ประโยชน์ของถั่วแขก ไอเดียการกินการใช้ถั่วแขกเพื่อสุขภาพ

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ประโยชน์ของถั่วแขก ไอเดียการกินการใช้ถั่วแขกเพื่อสุขภาพ

ถั่วแขกเป็นพืชที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง ผู้คนนิยมรับประทาน มีรสหวานกรอบ ฝักมีลักษณะกลม หรือกลมแบนคล้ายกับถั่วฝักยาว ประโยชน์ของถั่วแขกจะมีอะไรบ้าง และมีไอเดียการกินการใช้อย่างไร ไปติดตามกันเลย

ทำความรู้จักถั่วแขก

ถั่วแขก (Snap bean) เป็นพืชในตระกูลถั่ว โดยชื่อถั่วแขกนั้นได้มาจากลักษณะของฝักถั่วที่มีลักษณะเหมือนหนอนบุ้ง ถั่วแขกมีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศแมกซิโก หลังจากนั้นได้มีการนำมาปลูกในประเทศตะวันออกกลาง เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้น ชอบดินรุ่นซุย ถั่วแขกเป็นพืชล้มลุก มีอายุ 2 – 3 ปี ซึ่งมีด้วยกัน 3 สายพันธุ์ คือ พันธุ์พุ่ม พันธุ์เลื้อยและพันธุ์กึ่งเลื้อย ผู้คนนิยมรับประทานถั่วแขกเนื่องจากมีสารอาหารอยู่หลายชนิด ได้แก่ โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และวิตามินซี

คุณค่าทางโภชนาการ

ในถั่วแขกมีโปรตีน 1.9 กรัม แคลเซียม 78 มิลลิกรัม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส 45 มิลลิกรัม เหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.07 มิลลิกรัม วิตามินซี 32 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม

ประโยชน์ของถั่วแขก

ถั่วแขก มีประโยชน์ด้วยกันหลายอย่างเฉกเช่นเดียวกับพืชตระกูลถั่วชนิดอื่นๆ ซึ่งประโยชน์ของถั่วแขกที่มีต่อสุขภาพก็มีดังนี้

  1. ช่วยเพิ่มพลังงาน ถั่วแขกนั้นมีธาตุเหล็กสูงเมื่อเทียบกับผักโขม ซึ่งธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบหลักของเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่จำเป็นต่อการลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย สำหรับผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ไม่มีพลังงาน ระดับเมตาบอลิซึมต่ำ การทานถั่วแขกจะช่วยบำรุงกำลัง ทำให้รู้สดใส และมีพลังมากขึ้น
  2. บำรุงผิว เส้นผม และเล็บ การทานถั่วแขกยังช่วยส่งเสริมสุขภาพความสวยความงาม เนื่องจากในถั่วแขกนั้นมีธาตุซิลิคอน ซึ่งเป็นสารอาหารสำหรับการสร้างเนื้อเยื้อ จึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้เล็บ ลดโอกาสในการเกิดปัญหาเล็บเปราะบางหักง่าย ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สุขภาพดีและช่วยให้เส้นผมดกดำเป็นเงางาม
  3. เสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก ในถั่วแขกนั้นอุดมไปด้วยวิตามินเค ที่มีส่วนช่วยกระตุ้นโอแอลซิน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในกระดูก สารชนิดนี้จะช่วยล็อคโมเลกุลของแคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง นอกจากนี้ ถั่วแขกยังมีคุณสมบัติที่ช่วยทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้เป็นอย่างดี
  4. ช่วยชะลอวัย ถั่วแขกมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เซลล์ผิวเสื่อมสภาพได้ง่ายจนทำให้ผิวแก่กว่าวัยหรือมีริ้วรอยเหี่ยวย่นเร็วนั่นเอง นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งและโรคหัวใจ การทานถั่วแขกจะทำให้เซลล์ในร่างกายแข็งแรง สุขภาพผิวพรรณก็สดใสอ่อนเยาว์
  5. ขับสารพิษออกจากร่างกาย ในถั่วแขกมีสารขับปัสสาวะ จึงช่วยขจัดสารพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใครที่อยากดีท็อกซ์อย่างปลอดภัยแล้วล่ะก็ ถั่วแขกนับว่าเป็นตัวเลือกที่ดี
  6. บำรุงหัวใจให้แข็งแรง ถั่วแขกมีปริมาณแคลเซียมสูง รวมถึงสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารที่พบได้มากในผักและผลไม้ทั่วไป การทานอาหารที่มีฟลาโวนอยด์สูง จะช่วยทำให้หลอดเลือดสะอาด ช่วยป้องกันคราบพลัคเกาะตามผนังหลอดเลือด และป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวได้
  7. บำรุงสายตา ถั่วแขกมีคุณสมบัติโดดเด่นในด้านการบำรุงสายตา เพราะเป็นแหล่งของสารแคโรทีนอยด์ที่สามารถช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม ในถั่วแขกยังมีสารลูทีน และซีแซนทีนที่มีคุณสมบัติช่วยให้การมองเห็นในตอนกลางคืนเป็นไปดีขึ้น โดยสารอาหารดังกล่าวเป็นสารที่มีบทบาทในการบำรุงสุขภาพดวงตาได้ดีอย่างยิ่ง
  8. เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ถั่วแขกเป็นแหล่งของโปรตีนชั้นสูงเหมือนเช่นถั่วชนิดอื่นๆ ทั่วไป ซึ่งโปรตีนมีประโยชน์ช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอให้แก่ร่างกาย และที่สำคัญยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้นได้อีกด้วย
  9. เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง การกินถั่วแขกเป็นประจำก็จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นด้วยเช่นกัน นั่นก็เพราะถั่วแขกมีสารอาหารที่จะช่วยเพิ่มการสร้าง อินเตอร์เฟอรอน ให้มากขึ้น ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคร้ายได้เป็นอย่างดี
  10. ป้องกันโรคมะเร็ง เพียงแค่กินถั่วแขก ก็สามารถลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ เพราะในถั่วแขกมีสารที่จะช่วยป้องกันและยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี จึงช่วยป้องกันมะเร็งได้หลากหลายชนิดเลยทีเดียว โดยเฉพาะมะเร็งในเม็ดเลือด เพราะฉะนั้นมากินถั่วแขกเพื่อให้ห่างไกลจากการเป็นมะเร็งกันดีกว่า
  11. แก้อาการท้องผูก ถั่วแขก มีเส้นใยอาหารสูงมาก จึงสามารถนำมากินเพื่อลดอาการท้องผูกได้ และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานของลำไส้อีกด้วย ดังนั้นในคนที่มีปัญหาท้องผูกบ่อย การกินถั่วแขกจึงถือเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะจะแก้ปัญหาท้องผูกให้กับคุณได้อย่างดีเยี่ยมแน่นอน ทั้งยังลดความเสี่ยงการเป็นโรคริดสีดวงทวารอีกด้วย

ไอเดียการใช้เพื่อสุขภาพ

ถั่วแขก นอกจากจะนิยมนำมากินเพื่อสุขภาพแล้ว ก็ยังนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพในด้านอื่นๆ ได้อีกมากมายอีกด้วย โดยมีวิธีการนำถั่วแขกมาใช้ดังนี้

1.นำไปทำวุ้นเส้น

ในอุตสาหกรรมทางด้านอาหาร ได้มีการนำถั่วแขกไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตวุ้นเส้น ซึ่งทำให้วุ้นเส้นมีคุณประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากเต็มไปด้วยคุณค่าทางสารอาหารที่ได้รับจากถั่วแขกนั่นเอง นอกจากนี้ก็สามารถนำไปทำเป็นแป้งเพื่อใช้ในการทำขนมหวานได้เหมือนกัน

2.ผสมกับคอลลาเจน

เป็นอีกหนึ่งวิธีการนำถั่วแขกมาใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม โดยจะนำถั่วแขกมาผสมกับคอลลาเจน เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยเมื่อรับประทานจะช่วยในการบำรุงผิวพรรณ และเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงได้เป็นอย่างดี แถมทานง่ายอีกด้วย

ไอเดียการกินเพื่อสุขภาพ

ถั่วแขกเป็นถั่วที่มีรสชาติหวาน สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เต็มไปด้วยไฟเบอร์ที่ดีต่อระบบขับถ่าย ลองไปดูกันว่า มีเมนูไหนที่น่าสนใจกับบ้าง

1.ขาหมูทอดกรอบ + ถั่วแขกผัดกระเทียม

ส่วนผสมที่ต้องเตรียมได้แก่ ขาหมู ถั่วแขก เกลือป่น น้ำตาลทราย ซอสเห็ดหอม ผงพะโล้ และน้ำมันสำหรับทอด เริ่มการทำด้วยการหั่นขาหมูพักไว้ ต้มน้ำให้เดือด ใส่เกลือลงไป นำถั่วแขกลงไปลวก ตักขึ้นพักไว้ แล้วนำขาหมูลงไปต้ม ช้อนฟองออก จากนั้นลดไฟลง ใส่ผงพะโล้ ปิดฝาตุ๋นด้วยไฟอ่อนประมาณ 30 นาที ตักขึ้นทาเกลือ ตั้งกระทะให้น้ำมันเดือด ใส่ขาหมูลงไปทอดจนกรอบแห้ง จากนั้นเทน้ำมันที่ทอดออก เหลือไว้เล็กน้อยจากนั้นเร่งไฟ ใส่กระเทียม ใส่ถั่วแขกลงไปผัดในกระทะ ปรุงด้วยซอสเห็ดหอมและน้ำตาลทราย ตักใส่จานพร้อมเสิร์ฟ

2.ถั่วแขกผัดแห้งสไตล์จีน

เตรียมถั่วแขก พริกเผาแห้ง พริกแดงสด กระเทียมสับ หมูสับติดมัน เกลือ พริกไทย ซีอิ๊วหวาน น้ำมันหอย และน้ำตาลทราย ให้เริ่มผัดหมูสับ กระเทียม พริกเผาแห้ง เติมน้ำตาลทราย เกลือ ซีอิ๊วหวาน น้ำมันหอย เมื่อทุกอย่างเริ่มกลายเป็นซอสข้น ให้ใส่ถั่วแขกลงไป ผัดถั่วแขกจนเริ่มสุก ให้น้ำซอสระเหย ตักเสิร์ฟได้เลย

3.ถั่วแขกดอยผัดกุ้งแห้งซอสสิงคโปร์

เริ่มจากเตรียมถั่วแขก กุ้งแห้ง ซอสสิงคโปร์ น้ำตาล และผงปรุงรส ตั้งกระทะใส่น้ำมันลงไป นำกุ้งแห้งลงไปทอดจนกรอบ ใส่ถั่วแขกลงไป ผัดจนกว่าจะสุก ตามนั้นใส่ซอสสิงคโปร์ลงไป ปรุงรสชาติตามชอบด้วยผงปรุงรสและน้ำตาล ตักเสิร์ฟ

4.ถั่วแขกผัดวาซาบิ

ส่วนผสมที่ต้องเตรียม ได้แก่ ถั่วแขก กระเทียม น้ำมันมะกอก ผงกระเทียม ใบเสจป่น ผงวาซาบิ เกลือทะเล และเนย วิธีทำเริ่มด้วยการใส่ถั่วแขกลงในถ้วย ใส่น้ำมันมะกอกลงไปเล็กน้อย ตามด้วยผงกระเทียม เกลือ ใบเสจป่น และผงวาซาบิ คลุกเคล้าให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน นำถั่วลงไปผัดในกระทะ เติมน้ำมันมะกอกเพิ่ม ผัดให้ถั่วสุก แล้วใส่กระเทียมกับเนยลงไปผัดรวมกัน ผัดไปเรื่อย ๆ จนกว่ากระเทียมจะกลายเป็นสีน้ำตาล ปรุงรสชาติด้วยเกลือเล็กน้อย เพียงแค่นี้ก็ได้เมนูอร่อยจากถั่วแขก ตักเสิร์ฟทานกับข้าวสวยร้อน ๆ

ข้อควรระวัง

  1. ถั่วแขกมีส่วนประกอบของสารออกซาเลต หากทานทานถั่วแขกในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมได้เพียงพออย่างที่ต้องการ
  2. เลคตินเป็นส่วนประกอบที่พบอยู่ในถั่วแขก ซึ่งเป็นสารที่ร่างกายต้องการ แต่หากทานในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น ทำให้ถ่ายท้อง คลื่นไส้ และอาเจียนได้
  3. กรดไฟติกในถั่วแขก เป็นกรดที่จะช่วยให้ร่างกายป้องกันการดูดซึมของแร่ธาตุที่ร่างกายควรจะได้รับ ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาภาวะแร่ธาตุไม่เพียงพอ อาจปรึกษาแพทย์ก่อนทาน

ถั่วแขกเป็นมีรสชาติหวานอร่อย เต็มไปด้วยสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของร่างกาย ทำให้สุขภาพแข็งแรง ในส่วนของความงามยังช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง การทานถั่วแขกเป็นประจำจึงเป็นวิธีชะลอวัยได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญยังสามารถนำถั่วแขกไปประกอบเมนูอาหารได้อีกหลากหลายเมนูเลยทีเดียว

 

 

 

 


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Green Beans Nutrition Facts: Calories, Carbs, and Health Benefits. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/green-beans-nutrition-facts-calories-carbs-and-health-benefits-4169523)
Green Beans Nutrition: Health Information. Healthline. (https://www.healthline.com/health/food-nutrition/green-beans)
Green beans: Health benefits, uses, and possible risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/285753)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป