กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

การฝ่อหายไปของสมองส่วนคอร์ปัส คาโลซัม (Agenesis of the Corpus Callosum)

สมองส่วนคอร์ปัส คาโลซัม สำคัญอย่างไร หากผ่อหายไปจะเกิดอะไรขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 16 ก.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การฝ่อหายไปของสมองส่วนคอร์ปัส คาโลซัม (Agenesis of the Corpus Callosum)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • คอร์ปัส คาโลซัม (Corpus callosum)เป็นส่วนของสมองมีลักษณะโค้ง เป็นโครงสร้างที่เชื่อมสมองซีกซ้ายและขวาเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยใยประสาท 200 ล้านใย ทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างสมองทั้ง 2 ซีก
  • การฝ่อหายไปของคอร์ปัส คาโลซัม (Agenesis of the corpus callosum ;ACC) เกิดขึ้นเนื่องจากการที่ร่างกายสร้างใยประสาทนี้อย่างไม่ถูกต้องซึ่งเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด นับเป็นความผิดปกติรุนแรงที่พบได้ไม่บ่อย
  • การฝ่อหายไปของคอร์ปัส คาโลซัม บางครั้งอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ให้เห็น แต่หากมีความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วยก็อาจมีอาการเหล่านี้ เช่น มีอาการชัก การมองเห็นผิดปกติ มีปัญหาการได้ยิน การประสานสัมพันธ์ของร่างกายผิดปกติ มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูดที่ช้ากว่าปกติ
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็กมีโอกาสเกิดภาวะนี้มากขึ้น เช่น การที่แม่ใช้ยาเสพติดและการดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ การติดเชื้อไวรัสขณะตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน ความผิดปกติและความเสียหายของโครโมโซม เช่น ผู้ที่มีโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร

คอร์ปัส คาโลซัม (Corpus callosum)เป็นส่วนของสมองที่มีลักษณะโค้ง เป็นโครงสร้างที่เชื่อมสมองซีกซ้ายและขวาเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยใยประสาท 200 ล้านใย ทำหน้าที่ส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างสมองทั้ง 2 ซีก 

การฝ่อหายไปของคอร์ปัส คาโลซัม (Agenesis of the corpus callosum ;ACC) เป็นความผิดปกติรุนแรงที่พบได้ไม่บ่อย คือ ราว 1 ต่อ 19,000 ของการชันสูตรศพ ทั้งนี้การฝ่อหายไปอาจเป็นเพียงบางส่วน หรือทั้งหมดก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การฝ่อหายไปของคอร์ปัส คาโลซัม มีกี่ชนิด? 

เกิดขึ้นเนื่องจากการที่ร่างกายสร้างใยประสาทนี้อย่างไม่ถูกต้องซึ่งเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด ถ้าลูกของคุณมีการฝ่อหายไปของคอร์ปัส คาโลซัม ก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้แต่อาจมีปัญหาอื่นๆ เกิดขึ้นตลอดช่วงชีวิต

การฝ่อหายไปของคอร์ปัส คาโลซัม แบ่งได้อีกหลายชนิด ได้แก่

  • Partial Corpus Callosum Agenesis
  • Hypogenesis of the Corpus Callosum
  • Hypoplasia of the Corpus Callosum
  • Dysgenesis of the Corpus Callosum

การฝ่อหายไปของสมองส่วนคอร์ปัส คาโลซัม จะมีอาการอย่างไร?

การฝ่อหายไปของคอร์ปัส คาโลซัม บางครั้งอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ให้เห็น แต่ส่วนมากมักสัมพันธ์กับความผิดปกติของโครโมโซม trisomy 18, 13 และ 8 

ความผิดปกติที่ว่านี้เองที่เป็นสาเหตุของพัฒนาการช้า ซึ่งอาจมีอาการในระดับรุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมาก อาจพบว่า เด็กมีพัฒนาทางในการเคลื่อนไหวที่ช้าลง เช่น การนั่ง การเดิน หรือการปั่นจักรยาน

ในบางกรณีอาจพบปัญหาในการดูดนมและการกลืน และพบการประสานสัมพันธ์ของร่างกายผิดปกติ ซึ่งเด็กบางคนอาจมีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูดที่ช้ากว่าปกติ แม้ว่าจะพบปัญหาเกี่ยวกับสติปัญญาอยู่บ้าง แต่เด็กที่มีภาวะนี้หลายรายก็มีระดับสติปัญญาเหมือนคนทั่วไป

อาการอื่นๆ ที่พบ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • อาการชัก
  • การมองเห็นผิดปกติ
  • มีปัญหาในการได้ยิน
  • ท้องผูกเรื้อรัง
  • กำลังกล้ามเนื้อลดลง
  • ทนต่อความเจ็บปวดได้มากขึ้น
  • การนอนหลับผิดปกติ
  • มีปัญหาในการเข้าสังคม
  • มีปัญหาในการเห็นมุมมองของคนอื่น
  • มีปัญหาในการตีความหมายการแสดงออกทางสีหน้า
  • ไม่เข้าใจคำสแลง สำนวน หรือการแสดงออกทางสังคม
  • มีปัญหาในการแยกความแตกต่างของเรื่องจริงออกจากเรื่องไม่จริง
  • มีปัญหาในเรื่องของความเข้าใจเหตุผลเชิงนามธรรม
  • มีพฤติกรรมหมกมุ่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากไป
  • สมาธิสั้น
  • มีอาการกลัว

สาเหตุของการฝ่อหายไปของสมองส่วนคอร์ปัส คาโลซัม

การฝ่อหายไปของสมองส่วนคอร์ปัส คาโลซัม ที่จะเริ่มมีการพัฒนาขึ้นในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ถือเป็นความผิดปกติแต่กำเนิด ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายชนิดทำให้เด็กมีโอกาสเกิดภาวะนี้มากขึ้น ได้แก่

  • การที่แม่ใช้ยาบางชนิด เช่น Valproate
  • การที่แม่ใช้ยาเสพติดและการดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์
  • การติดเชื้อไวรัสขณะตั้งครรภ์ เช่น หัดเยอรมัน (Rubella)
  • ความผิดปกติและความเสียหายของโครโมโซม เช่น ผู้ที่มีโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง (Trisomy)  รวมไปถึงภาวะความผิดปกติกทางพันธุกรรมในกลุ่มที่เรียกว่า "Ciliopathies"

ส่วนใหญ่ผู้ที่มีการฝ่อหายไปของสมองส่วนคอร์ปัส คาโลซัม จะพบร่วมกับความผิดปกติทางสมองอื่นๆ เช่น ถ้ามีซีสต์เกิดขึ้นในสมองเด็ก จะทำให้เกิดการยับยั้งการสร้างคอร์ปัส คาโลซัม ส่วนภาวะอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับการฝ่อหายไปของคอร์ปัส คาโลซัม ได้แก่

  • Arnold-Chiari Malformation
  • Dandy-Walker Syndrome
  • Aicardi Syndrome
  • Andermann Syndrome
  • Acrocallosal Syndrome
  • Schizencephaly มีรอยแยกลึกในสมองของเด็ก
  • Holoprosencephaly ภาวะที่สมองของเด็กไม่แยกตัวออกจากกัน เพื่อพัฒนาเป็นซีกสมอง
  • Hydrocephalus ภาวะที่โพรงสมองคั่งน้ำ

การวินิจฉัยการฝ่อหายไปของสมองส่วนคอร์ปัส คาโลซัม

ถ้ามีการฝ่อหายไปของคอร์ปัส คาโลซัมของทารกที่อยู่ในครรภ์ แพทย์อาจตรวจเจอด้วยการอัลตราซาวด์ก่อนที่จะมีการคลอด หรือถ้าแพทย์ตรวจพบอาการอันสงสัยได้ว่ามีการฝ่อหายไปของคอร์ปัส คาโลซัม ก็อาจให้ตรวจเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย

ในบางรายที่แพทย์ไม่สามารถตรวจเจอความผิดปกตินี้ได้จนกระทั่งคลอด หากแพทย์สงสัยว่า เด็กมีภาวะนี้ แพทย์จะให้เด็กเข้ารับการตรวจด้วยเอ็มอาร์ไอ (MRI) หรือซีทีสแกน (CT scan) เพื่อดูว่า เด็กมีภาวะนี้หรือไม่

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาภาวะนี้ให้หายขาดได้ แต่แพทย์สามารถให้การรักษาเพื่อช่วยควบคุมอาการของโรคได้ เช่น การจ่ายยาเพื่อควบคุมอาการชัก และแนะนำให้ให้เด็กเข้ารับการบำบัดต่างๆ ได้แก่ การทำกายภาพบำบัด การบำบัดด้านการพูด และการทำกิจกรรมบำบัดเพื่อช่วยควบคุมอาการของโรค

สิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้แม่และทารกในครรภ์ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัยคือ การฝากครรภ์กับแพทย์ในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานทันทีที่ทราบว่าตั้งครรภ์ 

การฝากครรภ์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ทุกช่วงอายุครรภ์ รวมทั้งตรวจสุขภาพของแม่ ให้คำแนะนำในการดูแลครรภ์จนกระทั่งครบกำหนดคลอด 

ที่สำคัญหากมีปัญหา หรือภาวะแทรกซ้อนใดๆ เกิดขึ้นระหวางตั้งครรรภ์ แพทย์จะสามารถรักษา หรือแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้ทันท่วงที

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์และคลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Luders, Eileen; Thompson, Paul M.; Toga, Arthur W. (18 August 2010). "The Development of the Corpus Callosum in the Healthy Human Brain". Journal of Neuroscience. 30 (33): 10985–10990. doi:10.1523/JNEUROSCI.5122-09.2010. PMC 3197828. PMID 20720105.
Velut, S; Destrieux, C; Kakou, M (May 1998). "[Morphologic anatomy of the corpus callosum]". Neuro-Chirurgie. 44 (1 Suppl): 17–30. PMID 9757322.
Christine Case-Lo, What Causes Agenesis of the Corpus Callosum? (https://www.healthline.com/symptom/agenesis-of-the-corpus-callosum), 18 June 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)