ยาแก้ปวด (Analgesics)

แนะนำยาแก้ปวดยอดนิยม ขนาดใช้ยา วิธีใช้ และผลข้างเคียง
เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาแก้ปวด (Analgesics)

ยาแก้ปวด (Analgesics) เป็นกลุ่มของยาที่ออกฤทธิ์บรรเทาความเจ็บปวด ใช้ได้ทั้งรักษาอาการปวดศรีษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้องประจำเดือน หรือปวดหลัง เป็นต้น ยาแก้ปวดมีให้เลือกใช้หลากหลายชนิดในปัจจุบัน มีกลไกการออกฤทธิ์ ผลดี และผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อวินิจฉัยของแพทย์และเภสัชกร ในการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับอาการปวดของผู้ป่วยแต่ละราย

อาการปวด แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  1. ความปวดแบบเฉียบพลัน (Acute pain) จะเกิดแบบเฉียบพลัน ทำให้นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้เร็ว มีสาเหตุที่ชัดเจนไม่สลับซับซ้อน
  2. ความปวดแบบเรื้อรัง (Chronic pain) คืออาการปวดเป็นระยะเวลานาน โดยมากจะเกิดจากระบบประสาทถูกทำลาย หรือเกิดจากโรคเรื้อรังต่างๆ

กลุ่มยาแก้ปวดที่นิยมใช้

ยาแก้ปวดแบ่งได้หลายชนิด ตามกลไกการออกฤทธิ์ และเลือกใช้ได้ตามระดับความปวดของผู้ป่วย ทั้งนี้ควรเริ่มด้วยยาที่ระงับปวดความแรงน้อยที่สุดที่สามารถลดความเจ็บปวดของผู้ป่วยได้ และใช้ในระยะสั้นที่สุด แล้วค่อยเพิ่มความแรงขึ้นเมื่อปวดมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยาให้ได้มากที่สุด

ยาแก้ปวดที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีดังนี้

1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol

ถือเป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่ใช้รักษาอาการปวด และลดไข้ได้ โดยมากจะใช้สำหรับอาการปวดระดับน้อยถึงปานกลาง เช่น อาการปวดศรีษะ ปวดฟัน และลดไข้ เป็นต้นท่านสามารถซื้อยาพาราเซตามอลเกือบทุกชนิดได้จากร้านสะดวกซื้อทั่วไป หรือ ร้านยา กลไกการออกฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดของพาราเซตามอลนั้นยังไม่ชัดเจน คาดว่าเกิดจากความสามารถในการยับยั้งการสังเคราะห์ Prostaglandins ในระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนปลายทำให้ระงับอาการปวดได้

ขนาดการใช้ในผู้ใหญ่ คือขนาด 500 มก. ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชม. แต่ไม่ควรใช้เกินวันละ 4 กรัม หรือ 8 เม็ด การใช้ในเด็กนั้นขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัว

ยาพาราเซตามอลมีทั้ง ชนิดเม็ด แคปซูล แบบน้ำ (สำหรับเด็ก) แบบฉีด (ใช้ในโรงพยาบาล) คนส่วนใหญ่สามารถใช้ยาพาราเซตามอลได้อย่างปลอดภัย แม้แต่ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็กอายุมากกว่า 2 เดือน แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ

ผลข้างเคียงของการใช้ยาพาราเซตามอล คืออาจมีอาการแพ้ยา โดยอาจมีอาการ ผื่นแดง บวมแดง ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นแรงได้ ทำลายตับและไตหากใช้ยาเกินขนาด หรืออาจทำให้เสียชีวิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs

ยากลุ่มนี้สามารถรักษาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลางได้ดี เช่น อาการปวดฟัน ปวดศรีษะไมเกรน เป็นต้น และสามารถลดไข้ ลดอาการอักเสบ บวม แดง เช่น อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ข้อเท้าพลิก หรืออาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาต่างๆได้ มีประสิทธิภาพในการลดปวดสูงกว่าพาราเซตามอล

กลไกการออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้คือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cyclo-oxygenase COX-1 และ COX-2 โดยเอนไซม์ COX-1 หน้าที่หลักคือทำให้เกล็ดเลือดจับกลุ่มกัน เพื่อป้องกันการมีเลือดออกผิดปกติ ควบคุมการขับน้ำ โซเดียม และการกรองของไต ส่วนเอนไซม์ COX-2 จะมีการหลั่งออกมา เมื่อมีการอักเสบหรือ มีการทำลายของเนื้อเยื่อ ทำให้ลดการอักเสบและอาการเจ็บปวดจากการอักเสบได้

ยากลุ่มนี้จะยับยั้งเอนไซม์ COX-1 และ COX-2 โดยมีอัตราส่วนและความสามารถในการยับยั้งแตกต่างกัน จึงแบ่งยาออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้

  • Non-selective NSAIDs คือ กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ COX-1 มากกว่า COX-2 หลายร้อยเท่า ตัวอย่างยาได้แก่ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพร็อกเซน (Naproxen) ไดโคลฟีแน็ค (Diclofenac) และกรดเมทฟีนามิค (Mefenamic acid) ยากลุ่มนี้ลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบและลดไข้ได้ดี ราคาถูก หาได้ง่าย อาจมีอาการแพ้ยาในบางราย ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงสูงกว่ากลุ่มอื่น อันได้แก่ อาหารไม่ย่อย โดยอาจก่อให้เกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ หรือท้องเสียได้ ระคายเคืองกระเพาะอาหารอาจก่อให้เกิดเลือดออกในทางอาหารได้ต้องกินยาหลังอาหารทันทีเพื่อลดการระคายเคืองและควรดื่มน้ำมากๆ ยาจะมีผลต่อไตจึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง รวมถึงผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ทั้งนี้ผู้ใช้ยาทุกคนควรใช้ยาในระยะเวลาสั้นที่สุดและขนาดยาต่ำสุด และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ทุกครั้ง
  • Preferential selective COX-2 inhibitors คือ กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ COX-2 ได้มากกว่าเล็กหรือพอๆ กับ COX-1 ตัวอย่างยาได้แก่ เมล็อกซิแคม (Meloxicam) ไพร็อกซิแคม (Piroxicam) เป็นต้น ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ลดอักเสบได้ดี มีข้อบ่งใช้สำหรับอาการปวดข้อกำเริบเฉียบพลัน ปวดข้อรูมาตอยด์ แต่ทั้งนี้ ก็ยังคงมีข้อเสียและผลข้างเคียงเหมือนกับยากลุ่มแรก และราคาแพงกว่าเล็กน้อย
  • Selective COX-2 inhibitors กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานที่มีความจำเพาะต่อ COX-2 มากกว่า COX-1 หลายร้อยเท่า ตัวอย่างยาได้แก่ เซเลค็อกซิบ (Celecoxib) และ อีโทริค็อกซิบ (Etoricoxib) ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงต่อไต และระคายเคืองกระเพาะอาหารต่ำกว่ากลุ่มอื่น พบการแพ้ยาได้น้อยกว่า แต่มีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับกลุ่มข้างต้น จึงนิยมใช้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีประวัติพบแผลในทางเดินอาหาร หรือใช้ยา NSAIDs อื่นในขนาดสูง หรือใช้ยาร่วมกันหลายๆ ตัว

3. ยาทรามาดอล (Tramadol

ยาแก้ปวดชนิดที่เสพติดได้ เนื่องจากมีอนุพันธ์ของฝิ่น (Opium) หรือสารสกัดจากฝิ่นเป็นองค์ประกอบอยู่ ใช้เฉพาะรักษาอาการปวดปานกลางถึงรุนแรงเท่านั้น กลไกการออกฤทธิ์คือ ยาจะกระตุ้นตัวรับในร่างกายที่ชื่อว่า มิว (µ-receptor) และจะมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดได้ดี รวมทั้งมีฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาท และมีผลทำให้เกิดภาวะเคลิบเคลิ้ม มีความสุข (Euphoria) ผลข้างเคียงที่อาจพบได้คือ สับสน มึนงง ง่วงนอน คลื่นไส้ ท้องผูก การใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ อาจก่อให้เกิดการเสพติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้นจึงต้องใช้ยานี้เมื่อแพทย์สั่งเท่านั้น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jim Morelli, MS, RPh, Pain Management Medication type (https://www.rxlist.com/pain_medications/drugs-condition.htm), 15th Feb 2018.
Isabelle Amigues, MD, NSAIDs (nonsteroidal anti-inflammatory drugs) (https://www.rheumatology.org/I-Am-A/Patient-Caregiver/Treatments/NSAIDs), 2018.
Charles E.Argoff, Practical Management of Pain (https://www.sciencedirect.com/book/9780323083409/practical-management-of-pain), 2014.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป