หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter (ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดจังหวะ)

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter คืออะไร หากเป็นแล้วจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือไม่ มีวิธีการรักษาและการป้องกันอย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 6 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Flutter (ภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดจังหวะ)

ทำความรู้จักภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ (Atrial Flutter: AF) คือ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) ชนิดหนึ่ง ที่ผู้ป่วยจะมีการเต้นของหัวใจห้องบน (Atria) เร็วกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจไม่ตรงกันระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่าง

นอกจากนี้ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟมักจะมีอาการคล้ายกับ "ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation)" ซึ่งเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่พบได้มากกว่า แต่ทั้ง 2 ภาวะนี้ไม่ได้เป็นภาวะเดียวกันแต่อย่างใด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ

โดยทั่วไป ผู้ป่วยที่มีภาวะนี้จะไม่รู้สึกถึงการเต้นถี่ๆ ของหัวใจ แต่จะมีอาการอื่นแสดงออกมาแทน ได้แก่

  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หายใจลำบาก 
  • หน้ามืด หรือเป็นลม
  • เจ็บ หรือแน่นหน้าอก
  • เวียนศีรษะ
  • ใจสั่น
  • มีปัญหาในการทำกิจกรรมประจำวันเนื่องจากอ่อนเพลีย

สาเหตุและปัจจัยทำให้เกิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ

มีมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ ได้แก่

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease): เกิดจากเส้นเลือดแดงของหัวใจมีการอุดตันโดยไขมันคอเลสเตอรอลที่เกาะอยู่บริเวณผนังหลอดเลือดแดง ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ช้าลง จนเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อหัวใจ ห้องหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจได้รับความเสียหาย โดยอัตราการเต้นของหัวใจที่เกิดจากปัจจัยนี้จะอยู่ที่ 240-340 ครั้งต่อนาที 
  • การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด (Open-Heart Surgery): การผ่าตัดหัวใจแบบเปิดอาจทำให้เกิดแผลเป็นที่หัวใจ ซึ่งจะไปขัดขวางสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจจนเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจจากปัจจัยนี้จะเต้นเร็วถึง 340-350 ครั้งต่อนาทีเลยทีเดียว 

นอกจากปัจจัยทั้ง 2 อย่างแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเพิ่มโอกาสเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ ได้แก่

  • สูบบุหรี่ และดื่มสุราเป็นประจำ
  • เป็นโรคหัวใจ หรือเป็นโรคของลิ้นหัวใจ (Heart Valve)
  • เคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด
  • มีความดันโลหิตสูง
  • เป็นโรคปอด หรือเป็นโรคเบาหวาน
  • เป็นโรคเครียด หรือโรควิตกกังวล
  • กำลังใช้ยาช่วยลดน้ำหนัก หรือใช้ยาบางชนิด

เมื่อผู้ป่วยมีปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดเอเอฟแล้ว ความผิดปกติดังกล่าวก็จะเกิดขึ้นกับ "ตัวควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจตามธรรมชาติ (Natural Pacemaker)" หรือ "ไซนัส โนด (Sinus Node)" ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ที่บริเวณหัวใจห้องบนขวา (Right Atrium) ทำหน้าที่คอยส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องบนขวาและซ้าย เพื่อบอกว่าเมื่อไรที่หัวใจควรจะหดตัว และจะหดตัวด้วยจังหวะเท่าไร 

โดยเมื่อเกิดความผิดปกติ ตัวไซนัส โนดนี้จะส่งสัญญาณไฟฟ้าออกมา แต่สัญญาณบางส่วนจะถูกส่งผ่านอย่างต่อเนื่องไปรอบๆ หัวใจห้องบนขวา ทำให้หัวใจห้องบนหดตัวเร็วขึ้น และส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นกว่าเดิม

การวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ

เมื่อผู้ป่วยมีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที แพทย์จะสันนิษฐานว่าผู้ป่วยอาจมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ ซึ่งหลังจากนั้นจะมีการซักประวัติครอบครัว และประวัติสุขภาพและการรักษาโรคอื่นๆ เพื่อนำมาใช้ในการวินิจฉัยเบื้องต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากแพทย์ไม่แน่ใจว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากภาวะดังกล่างหรือไม่ ก็อาจมีการส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมดังนี้

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ

การรักษาที่ใช้จะขึ้นกับความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีโรคหัวใจอื่นๆ ร่วมด้วย โดยเป้าหมายหลักของการรักษาก็คือ เพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ในเกณฑ์พอเหมาะ โดยมีทางเลือกในการรักษา ดังนี้

1. การใช้ยา

เป็นการรักษาเพื่อทำให้หัวใจเต้นช้าลง หรือเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ โดยการใช้ยาบางชนิดอาจทำให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้ร่างกายปรับตัวให้เข้ากับยา เช่น ยาในกลุ่มแคลเซียม แชนแนล บล็อคเกอร์ (Calcium Channel Blockers) ยาในกลุ่มเบต้า บล็อคเกอร์ (Beta-Blockers) หรือ ไดจอกซิน (Digoxin) 

แต่หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงมาก แพทย์อาจเลือกใช้ยาอื่นๆ เพื่อเปลี่ยนจังหวะการเต้นของหัวใจให้กลับมาเป็นปกติ เช่น อะมิโอดาโรน (Amiodarone) โพรพาฟีโนน (Propafenone) หรือ ฟลีคาไนด์ (Flecainide)

นอกจากนี้ แพทย์อาจจ่ายยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน (Warfarin) เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดแดงด้วย เนื่องจากผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

2. การผ่าตัด 

การรักษาโดยการผ่าตัดจะถูกใช้เมื่อแพทย์ไม่สามารถควบคุมโรคด้วยการใช้ยาได้ ซึ่งจะกระทำโดยการใช้สายสวน เพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่นำไฟฟ้าผิดปกติ (Ablation Therapy) และจะมีการทำลายเนื้อเยื่อหัวใจในบริเวณที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของภาวะจังหวะการเต้นหัวใจผิดปกติ และหลังจากการรักษาเสร็จสิ้น ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องติดเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) เพื่อช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจ

3. การรักษาทางเลือก

จะรักษาโดยการใช้ไฟฟ้ากระตุกเพื่อปรับอัตราการเต้นของหัวใจ (Cardioversion) หรือเรียกอีกอย่างว่า การช็อตด้วยไฟฟ้า (Defibrillation) โดยผู้ป่วยจะถูกติดแผ่นแปะไว้ที่บริเวณหน้าอก และแพทย์จะช็อตด้วยไฟฟ้าจากเครื่องส่งภายนอกร่างกาย

การป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ 

เราจะเห็นได้ว่าจากปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดเอเอฟ ส่วนหนึ่งนั้นเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาทีหลังในผู้ป่วยโรคหัวใจ ซึ่งวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี หมั่นไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอาการของโรคอยู่เสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด 

ส่วนในกลุ่มบุคลทั่วไปที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจหรือยังไม่มีความเสี่ยงใดๆ ที่จะเกิดภาวะนี้ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันก็คือ พยายามลดความเสี่ยงไม่ให้ตนเองเป็นโรคหัวใจ โดยการปรับการใช้ชีวิตให้มีสุขภาพที่ดี เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และเลิกสูบบุหรี่


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Link, MS (October 2012). "Clinical practice. Evaluation and initial treatment of supraventricular tachycardia". New England Journal of Medicine. 367 (15): 1438–48. doi:10.1056/NEJMcp1111259. PMID 23050527
Sawhney, NS; Anousheh, R; Chen, WC; Feld, GK (February 2009). "Diagnosis and management of typical atrial flutter". Cardiology Clinics (Review). 27 (1): 55–67, viii. doi:10.1016/j.ccl.2008.09.010. PMID 19111764.
The Healthline Editorial Team, Atrial Flutter (https://www.healthline.com/health/heart-disease/atrial-flutter), 23 March 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)