คุณมีอาการปวดตามร่างกายหรือไม่? ถ้าคำตอบคือใช่ เราก็อยากบอกว่าไม่ใช่แค่คุณหรอกค่ะที่เจอปัญหานี้ เพราะมีชาวอเมริกันประมาณ 100 ล้านคน ที่ประสบอาการปวดเรื้อรัง และมีคนหลักล้านที่มีอาการปวดระยะสั้น อย่างไรก็ตาม อาการปวดบางชนิดสามารถพบได้ทั่วไปในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ซึ่งการรู้ว่ามีอาการปวดประเภทใดบ้างจะช่วยให้คุณเตรียมรับมือกับมันได้ อีกทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นตัวการ หรือการบาดเจ็บตั้งแต่ต้น สำหรับชนิดของอาการปวดที่คุณสามารถประสบเมื่ออายุมากขึ้นมีดังนี้
1. ปวดหลังส่วนล่าง
การปวดหลังเรื้อรังประเภทนี้พบได้ทั่วไปในชาวอเมริกัน หากคุณมีอายุน้อยกว่า 50 ปี และไม่เคยบาดเจ็บที่หลัง อาการปวดหลังมีแนวโน้มเกิดจากการนั่งยืดตัวเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้เกิดแรงกดที่หมอนรองกระดูกสันหลัง ในขณะที่ผู้ใหญ่ที่มีอายุมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะปวดหลังจากโรคข้ออักเสบ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น
ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก
ช่วงอายุที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นคือ พบได้ในคนทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอายุ 30-40 ปี
วิธีบรรเทาอาการปวด แนะนำให้ใช้การออกกำลังกายแบบ Strength-training และคาร์ดิโอ สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ เพราะมันช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และช่วยสร้างกล้ามเนื้อที่กึ่งกลางของร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยพยุงไขสันหลัง นอกจากนี้การทำกายภาพบำบัด และการทานยาอย่างอะซีทามิโนเฟนและไอบูโพรเฟน ก็อาจช่วยบรรเทาอาการปวด ทั้งนี้บางคนพบว่าการใช้แผ่นประคบร้อนก็สามารถช่วยคลายปวดได้เช่นกัน
2. ปวดศีรษะ
อาการปวดศีรษะแบบธรรมดาและไมเกรน ถือเป็นชนิดของอาการปวดเรื้อรังที่พบได้ทั่วไปเป็นอันดับสอง อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ฟันธงว่าสาเหตุที่แท้จริงคืออะไร แต่คาดว่ามันถูกกระตุ้นโดยบางสิ่ง เช่น ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ภาวะขาดน้ำ ประจำเดือน ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และอาหารบางชนิดอย่างช็อกโกแลต
ช่วงอายุที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นคือ 20-50 ปี
วิธีบรรเทาอาการปวดนั้น หากอาการปวดศีรษะเกิดขึ้นที่หน้าผากหรือขมับ มันก็สามารถบ่งบอกได้ถึงการเป็นโรคปวดศีรษะที่เกิดจากความเครียด การนวดบริเวณที่ปวดหรือทาครีมเมนทอลที่หน้าผากหรือฐานของคอ ก็อาจช่วยบรรเทาอาการได้
ในขณะที่การกินยาแก้ปวดอย่างอะซีทามิโนเฟน ไอบูโพรเฟน หรือยารักษาโรคไมเกรนที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน อะเซทามีโนเฟน หรือแอสไพริน ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้คุณไม่ควรทานมากกว่า 3 วัน โดยไม่ปรึกษาแพทย์
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
3. โรคข้อเสื่อม
ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อนที่มีหน้าที่ปกป้องข้อต่อและกระดูกเสื่อมสภาพ ทำให้เรารู้สึกปวดบริเวณมือ หัวเข่า และสะโพก ทั้งนี้โรคข้อเข่าเสื่อมมักเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอายุ การบาดเจ็บ หรือการสึกหรอที่เกิดจากการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมอื่นๆ
ช่วงอายุที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นคือ 60-70 ปี ซึ่งผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ประมาณ 30% เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
วิธีบรรเทาอาการปวดคือ หมั่นออกกำลังกาย เพราะมันช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ซึ่งสามารถทำให้ข้อต่อมีสุขภาพดี ลดอาการปวด และเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อต่อ นอกจากนี้การประคบร้อนที่ข้อต่อ การทานยาหรือใช้ยาทา ก็พอจะช่วยบรรเทาความปวดได้เช่นกัน
4. โรคเอ็นอักเสบ
อาการปวดที่เหมือนกับเกิดขึ้นในหรือรอบๆ ข้อต่อ มักเป็นสัญญาณของโรคเอ็นอักเสบ และยิ่งเราเคลื่อนไหวมากเท่าไร เราก็จะยิ่งรู้สึกเจ็บมากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ดี โรคดังกล่าวมักเกิดจากการทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวท่าเดิมซ้ำๆ อย่างการเล่นกอล์ฟและการขุดดิน
ช่วงอายุที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นคือ อายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้น เส้นเอ็นของคนเราจะมีความยืดหยุ่นน้อยลง และมีแนวโน้มที่จะเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายขึ้น
วิธีบรรเทาอาการปวด ให้หยุดพักจากกิจกรรมที่ทำ และให้คุณใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่เจ็บ แล้วห่อด้วยผ้าพันแผล จากนั้นให้ค้ำบริเวณที่มีปัญหา โดยอาจวางขาบนหมอน และกินยาต้านการอักเสบอย่างไอบูโพรเฟนหรือนาพรอกเซน
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น
ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก
5. ปวดท้องน้อย
ผู้หญิง 1 ใน 7 ที่มีอายุระหว่าง 18-50 ปี มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ซึ่งผู้ป่วยสามารถรู้สึกเจ็บแปลบ หรือเจ็บแบบตื้อๆ หากอาการปวดไม่ได้เกิดจากประจำเดือน มันก็อาจเป็นผลจากโรคอื่นๆ เช่น โรคเยื่อบุเจริญเติบโตผิดที่ หรือโรคลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
ช่วงอายุที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นคือ 18-50 ปี
วิธีบรรเทาอาการปวด ให้กินยาแก้ปวดที่ซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ แต่หากมันเกิดขึ้นมากกว่า 3-4 วัน คุณก็ควรไปพบแพทย์ สำหรับการรักษานั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยอาจใช้วิธีกายภาพบำบัด ทายยาแก้ปวดที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ หรือทานยาคลายกล้ามเนื้อ
6. โรคกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
โรคนี้เกิดจากการที่เส้นประสาทที่วิ่งจากแขนมายังฝ่ามือถูกกดหรือบีบ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดนิ้วมือและข้อมือ ไร้ความรู้สึก หรือเป็นเหน็บ อย่างไรก็ตาม โรคนี้มักเกิดจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ หลายครั้งอย่างการพิมพ์หรือการใช้เครื่องจักร นอกจากนี้การมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคดังกล่าว โรคข้ออักเสบ และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับวัยทองก็ยิ่งทำให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากขึ้น
ช่วงอายุที่มีแนวโน้มเกิดขึ้น 40 กลางๆ ไปจนถึง 60 กลางๆ
วิธีบรรเทาอาการปวด หากคุณคิดว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้ ให้คุณลองปรึกษาแพทย์ ซึ่งเขาอาจแนะนำให้ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมบำบัด ทำกายภาพบำบัด และทานยาแก้ปวดระยะสั้น ในบางกรณีแพทย์อาจใช้วิธีผ่าตัด
7. กล้ามเนื้อตึงหรือปวด
เมื่อคุณเริ่มมีอายุมากขึ้น เส้นใยกล้ามเนื้อจะยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บกล้ามเนื้อมากขึ้นหลังจากทำกิจกรรมที่เคยทำได้ เช่น ทำสวน หรือออกกำลังกาย เป็นต้น
ช่วงอายุที่มีแนวโน้มเกิดขึ้น ทุกๆ 10 ปี
วิธีบรรเทาอาการปวด ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตัวเองบาดเจ็บตั้งแต่ต้น เช่น อย่ายก ดัน หรือดึงสิ่งของที่หนักโดยไม่ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น การยืดเส้นยืดสาย การออกกำลังกายอย่างโยคะและพิลาทิส สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อยืดหยุ่น และบรรเทาอาการปวด หากเจ็บกล้ามเนื้อ ให้คุณพัก ประคบเย็น ใช้ผ้าพัน และหาที่ค้ำ หรืออาจใช้วิธีทานยาแก้ปวด แต่ถ้าไม่หาย คุณก็ควรไปพบแพทย์
การมีอาการปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกายถือเป็นเรื่องที่คนสูงอายุคุ้นชินเป็นอย่างดี แต่การดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ ก็พอจะช่วยบรรเทาปัญหาได้ค่ะ หากอาการปวดเกิดขึ้นเรื้อรัง คุณก็ควรปรึกษาแพทย์ เพราะมันสามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้มากทีเดียว