สารพัดคุณประโยชน์ของกระเทียมดำที่น่ารู้ !

กระเทียมดำ สมุนไพรสุดแปลก ที่มากไปด้วยคุณประโยชน์จนน่าทึ่ง
เผยแพร่ครั้งแรก 8 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สารพัดคุณประโยชน์ของกระเทียมดำที่น่ารู้ !

กระเทียมดำ เป็นกระเทียมชนิดหนึ่งที่คนอาจไม่ค่อยรู้จักมากนัก แต่ต้องบอกเลยว่าประโยชน์ของมันน่าทึ่งไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่ากระเทียมดำคืออะไร และมีความแตกต่างจากกระเทียมทั่วไปอย่างไร วันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับกระเทียมดำมากขึ้น รวมถึงประโยชน์สุดทึ่งของกระเทียมชนิดนี้ด้วย

กระเทียมดำ คืออะไร?

กระเทียมดำ จริงๆ แล้วก็คือกระเทียมขาวที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง แต่ได้มีการนำกระเทียมขาวมาผ่านการอบบ่ม (fermentation) ที่อุณหภูมิประมาณ 60 – 90 องศาเซลเซียส ภายในห้องควบคุมที่มีความชื้นสัมพัทธ์ 80 - 90 % เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน จนกระเทียมเปลี่ยนเป็นสีดำ

กระเทียมดำที่ได้จะมีเนื้อสัมผัสเหนียว ยืดหยุ่นคล้ายเจลลี่ รสชาติหวาน มีกลิ่นฉุนของกระเทียมลดลง และพบปริมาณสารสำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ สารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) สูงกว่าเดิม เพิ่มสารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้ดีกว่ากระเทียมสดถึง 13 เท่า

กินกระเทียมดำอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

สำหรับการกินกระเทียมดำ ก็ง่าย ๆ เหมือนกับการกินกระเทียมขาวเลย โดยให้นำกระเทียมดำมาปรุงอาหารตามปกติ แต่เพื่อเพิ่มคุณค่าและประโยชน์ให้มากขึ้น ควรบดหรือสับกระเทียมตั้งทิ้งไว้สักครู่ก่อนแล้วจึงนำมาปรุงอาหาร เพราะระหว่างนั้นกระเทียมดำจะมีการหลั่งสารสำคัญบางอย่างออกมามากขึ้น ทำให้ได้ประโยชน์มากกว่าการนำมาทำอาหารในทันทีนั่นเอง และประโยชน์ที่จะได้รับจากกระเทียมดำก็ต้องบอกเลยว่า มากกว่ากระเทียมขาวหลายเท่าเลยทีเดียว

ประโยชน์ของกระเทียมดำ

หากพูดถึงประโยชน์ของกระเทียมดำ ก็ต้องบอกเลยว่ามีประโยชน์มากมายจนน่าทึ่งเลยทีเดียว โดยจำแนกเป็นข้อๆ ดังนี้

  1. ป้องกันมะเร็ง ต้านเซลล์มะเร็ง

    เพราะกระเทียมดำมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ง่าย จึงสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้เป็นอย่างดี หรือผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มแรก หากกินกระเทียมดำควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ ก็จะทำให้ร่างกายมีการฟื้นฟูเร็วขึ้นและมีโอกาสที่จะหายขาดจากโรคมะเร็งได้เช่นกัน

  2. บรรเทาอาการเบาหวาน

    ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดภาวะต้านอินซูลิน เพิ่มการหลั่งอินซูลิน ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน และการกินกระเทียมดำจะช่วยชะลอและฟื้นฟูร่างกายจากอาการป่วยด้วย

  3. ลดความดันโลหิต

    กระเทียมดำมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิต ซึ่งจะทำให้ความดันอยู่ในระดับปกติมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง การกินกระเทียมดำบ่อยๆ ก็จะช่วยควบคุมระดับความดันและทำให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติเร็วขึ้นอีกด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่เหมาะกับผู้ที่มีความดันต่ำ

  4. ลดไขมันในเลือด

    กระเทียมดำมีส่วนช่วยในการลดไขมันในเลือด จึงลดความเสี่ยงหลอดเลือดอุดตันได้ดี และป้องกันการเกิดลิ่มเลือดที่จะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย หรือภาวะหลอดเลือดในสมองตีบตันได้

  5. ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา

    สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อราได้ดี โดยเฉพาะเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคผิวหนัง และภาวะตกขาวผิดปกติในผู้หญิง

  6. บำรุงผิวให้ดูอ่อนเยาว์

    เนื่องจากกระเทียมดำ มีสารที่จะทำหน้าที่ในการต่อต้านริ้วรอย จึงช่วยบำรุงผิวให้ดูอ่อนเยาว์กว่าวัย  และสามารถลดเลือนริ้วรอยให้ดูจางลงได้อย่างดีเยี่ยม เพราะฉะนั้นใครที่ไม่อยากดูแก่เร็ว การกินกระเทียมดำเป็นประจำ ก็จะช่วยได้ดีเช่นกัน

  7. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

    ด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และสารต้านอนุมูลอิสระในกระเทียมดำ จึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้กับร่างกายได้อย่างดีเยี่ยม ผู้ที่กินกระเทียมดำบ่อยๆ จึงมักจะไม่เจ็บป่วยง่าย

  8. แก้อาการนอนไม่หลับ

    สำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ การกินกระเทียมดำก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ดี เพราะกระเทียมดำจะทำให้ร่างกายเกิดความผ่อนคลาย ลดความเครียดจึงทำให้นอนหลับง่ายขึ้นและหลับสนิทตลอดคืน

  9. ลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

    การรับประทานกระเทียมดำทำให้มี HDL(ไขมันตัวดี) เพิ่มขึ้น จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจได้

  10. ลดการหลั่งน้ำย่อย

    บรรเทาโรคกระเพาะ ลดการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร

  11. ช่วยฟื้นฟูเซลล์ตับ
    ลดไขมันในตับ และลดการอับเสบของตับอ่อน

ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของกระเทียมดำ

กระเทียมดำนอกจากจะมีประโยชน์และมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลายแล้ว ยังมีประวัติการใช้ในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่นมานานแล้วด้วย ซึ่งกระเทียมดำยังมีแนวโน้มที่ดีในด้านต่างๆ ดังนี้

ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งในการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการผลิต และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่ากระเทียมดำต่อไปในอนาคต 

กระเทียมดำมีงานวิจัยรับรองหรือไม่?

  1. การศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มแบบปิดสองทาง เพื่อดูประสิทธิภาพของกระเทียมดำต่อการลดระดับไขมันในเลือดในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง (อายุระหว่าง 19-80 ปี) จำนวน 60 คน โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 รับประทานกระเทียมดำ ปริมาณรวม 6 กรัมต่อวัน และกลุ่มที่ 2 ได้รับยาหลอก

    ซึ่งอาสาสมัครจะใช้เวลาทดลองนาน 12 สัปดาห์ หลังจากสิ้นสุดการทดลอง ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของระดับ triglyceride LDL-cholesterol และ total cholesterol ในเลือดของทั้ง 2 กลุ่ม แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่ได้รับกระเทียมดำมีระดับ HDL-cholesterol เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก 
  2. ในปี คศ. 2009 มีงานศึกษาของนักวิจัยชาวญี่ปุ่นเผยแพร่ในวารสาร Medicinal and Aromatic Science And Biotechnology ได้ทำการวิจัยในหนูทดลอง พบว่ากระเทียมดำช่วยลดขนาดก้อนเนื้องอกในหนูทดลอง และได้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า กระเทียมดำให้สารประกอบซัลเฟอร์สูง ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการยับยั้งการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล และลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ 

โทษของกระเทียมดำมีอะไรบ้าง?

แม้กระเทียมดำจะมีประโยชน์มากมายดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ก็มีข้อควรระวังในการบริโภค ซึ่งควรทำตามคำแนะนำเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการใช้

  • กระเทียมยิ่งสดเท่าไหร่ก็ยิ่งมีสรรพคุณที่ดีมากขึ้นเท่านั้น แต่กระเทียมที่ผ่านความร้อนด้วยวิธีการต่างๆ หรือผ่านการหมักดอง จะทำให้วิตามินและสารอัลลิซินที่มีอยู่ในกระเทียมนั้นสลายตัวไป
  • ถึงแม้ว่ากระเทียมดำจะมากไปด้วยประโยชน์ แต่ก็ควรกินในปริมาณที่เหมาะสมเช่นกัน คือให้กินวันละประมาณ 6 - 8 กลีบ เท่านี้ก็ได้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าในแต่ละวันแล้ว
  • วิตามินและแร่ธาตุที่อยู่ในกระเทียมนั้น จะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับดินและสภาพอากาศที่ใช้ในการเพาะปลูกด้วย
  • สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเป็นปกติ มีระดับความดันโลหิตเป็นปกติ ผู้ที่มีภาวะเลือดหยุดไหลช้า รวมไปถึงผู้ที่ใช้ยาอื่นๆ เป็นประจำ เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแอสไพริน ยาแก้อักเสบ ยาต้านไวรัส ไม่ควรรับประทานกระเทียมมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เป็นโทษต่อร่างกายได้
  • ปัจจุบันในบ้านเรายังไม่มีการรับรองว่ากระเทียมนั้นจะสามารถรักษาโรคได้จริง คงเป็นได้เพียงแต่สมุนไพรทางเลือกในการรักษาและสมุนไพรเสริมสุขภาพเท่านั้น

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศวิตา จิวจินดา, กระเทียมดำ, (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/450/กระเทียมดำ), 3 กุมภาพันธ์ 2562
Greenclinic, กระเทียม (Black Garlic) (http://www.greenclinic.in.th/blackgarlic.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป