กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 9 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบเกิดจากการที่รังไข่มีการผลิตฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติส่งผลให้ไข่เจริญเติบโตและถูกปล่อยออกมามากกว่าปกติด้วย มาดูกันว่าภาวะดังกล่าวเป็นอย่างไรและจะมีวิธีการรักษาหรือไม่ 

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบคืออะไร

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) หรือ PCOS เป็นปัญหาทางสุขภาพที่พบได้ทั่วไปซึ่งอาจส่งผลต่อสาวๆ โดยอาจทำให้รอบเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรืออาจทำให้รอบเดือนขาด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของการเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

แพทย์ไม่สามารถยืนยันถึงสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่ภาวะนี้เกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนเพศ ซึ่งทั้งหญิงและชายต่างมีการผลิตฮอร์โมนเพศในปริมาณที่แตกต่างกัน สำหรับผู้หญิงรังไข่จะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนรวมถึงฮอร์โมนแอนโดรเจน ฮอร์โมนเหล่านี้จะคอยควบคุมรอบการมีประจำเดือนของหญิงสาวและการตกไข่ ส่วนฮอร์โมนแอนโดรเจนเป็น "ฮอร์โมนเพศชาย" ทว่าร่างกายของหญิงก็มีการผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ด้วยเช่นกัน โดยผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบนั้นจะมีการผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนมากกว่าปกติ 

นอกจากนี้ นักวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าผู้ที่มีภาวะนี้มีการผลิตสารอินซูลินในร่างกายจำนวนมากซึ่งจะคอยกระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากภาวะนี้ส่งผลต่อพันธุกรรมได้ หากมีคนในครอบครัวเป็นโอกาสที่คุณจะเป็นก็มีสูงขึ้นด้วย

กระบวนการเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

การที่ระดับของฮอร์โมนแอนโดรเจนสูงขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของไข่และการตกไข่ เพราะแทนที่ไข่จะเจริญเติบโตเต็มที่ตามปกติแต่กลับเกิดถุงซีสต์หลายใบแทน และแทนที่กระบวนการตกไข่จะเกิดขึ้นตามปกติ กลายเป็นว่ามีถุงซีสต์จำนวนหนึ่งเกิดขึ้นในรังไข่แทน นอกจากนี้ถุงน้ำเหล่านี้ยังสามารถขยายใหญ่ขึ้นได้ หญิงที่มีภาวะนี้จะไม่มีกระบวนการไข่ตกเกิดขึ้นในแต่ละรอบเดือน ดังนั้นพวกเธอจึงมีประจำเดือนมาผิดปกติหรือรอบเดือนขาดหายไป  

ผลที่เกิดจากการมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ผู้ที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบและไม่ได้รับการรักษามีโอกาสที่จะเกิดปัญหาและภาวะทางสุขภาพอื่นๆ ตามมา เช่น

  • มีบุตรยาก
  • ผมและขนตามร่างกายยาวเร็วมากผิดปกติ
  • เป็นสิวและอาจเป็นเยอะมาก
  • อ้วนมากและน้ำหนักขึ้นเร็ว
  • มีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคความดันโลหิตสูง
  • มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด

เนื่องจากภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบยังไม่มียารักษาแต่ภาวะดังกล่าวมีวิธีการที่สามารถรักษาให้หายได้ ดังนั้นกระบวนการสำคัญในการรักษาคือการวินิจฉัยโรค เพราะการรักษาภาวะนี้จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการพัฒนาไปเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้   

สัญญาณบอกอาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

สัญญาณบอกอาการของภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบคือการมีประจำเดือนมาผิดปกติหรือรอบเดือนขาดหายไป เพราะภาวะนี้จะส่งผลให้ไม่มีการตกไข่ อย่างไรก็ตามเด็กผู้หญิงที่เพิ่งมีรอบเดือนอาจสังเกตภาวะนี้ได้ยาก เนื่องจาก 2 ปีแรกของการเริ่มมีรอบเดือน รอบเดือนของพวกเธอจะยังมาไม่สม่ำเสมอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ด้วยระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ภายในร่างกาย ไม่ใช่แค่เรื่องรังไข่เท่านั้น แต่แพทย์ยังดูได้จากสัญญาณเหล่านี้ด้วย

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น อ้วน หรือรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีไขมันเพิ่มขึ้นมากบริเวณรอบเอว
  • เกิดภาวะขนดก โดยเด็กผู้หญิงมีขนมากเกินไป มีลักษณะคล้ายกับที่พบในเพศชาย เช่น มีขนบนใบหน้า หน้าอก หน้าท้อง บริเวณหัวนม หรือหลัง (หากมีเพียงเล็กน้อยถือว่าเป็นเรื่องปกติ)
  • ผมร่วงเป็นหย่อมๆ
  • มีสิวเสี้ยนและสิวอุดตันมากกว่าปกติ
  • มีผิวหนังช้าง คือ มีรอบดำบริเวณผิวหนังที่หนา เช่น คอ รักแร้ หรือหน้าอก เป็นต้น
  • มีภาวะความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

เด็กผู้หญิงที่มีสัญญาณการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าปกติ อย่างการมีขนตามส่วนต่างๆ ของร่างกายขึ้นก่อนอายุ 8 ปี อาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ 

การวินิจฉัยโรค

หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ แพทย์จะแนะนำให้คุณรับการตรวจวินิจฉัยภาวะดังกล่าว

สูติแพทย์หรือนักวิทยาต่อมไร้ท่อจะสอบถามเกี่ยวกับอาการ ประวัติทางสุขภาพทั้งของคุณเองและของคนในครอบครัว อาการแพ้ต่างๆ ที่คุณมี การใช้ยารักษาโรค และเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แพทย์อาจมีการถามคำถามคุณเยอะสักหน่อยโดยเฉพาะเรื่องของการมีรอบเดือน ซึ่งการสอบถามเรื่องต่างๆ เหล่านี้ เรียกว่า การซักประวัติทางการแพทย์

จากนั้นแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ซึ่งรวมถึงการชั่งน้ำหนักและตรวจเช็คอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น สิว ขนที่ขึ้น หรือสีของผิวหนังบางจุดที่ดำคล้ำ เป็นต้น นอกจากนี้แพทย์จะทำการตรวจยีนด้วยเพื่อหาสาเหตุอื่นๆ ของอาการ อย่างไรก็ตามแพทย์บางท่านอาจไม่มีการตรวจยีนซึ่งจะขึ้นอยู่กับอาการและความจำเป็นของผู้ป่วยแต่ละราย

ไม่เพียงเท่านี้ แพทย์อาจมีการตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีสิ่งใดผิดปกติหรือไม่ อย่างการตรวจไทรอยด์ รังไข่ หรือต่อมต่างๆ การตรวจดังกล่าวเป็นการวัดระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน สารอินซูลิน และระดับของฮอร์โมนอื่นๆ ด้วย ผลจากการตรวจจะช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจแนวทางการรักษาได้ นอกจากนี้แพทย์อาจกำหนดให้มีการตรวจอัลตร้าซาวด์บริเวณอุ้งเชิงกรานด้วยเพื่อดูความผิดปกติของรังไข่ว่ามีซีสต์หรือไม่ ทว่าบางครั้งซีสต์อาจไม่สามารถมองเห็นได้จากการอัลตร้าซาวด์เสมอไป ดังนั้นวิธีนี้จึงไม่ได้ผลซะทีเดียว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การวินิจฉัยและการรักษาภาวะนี้ตั้งแต่เริ่มต้นมีอาการนั้นสำคัญมากเพราะหากปล่อยทิ้งไว้ภาวะดังกล่าวอาจนำไปสู่โรคที่ร้ายแรงต่อไปได้ และหากในอนาคตคุณต้องการมีบุตรการตรวจเช็คนี้จะช่วยให้คุณวางแผนครอบครัวได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยากได้ แต่หากภาวะนี้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม คุณก็ยังมีโอกาสที่จะมีบุตรที่คลอดออกมาแข็งแรงสมบูรณ์ปกติ

อย่างไรก็ตามยังมีหญิงสาวอีกจำนวนมากที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบแต่ยังสามารถตั้งครรภ์ได้หากมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์คุณควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง

การรักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบไม่มียารักษา แต่มีวิธีการที่จะช่วยควบคุมและลดอาการที่เกิดจากภาวะนี้ได้

  • การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย
  • การใช้ยารักษา

หากคุณมีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐานและอ้วน แพทย์จะแนะนำให้คุณลดน้ำหนัก เนื่องจากการลดน้ำหนักจะช่วยลดปัจจัยและโอกาสในการเกิดภาวะนี้ลงได้ เช่น การเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน นอกจากนี้การลดน้ำหนักยังช่วยทำให้ระดับฮอร์โมนกลับมาสู่ระดับปกติทำให้อาการที่เกิดขึ้นทุเลาลงและลดโอกาสเป็นโรคอื่นๆ ตามมา

แพทย์หรือนักโภชนาการสามารถช่วยคุณโดยการแนะนำวิธีการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และช่วยออกแบบโปรแกรมลดน้ำหนักให้กับคุณได้ นอกจากนี้การออกกำลังกายถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ดีมากในการลดน้ำหนัก ทั้งยังช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อซึ่งเป็นอาการของผู้ที่มีภาวะนี้ได้ด้วย

แพทย์อาจสั่งยาเพื่อบรรเทาภาวะนี้ โดยแพทย์อาจเริ่มด้วยการให้ผู้ป่วยทานยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนและช่วยรักษารอบเดือนให้มาเป็นปกติ ไม่เพียงเท่านี้ยาเม็ดคุมกำเนิดยังช่วยลดสิวและขนที่เกิดขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามวิธีการนี้อาจไม่ได้ผลกับทุกคน

นอกจากนี้แพทย์อาจสั่งยายับยั้งฮอร์โมนแอนโดรเจนให้ผู้ป่วยทาน ซึ่งยาตัวนี้จะส่งผลต่อฮอร์โมนแอนโดรเจนที่ถูกผลิตออกมามากเกินไป ทั้งยังช่วยให้ผิวผ่องใสและลดปัญหาขนที่ยาวมากผิดปกติได้

พบว่ายารักษาโรคเบาหวาน อย่าง metformin ก็สามารถลดระดับอินซูลินได้ โดยตัวยาสามารถช่วยควบคุมการตกไข่และระดับของฮอร์โมนแอนโดรเจน วิธีนี้จะช่วยให้รอบเดือนมาอย่างสม่ำเสมอมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่ายา metformin ยังส่งผลให้ผู้ใช้ยามีน้ำหนักลดและมีระดับความดันโลหิตลดลงด้วย

การจัดการกับอาการข้างเคียง

เด็กผู้หญิงที่มีภาวะนี้อาจสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง โชคดีที่ว่ายังมีหลายวิธีการที่สามารถทำได้เพื่อช่วยลดอาการและรักษาภาวะทางอารมณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์บางอย่างยังสามารถกำจัดขนในส่วนที่ไม่ต้องการได้ด้วย อย่างครีมกำจัดขนที่สามารถกำจัดขนบนใบหน้า ขนหนวด หรือขนบริเวณคาง เป็นต้น แนะนำให้อ่านคำแนะนำบนฉลากให้ละเอียดก่อนใช้เพื่อเลี่ยงอาการคันและผื่นแพ้

นอกจากนี้การถอนและการแว็กซ์ขนไม่ว่าจะทำเองที่บ้านหรือเข้าร้านเสริมสวยก็สามารถจัดการกับขนที่ยาวได้ โดยแพทย์ผิวหนังหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการกำจัดขนสามารถใช้เครื่องกำจัดขนไฟฟ้าหรือการเลเซอร์ขนเพื่อการกำจัดขนในระยะยาว แต่การเลเซอร์นั้นมีราคาค่อนข้างแพง

การทานยาเม็ดคุมกำเนิดหรือยายับยั้งฮอร์โมนแอนโดรเจนอาจทำให้ผู้เป็นสิวรุนแรงมีอาการดีขึ้น หากวิธีการนี้ไม่ได้ผลแพทย์จะแนะนำให้คุณรับการรักษาโดยแพทย์ผิวหนัง ซึ่งแพทย์จะสั่งยาให้ผู้ป่วยทานเพื่อลดผิวที่ดำคล้ำและช่วยไม่ให้ขนยาวขึ้น

เด็กผู้หญิงที่มีภาวะนี้อาจมีอาการซึมเศร้า ซึ่งการขอคำปรึกษาจากนักบำบัดหรือจิตแพทย์จะช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าได้ นอกจากนี้การพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ที่เคยมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบเป็นวิธีการที่ดีมากวิธีหนึ่ง แนะนำให้สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มหรือสมาคมผู้ที่เคยมีภาวะนี้จากแพทย์หรือค้นหาข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ต

บทความที่เกี่ยวข้อง

รีวิว ตรวจ PCOS ด้วยชุดตรวจถุงน้ำรังไข่หลายใบจาก Yesmom (Leevawell) | HDmall
รีวิว ตรวจภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ด้วยชุดตรวจฮอร์โมน Yesmom (Leevawell) | HDmall


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Polycystic ovary syndrome. (2016, March 18). Retrieved form (http://www.nhs.uk/Conditions/Polycystic-ovarian-syndrome/Pages/Introduction.aspx)
PCOS and diabetes, heart disease, stroke. (2016, October 11) (https://www.cdc.gov/diabetes/library/spotlights/pcos.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป