โรคหลอดเลือดสมองนับเป็นหนึ่งในโรคที่มีความสำคัญต่อวงการสาธาณสุขโลก ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ราว 15 ล้านรายต่อปี ในจํานวนนี้มีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 5 ล้านราย ผู้ป่วยที่เหลือมักเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
จากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต วันละประมาณ 126 คน โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่เสียชีวิตในช่วงอายุ 55-65 ปี หนทางหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงของการป่วยและอัตราการชีวิตลงได้ คือ การตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอย่างสม่ำเสมอ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร?
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ซึ่งตามปกติสมองจะทำงานโดยอาศัยพลังงานจากน้ำตาลกลูโคสและออกซิเจนที่อยู่ในกระแสเลือด ดังนั้นเมื่อสมองขาดเลือด ก็จะส่งผลให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลง
ยิ่งสมองขาดเลือดนานเท่าไร โอกาสที่จะเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิต ก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น
โรคหลอดเลือดสมองแบ่งได้กี่ประเภท?
โรคหลอดเลือดสมองนั้นแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ
- หลอดเลือดสมองตีบตัน หรืออุดตัน (Ischemic stroke) พบได้ประมาณ 70-85% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด
- หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในเนื้อสมอง (Intracerebral hemorrhage) หรือเยื่อหุ้มสมอง (Subarachnoid hemorrhage) พบประมาณ 15-30% ของโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองคืออะไร?
โรคหลอดเลือดสมองสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน พบว่า เพศชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง แต่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้ ต้องระวังการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนทั่วไป
- ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง (เป็นสาเหตุสําคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมองตีบและแตก)
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน (เป็นสาเหตุสําคัญของโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบ)
- ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
- ผู้ป่วยโรคหัวใจ
- ผู้ที่มีพฤติกรรมบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณมากกว่า 2 แก้วต่อวัน
- ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
- ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน
- ผู้ที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีความเครียดสะสม
- ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางพันธุืกรรมบางโรค เช่น โรคถุงน้ำในไต
โรคหลอดเลือดสมองมีอาการอย่างไร?
อาการสําคัญของโรคหลอดเลือดสมอง คือ แขนขาอ่อนแรง มีอาการชาครึ่งซีก พูดไม่ได้ ปากเบี้ยว กลืนลําบาก มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็น เดินเซ ด้วยความสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองนี้เอง จึงมีการบัญญัติคำเพื่อสื่อถึงความสำคัญของโรคว่า F.A.S.T ขึ้น
ทั้งนี้อักษรแต่ละตัวจะมีความหมายสื่อถึงโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- F ย่อมาจาก FACE คือ อาการหน้าเบี้ยว หรือมุมปากไม่เท่ากัน หลับตาไม่สนิท
- A ย่อมาจาก ARM คือ อาการแขน หรือขาอ่อนแรง ยกแขน หรือขาไม่ขึ้น ชาครึ่งซีก
- S คือ SPEECH ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ได้ หรือพูดไม่ชัด
- T คือ TIME เพื่อเน้นความสําคัญของเวลา หากมีอาการดังที่กล่าวมาต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้มักมีข้อมูลบางแหล่งกล่าวว่า หากมีอาการ F.A.S.T ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลภายใน 3-4 ชั่วโมง แต่จริงๆ แล้ว หากพบผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดย “เร็วที่สุด”
เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองนี้ยิ่งรักษาด้วยการยาสลายลิ่มเลือดได้เร็วเท่าไร โอกาสที่ผู้ป่วยจะหายกลับมาเป็นปกติก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น
จากสถิติพบว่า หากผู้ป่วยได้รับยาสลายลิ่มเลือดภายในเวลา 90 นาทีหลังเกิดอาการ โอกาสจะหายเป็นปกติสูงถึง 3 เท่าของผู้ที่ไม่ได้รับยา แต่หากได้รับยาในเวลา 3 ชั่วโมง ถึง 4 ชั่วโมง 30 นาที ผู้ป่วยจะมีโอกาสหายเป็นปกติเพียง 1.2-1.3 เท่า ของผู้ที่ไม่ได้รับยา
ดังนั้นหากเกิดอาการใดๆ ที่สงสัยว่า อาจเป็นโรคหลอดเลือดสมองควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที หรือโทรศัพท์แจ้งเหตุผู้ป่วยฉุกเฉินที่เบอร์ 1669 เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack: TIA) คืออะไร?
นอกจากโรคหลอดเลือดสมองที่แสดงอาการอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังมีอีกภาวะหนึ่งที่แสดงอาการเหมือนกับโรคหลอดเลือดสมองทุกประการ แต่จะหายเป็นปกติได้เองภายใน 24 ชั่วโมง โดยส่วนใหญ่จะหายได้ภายในเวลา 30 นาที
ภาวะนี้เรียกว่า "ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ" หมายถึง เกิดการอุดกั้นของเส้นเลือดเพียงชั่วชณะเท่านั้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แม้ว่าจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นเพียงไม่นาน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักมองข้ามและไม่เห็นความสำคัญ แต่จริงๆ แล้วนับว่าสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นสัญญาณเตือนถึงอันตรายที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
โดยจากสถิติพบว่า หลังเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว ภายใน 48 ชั่วโมง อัตราการเกิดอาการซ้ำ จนทำให้ผู้ป่วยมีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต จะสูงถึง 5% และภายใน 3 เดือน อัตราดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 10%
ดังนั้นแม้ว่าอาการต่างๆ จะหายไปแล้ว ก็ควรต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและป้องกันการเกิดอาการซ้ำ
ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างไร?
รู้หรือไม่ว่า เราสามารถป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ถึง 90% ด้วยการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรค ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- งดการสูบบุหรี่
- งดรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง คอเลสเตอรอลสูง
- เน้นการรับประทานผักสด ผลไม้สด ธัญพืชและถั่ว และอาหารที่มีเส้นใยมาก
- รับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ โดยเฉพาะอาหารเช้าซึ่งเป้นมื้อสำคัญ แต่หลายคนมักละเลย
- ตรวจวัดระดับความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำเป็นต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- รับประทานยา หรือฉีดยาตามแพทย์สั่ง และเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เข้านอนดึกเกินไป
- หลีกเลี่ยงความเครียด
คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจอะไรบ้าง?
นอกจากการป้องกันด้วยการปรับพฤติกรรมแล้ว การป้องกันอีกรูปแบบหนึ่งที่มีประสิทธิภาพคือ การตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง โดยมีรายละเอียดการตรวจที่สำคัญดังนี้
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
- ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar)
- ตรวจระดับไขมันในเลือด (Cholesterol)
- ตรวจระดับไขมันในเลือด (Triglyceride)
- ตรวจระดับไขมันในเลือด (High Density Lipoproteins: HDL)
- ตรวจระดับไขมันในเลือด (Low Density Lipoproteins: LDL)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: EKG)
- ตรวจการทำงานของไต (ตรวจหาค่า BUN ตรวจหาค่า Creatinine และ ตรวจหาค่า eGFR)
นอกเหนือจากรายการที่กล่าวมานี้ บางโรงพยาบาลยังมีการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่
- ตรวจหาโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ABI (Ankle-Brachail Index)
หลักการของการทำ Ankle-Brachail Index คือ การเปรียบเทียบความดันโลหิตระหว่างหลอดเลือดแดงที่แขน (Brachial Artery) และหลอดเลือดแดงที่ขาบริเวณข้อเท้า (Ankle) - ตรวจหลอดเลือดที่คอ (Carotid Duplex Ultrasound)
- การถ่ายภาพสมองและหลอดเลือดสมองด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRA Brain)
- ตรวจการไหลเวียนของหลอดเลือดในสมอง (Transcranial Doppler: TCD)
ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง
โดยทั่วไป การตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองในรายการพื้นฐานจะเริ่มต้นที่ประมาณ 3,000 บาท แต่หากต้องการตรวจรายการอื่นๆ เพิ่มเติมที่เจาะลึกมากขึ้น ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้นตามรายการที่ต้องการตรวจ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมของแต่ละโรงพยาบาล
โปรแกรมราคามีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง การตรวจโปรแกรมพื้นฐานก็เพียงพอแล้ว
โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคอันตรายที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกเป็นจำนวนมาก หากอยากห่างไกลจากโรคหลอดเลือดสมอง วิธีที่ดีที่สุดคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รับประทานอาหารอย่างเหมาะสมและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่กันไป รวมทั้งเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองปีละครั้ง
หากปฏิบัติตัวได้ตามที่กล่าวมานี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคหลอดเลือดสมองเท่านั้น ยังช่วยให้ห่างไกลจากโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงและผู้ชาย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android