กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

ไซนัสอักเสบ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรค

ไซนัสอักเสบ หนึ่งในโรคที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน มาทำความรู้จักสาเหตุ อาการ วิธีรักษาและป้องกันโรคนี้กันเถอะ
เผยแพร่ครั้งแรก 9 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 17 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
ไซนัสอักเสบ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรค

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไซนัสคือ โพรงอากาศที่อยู่บริเวณข้างๆ โพรงจมูก เมื่อไซนัสอักเสบจะส่งผลต่อโพรงจมูกและระบบทางเดินหายใจด้วยอาการของไซนัสอักเสบ เช่น ปวดหน่วงบริเวณไซนัส มีอาการแน่นจมูกตลอดเวลา มีไข้ ไอ อ่อนเพลีย 
  • ไซนัสอักเสบเกิดได้จาก 2 สาเหตุหลักๆ ได้แก่ เกิดจากการบวมของเยื่อบุจมูกที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โรคภูมิแพ้ หรือภาวะกรดไหลย้อน และเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างที่อยู่ภายในจมูก 
  • ภาวะแทรกซ้อนของไซนัสอักเสบ ได้แก่ การติดเชื้อ การรับรู้ด้านการดมกลิ่นลดลง และต่อมน้ำลายอุดตัน
  • เมื่อเป็นโรคไซนัสอักเสบจะต้องดูแลตนเองด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รักษาความอบอุ่นให้กับร่างกาย ถ้ามีอาการมากขึ้นก็ควรรีบมาพบแพทย์ พร้อมทั้งติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้

ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่บริเวณข้างๆ โพรงจมูก เมื่อไซนัสเกิดอักเสบย่อมส่งผลต่อโพรงจมูกและระบบทางเดินหายใจ ทำให้คุณรู้สึกปวดตึงใบหน้า คัดจมูก มีน้ำมูกข้น อีกทั้งยังทำให้ความสามารถในการรับกลิ่นลดลงด้วย

ไซนัสอักเสบ จึงเป็นหนึ่งในโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตไม่น้อยเลยทีเดียว เราจึงควรทำความรู้จัก หาวิธีรักษา และป้องกันอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้อาการของโรคร้ายแรงขึ้นนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ไซนัสอักเสบคืออะไร?

ไซนัสอักเสบ (Sinusitis) คือ โรคที่เกิดขึ้นเมื่อโพรงอากาศ หรือที่เรียกว่า “ไซนัส” ที่อยู่ข้างจมูกเกิดการอักเสบ โดยการอักเสบเกิดขึ้นได้ทั้งจากการติดเชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะมีระยะเวลาแสดงอาการและมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันด้วย

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไซนัสอักเสบ?

  • ผู้ป่วยโรคหวัด
  • ผู้ป่วยโรคหอบหืด
  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
  • เป็นโรคภูมิแพ้
  • ผู้ที่เข้ารับทันตกรรม อาจเกิดการติดเชื้อได้
  • ผู้ที่เดินทางโดยเครื่องบิน

โรคไซนัสอักเสบมีกี่ชนิด?

โรคไซนัสอักเสบมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ

1. โรคไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน (Acute sinusitis)

ไซนัสอักเสบชนิดนี้เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลันจะมีอาการไม่เกิน 4 สัปดาห์ ซึ่งสามารถดูได้ว่า เชื้อชนิดใดเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้โดยการดูระยะเวลาการแสดงอาการ ดังนี้

  • เชื้อไวรัส: ส่วนมากจะมีอาการไม่เกิน 10 วัน และหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ
  • เชื้อแบคทีเรีย: ผู้ป่วยจะมีอาการของหวัด หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนมากกว่า 10 วันขึ้นไป และอาจจำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

2. โรคไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute sinusitis)

โรคไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน จะมีระยะเวลาในการแสดงอาการ 4-12 สัปดาห์ และมีวิธีที่สามารถรักษาให้หายได้ง่าย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

3. โรคไซนัสอักเสบแบบเรื้อรัง (Chronic sinusitis)

หากมีอาการของโรคไซนัสอักเสบมากกว่า 12 สัปดาห์ขึ้นไป จะถือว่า เป็นโรคอักเสบแบบเรื้อรัง โดยจะมีอาการน้อยกว่าโรคไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลัน แต่ก็อาจมีอาการของโรคไซนัสอักเสบแบบเฉียบพลันแทรกซ้อนเป็นระยะๆ ได้

สาเหตุของโรคไซนัสอักเสบ

โรคไซนัสอักเสบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยในบทความนี้จะแบ่งสาเหตุออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ สาเหตุที่เกิดจากการบวมของเยื่อบุจมูก และสาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างที่อยู่ภายในจมูก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

สาเหตุที่ 1 เกิดจากการบวมของเยื่อบุจมูก (Mucosal obstruction cause)

แบ่งได้เป็นจากเชื้อแบคทีเรีย โรคภูมิแพ้ และภาวะกรดไหลย้อน 

  1. เชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อแบคทีเรียสามารถที่จะทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบได้ เพราะเป็นการติดเชื้อแบบซ้ำๆ ซึ่งแบคทีเรียที่พบได้หลักๆ คือ Streptococcus pneumoniae, Haemophilus influenzae, Moraxella catarrhalis
  2. โรคภูมิแพ้ ถือเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบ เพราะจะทำให้เยื่อบุจมูกอักเสบ และเกิดการบวมขึ้น นอกจากนี้ อากาศภายในที่ไหลเวียนได้ไม่ดีพอ ก็ส่งผลทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบได้เช่นกัน
  3. ภาวะกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่เกิดกรดขึ้นภายในกระเพาะ โดยจะมีการไหลย้อนของกรดในกระเพาะกลับมาที่โพรงหลังจมูก (Nasopharynx) จึงทำให้กรดนี้ส่งผลกระทบต่อเยื่อบุจมูกได้ และยังสามารถส่งผลกระทบทำให้การติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ได้ง่ายกว่าปกติ พบว่า ภาวะกรดไหลย้อนสัมพันธ์กับการทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบชนิดเรื้อรัง

สาเหตุที่ 2 เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างที่อยู่ภายในจมูก (Structural cause)

แบ่งได้เป็นการทำงานผิดปกติของระบบไซนัสและความผิดปกติของการพัดโบกของซีเลีย

  1. การทำงานผิดปกติของระบบไซนัส เกิดจากระบบไซนัสหลักๆ ทำงานไม่สอดคล้องกัน โดยมีส่วนต่างๆ คือไซนัสส่วนหัวคิ้ว (Frontal sinus) ไซนัสส่วนหัวตา (Ethmoid sinus)ไซนัสส่วนโหนกแก้ม (Maxillary sinus) และไซนัสส่วนฐานสมอง (Sphenoid sinus) ไซนัสเหล่านี้เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการระบายน้ำมูก หากมีสิ่งกีดขวางอยู่ภายในก็จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำมูก กระทั่งทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบขึ้นได้นั่นเอง
  2. ความผิดปกติของการพัดโบกของซีเลีย (Ciliary dysfunction) ซีเลียมีความสำคัญต่อกลไกภายในไซนัสเป็นอย่างมาก เพราะทำหน้าที่พัดโบกเพื่อระบายน้ำมูกในไซนัส ไม่ให้มีการคั่งของน้ำมูกในไซนัส ความผิดปกติของซีเลียนั้นมีทั้งเป็นตั้งแต่กำเนิด(มักมีความผิดปกติทางพันธุกรรม) หรือเป็นภายหลังอันมีสาเหตุจากการติดเชื้อ หรือการอักเสบ เมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้นก็จะทำให้การพัดโบกสูญเสียประสิทธิภาพในการระบายความคั่งของน้ำมูกลดลงทำให้เกิดการคั่งของน้ำมูกซึ่งส่งเสริมให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียเช่น Pseudomonas aeruginosa และ Haemophilus influenzae

ความผิดปกตินี้ของโครงสร้างที่อยู่ภายในจมูกนี้ อาจต้องใช้ระยะเวลาถึง 3 สัปดาห์ ในการฟื้นฟูให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของโรคไซนัสอักเสบ

โรคไซนัสอักเสบ มีอาการที่สามารถบ่งบอกได้เฉพาะเจาะจง คือ

  • มีอาการปวดหน่วงในบริเวณไซนัส เช่น โหนกแก้ม รอบกระบอกตา หน้าผาก หรือหัวตา
  • เมื่อเปลี่ยนท่าน้ำมูกจะไหลออก โดยจะเป็นสีเขียว หรือเป็นหนองข้นๆ
  • มีอาการแน่นจมูกอยู่ตลอด
  • มีไข้
  • ได้กลิ่นเหม็นคาวอยู่ตลอดเวลา
  • ไอ
  • อ่อนเพลีย เมื่อยล้า

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไซนัสอักเสบ

โรคไซนัสอักเสบจะมีภาวะแทรกซ้อนที่สามารถแบ่งได้ คือ

1. การติดเชื้อ

ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ การติดเชื้อถือเป็นอาการของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติ แต่ก็จะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับตามระยะเวลาของโรค

2. การรับรู้ด้านการสัมผัสลดลง

โดยเฉพาะการสัมผัสกลิ่น ซึ่งประสิทธิภาพในการรับรู้กลิ่นจะลดลง หากก็เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราวเท่านั้นหรือบางรายก็อาจจะสูญเสียแบบถาวร ในกรณีที่เกิดการอุดตันบริเวณรูจมูก ซึ่งจะทำให้เส้นประสาทสำหรับการดมกลิ่นอักเสบตามมา

3. ต่อมน้ำลายอุดตัน

สาเหตุมาจากเมือกที่อยู่ในโพรงไซนัสมาอุดตันต่อมน้ำลาย ทำให้กลายเป็นไวรัส ซึ่งสามารถขยายไปสู่โครงสร้างทั่วไปภายในระบบหายใจ

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบ แพทย์จะทำการวินิจฉัยเป็นขั้นตอนซึ่งมีดังนี้

1. สอบถามประวัติผู้ป่วย คนไข้จะต้องให้ประวัติกับแพทย์อย่างละเอียด โดยเฉพาะอาการที่เกิดขึ้นในขณะนั้นว่า มีอาการที่แตกต่างจากการป่วยเป็นหวัดธรรมดาหรือไม่ เช่น

  • ปวดบริเวณข้างจมูก หรือใบหน้า
  • การได้รับกลิ่นลดลง
  • กลืนอาหารลำบาก

เมื่อแจ้งประวัติเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะใช้การวิเคราะห์แบบ VAS (Visual Analog Scale) เพื่อใช้สำหรับการประเมินอาการของโรคไซนัสอักเสบ

2. การตรวจร่างกาย การวินิจฉัยโรคไซนัสอักเสบจะต้องมีการตรวจร่างกายร่วมด้วย โดยมีวิธีการตรวจดังนี้

  • การตรวจภายในช่องปาก เพราะผู้ที่เป็นโรคไซนัสอักเสบจะมีหนองไหลมาจากโพรงหลังจมูก
  • การตรวจภายในโพรงจมูก
  • การตรวจโดยกดลงบนใบหน้า ตามจุดไซนัส

3. การตรวจพิเศษ เพื่อให้การวินิจฉัยเป็นไปอย่างแม่นยำยิ่งขึ้น การตรวจพิเศษจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการตรวจหาโรคไซนัส โดยเป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการดังนี้

  • การตรวจด้วยการส่องกล้องตรวจไซนัส (Sinuscope) วิธีนี้จะสามารถทำการรักษาได้ในตัว เพราะหากพบหนองก็จะล้างออกมาได้เลยนั่นเอง
  • การตรวจดูการผ่านของแสง ช่วยในเรื่องของการวินิจฉัย โดยหากแสงไม่สามารถส่องผ่านไปได้ก็จะถือว่า เป็นโรคไซนัสอักเสบ แต่จะไม่สามารถตรวจได้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ขวบ
  • การตรวจภาพไซนัสจากการอัลตราซาวด์
  • การเจาะไซนัส
  • การถ่ายภาพไซนัสด้วยการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)

วิธีรักษาโรคไซนัสอักเสบ

สำหรับการรักษาโรคไซนัสอักเสบจะใช้วิธีรักษาทางการแพทย์เป็นหลัก โดยมีวิธีคือ

1. การใช้ยารักษา

โรคไซนัสอักเสบสามารถที่จะใช้ยารักษาได้ แต่จะต้องเป็นยารักษาที่อยู่ในการดูแลของแพทย์ โดยจะแบ่งกลุ่มยาที่ใช้รักษาดังนี้

  • ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ยาเพนนิซิลิน (Penicillin) และยาเตตระไซคลิน (Tetracycline)
  • ยาลดบวม สำหรับยาลดบวมนั้นจะใช้เป็นยา 2 ชนิดคือ ยาต้านการอักเสบและยาหดหลอดเลือด
  • ยาต้านฮิสตามีน
  • ยาละลายมูก

2. การล้างไซนัส

การล้างไซนัสจะใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการมามากกว่า 3 สัปดาห์ โดยการล้างไซนัสจะใช้อยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ

  • การล้างไซนัสโดยตรงคือ แพทย์จะทำการเจาะผนังไซนัสในช่องจมูก แล้วทำการล้างตามปกติ
  • การล้างไซนัสด้วยเครื่องดูดเสมหะ คือ วิธีล้างไซนัสที่จะใช้สำหรับเด็ก โดยจะใช้น้ำเกลือผสมยาลดบวมในการล้าง

3. การผ่าตัด

หากได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ แล้ว แต่ไม่สามารถรักษาโรคให้หายได้ แพทย์จะใช้วิธีรักษาโรคไซนัสอักเสบด้วยการผ่าตัดซ่อมแซมส่วนที่ผิดปกติ เพื่อให้ไซนัสกลับมาทำงานได้ปกติอีกครั้งหนึ่ง

วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคไซนัสอักเสบ

เมื่อเป็นโรคไซนัสอักเสบ การดูแลตัวเองนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุด โดยสามารถที่จะปฏิบัติตามได้ดังนี้

  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาความอบอุ่นให้ร่างกาย
  • ประคบร้อนในบริเวณที่ปวด
  • ไม่ควรอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น
  • ถ้ามีอาการมากขึ้นควรรีบมาพบแพทย์ พร้อมทั้งติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

วิธีป้องกันโรคไซนัสอักเสบ

ในส่วนของวิธีป้องกันโรคไซนัสอักเสบ สามารถทำได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้

  • ควรเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในทุกๆ ปี
  • ดื่มน้ำสะอาด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้
  • หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษที่ส่งผลต่อระบบหายใจ
  • หลีกเลี่ยงสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ละอองเกสรดอกไม้ หรือสารระคายเคืองอื่นๆ

ไซนัสอักเสบเป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอันตรายต่อประสาทรับรู้กลิ่น ฉะนั้น เมื่อเกิดความผิดปกติควรที่จะต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
NHS, Sinusitis(Sinus infection) (https://www.nhs.uk/conditions/sinusitis-sinus-infection/) (last reviewed: 19th December 2017), 30 May 2020.
Valencia Higuera, What You Need to Know About Sinusitis (https://www.healthline.com/health/sinusitis), 26 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา

รู้จักชนิดของไซนัสอักเสบ อาการที่หลายคนเป็น หากปล่อยไว้นานอาจต้องผ่าตัด

อ่านเพิ่ม
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)

อาการของไซนัสอักเสบ วิธีป้องกัน การตรวจวินิจฉัยโรค และวิธีการรักษา

อ่านเพิ่ม