ไซนัสอักเสบ

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไซนัสอักเสบ

ไซนัสคืออะไร

ไซนัส (Sinusitis) คือ โพรงอากาศหรือช่องว่างภายในโพรงจมูก มี 4 ตำแหน่ง ได้แก่ โพรงไซนัสบริเวณโหนกแก้ม โพรงไซนัสรอบโพรงจมูก  โพรงไซนัสระหว่างเบ้าตา และ โพรงไซนัสที่หน้าผากระหว่างคิ้ว

โพรงไซนัสนั้นว่างเปล่า แต่มีประโยชน์ ภายในมีเยื่อเมือกบางๆ คล้ายโพรงจมูก ช่วยให้เวลาพูดเสียงของเราก้องกังวาน ช่วยปรับสภาพอากาศที่เราหายใจเข้าไปให้เหมาะสมกับร่างกาย เช่น อุณหภูมิ ความชื้น  ความบริสุทธิ์ต่างๆ ช่วยป้องกันอันตรายของสมองหากถูกกระทบกระเทือน ดังนั้นไซนัสจึงมีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุที่ทำให้ไซนัสอักเสบ

โพรงไซนัสจะมีรูเปิดเล็กๆ เชื่อมกับโพรงจมูก ทำให้อากาศภายนอกไหลเวียนเชื่อมต่อระหว่างโพรงจมูกและโพรงไซนัสได้ แต่รูเปิดไซนัสนี้มีขนาดเล็กมาก หากมีการติดเชื้อ หรือ เกิดความผิดปกติที่ทำให้รูเปิดไซนัสตีบแคบหรือตันก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจเราผิดปกติตามไปด้วย ดังนั้น สาเหตุที่จะทำให้โพรงไซนัสเกิดความผิดปกติได้ ได้แก่

  • การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด
  • สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก เช่น การสำลักทำให้สิ่งแปลกปลอมติดโพรงจมูก
  • สารเคมีเข้าจมูก ควัน หรือ ฝุ่นละอองที่มีปริมาณมากจนระคายเคืองเยื่อบุและโพรงจมูก
  • โรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ จะทำให้มีสารคัดหลั่งออกมามากผิดปกติ
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทำให้ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เช่น ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ  โลหิตจาง เป็นต้น
  • โรคเนื้องอกในระบบทางเดินหายใจ หรือ มะเร็งจมูก เป็นต้น

อาการของไซนัสอักเสบ

อาการและอาการแสดงที่พบเมื่อเกิดความผิดปกติของโพรงไซนัสโดยทั่วไปจะมีอาการหวัดนำมาก่อน หรือ อาการของโรคภูมิแพ้ เช่น ไอ มีน้ำมูก คัดจมูก และอาการที่บ่งชี้ว่ามีความผิดปกติที่ไซนัส หรือ ไซนัสอักเสบ มีดังนี้

  • อาการปวดศีรษะ และปวดบริเวณโพรงไซนัสที่อักเสบ เช่น ปวดโหนกแก้ม ปวดหัวตาทั้ง 2 ข้าง หรือหน้าผาก ปวดบริเวณโพรงจมูกร่วมด้วย เป็นต้น
  • คัดและแน่นจมูก หายใจลำบาก หายใจลำบากต้องหายใจทางปากช่วย มีน้ำมูกหรือเสมหะสีเขียวเหลืองได้  มีความรู้สึกน้ำมูกไหลงลงคอเรื่อยๆ บางรายมีกลิ่นเหม็นในจมูก หรือ เหม็นคาวในลำคอ
  • มีไข้ร่วมกับอาการปวดบริเวณโพรงไซนัส และปวดศีรษะ
  • เบื่ออาหาร ไม่ได้กลิ่นหรือ รสชาติอาหาร
  • เจ็บคอมาก มีเสมหะ หรือกลืนลำบากร่วมด้วย
  • มีอาการไดยินลดลง หูอื้อ ปวดในหู

อาการและอาการแสดงดังกล่าว อาจเป็นอาการที่พบร่วมในผู้ป่วยไข้หวัด คออับเสบ หรือ ทอนซิลอักเสบ ได้ แต่อาการไซนัสอักเสบ จะมีอาการปวดเฉพาะบริเวณรอบโพรงไซนัส ปวดศีรษะและการรับกลิ่น รับรส รวมถึงอาการหูอื้อ ร่วมด้วย เป็นส่วนมาก ทั้งนี้ การวินิจฉัยแพทย์จะทำการตรวจดูเยื่อบุจมูก ว่ามีบวมแดง มีสารคัดหลั่ง หนองไหลออกมาจากเยื่อบุโพรงจมูกหรือไม่ หากจำเป็นต้องตรวจโดยละเอียด แพทย์จะทำการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT Scan) หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดได้

การรักษาและการป้องกัน

การรักษาโรคไซนัสอักเสบ  แพทย์จะทำการรักษาตามอาการ  เช่น การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อ และการให้ยาบรรเทาอาการ ร่วมกับ การสวนล้างจมูกดังนี้

  1. การให้ยา เช่น การให้ยาลดไข้ แก้ปวด การให้ยาลดอาการบวมของจมูก เช่น ยาพ่นจมูกลดอาการบวม ยาแก้แพ้ เพื่อลดการหลั่งเสมหะ น้ำมูก
  2. การใช้แผ่นประคบความร้อน (Warm Pack) ประคบตามจุดต่างๆ ที่มีอาการปวดตามใบหน้า เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและเพิ่มการระบายเสมหะที่อุดทันท่อทางเดินหายใจและท่อเปิดไซนัส
  3. การสวนล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ สามารถทำได้เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกที่ตกค้าง เสมหะ สารคัดหลั่งต่างๆ ในโพรงจมูกให้ไหลจากจมูกอีกข้างไปอีกข้าง
  4. การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย
  5. ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการ
  6. หลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ชุมชนแออัด พื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ หากมีความจำเป็นต้องเข้าไปในสถานที่ดังกล่าว ควรสวมผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันการรับเชื้อ และหากอยู่ในช่วงเจ็บป่วยก็ควรสมผ้าปิดจมูกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นและคนรอบข้าง

จะเห็นว่าโรคไซนัสอักเสบนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัยและสร้างความไม่สุขสบายให้กับผู้ที่เป็น  และผู้ที่เป็นโรคไซนัสแล้วสามารถเป็นได้ใหม่เหมือนโรคหวัด ขึ้นอยู่กับสภาพความแข็งแรงของร่างกายและพฤติกรรมสุขภาพ ดังนั้น การดูแลสุขภาพป้องกันไม่ให้เจ็บป่วยจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ในการป้องกันโรคไซนัสอักเสบ

 


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา
โรคไซนัสอักเสบ ชนิดเรื้อรัง และเฉียบพลัน สาเหตุ การรักษา

รู้จักชนิดของไซนัสอักเสบ อาการที่หลายคนเป็น หากปล่อยไว้นานอาจต้องผ่าตัด

อ่านเพิ่ม
ไซนัสอักเสบ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรค
ไซนัสอักเสบ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรค

ไซนัสอักเสบ หนึ่งในโรคที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน มาทำความรู้จักสาเหตุ อาการ วิธีรักษาและป้องกันโรคนี้กันเถอะ

อ่านเพิ่ม
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)

อาการของไซนัสอักเสบ วิธีป้องกัน การตรวจวินิจฉัยโรค และวิธีการรักษา

อ่านเพิ่ม