กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

สารอะไรในเครื่องสำอางที่ทำให้แพ้ได้

เช็กกันหรือยัง ในเครื่องสำอางที่คุณใช้ มีสารต้องห้ามประกอบอยู่หรือเปล่า
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 23 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
สารอะไรในเครื่องสำอางที่ทำให้แพ้ได้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อผิวหน้ามักจะได้รับการโฆษณาให้ผู้บริโภคเชื่อว่า เห็นผลไว ทำให้หน้าขาวขึ้น ลดสิวภายในระยะเวลาอันสั้น อาการแพ้หลักๆ ที่มักจะเกิดขึ้น ได้แก่ ฝ้าถาวร ผิวไวต่อแสงแดดมากขึ้น เป็นรอยผื่นแดง รอยด่างขาวบนใบหน้า ผิวหน้าบางลง
  • เครื่องสำอางที่มีสารเคมีต้องห้ามเป็นอันตรายอย่างรุนแรงต่อทารกในครรภ์ และยังส่งผลต่อระบบอื่นๆ ในร่างกายด้วย เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น ตับอักเสบ เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
  • ควรไปพบแพทย์ทันทีหากรู้สึกว่า หลังจากใช้เครื่องสำอางแล้วผิวหน้ามีความผิดปกติ หรือสงสัยว่าเครื่องสำอางมีส่วนประกอบของสารต้องห้าม เพื่อที่แพทย์จะได้รักษาได้ทันเวลา
  • คุณสามารถไปทำทรีตเมนท์ใบหน้าที่คลินิกซึ่งได้มาตรฐาน เพื่อบำรุงผิวหน้าให้กระจ่างใส ชุ่มชื้น ลบเลือนจุดด่างดำด้วยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญได้ ทั้งยังปลอดภัย และช่วยให้รักษาปัญหาผิวหน้าได้อย่างตรงจุดด้วย
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทรีตเมนท์หน้ากระจ่างใส

ความสวยงามของใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นผิวกระจ่างใส ผิวดูอ่อนเยาว์ลง ลดเลือนจุดด่างดำ แก้ปัญหาสิว ฝ้า กระ ฯลฯ คือ สิ่งที่ทุกๆ คนต้องการ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชายก็ตาม 

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เครื่องสำอางหลายยี่ห้อจึงต้องแข่งกันค้นหาวัตถุดิบ คิดค้นสารสกัดต่างๆ เพื่อสร้างจุดเด่นของตนเอง และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบรับกับไลฟ์สไตล์ ความต้องการ ความสนใจ ของผู้บริโภค 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภายใต้คุณสมบัติที่น่าดึงดูดเหล่านั้น คุณคงไม่ทราบว่าในขั้นตอนการผลิตได้มีการใส่สารเคมีอะไรลงไปในเครื่องสำอางบ้าง แล้วสารเคมีเหล่านั้นเป็นอันตรายต่อผิวหน้าของคุณหรือไม่

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา ได้ประกาศรายชื่อสารต้องห้ามที่ห้ามใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางออกมา
เพราะสารเหล่านี้มีฤทธิ์สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ และส่งผลข้างเคียงต่อผิวหน้าได้ 

อีกทั้งยังสามารถทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ตามมาในภายหลัง ซึ่งได้แก่

1. สารปรอท

สารปรอท (Mercury) เป็นสารโลหะที่เป็นพิษ มักใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือสำหรับเป็นยากำจัดศัตรูพืช แต่ขณะเดียวกันก็เป็นสารที่โรงงานอุตสาหกรรมใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้า เช่น

  • โรงงานผลิตพลาสติก
  • โรงงานผลิตสี
  • โรงงานหลอมโลหะ
  • โรงงานผลิตเยื่อกระดาษ
  • โรงงานอุตสาหกรรมทอผ้า

ในเครื่องสำอางบางยี่ห้อมีการแอบใส่สารปรอทเพื่อทำให้ผิวของผู้ใช้ขาวยิ่งขึ้นรู้สึกว่า สิวและริ้วรอยด่างดำลดลง ผ่านการยับยั้งเอนไซน์ไทโรซินัส (Tyrosinase) ทำให้การสร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) บนผิวหนังลดลง

แม้ว่าสารปรอทจะทำให้ผิวของผู้ใช้ดูขาวยิ่งขึ้น แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นนั้นกลับร้ายแรงกว่าที่คิด เพราะเมื่อร่างกายได้รับสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย ตัวสารปรอทจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการทางชีวเคมีซึ่งทำให้ร่างกายเกิดพลังงาน จนร่างกายต้องหาวิธีอื่นเพื่อให้ได้พลังงานทดแทน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผลที่ตามมาก็คือ ร่างกายจะเกิดกรดแลคติค (Lactic acid) ซึ่งเป็นกรดที่ส่งผลต่อเซลล์ในร่างกาย คือ ทำให้เซลล์ที่มีกรดบางส่วนตาย และร่างกายเกิดความผิดปกติอื่นๆ ตามมา ซึ่งได้แก่

  • ทำให้เกิดแผลพุพองและมีเลือดออก
  • เกิดผื่นแดง
  • ผิวหน้าเป็นฝ้าสีน้ำตาลเข้ม - ดำ
  • ผิวบางลง
  • ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด
  • การทำงานของไตผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถปัสสาวะได้ตามปกติ หรือปัสสาวะไม่ออก
  • ระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลาย อาจสูญเสียการมองเห็น การได้ยิน ความจำเสื่อม
  • มีอาการซึมเศร้า อยากฆ่าตัวตาย หรือก้าวร้าวขึ้นกว่าเดิม
  • มือเท้าชา รวมถึงแขนและขา
  • โลหิตจาง
  • หากเป็นหญิงตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์อาจมีภาวะปัญญาอ่อน หรือสมองพิการได้

2. สารไฮโดรควิโนน

สารไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) จะมีคุณสมบัติในเครื่องสำอางคล้ายกับสารปรอทคือ ทำให้ผิวหน้าขาวขึ้น กำจัดรอยฝ้า จุดด่างดำจากสิว รวมถึงกระบนใบหน้า

ถึงแม้ทางสำนักงานคณะกรรมอาหารและยาจะสั่งห้ามไม่ให้ใช้สารไฮโดรควิโนนในเครื่องสำอาง แต่ก็ยังมีการรักษาฝ้าบางส่วนที่ยังต้องพึ่งพายาซึ่งมีส่วนผสมของสารไฮโดรควิโนนอยู่ 

ดังนั้นจึงควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารนี้ภายใต้คำสั่งของแพทย์เท่านั้น เพื่อป้องกันอาการแพ้ และผลข้างเคียงที่ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

  • เป็นฝ้าถาวร
  • เกิดความระคายเคือง แสบร้อนผิว
  • เกิดจุดด่างขาวบนใบหน้า
  • เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง
  • เกิดอาการลมชัก
  • เกิดอาการแพ้ยาในภายหลัง

3. สารสเตียรอยด์

สารสเตียรอยด์ (Steroids) เป็นอีกสารที่ยี่ห้อเครื่องสำอางซึ่งไม่ได้มาตรฐานมักจะแอบใส่ลงไปเพื่อให้สรรพคุณของตัวผลิตภัณฑ์ดูเห็นผลทันใจ ผิวหน้าดูกระจ่างใสขึ้น ช่วยลดสิว แต่ต้องใช้งานในระยะยาวจึงจะเห็นผลไปเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สารสเตียรอยด์นั้นเป็นอันตรายต่อร่างกายสูงมาก เช่น

สำหรับผู้ป่วยที่แพ้สารสเตียรอยด์นั้นจะแบ่งเป็น 2 แบบคือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

3.1 แบบเป็นสิวสเตียรอยด์

แบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ สิวแท้ เกิดจากการอุดตันของสารน้ำมันคอมีโดน (Comedone) ในรูขุมขน มีลักษณะเหมือนสิวอักเสบ หรือสิวอุดตัน และสิวเทียม จะเป็นตุ่มนูนและเป็นหนอง

การแยกว่า สิวเม็ดไหนเป็นสิวแท้ หรือเทียมนั้นอาจทำได้ยาก เพราะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เพียงแต่สิวเทียมจะมีจุดเด่นคือ เป็นปื้น และกระจุกอยู่รวมกันทุกรูขุมขน

3.2 แบบเป็นผิวติดสารสเตียรอยด์

เป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะเสพติดการใช้ยา หรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารสเตียรอยด์อยู่ หากไม่ได้ใช้ไปซักระยะ ผิวก็จะเริ่มผิดปกติ แพ้ง่าย สีผิวจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดง 

ภาวะนี้เป็นภาวะที่รักษาได้ค่อนข้างยาก อาจต้องใช้เวลานานเป็นปี อาการจึงจะดีขึ้น

4. กรดเรติโนอิก

กรดเรติโนอิก (Retinoic acid) เป็นกรดอนุพันธ์ของวิตามินเอ มีคุณสมบัติช่วยผลัดเซลล์ผิวหนังและทำให้สิวเสี้ยน ผิวที่หยาบกร้านหลุดลอกออกไป ทำให้ใบหน้าของผู้ใช้ดูกระจ่างใส นุ่มและเนียนยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม กรดเรติโนอิกถือเป็นสารที่มีพิษ และทำอันตรายต่อผิวได้ เช่น

  • ทำให้รู้สึกแสบร้อน
  • รู้สึกระคายเคืองและแสบผิว
  • ทำให้ผิวไวต่อแสงแดดมากขึ้น
  • อาจเกิดภาวะผิวด่างขาว
  • ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง
  • เป็นอันตรายอย่างยิ่งกับทารกในครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 1-3 เดือนแรกไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด

5. สารอื่นๆที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้

  • โลหะหนักหรือ สารประกอบจากโลหะหนัก เช่น โครเมี่ยม ในสบู่ หรือเครื่องสำอางค์บางอย่าง โคบอลท์คลอไรด์ ในน้ำยาย้อมผม
  • สารกันบูด เช่น Quaternium-15, Formaldehyde, Isothiazolinones
  • Fragrance mix ประกอบด้วยสารหลักแปดอย่างเพื่อใช้เป็นองค์ประกอบในน้ำหอม
  • ยาปฏิชีวนะ

การใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายย่อมส่งผลเสียต่อผิวหน้าและระบบต่างๆ ของร่างกาย ทางที่ดี ให้สังเกตฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อว่า มีเลขที่จดแจ้งกับองค์การอาหารและยาหรือไม่ ได้ระบุชื่อผู้ผลิต ครั้งที่ผลิต วันเดือนปีที่ผลิตเอาไว้หรือไม่

ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยา หรือผลิตภัณฑ์บำรุงทุกยี่ห้อเสียก่อนซื้อมาใช้งาน เพื่อจะได้รับคำแนะนำอย่างถูกต้องว่า ผิวหน้าของคุณเหมาะกับการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงแบบไหน 

เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้เครื่องสำอางง่ายหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย และเห็นผลดีในระยะยาวทั้งต่อผิวหน้าและไม่กระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย

คุณสามารถไปทำทรีตเมนท์ใบหน้าที่คลินิกซึ่งได้มาตรฐาน เพื่อบำรุงผิวหน้าให้กระจ่างใส ชุ่มชื้น ลบเลือนจุดด่างดำด้วยบุคลากรผู้เชี่ยวชาญได้ ทั้งยังปลอดภัย และช่วยให้รักษาปัญหาผิวหน้าได้อย่างตรงจุดด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทรีตเมนท์หน้ากระจ่างใส จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kimber I, Basketter DA, Gerberick GF, Dearman RJ (2002). "Allergic contact dermatitis". Int. Immunopharmacol. 2 (2–3): 201–11. doi:10.1016/S1567-5769(01)00173-4. PMID 11811925.
Iwasaki A (2009). "Local advantage: skin DCs prime, skin memory T cells protect". Nature Immunology. 10 (5): 451–453. doi:10.1038/ni0509-451. PMC 3662044. PMID 19381136.
อ. ดร. เอกรัตน์ จันทราทิตย์, อันตรายของครีมหน้าขาว ที่ผสมไฮโดรควิโนน (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/14/อันตรายของ-ครีมหน้าขาว-ที่ผสม-ไฮโดรควิโนน/), 20 มกราคม 2563.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ตอนท้อง
วิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ตอนท้อง

แนวทางของคุณในการจัดการโรคภูมิแพ้ระหว่างตั้งครรภ์

อ่านเพิ่ม
หากผิวหนัง เกิดอาการแพ้เครื่องสำอาง จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง
หากผิวหนัง เกิดอาการแพ้เครื่องสำอาง จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง

เครื่องสำอางกับเวชสำอางต่างกันอย่างไร เมื่อใช้แล้วเกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวแห้งลอก ต้องทำอย่างไร

อ่านเพิ่ม