มะเร็งของศีรษะและลำคอ (Head and neck cancer)

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มะเร็งของศีรษะและลำคอ (Head and neck cancer)

มะเร็งของศีรษะและลำคอเป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ไม่บ่อย สามารถเกิดได้กับปาก กล่องเสียง ต่อมน้ำลาย จมูก โพรงไซนัส ด้านหลังจมูกและปาก และบริเวณอื่นๆ ซึ่งไม่รวมมะเร็งหลอดอาหาร thyroid-cancer' target='_blank'>มะเร็งต่อมไทรอยด์ เนื้องอกในสมอง และมะเร็งดวงตา มะเร็งแต่ละชนิดจะมีอาการที่แตกต่างกันดังจะกล่าวถึงในบทความนี้ หากมีอาการที่สงสัยควรไปพบแพทย์ 

คำนิยาม

มะเร็งของศีรษะและลำคอเป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ไม่บ่อย ในประเทศสหราชอาณาจักร พบผู้ป่วยใหม่ได้รับการวินิจฉัยประมาณ 10,000 คนต่อปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มีบริเวณมากกว่า 30 บริเวณที่ศีรษะและลำคอซึ่งสามารถเกิดมะเร็งได้ รวมถึง:

  • ปาก (รวมถึงริมฝีปาก)
  • กล่องเสียง (larynx)
  • ต่อมน้ำลาย
  • จมูกและไซนัส
  • บริเวณด้านหลังจมูกและปาก (nasopharynx)

มะเร็งหลอดอาหาร (esophageal cancer), มะเร็งต่อมไทรอยด์ (thyroid cancer), เนื้องอกในสมอง และมะเร็งดวงตา ไม่จัดเป็นมะเร็งศีรษะและลำคอ

มะเร็งที่ปาก (mouth cancer)

มะเร็งที่ปากคือมะเร็งของศีรษะและลำคอชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด

มะเร็งสามารถพบได้ที่ภายในช่องปากและรอบๆ ปาก รวมถึง:

  • ริมฝีปาก
  • ลิ้น
  • แก้มด้านใน
  • พื้นหรือเพดานปาก
  • เหงือก

อาการของผู้ป่วยมะเร็งที่ปาก ได้แก่ แผลเรื้อรังในปาก และ/หรือ มีก้อนภายในปาก ซึ่งทั้งสองอาการนี้อาจมีอาการปวดได้

มะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal cancer)

มะเร็งกล่องเสียงเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อของกล่องเสียง (larynx)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาการของผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง ได้แก่:

  • เสียงเปลี่ยน เช่น เสียงแหบเรื้อรัง
  • กลืนลำบาก หรือเจ็บขณะกลืน
  • หายใจมีเสียงดัง
  • หายใจลำบาก
  • อาการไอเรื้อรัง
  • มีก้อนที่คอ หรือคอบวม

มะเร็งลำคอ (Throat cancers)

แพทย์มักไม่ใช้คำว่ามะเร็งลำคอเท่าใดนัก เพราะคำว่าลำคอจะรวมถึงหลายๆ ส่วนของคอที่สามารถเกิดมะเร็งได้

บริเวณหลักที่สามารถเกิดมะเร็งได้คือ:

  • คอหอยส่วนปาก (oropharynx)-คือส่วนของคอที่อยู่ด้านหลังปาก
  • คอหอยส่วนกล่องเสียง (hypopharynx)-คือส่วนของคอที่เชื่อมคอหอยส่วนปากกับหลอดอาหารและหลอดลม
  • คอหอยส่วนจมูก (nasopharynx)-คือส่วนของคอที่เชื่อมด้านหลังของจมูกกับด้านหลังของปาก

อาการที่พบได้บ่อยของมะเร็งที่คอหอยส่วนปาก หรือ คอหอยส่วนกล่องเสียง คือ มีก้อนที่ลำคอ, เสียงแหบเรื้อรัง หรือกลืนลำบาก

มะเร็งต่อมน้ำลาย (Salivary gland cancer)

ต่อมน้ำลายมีหน้าที่ผลิตน้ำลาย ทำให้ช่องปากมีความชุ่มชื้นและช่วยในการกลืนและย่อยอาหาร

มีต่อมน้ำลายหลักอยู่ 3 คู่ด้วยกัน ได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • parotid glands-เป็นต่อมที่อยู่ระหว่างแก้มและหู
  • sublingual glands-เป็นต่อมที่อยู่ใต้ลิ้น
  • submandibular glands-เป็นต่อมที่อยู่ใต้กระดูกขากรรไกรแต่ละข้าง

มะเร็งต่อมน้ำลายพบบ่อยที่สุดที่ parotid glands

อาการหลักของมะเร็งต่อมน้ำลายคือ มีก้อน หรือ บวม ที่กระดูกขากรรไกร หรือใกล้กับกระดูกขากรรไกร หรือภายในช่องปาก หรือลำคอ แต่ส่วนใหญ่แล้วก้อนเหล่านี้มักไม่ใช่ก้อนมะเร็ง อาการอื่นๆ ที่พบได้ คือ ชาที่บริเวณใบหน้า และใบหน้าเบี้ยว

มะเร็งจมูกและไซนัส (Nose and sinus cancer)

มะเร็งจมูกและไซนัสจะเกิดขึ้นที่โพรงจมูก (nasal cavity) และที่ไซนัส (sinuses)

โพรงจมูกจะอยู่ด้านบนเหนือช่องปาก และโพรงไซนัสเป็นโพรงอากาศขนาดเล็กภายในกระดูกของจมูกและอยู่ภายในกระดูกโหนกแก้มและหน้าผาก

อาการของมะเร็งจมูกและไซนัสจะคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เช่น เป็นหวัด หรือ ไซนัสอักเสบ และจะมีอาการดังนี้:

  • จมูกอุดกั้นเรื้อรัง มักเป็นที่ด้านใดด้านหนึ่ง
  • เลือกกำเดาออก
  • การรับรู้กลิ่นลดลง
  • น้ำมูกไหลจากจมูก หรือน้ำมูกไหลลงคอ

มะเร็งโพรงหลังจมูก (Nasopharyngeal cancer)

มะเร็งโพรงหลังจมูกจะเกิดขึ้นที่ส่วนของลำคอที่เชื่อมกับด้านหลังของจมูกกับด้านหลังของปาก เป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ไม่บ่อย

อาการของผู้ป่วย ได้แก่:

  • มีก้อนที่คอ เพราะมะเร็งแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่ลำคอ (ต่อมน้ำเหลืองคือต่อมขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน)
  • คัดแน่นจมูก
  • เลือดกำเดาออก
  • การได้ยินลดลง (มักเป็นที่หูข้างเดียว)

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป