สมอง (Brain) เป็นอวัยวะมหัศจรรย์ที่ถูกวิวัฒนาการมาเพื่อความอยู่รอด สมองของมนุษย์จัดว่า มีพัฒนาการสูงสุดในบรรดาสิ่งมีชีวิต มีการทำงานที่ซับซ้อนที่สุด รวมทั้งมีความสามารถในการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ และการจดจำได้ดีที่สุด
แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถอธิบายการทำงานของสมองได้ 100% เนื่องจากสมองถูกแบ่งแยกย่อยเป็นหลายส่วน และแต่ละส่วนก็มีบทบาทหน้าที่ ความสำคัญแตกต่างกัน แต่ทำงานสอดประสานกันทั้งหมด
ตรวจสมอง วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,567 บาท ลดสูงสุด 69%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การทำงานของสมอง
สมองเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์ โดยมีน้ำหนักถึงราว 1.4 กิโลกรัม ภายในสมองจะประกอบด้วยเซลล์ประสาทมากถึง 90% สมองได้รับการปกป้องอย่างดีด้วยกะโหลกศีรษะที่มีความหนา
สมองผู้ใหญ่โดยเฉลี่ยแล้ว มีเซลล์สมองจำนวน นับ 1 แสนล้านเซลล์ ซึ่งแต่ละเซลล์จะมีแขนงที่เชื่อมต่อกันกลายเป็นร่างแหขนาดใหญ่ และซับซ้อน
เมื่อได้รับข้อมูล หรือสิ่งกระตุ้นจากภายนอก เซลล์สมองจะส่งข้อมูลเป็นกระแสไฟฟ้าผ่านทางจุดส่งกระแสประสาทของเซลล์ เรียกว่า "ปลายประสาทแอกซอน (Axon)" ไปยังจุดรับกระแสประสาทของเซลล์ข้างเคียงที่เรียกว่า "ปลายประสาทเดนไดรท์ (Dendrite)"
จุดที่เชื่อมต่อระหว่างแอกซอนและเดนไดรท์ เรียกว่า "ซิแนปส์ (Synapse)" เป็นจุดที่จะเปลี่ยนสัญญาณกระแสไฟฟ้าให้เป็นสารเคมี หรือสารสื่อประสาท ส่งผลให้ร่างกายรับรู้ข้อมูล เช่น ความรู้สึกทางกาย การเห็นภาพ หรือการได้กลิ่น ทำให้เกิดการตอบสนอง และการสั่งการต่อไป
สมองของมนุษย์เป็นอวัยวะที่ยืดหยุ่น เครือข่ายการเชื่อมโยงของเซลล์สมองจึงเพิ่มขึ้น ซับซ้อนขึ้น และเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ตามการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับ ทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวได้ตลอดเวลา
ยิ่งการเชื่อมโยงของเซลล์สมองซับซ้อนมากเท่าไหร่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล การแก้ปัญหายากๆ หรือที่เรียกว่า “ความฉลาด” ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อ่านเพิ่มเติม: สมองและระบบประสาท (Brain and Nervous system)
สมองแบ่งออกเป็นกี่ส่วน?
สมองแบ่งเป็นหลายส่วน และแต่ละส่วนก็ทำหน้าที่รับรู้ และตอบสนองแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งส่วนของสมองได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่
- สมองส่วนหน้า (Fore brain)
- สมองส่วนกลาง (Mid brain)
- สมองส่วนท้าย (Hind brain)
สมองส่วนหน้าคืออะไร ทำงานอย่างไร?
สมองส่วนหน้า (Fore brain) เรียกอีกชื่อว่า "สมองส่วนหน้าผาก" เป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักจำนวนมาก สามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกหลายส่วน ยกตัวอย่างส่วนที่สำคัญ ได้แก่
1. ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือสมองใหญ่
แบ่งออกเป็นสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาโดยทำงานสลับกันดังนี้ สมองซีกซ้ายควบคุมร่างกายซีกขวา สมองซีกขวาควบคุมร่างกายซีกซ้าย ซีรีบรัมยังแบ่งออกเป็น 5 ส่วน หรือ 5 พู เพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนี้
- กลีบหน้า (Frontal lobe) ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลาย ความคิด การวางแผน การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความจำ สติปัญญา และการใช้ภาษา
- กลีบขมับ (Temporal lobe) ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น ความเข้าใจด้านภาษา และการฟัง
- กลีบข้าง (Parietal lobe) การรับรส และความรู้สึกจากการสัมผัส อุณหภูมิ ความเจ็บปวด
- กลีบท้ายทอย (Occipital lobe) ควบคุมการมองเห็น การรวมภาพที่เห็นเข้ากับประสบการณ์และความรู้สึก
- กลีบด้านในของด้านขมับ (insular lobe) ทำงานเกี่ยวกับความทรงจำ
2. ออลแฟกทอรีบัลบ์ (Olfactory bulb)
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ออลแฟกทอรีบัลบ์อยู่หน้าสุดของสมองส่วนหน้า ทำหน้าที่เกี่ยวกับการดมกลิ่น ซึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สมองส่วนนี้จะมีขนาดเล็ก และไม่เจริญมากนัก
3. ทาลามัส (Thalamus)
อยู่เหนือไฮโพทาลามัส ทาลามัสเป็นจุดศูนย์กลางในการถ่ายทอดกระแสประสาทไปยังสมองส่วนต่างๆ รวมถึงเป็นจุดรับรู้ และตอบสนองต่อความรู้สึกเจ็บปวดด้วย
4. ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus)
ไฮโพทาลามัสสร้างความสมดุลให้กับระบบการทำงานของร่างกาย มีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น
- ควบคุมการทำงานของต่อมใต้สมอง
- ผลิตฮอร์โมนวาโซเพซิน (Vasopressin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับสมดุลน้ำ-แร่ธาตุ ในเลือด และออกซิโทซิน (Oxytocin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบีบตัวของมดลูก
- เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ
- ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
- ควบคุมความรู้สึกหิว-อิ่ม
- ควบคุมความต้องการทางเพศ
- ควบคุมเรื่องการหายใจ
- ดูแลเรื่องการนอนหลับและการตื่น
สมองส่วนกลาง (Mid brain)
สมองส่วนกลางเป็นส่วนที่รับส่งกระแสประสาทระหว่างสมองส่วนหน้าและสมองส่วนท้าย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น การเคลื่อนไหวของลูกตา ควบคุมการปิดเปิดของรูม่านตาใ้เหมาะสมกับปริมาณแสงสว่าง
สมองส่วนท้าย (Hind brain)
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
- ซีรีเบลลัม (Cerebellum) ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัว และควบคุมกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวให้ราบรื่น
- พอนส์ (Pons) เป็นส่วนที่อยู่ติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น ควบคุมการเคี้ยวอาหาร หลั่งน้ำลายและน้ำตา การเคลื่อนไหวใบหน้าและการแสดงออกทางสีหน้า การรับความรู้สึกของใบหน้า เช่น การสัมผัสและความเจ็บปวด หรือควบคุมการหายใจ
- เมดัลลาออบลองกาตา (Medulla oblongata) เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดติดกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาท ควบคุมการทำงานของระบบประสาทเหนืออำนาจจิตใจ เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจ การย่อยอาหาร หรือการยืดและหดตัวของเส้นเลือด
ความผิดปกติของสมองที่พบได้บ่อย
สมองเป็นอวัยวะสำคัญที่ควบคุมการตอบสนองด้านพฤติกรรม การเรียนรู้ และการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นในสมอง หรือเกิดโรคขึ้นจึงมักส่งผลรุนแรงต่อร่างกาย ยกตัวอย่างความผิดปกติที่พบบ่อย เช่น
1. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke or cerebrovascular accident)
สาเหตุมักเกิดจากการมีไขมันในเลือดสูง เป็นโรคอ้วน และความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดสมองอุดตันและแข็งตัว จนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอทำให้เส้นเลือดสมองตีบได้และหากรุนแรงอาจถึงขั้นเส้นเลือดในสมองแตก
อาการที่เกิดขึ้นคือ กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก หรือชาครึ่งซีก ชาใบหน้า หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง กลืนไม่ได้ กลืนลำบาก พูดไม่ชัด ฟังคนพูดไม่เข้าใจ การมองเห็นพร่าเลือน หรือเห้นภาพซ้อน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ไปจนถึงเป็นอัมพาต และอาจเสียชีวิตได้
อ่านเพิ่มเติม: ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จำเป็นต้องตรวจไหม ใครควรตรวจ?
2. โรคอัลไซเมอร์ (Alzimer’s disease)
เป็นโรคสมองเสื่อมประเภทหนึ่ง สาเหตุเกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมองตามธรรมชาติ มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ ความจำเลอะเลือน เนื่องจากสมองส่วนดังกล่าวไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
อ่านเพิ่มเติม: 11 แนวทางจากองค์การอนามัยโลก ป้องกันภาวะ "สมองเสื่อม"
3. สมองเกิดการกระทบกระเทือน
สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ อาการที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าสมองส่วนไหนถูกกระทบกระเทือน เช่น การสูญเสียการมองเห็น สูญเสียความทรงจำ ควบคุมการทรงตัวไม่ได้ จนถึงขั้นเป็นอัมพาต
4. โรคสมองอักเสบ (Encephalitis)
มักเกิดจากการติดเชื้อ เช่น ไวรัส ทำให้เนื้อสมองเกิดความบาดเจ็บเสียหาย อาการที่พบได้ระยะแรกคือ มีไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และอ่อนเพลีย
หากรักษาไม่ทันจะมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น สับสน มึนงง กล้ามเนื้อบางส่วนหมดความรู้สึก มีปัญหาด้านการพูด การได้ยิน ไปจนถึงขั้นหมดสติ
เป็นโรคที่พบได้ทุกวัย ก้อนเนื้อในสมองที่มีขนาดใหญ่ แม้ไม่ใช่เนื้อร้าย ก็อาจไปกดทับเนื้อสมองส่วนข้างเคียง ทำให้เกิดอาการผิดปกติหลายอย่าง เช่น
- ปวดศีรษะรุนแรง (โดยเฉพาะช่วงตื่นนอนและช่วงกลางคืน)
- อาเจียนอย่างควบคุมไม่ได้
- การมองเห็นแย่ลง
- เกิดอาการชา
- แขนขาอ่อนแรง
- ทรงตัวไม่ได้
- เดินเซ
- การเรียนรู้ถดถอย อาจรุนแรงถึงขั้นไม่สามารถพูด อ่าน และเขียนได้
- มีอาการชัก หมดสติกะทันหัน
การดูแลสมองให้มีประสิทธิภาพ
วิธีที่จะดูแลสมอง อวัยวะสำคัญซึ่งควบคุมระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งมีจำนวนเซลล์สมอง ประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ (โดยเฉลี่ยสำหรับวัยผู้ใหญ่) ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
- หมั่นเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เพราะการเรียนรู้ การอ่าน การฟัง และการคิด จะช่วยเพิ่มโครงข่ายการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทให้ซับซ้อนขึ้น ทำให้สามารถเชื่อมโยงความคิด วิเคราะห์สิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยไหนก็อย่าหยุดที่จะเรียนรู้
- รับประทานอาหารที่ดีต่อสมอง เช่น ปลาทะเล ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เพราะล้วนอุดมด้วยโปรตีน และกรดไขมันโอเมก้า 3 ผักใบเขียว ใบแปะก๊วย และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ล้วนอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด มีส่วนช่วยบำรุงการทำงานของสมองและระบบประสาท
- รับประทานอาหารให้ตรงเวลา เลิกนิสัยไม่รับประทานอาหารเช้า เพราะอาหารทุกมื้อสำคัญต่อการส่งสารอาหารไปบำรุงสมอง
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด เพราะเหล่านี้ล้วนส่งผลเสียต่อสมองได้ในระยะยาว
- หมั่นออกกำลังสมองบ่อยๆ เช่น เล่นเกมฝึกความจำรูปแบบต่างๆ ฝึกการวางแผน การแก้ปัญหา การคำนวณเลข เล่นดนตรี การทำงานศิลปะ
- หมั่นออกกำลังกายบ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกายแบบคาดิโอ เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ครั้งละ 20-30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 4 วัน
- หลีกเลี่ยงความเครียด เพราะความเครียดส่งผลให้สมองขาดสมาธิ การตอบสนองต่อสิ่งที่รับรู้ช้าลง ทำให้การเรียนรู้ขาดประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ความเครียดยังส่งผลให้สารเคมีในสมองผิดปกติ และยังทำให้คุณรู้สึกกระวนกระวาย นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้สมองไม่ปลอดโปร่ง สั่งการช้าลง และส่งผลเสียในระยะยาว เช่น ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า - พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนจะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายได้หยุดพัก มีการฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมถึงในวัยที่กำลังเจริญเติบโต การพักผ่อนที่เพียงพอและไม่เข้านอนดึกเกินไปนักเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
- เข้าสังคมบ่อยๆ เพราะการพบปะพูดคุยกับผู้คนจะทำให้สมองมีการคิดวิเคราะห์ เรียบเรียงคำพูดเพื่อโต้ตอบบทสนทนา
- ระมัดระวังไม่ให้สมองถูกกระทบกระเทือน สมองที่บาดเจ็บเสียหายจะส่งผลร้ายแรงต่อการดำรงชีวิต หากเกิดขึ้นแล้วมักแก้ไขไม่ได้ ดังนั้น ควรระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลให้สมองกระทบเทือน เพื่อป้องกันความผิดปกติที่จะเกิดตามมา
สมองเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย จึงควรดูแลและบำรุงสมองให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ เช่น หมั่นเรียนรู้ รับประทานอาหารที่ช่วยบำรุงสมอง ที่สำคัญ ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้รู้ว่า ต้องระมัดระวังสิ่งใด หรือร่างกายขาดสารอาหารอะไรไปบ้าง
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android
รวมบทความที่เกี่ยวข้องกับสมอง
- สมองและระบบประสาท (Brain and Nervous system)
- อยากมีชีวิตดี “สารเคมีในสมองต้องสมดุล”
- การฝ่อหายไปของสมองส่วนคอร์ปัส คาโลซัม (Agenesis of the Corpus Callosum)
- ตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จำเป็นต้องตรวจไหม ใครควรตรวจ?
- 11 แนวทางจากองค์การอนามัยโลก ป้องกันภาวะ "สมองเสื่อม"
- ชวนอ่าน 7 สิ่งที่มีอิทธิพลต่อสมอง
- 7 อาหารบำรุงสมอง ตัวช่วยสำคัญของวัยใช้ความคิด
- แนะนำ 8 วิธีช่วยให้สมองเฉียบคมและมีสมาธิ
- คุณเป็นกลุ่มที่ใช้สมองซีกซ้าย หรือซีกขวามากกว่ากัน?