อัลฟัลฟา กระเทียม คลอโรฟิลล์ และยัคคา

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อัลฟัลฟา กระเทียม คลอโรฟิลล์ และยัคคา

อัลฟัลฟา กระเทียม คลอโรฟิลล์ และยัคคา

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอัลฟัลฟา กระเทียม คลอโรฟิลล์ และยัคคาที่ล้วนแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกายคนเราทั้งสิ้น อีกทั้งข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการจัดจำหน่าย วิธีการรับประทานเป็นอาหารเสริมอย่างถูกวิธี ตลอดจนข้อควรระวัง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

อัลฟัลฟา (Alfalfa) 

  • พืชที่นักชีววิทยาและนักเขียนชื่อดัง แฟรงค์ บาวเออร์ ตั้งสมญานามให้ว่า “พืชบำบัดผู้ยิ่งใหญ่” แฟรงค์เป็นผู้ค้นพบว่า ใบสีเขียวของพืชชนิดนี้มีเอนไซม์สำคัญถึง 8 ชนิด และในทุก 100 กรัมจะมีวิตามินเอถึง 8,000 ไอยู และวิตามินเคถึง 20,000-40,000 ไอยู ซึ่งวิตามินเคนี้มีความสำคัญในการป้องกันเลือดไหลไม่หยุด และช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด อัลฟัลฟายังเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินบี 6 และวิตามินอี เปี่ยมไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และเบต้าแคโรทีน อีกทั้งยังมีวิตามินดี หินปูน และฟอสฟอรัส เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟันสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโตอีกด้วย
  • อัลฟัลฟายังเป็นยาระบายและยาขับปัสสาวะโดยธรรมชาติ มักนำมาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และยังมีชื่อเสียงในด้านการบรรเทาอาการปวดข้ออักเสบรูมาทอยด์ เพิ่มความอยากอาหาร รวมไปถึงการรักษาโรคกระเพาะและท้องอืดเฟ้อ อัลฟัลฟามีจำหน่ายทั้งในรูปแคปซูลและเม็ดอัดแนะนำให้รับประทาน 3-6 เม็ดต่อวัน

ข้อควรระวัง: พบว่าอัลฟัลฟาอาจทำให้อาการของโรคลูปัสกำเริบ จึงไม่แนะนำสำหรับผู้ที่เป็นโรคลูปัสหรือโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเองอื่นๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

กระเทียม

  • มีแร่ธาตุโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินบีและซีในปริมาณค่อนข้างสูง รวมไปถึงแคลเซียม โปรตีน และสารมหัศจรรย์ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอื่นๆ ที่ในที่สุดก็ได้รับการยอมรับจากแพทย์แผนปัจจุบันว่ามีคุณประโยชน์ทางการแพทย์ สารสกัดจากกระเทียมจัดเป็นยาปฏิชีวนะตามธรรมชาติ ครั้งหนึ่งกองทัพทหารโซเวียตเคยนำมาใช้ และรู้จักกันในนาม “เพนิซิลลินแห่งรัสเซีย” อีกทั้งยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะแอลดีแอล ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และยังทำหน้าที่คล้ายยาลดการแข็งตัวของเลือด ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด จึงป้องกันการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันและเส้นโลหิตในสมองแตกได้
  • จากการศึกษาล่าสุดพบว่า สารในน้ำมันกระเทียมที่มีชื่อว่า ไดอัลลิลซัลไฟด์ (Diallyl sulfide: DAS) อาจช่วยยับยั้งการทำงานของสารก่อมะเร็งที่สำคัญ และยับยั้งการเติบโตของมะเร็งได้ ทั้งยังพบว่ากระเทียมมีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในเลือดส่วนเกิน (เช่นเดียวกับคอเลสเตอรอล ระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัวและหัวใจวาย) บรรเทาอาการหลอดลมอักเสบ เจ็บคอ และไข้หวัด
  • วิธีการรับประทานกระเทียมเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ดีที่สุดคือเลือกแบบแคปซูลไร้กลิ่น ที่สกัดมาจากกระเทียมแก่แบบดิบ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดกลิ่นปากหลังรับประทาน เพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้นว่าลมหายใจจะหอมสดชื่อ คุณอาจรับประทานคู่กับน้ำมันสกัดจากเมล็ดผักชีฝรั่ง ซึ่งจัดเป็นยาดับกลิ่นปากตามธรรมชาติ

คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)

  • มีคุณสมบัติเด่นในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ตามที่ จี. ดับบลิว. แร็ปป์ ได้กล่าวไว้ในวารสารทางการแพทย์ American Journal of Pharmacy ทั้งยังทำงานคล้ายเป็นยาช่วยสมานแผล โดยช่วยเร่งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ และลดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย
  • คลอโรฟิลล์จัดเป็นสารระงับกลิ่นจากธรรมชาติที่ใช้เป็นส่วนประกอบในสเปรย์ปรับอากาศ ยาระงับกลิ่นกาย และน้ำยาดับกลิ่นปาก คลอโรฟิลล์ มีจำหน่ายทั้งในรูปเม็ดและแบบน้ำ

ยัคคา (Yucca)

  • เป็นสารสกัดจากพืชในตระกูล Liliaceae (กระบองเพชรยักษ์ก็จัดอยู่ในกลุ่มยัคคา) ชาวอินเดียนแดงใช้ประโยชน์จากยัคคาหลายด้านและยกย่องว่าพืชชนิดนี้คือหลักประกันแห่งสุขภาพและการมีชีวิตอยู่รอดของพวกเขา ดร.จอห์น ดับเบิลยู. เยล นักชีวเคมีสาขาพฤกษศาสตร์ ได้สกัดสารซาโพนินสเตียรอยด์จากพืชและนำมาทำเป็นแบบเม็ด ใช้รับประทานเพื่อรักษาโรคข้ออักเสบ ให้ผลการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ปริมาณที่รับประทานโดยเฉลี่ยคือ 4 เม็ดต่อวัน และไม่มีผลข้างเคียงในเรื่องของการระคายเคืองกระเพาะ สารสกัดจากยัคคาทั้งแบบเม็ดและแบบน้ำไม่มีอันตรายและมีวางจำหน่ายทั่วไปตามร้านขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและวิตามิน หากต้องการรับประทานเพื่อลดอาการอักเสบและปวดข้อจากโรคข้ออักเสบหรือรูมาทอยด์ ผมแนะนำให้รับประทาน 1 เม็ดหรือแคปซูล หรือ 10-30 หยด สำหรับแบบน้ำ วันละสามเวลา

ข้อควรระวัง: การรับประทานยัคคาต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจชะลอการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น เอ ดี อี และเค หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวว่าคุณจำเป็นต้องรับประทานวิตามินเหล่านี้เสริมหรือไม่

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Garlic Supplement: Benefits, Uses, Side Effects, Dosage & Interactions. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/garlic/supplements-vitamins.htm)
Allicin: Benefits, Side Effects, Dosage, and Interactions. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/the-benefits-of-allicin-88606)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป