กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Serrapeptase (เซอราเปปเทส)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ข้อมูลภาพรวมของเซอราเปปเทส

เซอราเปปเทส (Serrapeptase) คือเคมีที่นำมาจากหนอนไหมเพื่อใช้ทำยา (Takeda Chemical Industries) จากประเทศญี่ปุ่นและยุโรป ซึ่งหลายประเทศจัดว่าเซอราเปปเทสเป็นอาหารเสริมโภชนาการ

เซอราเปปเทสถูกใช้เพื่อรักษาภาวะเจ็บปวดหลายอย่าง เช่นปวดหลัง, ข้อเสื่อม (osteoarthritis), โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis), กระดูกพรุน (osteoporosis), โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia), โรคเส้นประสาทกดทับที่ข้อมือ (carpel tunnel syndrome), ปวดศีรษะไมเกรน, และปวดศีรษะจากความเครียด (tension headache)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อีกทั้งยังมีการใช้เซอราเปปเทสกับภาวะที่เกี่ยวข้องกับอาการเจ็บปวดและบวม (อักเสบ) อย่างไซนัสอักเสบ (sinusitis), กล่องเสียงอักเสบ (laryngitis), เจ็บคอ, การติดเชื้อที่หู, อาการบวมหลังผ่าตัด, หลอดเลือดดำอักเสบจากลิ่มเลือด (thrombophlebitis), และโรคลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease (IBD)) อย่างโรคลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis), และโรคโครห์น (Crohn's disease) บางคนยังใช้เซอราเปปเทสกับโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis) อีกด้วย 

ผู้หญิงสามารถใช้เซอราเปปเทสกับก้อนเนื้อที่เต้านมที่ไม่ใช่มะเร็ง (fibrocystic breast disease), และใช้เพื่อดูแลอาการเจ็บเต้านมของมารดาที่เกิดจากการผลิตน้ำนมมากเกิน (breast engorgement)

ประโยชน์อื่น ๆ ของเซอราเปปเทสมีทั้งเพื่อรักษาเบาหวาน, แผลที่ขา, หอบหืด, และหนองในทรวงอก (empyema)

เซอราเปปเทสออกฤทธิ์อย่างไร?

เซอราเปปเทสช่วยให้ร่างกายทำลายโปรตีนลง ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบและเมือกลง

การใช้และประสิทธิภาพของเซอราเปปเทส

ภาวะที่อาจใช้เซอราเปปเทสได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ใบหน้าบวมหลังผ่าตัดจัดการไซนัส

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้เซอราเปปเทสรักษาได้หรือไม่

  • หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) งานวิจัยที่กำลังพัฒนากล่าวว่าเซอราเปปเทสสามารถลดอาการไอและลดสารคัดหลั่งข้น ๆ ในผู้ป่วยหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้อย่างดีมากหลังการรักษาประมาณ 4 สัปดาห์
  • ไซนัสอักเสบ (sinusitis) งานวิจัยกล่าวว่าผู้ป่วยไซนัสอักเสบที่ทานเซอราเปปเทสจะมีอาการปวด, น้ำมูก, และจมูกอุดตันที่น้อยลงหลังการรักษา 3-4 วัน
  • เสียงแหบจากโรคกล่องเสียงอักเสบ (laryngitis) งานวิจัยกล่าวว่าเซอราเปปเทสสามารถลดอาการปวด, ลดสารคัดหลั่ง, อาการกลืนลำบาก, และไข้ของผู้ป่วยกล่องเสียงอักเสบได้อย่างมากหลังการรักษา 3-4 วัน
  • ปวดหลัง
  • ข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
  • โรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
  • กระดูกพรุน (Osteoporosis)
  • โรคเส้นประสาทกดทับที่ข้อมือ (carpel tunnel syndrome)
  • เบาหวาน (Diabetes)
  • แผลที่ขา
  • ปวดศีรษะไมเกรน
  • ปวดศีรษะจากความเครียด (tension headache)
  • หอบหืด (Asthma)
  • หนองในทรวงอก (empyema)
  • หลอดเลือดดำอักเสบจากลิ่มเลือด (thrombophlebitis)
  • ไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia)
  • ก้อนเนื้อที่เต้านมที่ไม่ใช่มะเร็ง (fibrocystic breast disease)
  • โรคลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease (IBD)) อย่างโรคลำไส้อักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis), และโรคโครห์น (Crohn's disease)
  • อาการเจ็บเต้านมของมารดาที่เกิดจากการผลิตน้ำนมมากเกิน (breast engorgement)
  • โรคหัวใจ
  • การติดเชื้อในหู
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของเซอราเปปเทสเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของเซอราเปปเทส

เซอราเปปเทสถูกจัดว่าปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่หากรับประทานในระยะเวลาสั้น ๆ (นานถึง 4 สัปดาห์) ส่วนการใช้ในระยะเวลานานกว่านั้นยังคงไม่เป็นที่แน่ชัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้เซอราเปปเทสในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้เซอราเปปเทสเพื่อความปลอดภัย

ภาวะเลือดออกผิดปรกติ: เซอราเปปเทสอาจรบกวนการเกิดลิ่มเลือดได้ ดังนั้นนักวิจัยบางท่านจึงมีข้อกังวลว่าเซอราเปปเทสอาจทำให้ภาวะเลือดออกผิดปรกติทรุดลงได้ หากคุณมีภาวะดังกล่าวควรตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผู้ดูแลก่อนการใช้เซอราเปปเทส

การผ่าตัด: เซอราเปปเทสอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดระหว่างผ่าตัดได้ ดังนั้นควรหยุดทานเซอราเปปเทสก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

การใช้เซอราเปปเทสร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้เซอราเปปเทสร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาชะลอการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulant / Antiplatelet drugs) กับเซอราเปปเทส

เซอราเปปเทสอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้นการทานเซอราเปปเทสร่วมกับยาชะลอการเกิดลิ่มเลือดจะเพิ่มโอกาสการเกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกมากขึ้น โดยตัวอย่างยาที่ชะลอการเกิดลิ่มเลือดมีดังนี้ aspirin, clopidogrel (Plavix), diclofenac (Voltaren, Cataflam, และอื่น ๆ), ibuprofen (Advil, Motrin, และอื่น ๆ), naproxen (Anaprox, Naprosyn, และอื่น ๆ), dalteparin (Fragmin), enoxaparin (Lovenox), heparin, warfarin (Coumadin), และอื่น ๆ

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

รับประทาน:

  • สำหรับอาการบวมภายในกระพุ้งแก้มหลังการผ่าตัดไซนัส: เซอราเปปเทส 10 mg สามครั้งต่อวันก่อนเข้ารับการผ่าตัด อีกหนึ่งครั้งหลังผ่าตัด และจากนั้นอีก 3 ครั้งทุกวันนาน 5 วันหลังผ่าตัด


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prashanth Rajaram, Abhishek Bhattacharjee, Smriti Ticku, Serratiopeptidase – A Cause for Spread of Infection (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5028551/), 1 August 2016.
Cathy Wong, The Health Benefits of Serrapeptase (https://www.verywellhealth.com/serrapeptase-89513), 8 September 2019.
Drugs.com, Serrapeptase (https://www.drugs.com/npp/serrapeptase.html), 22 July 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)