.th/th/File_download/Nci%20Cancer%20Registry/HOSPITAL-BASED%202016%20Revise%204%20Final.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้
สัญญาณเตือนแรกเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่คุณควรรู้

คู่มือทำความเข้าใจโรคมะเร็งหลายชนิดและอาการของโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
ท้องเสียตอนมีประจำเดือน ไข้ทับระดู สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน
ท้องเสียตอนมีประจำเดือน ไข้ทับระดู สาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน

รู้จักอาการ และผลกระทบของไข้ทับฤดู พร้อมตอบข้อสงสัยที่คนมักถามต่างๆ

อ่านเพิ่ม
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear

มะเร็งปากมดลูกพบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย แต่เป็นมะเร็งที่มีวิธีสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 80%

อ่านเพิ่ม