ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (Abnormal uterine bleeding; AUB)

เผยแพร่ครั้งแรก 3 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (Abnormal uterine bleeding; AUB)

หากสาวๆ พบว่ารอบเดือนยังมาไม่ปกติหรือสม่ำเสมอนั่นอาจเพราะร่างกายของคุณกำลังเจริญเติบโตสู่วัยสาว ทว่าบางทีอาจเป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนเลือด ซึ่งเป็นสัญญาณหนึ่งของภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูกได้

ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก หรือ AUB คืออะไร

ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก หรือ AUB (Abnormal uterine bleeding) เป็นชื่อที่แพทย์ใช้ระบุอาการเมื่อเด็กหญิงมีประจำเดือนมาผิดปกติ หรือบางทีแพทย์อาจเรียกภาวะเช่นนี้ในอีกชื่อหนึ่งคือ DUB (Dysfunctional uterine bleeding) เช่นเดียวกันกับชื่อของโรคหรืออาการอื่นๆ ที่ฟังดูแล้วน่ากลัว ซึ่งแท้จริงแล้วอาการอาจไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เช่นเดียวกันกับภาวะ AUB ที่เกิดขึ้นกับเด็กสาวที่ไม่ได้เป็นอาการที่น่าวิตกกังวลเลย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก หรือ AUB หมายถึง การที่รอบเดือนมามากหรือมาในระยะเวลานานกว่าปกติ หรือรอบเดือนอาจไม่มาเอาซะเลย โดยการมีเลือดออกช่วงที่ไม่ได้มีรอบเดือนก็เป็นสัญญาณหนึ่งของภาวะ AUB ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม AUB ไม่ได้เป็นโรคหรืออาการที่น่ากังวลหรือเป็นปัญหาใหญ่ ทว่าภาวะนี้อาจนำไปสู่โรคโลหิตจางได้

หากเด็กสาวคนหนึ่งมีภาวะ AUB เธอจะมีรอบเดือนที่นานและมากกว่าปกติมากหรืออาจมาน้อยมากและอาจไม่มาเลย

เนื่องจากภาวะ AUB ไม่ได้ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้นแพทย์จะไม่มีกระบวนการใดๆ ในการรักษา แต่หากแพทย์พบว่าเงื่อนไขทางการรักษาบางประการอาจเป็นสาเหตุของภาวะ AUB แพทย์จึงจะวินิจฉัยหาสาเหตุและทำการรักษาต่อไป หรือแพทย์จะรักษาภาวะนี้เมื่อภาวะ AUB เป็นต้นเหตุของโรคหรืออาการอื่นๆ โดยแพทย์จะเริ่มกังวลหากพบว่า เด็กหญิงคนหนึ่งมีเลือดออกมากเกินไปหรือมากกว่าที่ควรจะเป็น

อะไรคือสาเหตุของภาวะนี้

ส่วนใหญ่แล้วภาวะ AUB จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย สำหรับสาวๆ วัยรุ่นแล้ว สาเหตุที่ทำให้ระดับของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงคือ การที่ร่างกายไม่ผลิตไข่จากรังไข่ เรียกว่า ภาวะไข่ไม่ตก (Anovulation) เพราะการมีไข่ตกถือเป็นกระบวนการหนึ่งของการมีรอบเดือน และหากเด็กผู้หญิงไม่มีไข่ตก ก็จะทำให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงส่งผลให้รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอหรือมีประจำเดือนมากผิดปกติได้

ภาวะไข่ไม่ตกมักเกิดขึ้นกับเด็กหญิงที่เริ่มต้นมีรอบเดือน เนื่องจากระบบการทำงานของสมองที่ส่งไปยังระบบสืบพันธุ์เกี่ยวกับการตกไข่ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้นอาจต้องใช้เวลากว่า 2-3 ปี ที่พวกเธอจะมีรอบเดือนมาปกติ

ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่นำมาสู่ภาวะ AUB ได้อีก เช่น อาการป่วยหรือโรคบางอย่าง อย่างไทรอยด์หรือภาวะที่มีถุงน้ำรังไข่หลายใบ ก็สามารถส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกายได้ นอกจากนี้ ปัญหาอื่นๆ อาจเป็นสาเหตุได้ เช่น การออกกำลังกายอย่างหักโหม การทานอาหารไม่ครบหมู่หรือขาดสารอาหาร และความเครียด ก็เป็นสาเหตุได้ด้วย ไม่เพียงเท่านี้ ภาวะ AUB ที่มีเลือดออกมากๆ ก็มีสาเหตุมาจากโรคเกี่ยวกับเกล็ดเลือด อย่างโรค von Willebrand disease เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สัญญาณบอกอาการของภาวะ AUB

ภาวะที่ประจำเดือนมาเป็นจำนวนมากสามารถเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราวกับผู้หญิงทุกคน แล้วคุณจะทราบได้อย่างไรว่าเกิดภาวะ AUB กับคุณ? มีเพียงแพทย์เท่านั้นที่จะวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง ซึ่งมีสัญญาณที่บอกได้ว่าคุณกำลังมีภาวะ AUB โดยสิ่งที่จะเตือนคุณได้คือการสังเกตแบบ 1-10-20 ดังนี้

  • คุณใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 1 แผ่นใน 1 ชั่วโมง
  • รอบเดือนมามากกว่า 10 วัน
  • ช่วงเว้นจากการมีรอบเดือนน้อยกว่า 20 วัน

หากคุณสังเกตพบความผิดปกติดังที่กล่าวมา แนะนำให้พบแพทย์ นอกจากนี้การมีเลือดออกช่วงที่เว้นจากการมีรอบเดือนหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นสัญญาณของภาวะ AUB เช่นกัน

หากรอบเดือนของคุณไม่มานานกว่า 3 เดือน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เช่นกัน และการที่ไม่ไม่รอบเดือนมาเลยจะส่งผลให้เนื้อเยื่อเกาะตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในมดลูก ซึ่งเลือดก็จะไหลออกมาในที่สุด

จะวินิจฉัยอาการของภาวะ AUB ได้อย่างไร

แพทย์จะหาสาเหตุของอาการเลือดออกจากโรคหรือปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ ก่อนที่จะระบุว่าคุณมีภาวะ AUB เช่น แพทย์วินิจฉัยว่าเด็กหญิงคนหนึ่งมีเลือดออกมากเกิดจากโรคเกี่ยวกับเกล็ดเลือดที่เรียกว่าโรค von Willebrand disease เป็นต้น โดยการวินิจฉัยภาวะ AUB แพทย์จะถามคำถามเกี่ยวกับรอบเดือนและการมีเลือดออก โดยแพทย์จะถามคุณเกี่ยวกับวันที่คุณเริ่มมีรอบเดือนครั้งสุดท้าย

นอกจากนี้ แพทย์อาจถามคำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับรอบเดือนเลย เช่น น้ำหนักตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงล่าสุด หรือถามว่าคุณเคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่ แพทย์จำเป็นต้องถามคำถามเหล่านี้เนื่องด้วยเงื่อนไขทางสุขภาพหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจเป็นสาเหตุของการมีเลือดออก เพราะหากเป็นโรคเหล่านี้และไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลให้เป็นโรคหรือมีอาการที่ร้ายแรงมากขึ้นได้ เช่น ภาวะการมีบุตรยาก

หญิงที่มีเพศสัมพันธ์และรอบเดือนขาดจำเป็นต้องพบแพทย์ เพราะการที่รอบเดือนขาดอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์หรืออาจเป็นสัญญาณของภาวะ AUB ได้เช่นกัน ในทางกลับกัน หากมีเลือดออกมากหรือมีเลือดช่วงที่ไม่ได้มีรอบเดือน อาจเป็นผลมาจากการติดเชื้อหรือปัญหาอื่นๆ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งจะทำให้มีเลือดออกมากและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและอาจตรวจภายในร่วมด้วย และบางครั้งแพทย์จะสั่งให้มีการตรวจเลือดหรือตรวจอัลตราซาวด์ ซึ่งการตรวจเลือดจะแสดงให้เห็นได้ว่าเด็กคนนั้นมีภาวะโลหิตจางด้วยหรือไม่

การรักษาภาวะ AUB

แพทย์จะทำการรักษาภาวะ AUB ตามอาการที่เกิดขึ้นและตามสาเหตุที่ทำให้มีเลือดออกมาก หากคุณมีเลือดออกมาก แพทย์จะตรวจเลือดเพื่อหาภาวะโลหิตจางและจะสั่งยาเสริมธาตุเหล็กให้ทานหรือใช้วิธีการักษาอื่นๆ หากมีเลือดออกน้อยมากหรือเลือดออกผิดปกติเป็นระยะเวลานาน แพทย์มักจะสั่งให้ทานยาคุมกำเนิด เนื่องจากยาคุมกำเนิดมีส่วนประกอบของฮอร์โมนที่จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายเพื่อให้รอบเดือนมาปกติได้

เด็กสาวส่วนใหญ่ต้องการเวลาเพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวกับฮอร์โมน จนกว่ารอบเดือนของพวกเธอจะมาเป็นปกติในที่สุด หากคุณกังวลว่ารอบเดือนของคุณมาไม่ปกติ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/aub.html


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Abnormal Uterine Bleeding: Causes, Diagnosis, and Treatment. American Academy of Family Physicians. (https://familydoctor.org/condition/abnormal-uterine-bleeding/)
Abnormal uterine bleeding. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/000903.htm)
Abnormal Uterine Bleeding: Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/women/abnormal-uterine-bleeding)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป