มะเฟือง (Starfruit)

แนะนำเมนูสุขภาพจากมะเฝือง พร้อมสรรพคุณมากมายของผลไม้ชนิดนี้ ที่คุณจะต้องอยากหามารับประทานหลังอ่านจบ
เผยแพร่ครั้งแรก 15 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
มะเฟือง (Starfruit)

มะเฟือง (Starfruit) เป็นไม้พื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา มีลักษณะเป็นทรงพุ่ม สูงประมาณ 6-15 เมตร ดอกมีสีชมพูอ่อนไปจนเกือบแดง มีกลิ่นหอม ผลอ่อนมีสีเขียว ส่วนผลสุกมีสีเหลือง รสชาติของมีทั้งเปรี้ยวฝาดและหวาน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผลมะเฟืองมีลักษณะโดดเด่นตรงที่ผลเป็นทรงกระสวย เมื่อผ่าครึ่งจะเห็นเป็นรูปดาว 

คุณค่าทางโภชนาการของมะเฟือง

ผล 100 กรัม ให้พลังงาน 31 แคลอรี่ มีคุณค่าทางโภชนาการดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สรรพคุณของมะเฟือง

นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ยังมีประโยชน์สรรพคุณที่น่าสนใจอีกหลายอย่างดังต่อไปนี้

  1. ช่วยย่อยอาหาร เพราะมีใยอาหารสูง จึงช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายให้ทำงานได้ดีขึ้น การรับประทานบ่อย ๆ สามารถลดความเสี่ยงต่อโรคท้องผูก โรคริดสีดวงทวาร และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  2. ช่วยลดน้ำหนัก นอกจากใยอาหารที่ช่วยให้อิ่มท้องเร็ว ไม่หิวง่ายแล้ว ยังมีแคลอรีต่ำและเป็นแหล่งของโฟเลต,ไรโบฟลาวิน,ไพริด็อกซิน ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญ จึงช่วยลดน้ำหนักได้เป็นอย่างดี
  3. ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด  ภายในมีโพแทสเซียม ช่วยควบคุมน้ำในร่างกายและหัวใจให้เกิดความสมดุล และยังช่วยลดระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติ จึงช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย
  4. บรรเทาอาการปวด อาการปวดศีรษะ ปวดไมเกรน หรือปวดหลัง สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียม ซึ่งมะเฟืองเป็นผลไม้ที่มีแมกนีเซียมสูง การรับประทานจึงช่วยลดอาการปวดได้จริง
  5. เป็นสารต้านจุลชีพ จากงานวิจัยพบว่ามะเฟืองมีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ จึงสามารถรักษาโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น Salmonella typhus, e-Coli, Bacillus cereus ได้
  6. ช่วยต้านการอักเสบ เพราะมีสารซาโปนิน และฟลาโวนอยด์ ที่มีสรรพคุณต้านการอักเสบได้ โดยจะช่วยบรรเทาอาการอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกาย เช่น โรคเกาต์ โรคปวดตามไขข้อ ให้ลดน้อยลง
  7. เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง มะเฟืองอุดมไปด้วยวิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ร่างกายจึงแข็งแรงมากขึ้น ไม่เจ็บป่วยง่าย
  8. ช่วยบรรเทาอาการไอ วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่มีในมะเฟือง สามารถรักษาอาการไอและอาการระคายเคืองในลำคอได้ โดยนักโภชนาการแนะนำให้รับประทานในขณะที่มีอาการไอ หรือเป็นไข้หวัดร่วมด้วย เพื่อบรรเทาอาการให้หายเป็นปกติโดยธรรมชาติ  
  9. ป้องกันโรคมะเร็ง มะเฟืองมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โดยจะยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งในร่างกาย และกำจัดสารพิษต่างๆ ที่เป็นตัวการก่อมะเร็งให้หมดไป
  10. บำรุงผิว การรับประทานผลสดๆ สามารถบำรุงผิวพรรณได้ เพราะวิตามินซีในมะเฟืองจะช่วยลดความหมองคล้ำ ทำให้ผิวดูขาวกระจ่างใส และยังช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยได้เป็นอย่างดี
  11. บรรเทาอาการนอนไม่หลับ ภายในมีแมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสนิทได้ดียิ่งขึ้น
  12. ลดไขมันในเลือด ให้ผู้สูงอายุฝานมะเฟืองกินวันละ 3 ชิ้น (100 กรัม) ติดต่อกันนานถึง 1 เดือน ช่วยเพิ่มระดับ HDL ซึ่งมีหน้าทีดับจับคอเลสเตอรอลร้ายไปกำจัดที่ตับ ทำให้ปริมาณไขมันในเลือดลดลง
  13. ลดน้ำตาลในเลือดและสร้างไกลโคเจน อนุพันธ์กลูโคไพแรนโนไซด์ของเอพิจีนิน (apigenin-6-C-beta-l-fucopyranoside) ที่ได้จากผลมะเฟืองมีผลทันทีในการลดน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวาน และสามารถกระตุ้นการหลั่งสารอินซูลินอีกด้วย

แนวทางการใช้มะเฟืองเพื่อสุขภาพ

มะเฟืองสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพได้อีกหลากหลายวิธี ได้แก่

  • บรรเทาอาการปวดตามข้อ นำรากมาต้มในน้ำให้เดือด เคี่ยวให้เหลือน้ำในปริมาณที่ไม่มาก จากนั้นกรองเอาแต่น้ำมาดื่ม เมื่อดื่มเป็นประจำจะช่วยลดอาการปวดได้ดี
  • ขจัดรังแค นำผลมาคั้นเอาแต่น้ำแล้วชโลมให้ทั่วศีรษะ จะช่วยขจัดรังแคบนหนังศีรษะ และยังช่วยลดอาการคันได้ดีอีกด้วย
  • แก้อาการท้องร่วง นำแก่นมะเฟืองมาสับให้มีขนาดเล็ก ต้มกับน้ำจนเดือด กรองเอาน้ำที่ได้มาดื่มจนกว่าอาการจะดีขึ้น
  • การใช้มะเฟืองบำรุงผิวหน้า สามารถใช้บำรุงผิวหน้าได้ มีสูตรการทำหลากหลายดังนี้
    1. น้ำหมักมะเฟือง มะเฟืองสด 3 กิโลกรัม ล้างสะอาด หั่นแว่นใส่ลงในภาชนะฝาปิด ใส่น้ำตาลทรายแดง 1 กิโลกรัม และน้ำ 5 ลิตร หมักทิ้งไว้ 7 วัน สามารถนำมาทาบนใบหน้าได้ 15-20 นาที แล้วล้างออก
    2. มะเฟือง+น้ำผึ้ง คั้นมะเฟืองสด 1 ผล กรองเอาน้ำ ผสมกับน้ำผึ้ง ทาหน้า 15-20 นาที แล้วล้างออก สามารถมาร์กได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
    3. มะเฟือง+มะนาว นำมะเฟืองปอกเปลือก สับละเอียด ผสมน้ำมะนาวแล้วนำมาพอกหน้า 10-15 นาทีแล้วล้างออก สามารถช่วยลดการอักเสบของสิวได้
    4. มะเฟือง+ดินสอพอง นำมะเฟืองปอกเปลือกปั่นละเอียด ผสมดินสอพอง 3-4 เม็ด น้ำมาพอกหน้า 20 ครึ่งชั่วโมง จะช่วยให้ผิวหน้ากระชับขึ้น ลดสิว ลดริ้วลอย ให้ผิวหน้ากระจ่างใสขึ้น

เมนูสุขภาพจากมะเฟือง

นอกจากนำมารับประทานสด มะเฟืองยังสามารถนำมาประกอบอาหารอื่น ๆ ได้อีก เช่น

  1. น้ำมะเฟืองคั้นสด นำผลมะเฟืองแก่จัดมาล้างให้สะอาด หั่นและแกะเมล็ดออกแล้วนำไปใส่เครื่องปั่น เติมน้ำต้มสุก 1 ถ้วยตวง น้ำเชื่อม 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 1 กรัม ปั่นให้เข้ากัน
  2. สลัดมะเฟืองแช่เย็น นำโยเกิร์ต น้ำผึ้ง และน้ำมะนาวมาผสมรวมกันในชาม จากนั้นใส่มะเฟืองที่หั่นเป็นชิ้นบางลงไป ตามด้วยแอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ ลูกพลัม และเนื้อส้มแมนดาริน นำไปแช่เย็นสักพัก ก็นำมารับประทานได้ทันที
  3. แยมมะเฟือง ตัดขอบที่มีปีกออกจากผล แล้วใส่ลงในกระทะ เติมน้ำเปล่าและต้มจนเดือดประมาณ 15 นาที ใส่น้ำตาล น้ำมะนาว และเกลือลงไป ต้มจนเดือดและเคี่ยวจนได้เนื้อมะเฟืองข้น เทลงในขวดที่ฆ่าเชื้อเพื่อเก็บไว้ใช้รับประทาน

ข้อควรระวัง

  • มะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูง ผู้ป่วยโรคไตและผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตไม่จึงควรรับประทาน เพราะอาจทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
  • ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดไขมันและยาคลายเครียด ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านประสิทธิภาพของยา
  • สตรีมีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งบุตร

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, เตือน “ผู้ป่วยไต” ห้ามกินมะเฟือง (https://www.thaihealth.or.th/Content/19522-เตือน%20“ผู้ป่วยไต”%20ห้ามกินมะเฟือง.html), 7 กุมภาพันธ์ 2557
ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง, มะเฟืองหวาน (http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/resources/fruit/averrhoac.html)
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, มะเฟือง (http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=94)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป