กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Yohimbe (โยฮิมบี)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที

ข้อมูลภาพรวมของโยฮิมบี

โยฮิมบี (Yohimbe) คือชื่อของต้นไม้ไม่ผลัดใบชนิดหนึ่งที่พบได้ในบางพื้นที่ของแอฟริกาตะวันตกและกลาง เปลือกของต้นโยฮิมบีประกอบด้วยสารเคมีที่เรียกว่าโยฮิมไบน์ (yohimbine) ที่สามารถนำไปใช้ทำยาได้ Yohimbine hydrochloride (Aphrodyne, Yocon) คือรูปแบบหนึ่งของโยฮิมไบน์ที่ใช้ผลิตยาทางการแพทย์ใน US.

อาหารเสริมโยฮิมบีมักถูกระบุว่าใช้สารสกัดจากเปลือกโยฮิมบีหรือโยฮิมไบน์เป็นสารออกฤทธิ์ (active ingredient) อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้บางชิ้นอาจไม่ได้ให้ข้อมูลเรื่องปริมาณโยฮิมไบน์ที่ใช้อย่างเถรตรงเสียทีเดียว อีกทั้งอาหารเสริมโยฮิมบีบางประเภทก็ระบุว่าใช้ yohimbine hydrochloride เป็นสารออกฤทธิ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โยฮิมบีถูกนำไปรับประทานเพื่อกระตุ้นแรงขับเคลื่อนทางเพศ, รักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction (ED)), รักษาปัญหาทางเพศที่เกิดจากการใช้ยาต้านซึมเศร้าที่เรียกว่า selective-serotonin reuptake inhibitors (SSRIs), และปัญหาทางเพศทั่วไปทั้งผู้ชายและหญิง อีกทั้งยังมีการใช้โยฮิมบีเพิ่มศักยภาพทางด้านกีฬา, ลดน้ำหนัก, ลดความเหนื่อยล้า, อาการปวดหน้าอก, ความดันโลหิตสูง, ความดันโลหิตต่ำที่เกิดขึ้นขณะยืนขึ้น, อาการปวดประสาทจากเบาหวาน, และสำหรับภาวะซึมเศร้าร่วมกับการใช้ยาอื่น ๆ

โยฮิมบีออกฤทธิ์อย่างไร?

โยฮิมบีประกอบด้วยสารเคมีที่เรียกว่าโยฮิมไบน์ที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและกระแสประสาทไปยังองคชาตหรือช่องคลอด อีกทั้งยังมีการใช้โยฮิมบีในการต้านผลข้างเคียงของยาต้านซึมเศร้าบางประเภท

การใช้และประสิทธิภาพของโยฮิมบี

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้โยฮิมบีรักษาได้หรือไม่

  • ภาวะวิตกกังวล (Anxiety) ยังคงมีหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิผลของโยฮิมไบน์กับการรักษาภาวะวิตกกังวลที่ปนเปกันอยู่ ณ ตอนนี้ งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าโยฮิมบีไม่ได้ช่วยรักษาภาวะวิตกกังวล แต่บ้างก็กล่าวว่าโยฮิมบีสามารถลดอาการหวาดกลัวที่เกี่ยวข้องกับโรคโฟเบีย (phobias) บางชนิดได้
  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) งานวิจัยกล่าวว่าการทานโยฮิมไบน์ทุกวันนาน 10 วันไม่อาจลดอาการจากโรคซึมเศร้าได้
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (Erectile dysfunction (ED)) มีหลักฐานว่าโยฮิมไบน์หรือสารออกฤทธิ์ของโยฮิมบีสามารถรักษาภาวะ ED ได้ โดยแพทย์สมุนไพรบางท่านกล่าวว่าเปลือกโยฮิมบีนั้นออกฤทธิ์กับภาวะนี้ได้ดีกว่าการใช้เพียงโยฮิมไบน์เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามก็ยังคงไม่มีการประเมินผลงานวิจัยดังกล่าวจนทำให้ไม่อาจยืนยันคำกล่าวอ้างนี้ได้
  • ศักยภาพการออกกำลังกาย งานวิจัยกล่าวว่าการทานโยฮิมไบน์ทุกวันนาน 21 วันไม่อาจเพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายหรือเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อของนักกีฬาฟุตบอลได้
  • หน้ามืด (orthostatic hypotension) งานวิจัยกล่าวว่าการทานโยฮิมไบน์หนึ่งโดสจะเพิ่มระดับความดันโลหิตของผู้ที่มีอาการหน้ามืดเนื่องจากความดันต่ำได้ แต่ก็มีงานวิจัยบางชิ้นที่แย้งคำกล่าวนี้
  • ปัญหาทางเพศที่เกิดจากการใช้ยา selective-serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) มีหลักฐานจากการศึกษาหลาย ๆ ชิ้นที่กล่าวว่าโยฮิมไบน์สามารถลดปัญหาทางเพศที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยารักษาซึมเศร้าได้ อย่างไรก็ตามสรรพคุณข้อนี้ก็ไม่ได้ถูกระบุไว้กับเปลือกไม้โยฮิมบี
  • ปากแห้ง งานวิจัยกล่าวว่าการทานโยฮิมไบน์จะช่วยลดอาการปากแห้งของผู้ที่กำลังใช้ยาต้านซึมเศร้าได้ แต่ผลจากการใช้เปลือกไม้โยฮิมบียังคงไม่ชัดเจน
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดหน้าอก
  • ภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของโยฮิมบีเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของโยฮิมบี

การรับประทานโยฮิมบถูกจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยเนื่องจากมีรายงานการใช้ว่าเชื่อมโยงกับภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือผิดปรกติ, ไตล้มเหลว, ชัก, หัวใจวาย, และอื่น ๆ

สารออกฤทธิ์หลักของโยฮิมบีหรือก็คือโยฮิมไบน์นั้นถูกจัดว่าเป็นยาจำหน่ายหน้าเคาท์เตอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกาเหนือ โดยตัวยานี้จัดว่ามีความปลอดภัยเมื่อใช้ในระยะสั้น แต่ก็มักไม่ได้รับการแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญให้ใช้กันเนื่องจากมีผลข้างเคียงร้ายแรงอยู่

เด็กไม่ควรทานโยฮิมบีเนื่องจากความไม่ปลอดภัยเพราะกลุ่มเด็กยังคงมีความอ่อนไหวต่อผลข้างเคียงจากโยฮิมบีอยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม โยฮิมบีและโยฮิมไบน์สามารถทำให้เกิดอาการปวดท้อง, ตื่นเต้น, สั่น, ปัญหาการนอน, กระสับกระส่ายหรือวิตกกังวล, ความดันโลหิตสูง, หัวใจเต้นแรง, วิงเวียน, ปัญหากระเพาะ, น้ำลายไหล, เจ็บปวดโพรงจมูก, ฉุนเฉียว, ปวดศีรษะ, ปัสสาวะบ่อย, ท้องอืด, ผื่นขึ้น, คลื่นไส้, และอาเจียน

การรับประทานโยฮิมบีในปริมาณสูงอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงได้อย่างหายใจลำบาก, อัมพาต, ความดันโลหิตต่ำมาก, ปัญหาหัวใจ, และเสียชีวิต มีรายงานผู้ใช้โยฮิมไบน์ในปริมาณสำหรับหนึ่งวันว่าประสบกับปฏิกิริยาแพ้อย่างมีไข้ขึ้น, หนาวสั่น, เซื่องซึม, คัน, ผิวหนังแตกสะเก็ด, ไตล้มเหลว, และมีอาการคล้ายกับโรคพุ่มพวง

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: โยฮิมบีถูกจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยสำหรับคนกลุ่มนี้เนื่องจากโยฮิมบีอาจส่งผลกับผนังช่องคลอดและเป็นอันตรายกับครรภ์ได้ อีกทั้งยังเป็นยาที่เป็นพิษต่อเด็กในครรภ์ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้โยฮิมบีขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร

ภาวะเลือดออกผิดปรกติ: การทานโยฮิมบีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดในผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปรกติได้

จิตเภท (Schizophrenia): คนกลุ่มนี้ควรใช้โยฮิมบีอย่างระมัดระวังเนื่องจากอาจทำให้ผู้ป่วยจิตเภทมีอาการกำเริบขึ้นได้

ปัญหาต่อมลูกหมาก: คนกลุ่มนี้ควรใช้โยฮิมบีอย่างระมัดระวังเนื่องจากอาจทำให้อาการของ BPH (benign prostatic hyperplasia) ทรุดหนักขึ้นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะผิดปรกติทางจิตหลังประสบเหตุรุนแรง (Post-traumatic stress disorder (PTSD)): คนกลุ่มนี้ไม่ควรใช้โยฮิมบีเนื่องจากมีรายงานว่าผู้ป่วย PTSD สี่รายมีอาการจากโรคนี้ทรุดหนักขึ้นหลังใช้โยฮิมบี

โรคตับ: คนกลุ่มนี้ไม่ควรใช้โยฮิมบีเนื่องจากโรคตับอาจเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการกับโยฮิมบีของร่างกายได้

โรคไต: คนกลุ่มนี้ไม่ควรใช้โยฮิมบีเนื่องจากมีข้อกังวลว่าโยฮิมบีอาจชะลอหรือยับยั้งการไหลของปัสสาวะได้

ภาวะความดันโลหิตสูงหรือต่ำ: คนกลุ่มนี้ไม่ควรใช้โยฮิมบีเนื่องจากการใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็อาจเพิ่มความดันขึ้นได้ และการใช้ในปริมาณมากก็เป็นอันตรายต่อผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตต่ำ

อาการปวดหน้าหรือโรคหัวใจ: คนกลุ่มนี้ไม่ควรใช้โยฮิมบีเนื่องจากโยฮิมบีอาจก่ออันตรายร้ายแรงแก่หัวใจได้

ภาวะวิตกกังวล: คนกลุ่มนี้ไม่ควรใช้โยฮิมบีเนื่องจากอาจทำให้ภาวะวิตกกังวลทรุดลงได้

ภาวะซึมเศร้า: คนกลุ่มนี้ไม่ควรใช้โยฮิมบีเนื่องจากอาจทำให้ภาวะซึมเศร้ามีอาการมาเนียในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วหรือทำให้เกิดความคิดอยากฆ่าตัวตายหนักขึ้นได้

เบาหวาน: คนกลุ่มนี้ไม่ควรใช้โยฮิมบีเนื่องจากโยฮิมบีอาจรบกวนอินซูลินและยาสำหรับโรคเบาหวานอื่น ๆ และทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดตกลงได้

การผ่าตัด: โยฮิมบีอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเลือดออกระหว่างหรือหลังจากผ่าตัดได้ ดังนั้นควรหยุดใช้โยฮิมบีก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

การใช้โยฮิมบีร่วมกับยาชนิดอื่น

ห้ามใช้โยฮิมบีร่วมกับยาเหล่านี้

  • ยาสำหรับภาวะซึมเศร้า (MAOIs) กับโยฮิมบี

โยฮิมบีประกอบด้วยสารเคมีที่ส่งผลต่อร่างกายเรียกว่าโยฮิมไบน์ โดยโยฮิมไบน์อาจส่งผลต่อการตอบสนองของร่างกายต่อยาซึมเศร้าบางชนิดที่เรียกว่า MAOIs ดังนั้นการทานโยฮิมบีร่วมกับ MAOIs อาจเพิ่มฤทธิ์และผลข้างเคียงของทั้งโยฮิมบีและ MAOIs ขึ้น ตัวอย่างยาสำหรับภาวะซึมเศร้ามีทั้ง phenelzine (Nardil), tranylcypromine (Parnate), และอื่น ๆ

ใช้โยฮิมบีร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • Clonidine (Catapres) กับโยฮิมบี

Clonidine (Catapres) ถูกใช้เพื่อลดความดันโลหิตลง แต่โยฮิมบีอาจเพิ่มความดันโลหิตขึ้น ดังนั้นการทานโยฮิมบีร่วมกับ Clonidine (Catapres) อาจลดประสิทธิภาพของ Clonidine (Catapres) ลง

  • Guanabenz (Wytensin) กับโยฮิมบี

โยฮิมไบน์สามารถลดลดประสิทธิภาพของ guanabenz (Wytensin)ลง

  • ยาสำหรับภาวะซึมเศร้า (Tricyclic antidepressants) กับโยฮิมบี

โยฮิมบีส่งผลต่อหัวใจ ยาสำหรับซึมเศร้าบางตัวที่เรียกว่า tricyclic antidepressants ก็สามารถส่งผลต่อหัวใจเช่นกัน ดังนั้นการทานโยฮิมบีร่วมกับยาเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาหัวใจขึ้น จึงไม่ควรใช้โยฮิมบีหากคุณกำลังใช้ยาเหล่านี้อยู่ ตัวอย่างยาต้านซึมเศร้า tricyclic antidepressants มีทั้ง amitriptyline (Elavil), imipramine (Tofranil), และอื่น ๆ

  • ยาสำหรับความดันโลหิตสูง (Antihypertensive drugs) กับโยฮิมบี

โยฮิมบีอาจเพิ่มความดันโลหิตขึ้นได้ ดังนั้นการทานโยฮิมบีร่วมกับยาสำหรับความดันโลหิตสูงบางตัวอาจลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ลง ตัวอย่างยาสำหรับความดันโลหิตสูงมีทั้ง captopril (Capoten), enalapril (Vasotec), losartan (Cozaar), valsartan (Diovan), diltiazem (Cardizem), hydrochlorothiazide' target='_blank'>amlodipine (Norvasc), hydrochlorothiazide (HydroDiuril), furosemide (Lasix), และอื่น ๆ มากมาย

  • Naloxone (Narcan) กับโยฮิมบี

โยฮิมบีประกอบด้วยสารเคมีที่ส่งผลต่อสมองที่เรียกว่าโยฮิมไบน์ ยา Naloxone (Narcan) เองก็ส่งผลต่อสมองเช่นกัน ดังนั้นการทานโยฮิมบีร่วมกับ Naloxone (Narcan) อาจเพิ่มโอกาสของผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่นภาวะวิตกกังวล, ตื่นเต้น, ตัวสั่น, และร้อนวูบวาบ

  • Phenothiazines กับโยฮิมบี

โยฮิมบีประกอบด้วยสารเคมีโยฮิมไบน์ ซึ่งยาบางชนิดที่เรียกว่า phenothiazines จะออกฤทธิ์คล้ายกับโยฮิมไบน์ ดังนั้นการทานโยฮิมบีร่วมกับยาดังกล่าวอาจเพิ่มฤทธิ์และผลข้างเคียงของ phenothiazines ขึ้น ตัวอย่างยา phenothiazines มีทั้ง chlorpromazine (Thorazine), fluphenazine (Prolixin), trifluoperazine (Stelazine), thioridazine (Mellaril), และอื่น ๆ

  • ยากระตุ้น (Stimulant drugs) กับโยฮิมบี

ยากระตุ้นจะเร่งความเร็วของระบบประสาขึ้นจนทำให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและเร่งการเต้นของหัวใจขึ้น โยฮิมบีเองก็อาจเร่งระบบประสาทเช่นเดียวกัน ดังนั้นการทานโยฮิมบีร่วมกับยากระตุ้นอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงอย่างหัวใจเต้นเร็วขึ้นกับความดันโลหิตสูงได้ ควรเลี่ยงการใช้ยากระตุ้นร่วมกับโยฮิมบี ตัวอย่างยากระตุ้นมีทั้ง diethylpropion (Tenuate), epinephrine, phentermine (Ionamin), pseudoephedrine (Sudafed), และอื่น ๆ มากมาย

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

รับประทาน:

  • สำหรับประสิทธิภาพทางเพศ: โยฮิมไบน์ 15-30 mg ต่อวัน หรือโยฮิมไบน์ 100 mg ทุกวัน อย่างไรก็ตามการใช้ในปริมาณสูงก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้นจนขั้นทำให้เสียชีวิตได้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
John P. Cunha, DO, FACOEP, YOHIMBE (https://www.rxlist.com/consumer_yohimbe/drugs-condition.htm).
nccih, Yohimbe (https://nccih.nih.gov/health/yohimbe), September 2016.
Cathy Wong, The Safety Concerns and Health Benefits of Yohimbe (https://www.verywellhealth.com/safety-concerns-of-yohimbe-89535), 13 December 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)