ประจำเดือนไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

ไม่ใช่แค่เครียด แต่อาจมีความผิดปกติร้ายแรงเกิดขึ้นภายในร่างกายคุณ ต้องหมั่นตรวจเช็ก
เผยแพร่ครั้งแรก 1 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ประจำเดือนไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ประจำเดือนไม่มาเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้หญิงยุคปัจจุบัน มีอาการคือ ไม่มีประจำเดือนเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ หรือขาดประจำเดือนไปอย่างน้อย 3 รอบ
  • การตั้งครรภ์เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ประจำเดือนไม่มา นอกจากนั้นอาจเกิดจากความเครียด การใช้ยาคุมกำเนิด อายุ น้ำหนักตัว หรือโรคประจำตัว
  • เมื่อมีอาการขาดประจำเดือนเป็นระยะเวลานาน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัด เพราะอาจเกิดจากความผิดปกติภายในร่างกายได้ เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ภาวะพังผืดในมดลูก
  • วิธีรักษาอาการประจำเดือนไม่มามีหลายวิธี ได้แก่ การใช้ยาบางชนิด การผ่าตัด และการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต 
  • วิธีป้องกันอาการประจำเดือนไม่มาที่ดีที่สุดคือ การหมั่นสังเกตตนเองว่ามีความผิดปกติอื่นใดหรือไม่ หากผิดปกติอย่านิ่งเฉยคิดว่า "เดี๋ยวก็หาย" เด็ดขาด (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหญิง และตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิงได้ที่นี่)

การที่ "ประจำเดือนไม่มา” หรือขาดประจำเดือน (Amenorrhea) หลายคนอาจดีใจเพราะคิดว่า กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับครอบครัวที่อยากมีลูก แต่จะกลายเป็นปัญหาทันทีหากคุณไม่ได้ต้องการแบบนั้น หรือไม่ทราบสาเหตุของอาการที่เกิด

ดังนั้นหากประจำเดือนไม่มา คุณผู้หญิงอย่าชะล่าใจเด็ดขาด แต่ควรรีบหาสาเหตุให้แน่ชัด แล้วแก้ไขให้ถูกจุดก่อนที่ร่างกายจะป่วย หรือมีความผิดปกติจนสายเกินแก้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รู้จักกับอาการประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่มา หมายถึง การหายไปของประจำเดือนในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เช่น อายุ 15 ปี แล้วยังไม่มีประจำเดือน หรือการขาดประจำเดือนไปอย่างน้อย 3 รอบ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประจำเดือนขาดไปคือ “การตั้งครรภ์”

สาเหตุอื่นๆ ที่พบมาก ได้แก่ ความเครียด การกินยาคุมกำเนิด สุขภาพไม่แข็งแรง น้ำหนักตัวน้อยไป ออกกำลังมากไป และอายุเพิ่มมากขึ้น

สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนไม่มา

1. ตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์เป็นการตั้งข้อสันนิษฐานอันดับแรกในกรณีนี้ ทั้งนี้ช่วงเวลาที่ประจำเดือนไม่มานั้นจะยาวนานไปจนถึงช่วงระหว่างให้นมบุตรด้วย

2. ความเครียด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาผิดปกติ โดยเฉพาะ Working woman ทั้งหลายที่มีภาระเรื่องงานให้ต้องคิดมากมาย หรือบางคนที่มีเรื่องส่วนตัวจนทำให้เครียด เนื่องจากความเครียดจะส่งผลต่อสมองส่วนที่ควบคุมฮอร์โมนเพศซึ่งทำให้การตกไข่ และการมีประจำเดือนผิดปกติไป

3. กินยาคุมกำเนิด

กลุ่มยาคุมกำเนิดมีผลโดยตรงกับฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นหากรับประทานยาคุมกำเนิดนานๆ อาจส่งผลให้ประจำเดือนขาดได้

4. สุขภาพไม่แข็งแรง

หลายคนมีสาเหตุจากมีโรคประจำตัว หรือไม่สบายบ่อย บ่อยครั้งที่ประจำเดือนมาและไม่มา สลับเดือนกัน หรือบางครั้งประจำเดือนไม่มามากกว่าเดือนที่มาเสียอีก

กลุ่มคนเหล่านี้อาจต้องรับประทานยาเพื่อให้ประจำเดือนมาตามปกติ และอาจต้องพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ไม่เพียงเท่านั้นการที่สุขภาพไม่แข็งแรงยังมักส่งผลทำให้มีบุตรยากเมื่อต้องการตั้งครรภ์ด้วย

5. น้ำหนักตัวน้อยไป

ผู้ที่น้ำหนักตัวน้อยเกินไปคือ มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าน้ำหนักปกติมากกว่า 10% จะส่งผลรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายจนมีผลต่อกระบวนการตกไข่ และการมีประจำเดือน

6. ออกกำลังกายมากเกินไป

ผู้หญิงที่ออกกำลังกายบางประเภทที่ค่อนข้างหนัก และต้องใช้พลังงานมากจนมีผลให้ไขมันในร่างกายน้อยเกินไป ร่างกายจะเกิดความเครียดทำให้ฮอร์โมนเพศหญิงต่ำมีผลให้ประจำเดือนขาด และอาจส่งผลให้กระดูกไม่มีความแข็งแรง

7. ประจำเดือนเปลี่ยนไปจากอายุที่มากขึ้น

เมื่อคุณเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุประมาณ 50 ปี ช่วงนี้ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนน้อยลงตามธรรมชาติจึงอาจมีการขาดประจำเดือนได้

โดยจะเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน ได้แก่

  • ประจำเดือนค่อยๆ น้อยลง หรืออาจมีมากกว่าปกติ
  • ขาดประจำเดือน
  • รอบเดือนสั้นลง
  • มีอาการก่อนมีประจำเดือนที่เปลี่ยนไป หรือมีอาการก่อนมีประจำเดือนร่วมกับอาการของวัยทอง เช่น ร้อนวูบวาบ หรือมีปัญหาด้านการนอน

8. ความผิดปกติที่อวัยวะอื่นๆ

หากคิดว่าสุขภาพก็แข็งแรงดี สภาวะจิตใจก็ดี ไม่มีเรื่องเครียดใดๆ แต่ขาดประจำเดือนก็จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุแก้ไขอย่างจริงจัง เพราะอาจเกิดจากความผิดปกติที่อวัยวะอื่นๆ ที่มีผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศในร่างกายได้ เช่น

  • ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovary syndrome: PCOS)
  • การทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
  • มีเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง
  • ภาวะพังผืดในมดลูก (Asherman's syndrome)

การวินิจฉัยประจำเดือนไม่มา

การวินิจฉัยมีหลายขั้นตอนที่แพทย์ใช้เพื่อตรวจสอบว่า คุณขาดประจำเดือนหรือไม่ 

ขั้นแรกแพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับอาการเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น จากนั้นแพทย์อาจตรวจภายใน และตรวจการตั้งครรภ์เพื่อตัดสาเหตุเรื่องการตั้งครรภ์ออกไป

การทดสอบสำหรับการขาดประจำเดือนอาจประกอบด้วย

  • การตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน
  • การตรวจสารพันธุธรรม
  • การอัลตราซาวด์ (Ultrasound) บริเวณท้องน้อย
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
  • การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

การรักษาภาวะประจำเดือนไม่มา

การรักษาที่แพทย์จะแนะนำนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดการขาดประจำเดือน การรักษาอาจประกอบด้วยการใช้ยา การผ่าตัด การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต หรือทั้ง 3 วิธีร่วมกัน

1. การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต

  • ค่อยๆ ทำให้ร่างกายมีน้ำหนักที่เหมาะสมและพยายามคงระดับน้ำหนักนั้นไว้ (หากมีน้ำหนักน้อย หรือมากเกินไป)
  • ลดความเครียด
  • หากเป็นนักกีฬาอาจใช้การปรับการฝึกฝนร่างกาย หรือปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน

2. การรักษาโดยการใช้ยา

3. การผ่าตัดสำหรับการขาดประจำเดือน

  • การตัดพังผืดภายในมดลูกออก
  • การตัดเนื้องอกของต่อมใต้สมองออก

การที่ประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ปกติ เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยสำหรับผู้หญิงสมัยนี้ ถึงแม้จะทำให้ใครหลายคนเกิดความกังวลอยู่บ้าง แต่ข้อดีคือ ทุกวันนี้ข่าวสารและการแพทย์พัฒนาไปไกลทำให้เราสามารถหาข้อมูลและวิธีการแก้ไขได้ทันท่วงที

แต่ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ สิ่งแรกที่ต้องทำคือ “การปรึกษาแพทย์” จากนั้นจึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามความเหมาะสม การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจะช่วยให้เรากลับมามีสุขภาพที่ดี และมีวิถีชีวิตที่ปกติได้

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพหญิง ตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับผู้หญิง เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
MedicineNet (2013). Menstruation (Menstrual Cycle). (https://www.medicinenet.com/menstruation/article.htm)
Watson, S. Healthline (2018). Stages of Menstrual Cycle. (https://www.healthline.com/health/womens-health/stages-of-menstrual-cycle)
Mayo Clinic (2014). Diseases Conditions. Premenstrual Syndrome (PMS). (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/premenstrual-syndrome/symptoms-causes/syc-20376780)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป