กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ยาแก้อักเสบ กินอย่างไรให้ถูกต้อง เลี่ยงอันตรายจากการใช้ยา

ยาแก้อักเสบที่คุ้นเคย มีผลข้างเคียงกับร่างกาย อ่านผลกระทบเพื่อทำความเข้าใจ และกินยาแก้อักเสบอย่างถูกวิธี
เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาแก้อักเสบ กินอย่างไรให้ถูกต้อง เลี่ยงอันตรายจากการใช้ยา

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • “ยาแก้อักเสบ” มีอีกชื่อเรียกว่า “ยาปฏิชีวนะ” แต่ให้สรรพคุณที่ต่างกัน ยาแก้อักเสบใช้รักษาอาการอักเสบที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ส่วนยาปฏิชีวนะ ใช้รักษาเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บคอ
  • คุณต้องระมัดระวังอย่ารับประทานยา 2 กลุ่มนี้สลับกัน เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้
  • ยาแก้อักเสบมีวิธีรับประทานที่ถูกต้องอยู่ เช่น ต้องดื่มน้ำตามมากๆ หลังรับประทานยา หากลืมรับประทาน ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ตับ ไต หรือมีแผลในกระเพาะอาหารต้องระวังการใช้ยา 2 กลุ่มนี้
  • ระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาแก้อักเสบมีความแตกต่างกันตามชนิดยา รวมถึงปริมาณการรับประทานจะแตกต่างไปตามอาการป่วยด้วย ซึ่งผู้ป่วยต้องให้แพทย์ หรือเภสัชกรเป็นผู้แนะนำ และสั่งจ่ายยา
  • หากคุณพบว่า ตนเองมีอาการหายใจไม่ออก ปากบวม แน่นหน้าอก ซึ่งคล้ายกับอาการแพ้ยา ให้รีบไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจเช็กอาการทันที (ดูแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้ และภาวะได้ที่นี่)

หากรู้สึกเจ็บคอ หรือมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ควรต้องใช้ยาอะไรระหว่าง "ยาแก้อักเสบ" กับ "ยาปฏิชีวนะ"  ถ้ายังลังเลไม่แน่ใจว่าจะต้องใช้ยาชนิดไหน แนะนำให้อ่านบทความนี้ เพราะหากเลือกใช้ยาผิดอาจทำให้เกิดอันตรายจากการใช้ยาได้ 

ยาแก้อักเสบกับยาฆ่าเชื้อต่างกันอย่างไร?

  1. ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) หรือยาฆ่าเชื้อ มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในลำคอ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอเนื่องจากการเป็นโรคหวัด
  2. ยาแก้อักเสบชนิดเม็ดรับประทาน และชนิดฉีด (Anti-Inflammatory drugs) ใช้สำหรับรักษาอาการอักเสบที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ หรือข้ออักเสบ โดยสามารถหาซื้อยากลุ่มนี้ได้ตามร้านขายยาทั่วไป

ดังนั้นคุณต้องระมัดระวังอย่าจำสับสนกันระหว่างการใช้ตัวยาทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นอันขาด เพราะการรับประทานยาผิด นอกจากจะไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ตามมาได้

วิธีการกินยาแก้อักเสบและยาฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง

  • ยาแก้อักเสบมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นควรรับประทานยาหลังอาหารเท่านั้น และหลังจากกินยาจะต้องดื่มน้ำตามมากๆ 
  • เมื่ออาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นทุเลาลงหลังรับประทานยา ต้องหยุดรับประทานทันที เพราะว่ายาแก้อักเสบเป็นยาที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการเท่านั้น
    หากกินติดต่อกันไปนานๆ จะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ เกิดภาวะความดันโลหิตสูงตามมา และนำไปสู่ภาวะไตวายได้ในที่สุด
  • เมื่อเป็นหวัด และมีอาการเจ็บคอจะต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อ หรือ "ยาปฏิชีวนะ" (Antibiotics) เท่านั้น อย่าจำสับสนกันเด็ดขาด
  • ผู้ที่มีโรคแผลในกระเพาะอาหาร หัวใจวาย โรคตับ โรคไต หรือความดันโลหิตสูง ควรระมัดระวังในการใช้ยา เพราะจะทำให้อาการแย่ลงได้
  • เมื่อรับประทานยาชนิดใดก็ตาม แล้วมีอาการผื่นคันขึ้นตามตัว แน่นหน้าอก ปากบวม ตาบวม หายใจลำบาก ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของอาการของการแพ้ยา
  • ยาแก้อักเสบชนิดเม็ดรับประทาน และชนิดฉีดมีคุณสมบัติแบบเดียวกัน แต่มีราคาไม่เท่ากัน โดยชนิดฉีดจะมีราคาที่แพงกว่าชนิดรับประทานถึง 10 เท่า
  • หากลืมรับประทาน ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม แต่ก็ยังดีกว่าการไม่ได้กินยาเลย

ควรกินยาแก้อักเสบกี่วัน

หากมีไข้ ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อนานเกิน 3 วัน และไม่ควรใช้ยาแก้อักเสบเพื่อบรรเทาอาการปวดเป็นเวลานานเกินกว่า 10 วัน เว้นแต่เป็นคำสั่งจากแพทย์

เพราะการใช้ยาแก้อักเสบติดต่อนานเกินไปจะทำให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้ ดังนั้นควรสอบถามวิธีการใช้ยา และระยะเวลาในการใช้ยาจากแพทย์ หรือเภสัชกรให้แน่ใจทุกครั้งที่ใช้

ระยะเวลาในการใช้ยาแก้อักเสบขึ้นอยู่กับชนิดของยา จุดประสงค์ของการรักษา และภาวะสุขภาพของผู้ป่วย 

ตัวยาแก้อักเสบอาจออกฤทธิ์ภายในไม่กี่ชั่วโมง หรืออาจใช้เวลานานกว่านั้น คือ ประมาณ 1-2 สัปดาห์กว่าจะเห็นผล ขึ้นอยู่กับประเภทของยาที่แพทย์สั่งให้ใช้ ซึ่งจะพิจารณาตามอาการ สุขภาพ อายุ และปัจจัยอื่นๆ ของผู้ป่วย 

โดยยาที่ออกฤทธิ์เร็วนั้นมักต้องรับประทานทุก 4-6 สัปดาห์ ซึ่งมักแนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อบาดเจ็บเฉียบพลัน ส่วนผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานอาจแนะนำให้รับประทานวันละ 1-2 ครั้งเท่านั้น

ยาแก้อักเสบเป็นยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่อย่าลืมว่า การกินยาแก้อักเสบจะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร ที่สำคัญผู้ป่วยต้องระบุถึงอาการที่เป็นอยู่ให้ชัดเจนเพื่อที่แพทย์ หรือเภสัชกรจะได้รักษาและจ่ายยาให้ได้อย่างถูกต้อง

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
แพทย์และกองบรรณาธิการ Uptodate, Patient education: Nonsteroidal antiinflammatory drugs (NSAIDs) (The Basics)(https://www.uptodate.com/conte...)
Daniel H Solomon, MD, MPH, Patient education: Nonsteroidal antiinflammatory drugs (NSAIDs) (Beyond the Basics) (https://www.uptodate.com/conte...), March 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

อ่านเพิ่ม