กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear

มะเร็งปากมดลูกพบเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งในผู้หญิงไทย แต่เป็นมะเร็งที่มีวิธีสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพถึง 80%
เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 30 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap Smear

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • มะเร็งปากมดลูกเกือบทั้งหมดมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศของผู้ชายและผู้หญิงได้ คือ สายพันธุ์ 16 และ 18
  • การตรวจ Pap smear หรือ Pap test คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบหนึ่งซึ่งจะช่วยให้สามารถตรวจสอบว่า มีสิ่งใดผิดปกติบริเวณปากมดลูกหรือไม่ หรือมีเซลล์ผิดปกติในมดลูกไหม นับเป็นวิธีตรวจที่มีความแม่นยำประมาณ 50% แต่นิยมใช้กันมานานเพราะราคาไม่สูง
  • ผู้หญิงอายุ 21 ปีขึ้นไป หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกได้ 3 ปี (ขึ้นกับอย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงก่อน) ควรได้รับการตรวจ Pap smear เป็นประจำทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก อาจเว้นระยะการตรวจเป็นทุก 2-3 ปี
  • ไม่ควรมาตรวจ Pap smear ในช่วงมีประจำเดือน แนะนำว่า ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการตรวจคือ10-20 วันหลังจากมีประจำเดือน นั่นหมายความว่าเมื่อนับจากวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 และนับต่อไปอีกสิบวันจนวันที่ 11 ถึงวันที่ 20 เพราะร่างกายจะสะอาด ผลตรวจจะมีค่าเบี่ยงเบนน้อย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิง

"การตรวจแปปสเมียร์" เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกที่ผู้หญิงทุกคนควรทำความรู้จักและทำความเข้าใจให้ดี เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากในผู้หญิงทั่วโลกรวมทั้งผู้หญิงไทย 

มะเร็งปากมดลูกจัดอยู่อันดับที่ 2 รองมาจากมะเร็งเต้านม อีกทั้งยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของผู้หญิงไทยด้วย สถิติจาก พ.ศ.2561 พบว่า โรคมะเร็งปากมดลูกคร่าชีวิตผู้หญิงไทยเฉลี่ยมากถึงวันละ 14 คน และทุกๆ ปีจะมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่มากถึงปีละ 8,600 ราย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แม้ตัวเลขนี้จะดูน่าตกใจ แต่ข่าวดีคือ มะเร็งชนิดนี้มีวิธีที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ และมีวิธีที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากถึง 80% โดยการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV

อย่างไรก็ตาม แม้จะป้องกันตนเองจากโรคนี้แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์นั่นเอง 

มะเร็งปากมดลูกคืออะไร

มะเร็งปากมดลูกเกือบทั้งหมดมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศของผู้ชายและผู้หญิงได้ คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 

มะเร็งปากมดลูกสามารถติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีเชื้อไวรัสนี้ที่อวัยวะเพศ และเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้หญิงอายุ 18-28 ปี หรือผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว 

ความน่ากลัวของโรคมะเร็งปากมดลูกคือ หลังจากติดเชื้อไวรัสแล้วจะยังไม่แสดงอาการใดๆ นานนับสิบปี นั่นจึงทำให้ตัวเลขอายุผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกจึงไม่สูงมากเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นคือ มักอยู่ระหว่าง 35-50 ปี 

ดังนั้นหากผู้หญิงสามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสและประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้นเท่านั้น รวมถึงควรฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ให้ครบคอร์ส ซึ่งควรทำตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกจะดีที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทั้งนี้ปัจจุบันมีการให้บริการคอร์สวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีอย่างแพร่หลายตามโรงพยาบาลชั้นนำ โดยมีทั้งป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี 2 สายพันธ์ุ และ 4 สายพันธุ์ 

การตรวจ Pap Smear คืออะไร

การตรวจ Pap smear หรือ Pap test คือ การตรวจคัดกรองเซลล์เยื่อบุปากมดลูกแบบหนึ่งซึ่งจะช่วยให้สามารถตรวจสอบว่า มีสิ่งใดผิดปกติบริเวณปากมดลูกหรือไม่ หรือมีเซลล์ผิดปกติในมดลูกไหม 

การตรวจ Pap smear เป็นวิธีตรวจที่มีความแม่นยำประมาณ 50% แต่นิยมใช้กันมานานเพราะราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับการตรวจแบบตินแพร็พ (ThinPrep) และการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV DNA Test) 

สิ่งที่สามารถตรวจพบได้จาก  Pap smear ได้แก่ การอักเสบซึ่งอาจบอกได้ว่า มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เชื้อพยาธิบางชนิดได้ 

ที่สำคัญสามารถบอกได้ว่า มีความผิดปกติจากการติดเชื้อเอชพีวี หรือมีเซลล์เปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือไม่ 

หากพบความผิดปกติ แพทย์อาจต้องสั่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การตัดเนื้อเยื่อออกมาตรวจเซลล์อีกครั้ง เพื่อให้ได้ผลตรวจประกอบการวินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้น จะได้วางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสมตามสิ่งที่ตรวจพบต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การตรวจพบความผิดปกติของเซลล์ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้เซลล์พัฒนากลายเป็นเนื้อร้ายได้ นอกจากนี้ยังอาจสามารถรักษาเซลล์มะเร็งที่เพิ่งเริ่มเป็นให้หายเป็นปกติได้

ใครควรได้รับการตรวจ Pap smear

American Cancer Society ได้จัดประชุมร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ที่ดูแลด้านสุขภาพในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 2002 ได้ข้อสรุปดังนี้

  • ผู้หญิงอายุ 21 ปีขึ้นไป หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 3 ปี (ขึ้นกับอย่างใดอย่างหนึ่งมาถึงก่อน) ควรได้รับการตรวจ Pap smear 
  • ควรตรวจ Pap smear เป็นประจำทุกปี
  • หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก และไม่มีความผิดปกติใดๆ อาจเว้นระยะการตรวจเป็นทุก 2-3 ปี 
  • ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างให้เคมีบำบัด ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ต้องได้รับการตรวจ Pap smear ปีละ 2 ครั้ง หลังจากนั้นตรวจปีละ 1 ครั้ง 
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกไปแล้วไม่จำเป็นต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก ยกเว้นผู้ที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นมะเร็งปากมดลูกมาก่อน ซึ่งกรณีนี้ต้องได้รับการตรวจภายในอีกอย่างน้อย 10 ปี 

นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำอื่นๆ ต่อไปนี้ 

  • เด็กผู้หญิงไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจ Pap smear จนกว่าแพทย์จะวินิจฉัยว่า มีความผิดปกติและมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจ 
  • ผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจ Pap smear เป็นประจำทุกปี หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี สามารถเว้นระยะการตรวจให้เป็นตรวจทุกๆ 3 ปีได้
  • ผู้หญิงอายุ 70 ปีขึ้นไป หากผลตรวจเป็นปกติติดต่อกัน 3 ปี ไม่มีความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก และไม่มีความผิดปกติใดๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อาจไม่ต้องตรวจ Pap smear อีกต่อไป 

การตรวจ Pap smear ไม่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด แต่อาจรู้สึกอึดอัดและไม่สบายตัวเท่านั้น 

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ Pap smear

  • ไม่ควรมาตรวจในช่วงมีประจำเดือน มีคำแนะนำว่า ช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการตรวจคือ 10-20 วันหลังจากมีประจำเดือน นั่นหมายความว่าเมื่อนับจากวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 และนับต่อไปอีกสิบวันจนวันที่ 11 ถึงวันที่ 20 ร่างกายจะสะอาด ผลตรวจจะมีค่าเบี่ยงเบนน้อย
  • งดมีเพศสัมพันธ์มาก่อนการตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • ต้องไม่มีการตรวจภายในมาก่อนการตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอดมาก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
  • ห้ามใช้ยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอดมาก่อนการตรวจ 48 ชั่วโมง
  • ห้ามล้าง หรือทำความสะอาดภายในช่องคลอดมาก่อนการตรวจ 24 ชั่วโมง
  • เตรียมจิตใจให้พร้อม อย่ากังวล อย่ากลัว และอย่าเกร็งในขณะตรวจ

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก หรือต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการตรวจ ไม่ว่าจะวิธีการตรวจ สถานที่ตรวจ การเตรียมตัว อาจปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ก่อน วิธีนี้สะดวกสบาย อยู่ที่ไหนก็สามารถปรึกษาแพทย์ได้ 

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อตรวจ Pap smear

  • แพทย์จะใช้เครื่องมือสำหรับตรวจคลอด (Speculum) เพื่อเปิดปากช่องคลอด เครื่องมือดังกล่าวมีลักษณะคล้ายปากเป็ดทำจากพลาสติก หรือโลหะ มีส่วนบานพับที่ปลายด้านหนึ่งซึ่งสามารถควบคุมให้เปิดหรือปิดได้ หากเครื่องมือเป็นโลหะ พยาบาลจะทำให้เครื่องมือดังกล่าวอุ่นขึ้นและจะแจ้งให้ผู้ตรวจทราบก่อนที่จะสอดเครื่องมือเข้าใปในช่องคลอด
  • เมื่อเครื่องมือสอดเข้าไป แพทย์จะค่อยๆ เปิดขยายเครื่องมือ ซึ่งจะไม่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด ในขณะที่บางรายรู้สึกอึดอัดเมื่อเครื่องมือสอดเข้าไป เนื่องจากช่องคลอดล้อมรอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่สามารถยืดหยุ่น หดรัดและคลายตัวได้ นั่นเอง ในขั้นตอนนี้หากไม่เกร็งช่องคลอด หายใจเข้า-ออกลึกๆ และเพ่งความสนใจไปที่การผ่อนคลายกล้ามเนื้อช่องคลอด ฮัมเพลงที่ชอบ หรือการพูดคุยกับแพทย์ หรือพยาบาลก็สามารถช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นได้
  • เมื่อ Speculum อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้ว แพทย์จะเปิดแสงไฟให้ส่องภายในช่องคลอดเพื่อตรวจดูปากมดลูก จากนั้นแพทย์จะค่อยๆ หมุนเครื่องมือเพื่อเก็บตัวอย่างเซลล์จากบริเวณปากมดลูกทุกจุดออกมา เพื่อส่งไปตรวจหาความผิดปกติ หรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงจนอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ 
  • หลังจากแพทย์เก็บตัวอย่างได้แล้วและนำอุปกรณ์ Speculum ออกมาแล้ว ถือว่า การตรวจเสร็จสิ้น ผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลับบ้านได้และรอผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการต่อไป 

อย่างไรก็ตาม หลังการตรวจบางคนพบว่า มีเลือด หรือของเหลวออกมาจากช่องคลอดเล็กน้อยหลังจากการตรวจ Pap smear ก็อาจต้องใช้แผ่นอนามัยเพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น 

อย่างไรก็ตาม เลือดที่ออกมาไม่ใช่เลือดประจำเดือนและไม่ได้เป็นอันตรายใดๆ เลือดนี้จะออกมาเพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นและหยุดได้เอง

แม้ว่าคุณผู้หญิงจะมีสุขภาพแข็งแรง มีสุขอนามัยที่ดี และไม่มีปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปากมดลุก แต่หากเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือมีอายุ 21 ปีขึ้นไป แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำทุกปี หรือตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อความมั่นใจ 

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจภายใน คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ThinPrep ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
ฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ไม่เจ็บอย่างที่คิด | HDmall
รีวิวตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจหาเชื้อ HPV และอัลตราซาวด์หาเนื้องอกมดลูกและรังไข่ ที่โรงพยาบาลพญาไท 3 | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิง จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจ Pap Smear คืออะไร แปลผลยังไง เจ็บไหม อ่านสรุปได้ที่นี่ , (https://hdmall.co.th/c/pap-smear).
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก สำคัญอย่างไร ฉีดกี่เข็ม?, (https://hdmall.co.th/c/hpv-vaccine).
ตรวจภายใน เจ็บไหม ทำยังไงบ้าง? อ่านสรุปที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/pelvic-exam).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ
อาการคันและแสบในช่องคลอดไม่ใช่เรื่องปกติ

จุดซ่อนเร้นคือจุดสำคัญ ขอให้หมั่นสังเกตเพื่อแก้ไขก่อนที่อาการจะรุนแรงและยากต่อการรักษา

อ่านเพิ่ม