- โรคกระดูกพรุน เป็นโรคทางกระดูกที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะที่สะโพก กระดูกสันหลัง ข้อมือ
- กระดูกพรุนเกิดจากกระดูกสลายเร็วเกินไป หรือสร้างช้าเกินไป
- ตามปกติกระดูกจะแข็งแรงที่สุดตอนคนเราอายุ 30 ปี จากนั้นกระดูกจะค่อยๆ เสื่อม
- การป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี ออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก
- สิ่งที่ทำให้กระดูกพรุนมากขึ้น ได้แก่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน กินอาหารโซเดียมสูง สูบบุหรี่
โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่ทำให้กระดูกมีความพรุนและแตกง่าย เนื่องจากการที่มีมวลกระดูกน้อยลงและมีการสูญเสียเนื้อเยื่อกระดูก โดยจากข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health: NIH) ได้รายงานว่า โรคกระดูกพรุนเป็นโรคทางกระดูกที่พบได้บ่อยที่สุด และเป็นโรคที่มีความเสี่ยงในการทำให้เกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะที่สะโพก กระดูกสันหลัง หรือข้อมือ
ความชุกของโรคกระดูกพรุน
เมื่อปี 2010 ในสหรัฐอเมริกาพบว่ามีผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ประมาณเกือบ 54 ล้านคนที่เป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกบาง
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
จากบทความใน Journal of Bone and Mineral Research ปี 2014 ได้มีการแบ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน จำนวน 10.2 ล้านคน และผู้ที่เป็นโรคกระดูกบางมีสูงถึง 43.4 ล้านคน ซึ่งเป็นก็กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนต่อมาในภายหลัง
ทั้งนี้ โรคนี้มักพบในกลุ่มประชากรเชื้อสายฮิสปานิก (Hispanic) โดยเฉพาะเพศหญิง ซึ่งมีผู้ป่วยรวม ๆ ประมาณ 7.7 ล้านคน
สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน
อ้างอิงจากข้อมูลของ NIH ระบุว่า กระดูกของคนเรามีการเปลี่ยนเเปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยจะมีการสลายและสร้างขึ้นใหม่ตลอดชีวิต และจะมีการสร้างกระดูกชุดใหม่ทั้งร่างกายประมาณทุก ๆ 10 ปี
ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น จะมีการสร้างกระดูกเร็วกว่าการสลาย จึงทำให้มีการเจริญเติบโตที่ดีในช่วงวัยนี้ จากนั้นความหนาแน่นของกระดูกจะมีมากที่สุดและแข็งแรงที่สุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี และหลังจากนั้นจะเริ่มมีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างทีละน้อย
โรคกระดูกพรุนจึงเกิดขึ้นได้จากการที่ร่างกายของเราเกิดความไม่สมดุล ระหว่างการสร้างและการสลายกระดูก ซึ่งอาจเกิดจากการสลายที่เร็วเกินไป หรือการสร้างที่ช้าเกินไปนั่นเอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนโดยปัจจัยบางอย่างเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น การมีประวัติครอบครัวเรื่องกระดูกหัก เป็นผู้หญิงโดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน มีอายุมากกว่า 50 ปี มีกระดูกที่เล็กหรือบาง มีเชื้อสายคอเคเซียนหรือเอเชีย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สำหรับปัจจัยอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานแอลกอฮอล์มากเกินไป การเป็นโรค Anorexia การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี ต่ำ ไม่ออกกำลังกาย มีการใช้ยาเช่นกลุ่ม Glucocorticoid และยากันชักเป็นเวลานาน มีระดับฮอร์โมน Estrogen ต่ำ (จากการหมดประจำเดือนหรือขาดประจำเดือน) ในผู้หญิง หรือฮอร์โมน Testosterone ต่ำในผู้ชาย
ปัจจัยเร่งกระดูกพรุนที่ต้องระวัง
นอกจากปริมาณแคลเซียมในอาหารแล้ว การสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แคลเซียมในร่างกายเสียสมดุลมีสารอาหารหลายอย่างจากอาหารที่เราเลือกกินที่อาจไปรบกวนการดูดซึมแคลเซียมหรือเพิ่มการขับแคลเซียมจากร่างกาย เช่น โปรตีน สารออกซาเลต สารไฟเทต โซเดียม คาเฟอีน และแอลกอฮอล์
แต่ละปัจจัยมีรายละเอียดดังนี้
โปรตีนสัตว์
ทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก โดยการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ
โปรตีนจากสัตว์มีองค์ประกอบของกรดแอมิโนที่มีซัลเฟอร์หรือกำมะถันเป็นองค์ประกอบ โดยเฉพาะกรดแอมิโนประเภทซีสทีนและเมทไธโอนีน
ซัลเฟอร์จะถูกเปลี่ยนเป็นสารซัลเฟต ทำให้เลือดมีฤทธิ์เป็นกรด เพื่อรักษาสมดุลในเลือด แคลเซียมจะถูกสลายจากกระดูกเข้าไปในกระแสเลือด และถูกไตกรองออกทางปัสสาวะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาหารประเภทเนื้อสัตว์และไข่มีสารซัลเฟอร์มากกว่าที่พบในโปรตีนพืช 2-3 เท่า ฉะนั้นการบริโภคเนื้อสัตว์มากเกินไปอาจทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมามากขึ้น
นักระบาดวิทยาพบว่า ประเทศที่บริโภคอาหารโปรตีนสูงมีอัตราการเกิดกระดูกสะโพกแตกหักสูง เมื่องดอาหารโปรตีนจากสัตว์ปรากฏว่าการสูญเสียแคลเซียมของร่างกายลดลงกว่าครึ่ง และในบรรดาอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง ถั่วเหลืองทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะน้อยที่สุด
ดอกเตอร์โรเบิร์ต เมสซินา (Dr.Robert Messina) ผู้เชี่ยวชาญการวิจัยถั่วเหลือง อธิบายไว้ว่า ถั่วเหลืองให้ประโยชน์แก่กระดูกในแง่ที่ว่าเป็นโปรตีนพืช ทำให้การขับแคลเซียมทางปัสสาวะน้อยกว่าโปรตีนสัตว์ ถ้าเรากินถั่วเหลือง 15 กรัมแทนเนื้อสัตว์ 15 กรัม จะลดการสูญเสียแคลเซียมที่ถูกขับออกจากร่างกายได้ 15 มิลลิกรัม ในแต่ละวันปริมาณเนื้อสัตว์ที่ควรกินประมาณ 150 กรัม ถ้าเรากินถั่วเหลืองแทนก็เท่ากับว่าเราต้องการแคลเซียมจากอาหารลดลงวันละ 150 มิลลิกรัม
โซเดียมหรืออาหารที่มีเกลือมาก
โซเดียมเป็นองค์ประกอบของเกลือ มีส่วนช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหารแต่ยิ่งเพิ่มมากก็ยิ่งทำให้ร่างกายเสียแคลเซียมมากขึ้น โดยถูกขับออกทางไต เรามักจะคุ้นกันว่าอาหารเค็มเพิ่มความดันโลหิต แต่ขณะเดียวกันผลต่อแคลเซียมก็มีความสำคัญเท่าๆ กัน
ผู้ที่กินอาหารรสอ่อนเค็มหรือไม่เค็ม โดยลดปริมาณโซเดียมวันละ 1-2 กรัม จากเกลือและซอสต่างๆ ซีอิ๊ว น้ำปลา หรือของหมักดอง สามารถลดความต้องการแคลเซียมได้ถึงวันละ 60 มิลลิกรัม
ฉะนั้นการกินอาหารนอกบ้าน อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารจีน เป็นสิ่งที่จะต้องระวัง แม้กระทั่งส้มตำที่เป็นอาหารที่ดี แต่หากเติมรสเค็มมากก็จะได้เกลือมาก คุณๆ ที่เป็นแม่บ้านควรเพลามือในการปรุงรสบ้างอย่าให้รสเค็มนำหน้า
สารออกซาเลตและไฟเทต
อาหารที่มีสารออกซาเลตและไฟเทตสูงจะลดการดูดซึมของแคลเซียม เช่น ผักโขม บีตกรีน (Beet Green) แม้จะเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ไม่ใช่แหล่งอาหารที่ดีของแคลเซียม
ถั่วบางชนิด เช่น ถั่วลาย หรือถั่วปินโต หรือ ถั่วเปรู (Pinto Bean) ถั่วเนวีหรือถั่วทหารเรือ (Navy Bean) มีใยอาหารและสารไฟเทตสูง แต่เราสามารถลดสารไฟเทตได้จากการปรุงอาหาร โดยแช่ถั่วเหล่านี้ในน้ำเป็นเวลาหลายชั่วโมง แล้วรินน้ำที่แช่ทิ้งไปก่อนที่จะนำไปปรุงอาหาร
รำข้าวสาลี 100% เป็นอาหารที่มีไฟเทตและใยอาหารสูงและเป็นอาหารชนิดเดียวที่ลดการดูดซึมแคลเซียมจากอาหารที่กินร่วมด้วยในเวลาเดียวกัน เช่น หากกินซีเรียลชนิดที่ทำจากรำข้าวสาลีผสมนม แคลเซียมในนมจะถูกดูดซึมได้น้อย หากใครที่เสริมแคลเซียมก็ควรกินห่างจากอาหารนี้ 2 ชั่วโมงขึ้นไป
กาเฟอีน
เร่งการสูญเสียเนื้อกระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มียีนเร่งกระดูกพรุนอยู่แล้ว กาเฟอีนเป็นสารที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและแคลเซียมออกจากร่างกาย
แหล่งของกาเฟอีนในอาหารมาจากเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ โคล่า และเครื่องดื่มชูกำลัง ชาก็มีกาเฟอีน แต่ในปริมาณที่น้อยกว่า ฉะนั้นการดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้จึงต้องจำกัดปริมาณ
ถึงแม้ว่าผลจากกาแฟจะน้อย แต่การดื่มกาแฟวันละ 2 ถ้วยขึ้นไปก็มีผลต่อการลดแคลเซียมในกระดูกได้ นักวิจัยแนะนำคอกาแฟว่า ควรเติมนม หรือนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียมในกาแฟซักประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อถ้วย เพื่อชดเชยแคลเซียมที่เสียไปบางส่วน
คำแนะนำเกี่ยวกับ วิธีลดกาเฟอีน สมัยก่อนปริมาณมาตรฐานของถ้วยกาแฟคือ 6 ออนซ์ หรือ 180 มิลลิลิตร แต่สมัยนี้คนดื่มกาแฟถ้วยใหญ่ขึ้น 2-3 เท่า ทำให้ได้กาเฟอีนมากขึ้น หากเป็นถ้วยขนาด 12 ออนซ์ หรือ 360 มิลลิลิตร ปริมาณกาเฟอีนจะเท่ากับ 200 มิลลิกรัม ปริมาณกาเฟอีนที่ดื่มแล้วอาจไม่เสียสุขภาพคือไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม
ฉะนั้นจึงควรจำกัดปริมาณการดื่ม และอ่านฉลากเพื่อดูปริมาณกาเฟอีนที่จะได้รับในแต่ละวัน
น้ำอัดลมน้ำดำเมื่อเปรียบเทียบกับกาเฟอีนในปริมาณ 30 มิลลิลิตร จะพบว่ามีปริมาณกาเฟอีนเพียง ¼ ของกาแฟ แต่คนมักจะดื่มกันวันละหลายครั้ง ทำให้ได้กาเฟอีนมากขึ้น เครื่องดื่มน้ำอัดลมบางชนิดที่ไม่มีสีดำก็อาจมีกาเฟอีนได้ รวมทั้งน้ำอัดลมไดเอต แม้จะไม่มีน้ำตาลแต่ก็มีกาเฟอีนได้ ยกเว้นเครื่องดื่มที่ระบุว่า “ปลอดกาเฟอีน”
นอกจากนี้ หากฉลากอาหารมีคำว่ากัวรานา (Guarana) และเมต (Mate) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเครื่องดื่มชูกำลัง หมายความว่า เครื่องดื่มนั้นมีกาเฟอีนอยู่ด้วย
ชามีกาเฟอีน 1/3-1/2 ของที่มีอยู่ในกาแฟ
ช็อกโกแลตมีกาเฟอีนไม่น้อย จึงไม่ควรบริโภคในปริมาณมาก ช็อกโกแลตชิปชนิดกึ่งหวานปริมาณ 6 ออนซ์ (180 กรัม) มีกาเฟอีนเท่ากับที่มีในกาแฟ 1 ถ้วยมาตรฐาน
ปริมาณกาเฟอีนในเครื่องดื่มต่างๆ
เครื่องดื่ม | ปริมาณกาเฟอีน (มิลลิกรัม) |
เครื่องดื่มชูกำลัง 250 มล. กาแฟ 180 มล. กาแฟไร้กาเฟอีน 180 มล. กาแฟพร้อมดื่ม 180 มล. เมาน์เทนดิว 360 มล. โคล่า 360 มล. ชา 180 มล. ชาสมุนไพร 180 มล. สไปรท์ 360 มล. | 255 105 0-2 55 55 30-45 35 0 0 |
ที่มา: USDA National Nutrient Database for Standard Reference-Release 18, www.ars.usda.gov
แอลกอฮอล์
เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระดูกอ่อนแอ โดยลดความสามารถของร่างกายในการดูดซึมแคลเซียมลง งานวิจัยมากมายยืนยันว่าการดื่มแอลกอฮอล์มากไปจะเพิ่มความเสี่ยงกระดูกพรุนและอุบัติเหตุไม่เพียงแค่นั้น ยังเพิ่มการอักเสบภายในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุนำไปสู่การสูญเสียเนื้อกระดูกและโรคอื่นๆได้
ฉะนั้นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากๆ ก็เท่ากับว่าคุณกำลังเพิ่มความเปราะบางให้กระดูก ปริมาณดื่มที่เหมาะสมไม่ควรเกินวันละ 2 ดริ๊งค์ ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ ไวน์ หรือเหล้า
บุหรี่
เป็นสาเหตุสำคัญในการเพิ่มการสูญเสียแคลเซียม เพราะบุหรี่รบกวนการดูดซึมของแคลเซียม และในผู้หญิงบุหรี่จะเป็นตัวเร่งการหมดประจำเดือนและเร่งการสูญเสียกระดูก การวิจัยในคนที่เป็นฝาแฝดพบว่า คนที่สูบบุหรี่ในระยะยาวจะเพิ่มความเสี่ยงกระดูกแตกหักถึง 44% เมื่อเทียบกับฝาแฝดคนที่ไม่สูบบุหรี่
การออกกำลังกายชนิดลงน้ำหนักตัว
การออกกำลังกายชนิดลงน้ำหนักตัวจะช่วยเพิ่มเนื้อกระดูก ผู้ใหญ่ควรออกกำลังกายขนาดปานกลางอย่างน้อยวันละ 30 นาที เด็ก 60 นาที เกือบทุกวัน การเดินเป็นการออกกำลังกายชนิดลงน้ำหนักตัวที่ง่ายที่สุด วิธีอื่นๆ ได้แก่
เต้นรำ จ๊อกกิ้ง กระโดดเชือก วิดน้ำ บาสเกตบอล วิ่ง คาราเต้ ปีนเขา ขึ้นบันได เทนนิส เทควันโด ยกน้ำหนัก วอลเลย์บอล เบสบอล ฮอกกี้ ฟุตบอล ซอฟต์บอล
การรักษาโรคกระดูกพรุน
ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนมักไม่อาการแสดงใด ๆ แต่หากเป็นโรคกระดูกพรุน จะทำให้เกิดความเสี่ยงของกระดูกหักเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษา วารสาร Journal of Bone and Mineral Research ในปี 2006 ได้ระบุว่า มีผู้ป่วยที่เกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนประมาณ 2 ล้านคนต่อปีในสหรัฐอเมริกา
และถึงแม้ว่าจะไม่มีการรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่มีการรักษาหลายวิธีที่จะช่วยชะลออัตราการสลายของกระดูกจากโรค และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตในโรคกระดูกพรุน
การปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย ถือเป็นการรักษาหลักของโรคกระดูกพรุน เนื่องจากแคลเซียมและวิตามินดี เป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อความแข็งแรงของกระดูกโดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน การรับประทานอาหารที่มีแร่ธาตุทั้ง 2 ชนิดในปริมาณที่สูงจึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักได้
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม (นม ชีส และโยเกิร์ต) เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดีที่สุด นอกจากนี้ ผักใบเขียวและอาหารอื่นๆ ก็มีแคลเซียมเป็นส่วนประกอบเช่นกัน รวมไปถึงอาหารหลายชนิด เช่น ธัญพืช ขนมปังและน้ำผลไม้อาจมีการเติมแคลเซียมเข้าไปในอาหารด้วย
วิตามินดี มักไม่พบในอาหารทั่วไป แต่สามารถพบได้ในปลาที่มีไขมัน เช่นปลา Mackerel ปลาแซลมอน และปลาทูน่า แต่อย่างไรก็ตามคนส่วนมากมักได้รับวิตามินเพียงพอจากการรับประทานเสริมและการถูกแสงแดด
การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight-bearing) และการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสามารถช่วยสร้างและทำให้ความหนาแน่นของกระดูกคงที่ได้
ตัวอย่างการออกกำลังกายแบบลงน้ำหนักที่ให้ผลดีมากเช่น การเต้นรำ การวิ่ง และกระโดดเชือก แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายชนิดนี้เมื่อคุณมีกระดูกหักแล้วหรือมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน จึงอาจเลือกใช้การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนักที่เบาลงมาเช่นการเดินเร็ว (เดินบนสายพานหรือพื้นถนน) ออกกำลังกายกับเครื่องหรือการเดินขึ้นขั้นบันได
นอกจากนี้ยังควรเลือกออกกำลังกายที่เน้นความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่นการยกน้ำหนัก หรือการใช้ยาง Elastic
การย่อสควอต (Squats) โดยไม่เพิ่มน้ำหนักเป็นก็เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของต้นขาที่ดีอย่างหนึ่ง และมีความเหมาะสมเพราะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดกระดูกสะโพกหักได้
นอกเหนือจากการปรับเปลี่ยนอาหารและการออกกำลังกายแล้ว คุณควรหลีกเลี่ยงหรือเลิกสูบบุหรี่ และจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ยาที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน
ยาในกลุ่มไบฟอสโฟเนต (Bisphosphonates) เป็นยาที่ใช้มากที่สุดในการรักษาโรคกระดูกพรุน ซึ่งจะออกฤทธิ์ช่วยชะลอการสลายกระดูกโดยการทำลายเซลล์ที่ทำให้เกิดการสลายของกระดูก
ยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วย
- Fosamax (Alendronate)
- Actonel (Risedronate)
- Boniva (Ibandronate)
- Reclast (Zoledronic acid)
ยาแต่ละตัวสามารถใช้ได้ในหญิงหมดประจำเดือนและผู้ชาย ยกเว้นยา Boniva
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการรับประทานยา มีอยู่ด้วยกันหลายอย่าง เช่น อาการทางระบบทางเดินอาหาร (คลื่นไส้ แสบร้อนที่หน้าอก ปวดท้อง), ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกและปวดข้อได้ และยากลุ่มนี้ในรูปแบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำอาจทำให้เกิดอาการคล้ายไข้หวัดได้
ผลข้างเคียงที่พบได้ไม่บ่อย คือการสลายของกระดูกขากรรไกร
ยากลุ่มอื่นที่อาจใช้รักษาโรคกระดูกพรุน ประกอบด้วย
- Fortical and Miacalcin (Calcitonin-salmon)
- Prolia (Denosumab)
- Forteo (Teriparatide parathyroid hormone)
- Evista (Raloxifene)
ยา Fortical, Miacalcin และ Evista สามารถใช้ได้ในหญิงวัยหมดประจำเดือนเท่านั้น ในขณะที่ Prolia และ Forte สามารถใช้ได้ในผู้ชายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักสูงได้
การใช้ฮอร์โมนทดแทนในการรักษาโรคกระดูกพรุน
การใช้ฮอร์โมน Estrogen ทดแทนอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคกระดูกพรุนในผู้หญิง แต่การรักษานี้ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะจะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ มะเร็งเต้านม และการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำเพิ่มขึ้น (อ้างอิงจากข้อมูลในวารสาร American Family Physician ปี 2009)
นักวิจัยเสนอว่าการรักษาโดยใช้ฮอร์โมน Estrogen ทดแทนนั้นสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักที่สะโพกและกระดูกสันหลังได้เล็กน้อย แต่ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นก็ไม่มีความคุ้มค่ามากนัก
องค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration – FDA) แนะนำให้ใช้การรักษาดังกล่าวในปริมาณที่ต่ำที่สุดและในเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุน
กระดูกหักถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดของโรคกระดูกพรุน
รายงานในวารสาร Journal of Bone and Mineral Research ปี 2006 ได้กล่าวว่า มีผู้ป่วยที่เกิดกระดูกหักจากการเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า 2 ล้านคน และคิดเป็นผู้ชายประมาณ 30% โดยตำแหน่งที่มักเกิดการหัก คือที่กระดูกสันหลัง รองลงมาคือที่ข้อมือ สะโพก และอุ้งเชิงกราน ซึ่งการหักของกระดูกเหล่านี้มักเกิดตามหลังการหกล้มเล็กน้อย หรืออุบัติเหตุ แต่กระดูกสันหลังที่หักนั้น อาจเกิดได้ถ้ากระดูกสันหลังพรุนมากจนถึงจุดที่สามารถหักได้เอง ซึ่งหากมีการหักของกระดูกสันหลัง อาจมีอาการคือปวดหลัง หลังค่อม หรืออาจไม่มีอาการก็ได้
นอกจากจะทำให้เกิดการปวดและหลังค่อมแล้วนั้น โรคกระดูกพรุนและกระดูกหักยังทำให้คุณสามารถเคลื่อนไหวได้ช้าลง และมีผลกระทบต่อสภาวะจิตใจได้ ซึ่งอาจนำไปสู่โรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
การป้องกันโรคกระดูกพรุน
สำหรับการป้องกันโรคกระดูกพรุน ก็มีวิธีที่ควรปฏิบัติ ดังนี้
- เลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป
- ออกกำลังกาย ด้วยการเดิน เดินขึ้นลงบันได ยกน้ำหนัก หรือเล่นกีฬาต่าง ๆ
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมและอาหารที่มีการเสริมแคลเซียม หรือรับประทานวิตามินดี เสริม
ทั้งนี้ หากคุณเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว ควรระมัดระวังและป้องกันไม่ให้เกิดการล้ม (ซึ่งจะทำให้กระดูกหัก) โดยปฏิบัติ ดังนี้
- เปิดไฟในบ้านให้สว่าง และไม่มีกองของวางเกะกะภายในบ้าน
- เพิ่มพรม ราวจับ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการลื่นล้ม
- ใช้ไม้เท้า หรือ Walker เพื่อช่วยเดิน และใส่รองเท้ากันลื่นเมื่อออกนอกบ้าน
- ตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอ และใส่แว่นตา หรือ Contact lenses ตามความจำเป็น
- ระมัดระวังเรื่องผลข้างเคียงของยา เช่นความเสี่ยงในการมึนงง หรือทำให้ง่วง
- ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง
อายุเท่าไรคะ มีโอกาสเป็นโรคกระดูกเสื่อม