6 สิ่งที่ผู้หญิงมักทำผิดพลาดเป็นประจำในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สิ่งที่คุณต้องทำก่อน ระหว่าง และหลังจากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้ว
เผยแพร่ครั้งแรก 3 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 สิ่งที่ผู้หญิงมักทำผิดพลาดเป็นประจำในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

สิ่งที่คุณต้องทำก่อน ระหว่าง และหลังจากตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้ว

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (pap smear) เป็นการตรวจหาเซลล์ที่กำลังจะกลายเป็นมะเร็ง หรือเซลล์มะเร็งที่ปากมดลูก (ปากทางเข้าของมดลูก) ซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดสำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อย่างไรก็ตาม ผลของการตรวจขึ้นกับความเที่ยงตรงเป็นอย่างมาก ดังนั้นมาดูกันว่าคุณสามารถช่วยอะไรได้บ้างเพื่อให้ผลการตรวจของคุณถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น ต่อไปนี้เป็นข้อผิดพลาดของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผู้หญิงมันทำเป็นประจำ และอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของการตรวจได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองสม่ำเสมอ

การรับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากสำหรับการป้องกันมะเร็งปากมดลูก การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบความผิดปกติของปากมดลูกได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง หากคุณมีอายุระหว่าง 21 และ 65 ปี คุณควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกสามปี

2. การมีเพศสัมพันธ์ การสวนล้าง หรือการใช้ยาเหน็บช่องคลอดในช่วงเวลา 24-48 ชั่วโมงก่อนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

หลักการง่ายๆ คือไม่ควรมีอะไรก็ตามในช่องคลอดของคุณภายในเวลา 24-48 ชั่วโมงก่อนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากอาจบดบังเซลล์ผิดปกติ ทำให้ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกไม่แม่นยำ

หากคุณมีเพศสัมพันธ์ สวนล้าง หรือใช้ยาเหน็บช่องคลอดก่อนจะมาตรวจ ให้พยายามเลื่อนนัด แต่หากทำไม่ได้ ให้แจ้งแพทย์ก่อนจะทำการตรวจ

3. การนัดตรวจในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมของรอบเดือน

ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดต่อการตรวจคัดกรองคือ 10-20 วันหลังจากวันแรกของการมีประจำเดือน ในทางทฤษฎีแล้ว คุณไม่ควรนัดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในขณะที่กำลังมีประจำเดือน เลือดประจำเดือนและน้ำจะทำให้ตรวจพบเซลล์ผิดปกติได้ยากขึ้น มีโอกาสทำให้ได้ผลการตรวจที่ไม่แม่นยำได้ คุณอาจรับการตรวจหากมีเลือดประจำเดือนออกน้อยแล้วได้ ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งที่ได้รับการนัดหมายให้ตรวจคัดกรองตรงกับขณะกำลังมีประจำเดือน เนื่องจากแพทย์อาจต้องการให้นัดใหม่

4. ไม่รู้ว่าจะได้รับผลตรวจได้อย่างไร

ถามแพทย์หรือผู้ช่วยเสมอว่าคุณจะได้รับผลการตรวจอย่างไร คลินิกหลายแห่งจะส่งผลการตรวจที่ปกติผ่านทางจดหมาย แต่สำหรับผลตรวจผิดปกติจะแจ้งทางโทรศัพท์ แพทย์บางคนอาจไม่ได้ติดต่อไปเลยหากผลตรวจเป็นปกติ

5. เพิกเฉยไม่บอกแพทย์ว่าเคยมีผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ผิดปกติก่อนหน้านี้

แพทย์ต้องการทราบว่าคุณเคยมีผลการตรวจที่ผิดปกติมาก่อนหรือเปล่า ซึ่งควรแจ้งผลการตรวจอย่างละเอียดและการตรวจเพิ่มเติมต่อมาด้วย ควรแจ้งแพทย์โดยเฉพาะหากได้รับการส่องกล้องตรวจด้วยคอลโปสโคป (colposcopy) ตัดชิ้นเนื้อ หรือการรักษาใดๆ ที่สืบเนื่องมาจากผลการตรวจที่ผิดปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณมีสำเนาของผลการตรวจคัดกรอง ผลการส่องกล้อง ผลชิ้นเนื้อ หรือการรักษาใดๆ ก่อนหน้า ควรนำมาพบแพทย์ด้วย

6. ไม่ทำตามคำแนะนำของแพทย์หลังจากทราบว่าผลการตรวจผิดปกติ

เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์หากผลการตรวจผิดปกติ ซึ่งอาจต้องตรวจซ้ำ หรือหรือตรวจส่องกล้อง การตรวจติดตามมีได้หลายวิธี ขึ้นกับผลการตรวจ

คลินิกจะทำการนัดหมายการตรวจให้ใหม่หากคุณต้องทำการตรวจคัดกรองซ้ำ หรือต้องตรวจส่องกล้อง (หากแพทย์ของคุณทำการตรวจส่องกล้องด้วย) หรืออาจส่งตัวคุณไปรับการรักษาต่อกับแพทย์สูตินรีเวชที่ทำการตรวจส่องกล้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง
รู้ก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cervical cancer classification from Pap-smears using an enhanced fuzzy C-means algorithm. ScienceDirect. (https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2352914818302478)
Errors in the use of the Pap smear. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/5027464)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป