กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

กลาก (Ringworm)

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ธ.ค. 2016 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคกลาก (Ringworm) หรือที่เรียกกันว่า ขี้กลาก เป็นการติดเชื้อราที่ผิวหนังประเภทหนึ่ง โดยจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามส่วนของร่างกายที่เกิดการติดเชื้อ
  • โรคกลากสามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัส และไม่รักษาสุขอนามัยให้ดี
  • อาการเฉพาะของโรคกลากขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น เช่น คันที่ผิวหนัง ผิวหนังแดง เป็นขุย หรือแตก มีผื่นเป็นรูปวงแหวน ผมหรือขนร่วงในบริเวณที่เป็นโรค
  • การรักษาโรคกลากจะใช้ยาฆ่าเชื้อราที่ขายตามร้านค้าทั่วไป ทั้งในรูปแบบครีม เจล โลชั่น สเปรย์ และผงแป้ง แต่หากไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อรับยาชนิดรับประทานแทน
  • เมื่อเป็นโรคกลากควรรีบรักษาให้หายขาด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แต่หากยังไม่เคยเป็น ก็ควรรักษาความสะอาดและสุขอนามัยให้ดี ไม่ควรใช้สิ่งของส่วนรวมกับผู้อื่น (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

โรคกลาก (Ringworm Tinea หรือ Dermatophytosis) หรือที่เรียกกันว่า ขี้กลาก เป็นการติดเชื้อราที่ผิวหนังประเภทหนึ่งซึ่งสร้างความรำคาญใจให้แก่ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นอาการคัน ทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ ความไม่สวยงามและน่าอับอาย (หากเกิดที่ผิวหนังบริเวณที่สังเกตให้ง่าย) หรือเกิดการติดเชื้อมีหนอง น้ำเหลืองไหลซึมในบางจุด 

ชนิดของโรคกลากที่พบบ่อย

โรคกลากนี้มีหลายชื่อเรียกขึ้นกับส่วนของร่างกายที่มีการติดเชื้อ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • โรคกลากที่ลำตัว (Tinea corporis) หรือโรคกลากตามลำตัว เป็นการติดเชื้อที่ลำตัว และแขนขา
  • โรคกลากที่ใบหน้า (Tinea faciel) เป็นการติดเชื้อที่ใบหน้า
  • โรคกลากที่เท้า  (Tinea pedis) หรือโรคฮ่องกงฟุต เป็นการติดเชื้อที่เท้า
  • โรคกลากที่ขาหนีบและก้น (Tinea cruris หรือ Jock itch) หรือสังคัง เป็นการติดเชื้อที่ขาหนีบ ต้นขาด้านใน และก้น
  • โรคกลากที่เครา หนวก และลำคอ (Tinea  barbae) เป็นการติดเชื้อบริเวณเครา
  • โรคกลากที่มือ (Tinea manuum) เป็นการติดเชื้อที่มือ
  • โรคกลากที่หนังศีรษะ  (Tinea capitis) เป็นการติดเชื้อที่หนังศีรษะ
  • โรคกลากที่เล็บ (Tinea unguim หรือ Onychomycosis) เป็นการติดเชื้อที่เล็บมือ หรือเล็บเท้า

โรคกลากเกิดจากอะไร?

ถึงแม้ว่าโรคกลากจะเรียกว่า Ringworm แต่ก็ไม่ได้เกิดจากหนอน หรือปรสิตใดๆ แต่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งมีเชื้อราประมาณ 40 สายพันธุ์ในตระกูล Trichophyton Microsporum และ Epidermophyton ที่สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้ 

เชื้อราเหล่านี้จะเรียกว่า กลุ่มเดอร์มาโทไฟท์ (Dermatophytes)

รายงานในวารสาร Mycoses ปี 2008 ได้กล่าวว่า การติดเชื้อราตามร่างกาย (Tinea corporis) มักเกิดจากเชื้อ T. rubrum, M. canis หรือ T. Tonsurans เชื้อในกลุ่มนี้ชื่นชอบบริเวณที่อุ่นและชื้นเช่นเดียวกับเชื้อราชนิดอื่น และอาจมีการติดต่อได้ผ่านการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อราอย่างใกล้ชิด

โรคกลากเป็นโรคติดต่อหรือไม่?

โรคกลากถือเป็นโรคติดต่อสามารถติดเชื้อได้จากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีการติดเชื้อบนร่างกายโดยตรง

การสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อ โดยเฉพาะแมว สุนัข หมู และวัว การสัมผัสสิ่งของ หรือพื้นผิวที่มีการปนเปื้อนเชื้อรา เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน แปรงผม เก้าอี้ โถส้วม และการสัมผัสดินที่ปนเปื้อนเชื้อเป็นเวลานาน (พบได้น้อย)

แนวโน้มที่จะเป็นโรคกลากจะมากขึ้น หากมีสุขอนามัยที่ไม่ดี เช่น ผิวหนังมีการเปียกชื้นเป็นเวลานาน (เช่น มีเหงื่อออก) มีการบาดเจ็บที่เล็บ หรือผิวหนัง (แม้ว่าจะเป็นแผลเล็กๆ ก็ตาม) หรือการเล่นกีฬา หรือการเข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องมีการสัมผัสกับสัตว์ หรือคนอื่นอย่างใกล้ชิด เช่น มวยปล้ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนั้นความเสี่ยงในการเกิดโรคกลากจะเพิ่มขึ้นอีก หากภูมิคุ้มกันของร่างกายในตอนนั้นตกลง มีเลือดไหลเวียนน้อย เป็นภูมิแพ้ หรือมีการอักเสบของผิวหนังอีกด้วย 

อาการและระยะของโรคกลาก

อาการเฉพาะของโรคกลากขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็น แต่มักมีอาการดังต่อไปนี้

  • คันที่ผิวหนัง
  • ผิวหนังแดง เป็นขุย หรือแตก
  • มีผื่นเป็นรูปวงแหวน
  • ผม หรือขนร่วงในบริเวณที่เป็นโรค

โรคกลากมักจะเริ่มจากการเป็นจุด หรือปื้นสีแดง หรือชมพู จะเป็นแบบเรียบ หรือนูนก็ได้ บางรายแผลอาจมีความชื้น แต่ส่วนใหญ่จะแห้ง เป็นขุย และคัน ต่อมาผื่นจะมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่บริเวณตรงกลางของผื่นจะเริ่มจางลงทำให้เกิดเป็นรูปวงแหวนที่มีขอบนูนสีแดง 

หากมีการเกาผื่นจะทำให้ผิวหนังมีรอยแตกทำให้มีการติดเชื้อแบคทีเรียได้ หลังจากการเกาเมื่อไปสัมผัสกับส่วนอื่นของร่างกายเข้าก็อาจทำให้มีการแพร่เชื้อกลากจากส่วนนั้นเข้าสู่ส่วนที่เพิ่มขนาดได้ด้วย

การรักษาโรคกลาก

โรคนี้สามารถรักษาง่ายๆ โดยการใช้ยาฆ่าเชื้อราที่ขายตามร้านค้าทั่วไป ทั้งในรูปแบบครีม เจล โลชั่น สเปรย์ และผงแป้ง ตัวอย่างเช่น

  • Zeasorb Daktarin หรือ Lotrimin (Miconazole)
  • Canesten AF cream (Clotrimazole)
  • Nizoral Xolegel หรือ Extina (Ketoconazole)
  • Oxistat (Oxiconazole)

ยาฆ่าเชื้อราชนิดอื่นๆ ที่โฆษณาว่า สามารถใช้กับโรคกลากประเภทอื่น เช่น Jock itch หรือฮ่องกงฟุต ก็สามารถใช้กับโรคกลากที่ลำตัวได้เช่นกัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หากการใช้ยาในรูปแบบทายังไม่สามารถกำจัดการติดเชื้อกลากได้ในระยะเวลาหลายสัปดาห์ แพทย์อาจสั่งยาฆ่าเชื้อราชนิดรับประทาน เช่น

  • Gris – PEG (Griseofulvin)
  • Lamisil หรือ Terbinex (Terbinafine)
  • Diflucan (Fluconazole)
  • Sporanox หรือ Onmel (Itraconazole)

จะเห็นได้ว่า โรคกลากแม้จะไม่รุนแรงถึงแก่ชีวิตแต่ก็สร้างความทรมานต่อการใช้ชีวิตไม่น้อย อีกทั้งยังต้องใช้เวลาในการรักษาและสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้หากไม่ระวังตัว หรือไม่มีสุขอนามัยที่ดี 

ดังนั้นทางที่ดีที่สุด หากยังไม่เคยเป็นกลากก็ควรรักษาความสะอาดและสุขอนามัยให้ดี โดยเฉพาะควรงดการใช้สิ่งของส่วนรวมกับผู้อื่น 

หมั่นสังเกตว่าหากสัตว์เลี้ยงต่างๆ ที่บ้านกำลังติดเชื้อราอยู่ ควรรักษาให้ขาด การรักษาให้หายขาดนี้นอกจากจะป้องกันการแพร่เชื้อไปยังคนและสัตว์อื่นๆ แล้วยังช่วยป้องการกลับมาเป็นโรคกลากซ้ำอีกด้วย

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ringworm Pictures: What a Ringworm Rash Looks Like. WebMD. (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/ss/slideshow-ringworm)
Ringworm - Types of Diseases - Fungal Diseases. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/fungal/diseases/ringworm/index.html)
Ringworm: How to Treat, Causes, Symptoms, Pictures & Medicines. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/ringworm/article.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)