พีรศักดิ์ คานทองดี
เขียนโดย
พีรศักดิ์ คานทองดี
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

รู้ก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก ยิ่งรู้แต่เนิ่นๆ ยิ่งมีโอกาสรักษาหาย การตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอช่วยได้
เผยแพร่ครั้งแรก 11 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
รู้ก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกคือ การตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกก่อนที่เซลล์จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก
  • สาเหตุสำคัญของโรคนี้เกิดจากเชื้อเอชพีวี (Human Papilloma Virus: HPV) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์และการสัมผัส ดังนั้นผู้หญิงทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองทุก 1-2 ปี
  • การตรวจมะเร็งปากมดลูกมีด้วยกัน 2 วิธีหลักๆ คือ การตรวจทางเซลล์วิทยาของปากมดลูก (Cervical cytology) เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ โดยการเก็บเซลล์ไปตรวจ และการตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV DNA testing) คือ การตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอชพีวี 
  • ค่าใช้จ่ายในการตรวจมะเร็งปากมดลูกอยู่ที่ 200-3,000 บาท อาจมีการขยับราคามากขึ้น หรือน้อยลง ขึ้นอยู่กับสถานที่ตรวจและวิธีการตรวจ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ปัจจุบันผู้หญิงทั่วโลกโดยเฉพาะช่วงวัยตั้งแต่ 30-65 ปี ต้องเผชิญกับ “โรคมะเร็งปากมดลูก” ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่าปีละไม่ต่ำกว่า 400,000 คน และเสียชีวิตไม่ต่ำกว่าปีละ 200,000 คน 

ในประเทศไทยพบว่า มีผู้ป่วยจากโรคมะเร็งปากมดลูกสูงเป็นอันดับสอง รองจากมะเร็งเต้านม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยข้อมูลว่า ในแต่ละปีประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกประมาณ 4,500 รายต่อปี ทั้งยังพบผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 8,000 คนต่อปี 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยผู้หญิงหลายๆ คนอาจจะมีความกลัว เขินอาย และไม่กล้า ที่จะเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ซึ่งอาจทำให้ละเลยอาการผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ อันเป็นสัญญาณที่ก่อให้เกิดโรคร้ายในอนาคตได่ 

เพราะในความเป็นจริงแล้ว มะเร็งปากมดลูก นอกจากจะสามารถป้องกันได้แล้ว ยังสามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และหากพบความผิดปกติก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ก่อนจะเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะแพร่กระจาย

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คืออะไร?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Screening for cervical cancer) คือ การตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกก่อนที่เซลล์จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นการตรวจหาร่องรอยก่อนเป็นมะเร็ง 

การตรวจคัดกรองนี้ หากพบความผิดปกติจะทำให้ทีมแพทย์สามารถเริ่มกระบวนรักษาได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ไม่ให้ความผิดปกติดังกล่าวพัฒนากลายเป็นมะเร็งปากมดลูก รวมไปถึงหากพบว่า เป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก ทีมแพทย์จะสามารถเริ่มการรักษาได้ทันท่วงที

หากตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ระหว่างการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การรักษาจะประสบความสำเร็จสูง

ใครบ้างที่ควรตรวจมะเร็งปากมดลูก?

มีการศึกษาและผลยืนยันทางการแพทย์อย่างชัดเจนแล้วว่า สาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus: HPV) ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ การสัมผัสอวัยวะเพศ และการใช้เซ็กส์ทอย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นผู้หญิงทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรเข้ารับการตรวจทุก 1-2 ปี เพื่อหามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกและตรวจภายใน เพื่อค้นหารอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง (Precancerous Lesion) อย่างน้อยทุกๆ 3 ปี 

ผู้หญิงที่มีปัจจัย หรือพฤติกรรมดังต่อไปนี้ ควรเข้ารับการตรวจ เนื่องจากจัดว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูก

  • ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ยังอายุยังน้อย หรือมีเพศสัมพันธ์หลังจากเริ่มมีประจำเดือนได้ไม่นาน จากสถิติพบว่า คนที่เคยมีเพศสัมพันธ์มีโอกาสติดเชื้อ HPV 80-90% (อาจเป็นเชื้อที่ก่อมะเร็ง หรือไม่ก่อมะเร็งก็ได้)

  • ผู้หญิงที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ชิดกับคนสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง ซึ่งมีผลต่อการต่อสู้กับเชื้อไวรัสเอชพีวี

  • ผู้หญิงที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือติดเชื้อเอชไอวี (Human immunodeficiency virus - HIV) เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันเป็นระบบที่มีความสำคัญในการช่วยต้านเซลล์มะเร็งไม่ให้เติบโต หรือแพร่กระจาย

  • ผู้หญิงที่มีประวัติเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน เช่น หนองใน ซิฟิลิส เริม เพราะโรคดังกล่าวนี้มีผลต่อภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตาม กรณีที่ไม่มั่นใจว่า ตนเองและคู่นอนเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือไม่ แนะนำให้เข้ารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD ก่อน 

  • ผู้หญิงที่มีประวัติการตั้งครรภ์มากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ถือว่า เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

  • ผู้หญิงที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคู่นอนหลายคน

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมีแบบไหนบ้าง?

การเกิดมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันและรักษาอย่างได้ผล ถ้าได้รับการดำเนินการตรวจอย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในปัจจุบันสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ด้วย 2 วิธีหลักๆ ดังนี้

1. การตรวจทางเซลล์วิทยาของปากมดลูก (Cervical cytology) เป็นการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ บริเวณปากมดลูกโดยการเก็บเซลล์จากบริเวณปากมดลูก สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ

  • วิธีการตรวจแป๊ปสเมียร์แบบดั้งเดิม (Conventional Pap smear) การตรวจวิธีนี้ แพทย์จะเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยไม้พาย จากนั้นจะนำมาป้ายลงสไลด์แก้ว และนำส่งห้องปฏิบัติการเพื่อย้อมสีและตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์

    เนื่องจากเซลล์ที่อยู่บนไม้พายอาจมีการปะปนของมูกเลือด จึงอาจจะทำให้เกิดการบดบังผลที่แท้จริง และส่งผลโดยตรงต่อความแม่นยำของผลตรวจได้ อย่างไรก็ดี ข้อดีของการตรวจด้วยวิธีนี้คือ ราคาไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับแบบอื่นๆ 

  • วิธีการตรวจแบบลิควิดเบส (Liquid-based cytology) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตินเพร็พ (ThinPrep Pap test) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US FDA) ว่า สามารถใช้แทนการตรวจแบบดั้งเดิมได้และมีประสิทธิภาพมากกว่า

    แพทย์จะเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกด้วยอุปกรณ์เฉพาะ จากนั้นจะนำไปใส่ขวดน้ำยาและนำส่งห้องปฏิบัติการ การตรวจด้วยวิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถช่วยแก้ปัญหาการเก็บตัวอย่างไม่เพียงพอ ลดอัตราการเกิดผลลบลวง และย่นระยะเวลาในการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกระยะก่อนลุกลามได้ การตรวจแบบนี้มีความแม่นยำประมาณ 90-95%

2. การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV DNA testing) คือ การตรวจทางชีวโมเลกุล เพื่อตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอชพีวี ด้วยการตรวจหาตัวเชื้อโดยตรงบริเวณปากมดลูกและผนังช่องคลอด 

วิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับการตรวจทางเซลล์วิทยา หรือการตรวจแป็ปสเมียร์ ส่งผลให้การตรวจรูปแบบนี้มีความแม่นยำมากที่สุด

ทั้งยังสามารถตรวจหาความเสี่ยงในการเกิดรอยโรคก่อนมะเร็งได้ ถึงแม้ว่าเซลล์ในปากมดลูกจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็ตาม แต่ข้อเสียของการตรวจวิธีนี้คือ จะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 495 บาท ลดสูงสุด 79%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ที่ไหน?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจได้ตามโรงพยาบาลทั่วไป ทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน โดยค่าใช้จ่ายในการตรวจของแต่ละวิธีจะแตกต่างกัน ดังนี้

  • วิธีการตรวจแป๊ปสเมียร์แบบดั้งเดิม (Conventional Pap smear) หรือแป๊ปเสมียร์ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 200-500 บาท 

  • วิธีการตรวจแบบลิควิดเบส (Liquid-based cytology) หรือ ตินเพร็พ (ThinPrep Pap test) จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 700-2,000 บาท

  • การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV DNA testing) จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,500-3,000 บาท

ทั้งนี้หากเข้ารับบริการในโรงพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม หรือประกันสุขภาพ (บัตรทอง) และได้รับการพิจารณาความเหมาะสมจากแพทย์ จะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจ

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

  • งดเข้ารับการตรวจสำหรับผู้หญิงที่กำลังมีรอบเดือน หรือสามารถตรวจได้หลังมีประจำเดือน 10-20 วัน
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ
  • งดการใช้ยาสอดในช่องคลอด หรือการสวนล้างช่องคลอดภายใน 48 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดภายนอกด้วยสบู่แบบธรรมดาที่มีความอ่อนโยนต่อผิว 
  • ไม่ต้องทาแป้ง หรือฉีดสเปรย์เพื่อดับกลิ่นใดๆ ทั้งสิ้น
  • งดการใช้ผ้าอนามัยแบบสอด หรือยาที่ใช้สำหรับช่องคลอดทุกชนิด ภายใน 48 ชั่วโมง
  • ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อน เพื่อจะได้ไม่รู้สึกปวดปัสสาวะขณะตรวจภายใน
  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาตกขาว สามารถตรวจได้โดยไม่ต้องพยายามชำระล้างเพื่อให้แพทย์เห็นปริมาณตกขาวและตรวจหาเชื้อได้

ผู้หญิงทุกคนล้วนมีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ยิ่งไปกว่านั้นโรคร้ายนี้มักจะแสดงอาการอีกทีในระยะที่ลุกลามแล้ว ดังนั้นการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นวิธีสำคัญที่จะช่วยป้องกันและรักษามะเร็งปากมดลูกได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจภายใน คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ThinPrep ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 | HDmall
ฉีดวัคซีน HPV ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ไม่เจ็บอย่างที่คิด | HDmall
รีวิวตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจหาเชื้อ HPV และอัลตราซาวด์หาเนื้องอกมดลูกและรังไข่ ที่โรงพยาบาลพญาไท 3 | HDmall

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจ Pap Smear คืออะไร แปลผลยังไง เจ็บไหม อ่านสรุปได้ที่นี่ , (https://hdmall.co.th/c/pap-smear).
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก สำคัญอย่างไร ฉีดกี่เข็ม?, (https://hdmall.co.th/c/hpv-vaccine).
ตรวจภายใน เจ็บไหม ทำยังไงบ้าง? อ่านสรุปที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/pelvic-exam).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การตั้งครรภ์หลังจากเคยได้ทำหัตถการ LEEP
การตั้งครรภ์หลังจากเคยได้ทำหัตถการ LEEP

การทำหัตถการ LEEP จะเป็นสาเหตุของการแท้งหรือไม่? และฉันจะยังสามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากเคยได้ทำหัตถการ LEEP จริง ๆ หรือ?

อ่านเพิ่ม
6 สิ่งที่ผู้หญิงมักทำผิดพลาดเป็นประจำในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
6 สิ่งที่ผู้หญิงมักทำผิดพลาดเป็นประจำในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สิ่งที่คุณต้องทำก่อน ระหว่าง และหลังจากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้ว

อ่านเพิ่ม