กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.รุจิรา เทียบเทียม
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.รุจิรา เทียบเทียม

หากผิวหนัง เกิดอาการแพ้เครื่องสำอาง จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง

เครื่องสำอางกับเวชสำอางต่างกันอย่างไร เมื่อใช้แล้วเกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวแห้งลอก ต้องทำอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
หากผิวหนัง เกิดอาการแพ้เครื่องสำอาง จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เครื่องสำอางคือ ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ภายนอก เพื่อทำความสะอาด เสริมความงาม ระงับกลิ่นกาย ส่วนเวชสำอางคือ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของยา ทำให้มีสรรพคุณของเครื่องสำอางแต่มีคุณสมบัติในด้านการรักษาสิ่งผิดปกติต่างๆ เช่น สิว ริ้วรอย จุดด่างดำ ฝ้า กระ ได้
  • อาการแพ้เครื่องสำอาง เกิดจากการระคายเคือง หรือแพ้สารเคมี หรือแพ้ส่วนประกอบที่อยู่ในเครื่องสำอางนั้นๆ มักเกิดบริเวณผิวหนังส่วนที่ใช้เครื่องสำอางนั้นๆ โดยเฉพาะใบหน้า
  • เมื่อใช้เครื่องสำอางแล้วเกิดอาการคัน แพ้ แสบร้อน ผื่นแดง ลมพิษ ตุ่มน้ำใส หรือผิวแห้งลอก ควรหยุดใช้ทันที
  • ปกติแล้ว เมื่อหยุดใช้เครื่องสำอางอาการก็จะดีขึ้น แต่หากอาการไม่ดีขึ้น สามารถใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซนลดการอักเสบได้ แต่ต้องปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อน
  • ก่อนใช้เครื่องสำอางควรรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวเสมอและทดสอบผลิตภัณฑ์ก่อนใช้งาน โดยทดลองทาที่บริเวณท้องแขน หรือหลังใบหูก่อน (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ ได้ที่นี่)

เครื่องสำอาง เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เสริมความงามที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับใครหลายคน แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่หลังใช้เครื่องสำอาง จะมีอาการผื่นแดง คัน หรือมีตุ่มขึ้น นั่นเรียกว่า “อาการแพ้เครื่องสำอาง”

แล้วการแพ้เครื่องสำอางเกิดจากอะไร มีอาการอะไรบ้าง ต้องเลือกใช้เครื่องสำอางอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดอาการแพ้ หาคำตอบได้ที่บทความนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เครื่องสำอางกับเวชสำอางแตกต่างกันอย่างไร?

เครื่องสำอางคือ ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ หรืออบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความสะอาด เสริมความงาม ระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ ให้อยู่ในสภาพดี

ส่วนเวชสำอางคือ เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของยา ทำให้มีสรรพคุณของเครื่องสำอาง แต่มีคุณสมบัติในด้านการรักษาสิ่งผิดปกติต่างๆ เช่น สิว ริ้วรอย จุดด่างดำ ฝ้า กระ ได้

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง หรือเวชสำอาง ก็สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้

แพ้เครื่องสำอางเกิดจากอะไร?

กลไกการเกิดอาการแพ้เครื่องสำอางก็เหมือนกับอาการแพ้อื่นๆ คือ ร่างกายไวต่อสารเคมี หรือส่วนประกอบอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องสำอางจนทำให้เกิดการระคายเคือง หรืออาการแพ้ขึ้นมา

โดยอาการแพ้เครื่องสำอางมักเกิดกับบริเวณผิวหนังที่บอบบางซึ่งมัผัสกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ โดยเฉพาะผิวหน้า จะสังเกตได้ว่า เครื่องสำอางที่ใช้สำหรับผิวหน้าส่วนมากจะใช้ส่วนประกอบจากธรรมชาติ มีสารเคมีน้อย และอ่อนโยนต่อผิว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้นั่นเอง

เครื่องสำอางจะมีส่วนประกอบหลายอย่าง แต่ที่แพ้ส่วนมากจะแพ้น้ำหอม หรือสารที่ทำให้เครื่องสำอางนั้น มีอายุยาวนานกว่าปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สารเคมีในเครื่องสำอางที่ทำให้เกิดอาการแพ้ที่พบได้บ่อย  

  • Hydroxy-isohexyl-3-cyclohexene carboxaldehyde (HMPPC Lyral)
  • Methyldibromo glutaronitrile 
  • UV filters
  • Tosylamide/formaldehyde resin

นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มน้ำหอม สารคงตัว สีและส่วนประกอบของสี ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ 

กลุ่มน้ำหอม 

  • Amyl cinnamal
  • Amylcinnamyl alcohol
  • Anisyl alcohol
  • Benzyl alcohol
  • Benzyl benzoate
  • Benzyl cinnamate
  • Benzyl salicylate
  • Cinnamyl alcohol
  • Cinnamaldehyde
  • Citral
  • Citronellol
  • Coumarin
  • Eugenol
  • Farnesol
  • Geraniol
  • Hexyl cinnamaladehyde
  • Hydroxycitronellal
  • Hydroxyisohexyl 3-cyclohexene carboxaldehyde (HICC), (also known as Lyral)
  • Isoeugenol
  • Lilial
  • d-Limonene
  • Linalool
  • Methyl 2-octynoate
  • g-Methylionone
  • Oak moss extract
  • Tree moss extract

กลุ่มสารคงตัว

  • MethylisothiazolinoneExternal Link Disclaimer (MIT)
  • Methylchloroisothiazolinone (CMIT)
  • Formaldehyde and formaldehyde releasing ingredients:
    • Bronopol (2-bromo-2-nitropropane-1,3-diol)
    • 5-bromo-5-nitro-1,3-dioxane
    • Diazolidinyl urea
    • DMDM hydantoin (1,3-dimethylol-5,5-dimethylhydantoin)
    • Imidazolidinyl urea
    • Sodium hydroxymethylglycinate
    • Quaternium-15 (Dowicil 200; N-(3-chloroallyl) hexaminium chloride)

สีและส่วนประกอบของสี

  • p-phenylenediamine (PPD)
  • Coal-tar

อาการแพ้เครื่องสำอางมีอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้เครื่องสำอางอาจทำให้เกิดการระคายเคือง หรือเกิดอาการแพ้ได้ ผ่านทางระบบผิวหนัง หรือทางระบบอื่นๆ เช่น ระคายเคืองดวงตา หรือระคายเคืองทางเดินหายใจ

โดยอาการทางผิวหนัง เป็นผลข้างเคียงที่พบมากที่สุดจากการใช้เครื่องสำอาง เนื่องจากเป็นส่วนต้องสัมผัสกับผลิตภัณฑ์โดยตรง แบ่งเป็น 2 กลุ่มอาการ ได้แก่

1. อาการระคายเคือง

  • พบได้บ่อยกว่าอาการแพ้
  • เกิดจากการสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกรด หรือด่างสูง เช่น น้ำยาดัดผม น้ำยาย้อมผม หรือครีมกำจัดขน
  • อาการระคายเคือง เช่น คัน ปวดแสบปวดร้อน ผื่นแดง แห้งลอก และอาจมีตุ่มแดง หรือตุ่มน้ำ
  • ระยะเวลาของการเกิดอาการ อาจเกิดได้ภายในเวลาไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมง หลังจากใช้เครื่องสำอาง
  • หากเป็นสารที่มีฤทธิ์ระคายเคืองเพียงเล็กน้อยอาจใช้เวลาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์ จึงจะเกิดอาการดังกล่าว

2. อาการแพ้

  • มีอาการคัน บวมแดง อาจเห็นเป็นตุ่มน้ำสีแดงเล็กๆ หรือเป็นปื้นนูนแบบลมพิษ ถ้าแพ้มากอาจมีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจไม่ออก
  • บริเวณที่พบอาการแพ้ได้บ่อยคือ ใบหน้า โดยเฉพาะรอบดวงตา เนื่องจากเป็นบริเวณที่ผิวบอบบางที่สุด
  • ผู้ใช้ที่แพ้สารชนิดใดแล้ว หากสัมผัสกับสารนั้นอีกแม้เพียงเล็กน้อยก็เกิดอาการแพ้ได้

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้เครื่องสำอาง

ถึงแม้ว่า เครื่องสำอางแต่ละยี่ห้อจะมีใบรับรองคนผิวแพ้ง่ายสามารถใช้ได้ เช่น Hypoallergenic, Dermatologist tested, Sensitivity tested หรือ Non-irritating แต่ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่า เมื่อใช้แล้วจะไม่เกิดอาการแพ้ใดๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ไม่ว่าคุณจะใช้เครื่องสำอาง ครีมทาหน้า หรือเวชสำอาง หากใช้เป็นครั้งแรกก็ควรทดสอบอาการแพ้เบื้องต้นด้วยวิธีที่ได้กล่าวก่อน เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้

เลือกใช้เครื่องสำอางอย่างไรให้ปลอดภัย?

  • เลือกใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบไม่มาก เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ เพราะเราไม่รู้ว่าผิวหนังแพ้สารใดบ้าง โดยอาจเปรียบเทียบกับส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่เป็นประจำก็ได้
  • ใช้เครื่องสำอางที่ปราศจากน้ำหอมเพราะน้ำหอมเป็นหนึ่งในส่วนประกอบในเครื่องสำอางที่ทำให้เกิดการระคายเคือง และอาการแพ้ได้
  • ตรวจสอบวันหมดอายุของเครื่องสำอาง ไม่ใช้เครื่องสำอางที่หมดอายุ โดยสามารถสังเกตบริเวณกล่องบรรจุภัณฑ์ว่า หลังเปิดใช้งานครั้งแรกแล้ว เครื่องสำอางมีอายุอยู่ได้กี่เดือน ส่วนมากแล้วจะไม่เกิน 6-12 เดือน
  • หลีกเลี่ยงเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดการแพ้ เช่น แอลกอฮอล์ โพรไพลีนไกลคอล (สารป้องกันการแข็งตัว สารกันเสีย ใช้ในครีมทาผิวโลชั่น ครีมปรับสภาพผม) หรือสารกันบูด 

วิธีทดสอบการแพ้เครื่องสำอางด้วยตัวเอง

ก่อนเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆ ควรทดสอบก่อนทุกครั้งว่า มีอาการแพ้หรือไม่ โดยสามารถทดสอบการแพ้ด้วยตนเองง่ายๆ ดังนี้

  • ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ โดยทาในปริมาณน้อยๆ บริเวณหลังใบหู หรือท้องแขน ก่อน
  • รออย่างน้อย 48-72 ชั่วโมง เพื่อดูสิ่งที่เกิดขึ้น หรือหากยังไม่มีอาการในช่วงนั้น ให้ลองทาติดต่อกันประมาณ 1-2 สัปดาห์
  • หากมีผื่นแดง มีตุ่มนูน คัน แสบ หรือผิวไหม้ แสดงว่า มีอาการแพ้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ไม่ควรใช้อย่างเด็ดขาด

เมื่อมีอาการแพ้เครื่องสำอางต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

  • หยุดใช้เครื่องสำอางที่คิดว่า เป็นสาเหตุของอาการแพ้ทันที โดยปกติแล้วเมื่อหยุดใช้งานอาการแพ้มักจะดีขึ้นและหายได้เอง
  • สามารถใช้ยาไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) ในการช่วยลดการอักเสบได้ แต่ยาเหล่านี้มักมีผลข้างเคียงการใช้งาน หากต้องการใช้ในบริเวณผิวหนังบอบบาง เช่น ใบหน้า ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อน
  • รักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังอยู่เสมอ แม้ว่าจะอยู่ในระยะอาการกำเริบก็ตาม เพราะหากผิวแห้งจะทำให้อาการแพ้รุนแรงขึ้น และเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกด้วย
  • ไม่ควรใช้เครื่องสำอางในช่วงที่มีอาการแพ้ แต่หากจำเป็นต้องใช้จริงๆ ก็ควรใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่อ่อนโยน และหลีกเลี่ยงการถูใบหน้า

แม้ว่าเครื่องสำอางจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้ แต่หากเราใช้อย่างระมัดระวัง ศึกษาส่วนประกอบของแต่ละผลิตภัณฑ์ให้ดีก่อนใช้งาน เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตัวเอง และทดสอบอาการแพ้ก่อนใช้ทุกครั้ง ก็จะช่วยให้ป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้เครื่องสำอางได้

ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะแพ้ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นิรวรรณ ธรรมขันธุ์, เเผยแพร่ความรู้จากการอบรม: นิยามเครื่องสำอางภายใต้กฎหมายของ อย. (https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=717), 5 February 2020.
Stephen Gill, How to get rid of an allergic reaction on the face (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321376.php), 5 February 2020.
WebMD, Skin Reactions to Beauty Products (https://www.webmd.com/allergies/cosmetics#2), 5 February 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สารอะไรในเครื่องสำอางที่ทำให้แพ้ได้
สารอะไรในเครื่องสำอางที่ทำให้แพ้ได้

เช็กกันหรือยัง ในเครื่องสำอางที่คุณใช้ มีสารต้องห้ามประกอบอยู่หรือเปล่า

อ่านเพิ่ม