คู่มือกินดี ทานอาหารอย่างไรให้สมดุลเพื่อสุขภาพที่ดี

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
คู่มือกินดี ทานอาหารอย่างไรให้สมดุลเพื่อสุขภาพที่ดี

คู่มือการกินดีอย่างสมดุล มีการรวบรวมสาระและคำแนะนำเพื่อการรับประทานอาหารอย่างสมดุลเพื่อสุขภาพที่ดีเอาไว้ โดยเนื้อหาในคู่มือนี้มีการแนะนำอาหารและเครื่องดื่มประเภทต่างๆ ที่ควรบริโภคและแนะนำปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับแต่ละวันหรือสำหรับแต่ละสัปดาห์

แผนภาพคู่มือกินดี ที่แสดงให้เห็นถึงปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่ควรบริโภคให้เหมาะสมในแต่ละหมวดหมู่อาหาร

อาหารหลัก 5 หมู่ 

  คู่มือกินดีได้แบ่งอาหารและเครื่องดื่มที่เราบริโภคออกเป็น 5 หมู่ ดังนี้

  • ผักและผลไม้
  • มันฝรั่ง ขนมปัง ข้าว พาสต้า และอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต
  • อาหารประเภทเมล็ดถั่ว ธัญพืช ปลา ไข่ เนื้อ และอาหารจำพวกโปรตีนต่างๆ
  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ผลิตภัณฑ์ทาขนมปัง หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน

ดังนั้น เราจึงควรเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายในแต่ละหมวดหมู่เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์

ใครควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคู่มือกินดี?

คู่มือนี้เหมาะสำหรับทุกคนที่มีปัญหาในเรื่องต่อไปนี้

  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องน้ำหนัก
  • ผู้ที่มีวัฒนธรรมการบริโภคอาหารตามความเชื่อ
  • ผู้ที่มีข้อจำกัดในเรื่องการบริโภคอาหาร

หากคุณมีความจำเป็นในเรื่องของการใช้ยารักษาโรคหรือการบริโภคอาหาร แนะนำให้ปรึกษาผู้ให้คำปรึกษาด้านอาหารเพื่อสุขภาพหรือนักโภชนาการเพื่อปรับวิธีการบริโภคอาหารตามคำแนะนำของคู่มือกินดี เพื่อให้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด

การใช้คู่มือกินดีกับทารกและเด็กเล็ก 

  สำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 2 – 5 ปี คู่มือกินดีแนะนำให้เริ่มต้นด้วยการรับประทานอาหารประเภทเดียวกัน ในปริมาณที่เท่าๆ กันก่อนแล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนประเภทอาหารไปเรื่อยๆ ส่วนเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ซึ่งมีความต้องการสารอาหารที่หลากหลาย คำแนะนำของคู่มือกินดีจึงไม่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้

การใช้คู่มือกินดีในการบริโภคอาหารอย่างสมดุล 

เราสามารถใช้คู่มือนี้ช่วยส่งเสริมให้สุขภาพร่างกายดีขึ้นได้

  • เมื่อเราต้องการวางแผนว่าต้องการรับประทานอาหารประเภทใดในแต่ละมื้อ
  • เมื่อเราออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านหรือในวันที่เราต้องเลือกซื้ออาหารทานระหว่างทาง
  • เมื่อเราต้องการทำอาหารหรือเตรียมอาหารทานเองที่บ้าน
  • เมื่อเราเดินจ่ายตลาดเลือกซื้ออาหารเข้าบ้าน

โดยมื้ออาหารส่วนใหญ่ที่เรารับประทานในแต่ละวันนั้นเกี่ยวพันกันกับหมวดหมู่อาหารและเมื่อเราวางแผนการบริโภคอาหารแต่ละมื้อ เราจึงต้องคำนึงถึงส่วนประกอบที่นำมาปรุงอาหารด้วยว่าครบทั้ง 5 หมู่หรือไม่

ผักและผลไม้

ผักและผลไม้เป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะเพื่อการรักษาสมดุลภายในร่างกาย ทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาระบบย่อยอาหารได้ด้วย

ผักและผลไม้เป็นหนึ่งในอาหาร 5 หมู่และถือเป็น 1 ใน 3 ของอาหารทั้งหมดที่คุณควรบริโภคต่อมื้อ

ปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานผักและผลไม้ 

เราควรวางเป้าหมายการบริโภคผักและผลไม้ให้ได้อย่างหลากหลายอย่างน้อย 5 จานในแต่ละวัน

อย่างไรก็ตาม มันฝรั่งจะไม่ถูกนับรวมให้อยู่ในกลุ่มผักและผลไม้เนื่องจากมันฝรั่งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตนั่นเอง

เราสามารถเลือกซื้อผักและผลไม้มารับประทานได้ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดทั้งแบบสด แช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง หรือแบบน้ำผักผลไม้ก็ได้

ปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานต่อครั้ง 

ปริมาณการรับประทานต่อครั้งคือ 80 กรัม หรือทางเลือกต่อไปนี้

  • แอปเปิ้ล ลูกแพร์ กล้วย ส้ม จำนวน 1 ลูก หรือผลไม้ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
  • น้ำผลไม้หรือสมูทตี้ 1 แก้ว ปริมาณ 150 มล. โดยนับเป็นปริมาณการดื่มทั้งวันไม่ว่าเราจะดื่มกี่ครั้งต่อวันก็ตาม นั่นเพราะน้ำผลไม้จะมีปริมาณน้ำตาลมากกว่าและมีปริมาณใยอาหารน้อยกว่าผลไม้สดนั่นเอง
  • ผัก ผลไม้สด ผลไม้กระป๋อง หรือผลไม้แช่อิ่ม จำนวน 3 ช้อนโต๊ะ
  • ผลไม้ตากแห้ง จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ โดยแนะนำให้รับประทานระหว่างมื้ออาหาร
  • สลัดผักหรือผลไม้ จำนวน 1 ถ้วย

มันฝรั่ง ขนมปัง ข้าว พาสต้า และอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต

อาหารจำพวกนี้เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหาร ให้พลังงานและเปี่ยมไปด้วยใยอาหาร โดยเป็นหนึ่งในอาหาร 5 หมู่และถือเป็น 1 ใน 3 ของอาหารทั้งหมดที่คุณควรบริโภคต่อมื้อ

ปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต 

อาหารประเภทแป้งควรถูกจัดสรรให้บริโภคเพียง 1 ใน 3 ของอาหารทั้งหมดที่ควรรับประทานต่อมื้อ

อย่างไรก็ตาม แนะนำให้เลือกรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของธัญพืชหรือข้าวกล้อง นั่นเพราะอาหารเหล่านี้มีใยอาหารสูงและมีปริมาณสารอาหารมากส่งผลให้เกิดการย่อยได้ช้าลงทำให้เรารู้สึกอิ่มนานขึ้น นอกจากนี้ เมื่อเตรียมอาหารเหล่านี้ควรลดปริมาณการใช้น้ำมันจากพืชจำพวกน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันดอกทานตะวันหรือผลิตภัณฑ์ทาขนมปังแบบ low-fat ทั้งหลาย

อาหารประเภทเมล็ดถั่ว ธัญพืช ปลา ไข่ เนื้อ และอาหารจำพวกโปรตีนต่างๆ

อาหารเหล่านี้ถือเป็นแหล่งของโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต่อร่างกายที่ต้องบริโภคอาหารจำพวกนี้ในทุกมื้ออาหาร นอกจากนี้โปรตีนยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเราด้วย

เนื้อ

เนื้อบางประเภทมีปริมาณไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ดังนั้นประเภทเนื้อที่เราเลือกและวิธีการปรุงอาหารจึงส่งผลต่อสิ่งที่ร่างกายจะรับเข้าไป ดังนั้นเราจึงต้อง

  • พยายามเลือกซื้อเนื้อที่ไม่มีไขมันและหลีกเลี่ยงการใช้เนยหรือน้ำมันในการปรุงอาหาร แนะนำให้ใช้วิธีการย่างแทนการทอด
  • เมื่อเตรียมเนื้อเพื่อปรุงอาหาร ควรหั่นส่วนที่มีไขมันและส่วนหนังออก
  • บริโภคเนื้อสำเร็จรูปให้น้อยลง เช่น ไส้กรอก เบคอน และเนื้อหมักต่างๆ หากคุณรับประทานเนื้อแดงหรือเนื้อสำเร็จรูปมากกว่า 90 กรัมในแต่ละวัน แนะนำให้ลดปริมาณการบริโภคลงให้เหลือเพียง 70 กรัมต่อวัน

อาหารประเภทเมล็ดถั่วและธัญพืช

เมล็ดถั่วและธัญพืชเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำและดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นอาหารประเภทโปรตีนที่มีราคาถูก สามารถหาซื้อมาบริโภคได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดถั่วต่างๆ ถั่วลูกไก่ ถั่วเลนทิล และถั่วลันเตา เป็นต้น

ปลา

เราสามารถเลือกซื้อปลามาบริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็นปลาสด ปลาแช่แข็ง หรือปลากระป๋อง แต่ทว่าปลาที่มาในรูปแบบของปลากระป๋องหรือปลารมควันมักมีส่วนประกอบของเกลือหรือโซเดียมสูง เพื่อสุขภาพที่ดีแนะนำให้

รับประทานปลาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยกำหนดให้ 1 มื้อมีปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมกเคอเรล ปลาซาร์ดีน หรือปลาทูน่าสด เป็นต้น

ไข่

ไข่มีสารอาหารต่างๆ ดังนี้

ไข่ต้ม ไข่กวน หรือไข่ลวก ที่ไม่มีการปรุงโดยใช้น้ำมันต่างดีต่อสุขภาพมากกว่าการปรุงด้วยน้ำมันหรือการทอด แนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้เกลือ เนย หรือชีส ร่วมกับการทานไข่

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมและผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้บริโภคนม

ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมต่างๆ ดังนี้ นมสด ชีส โยเกิร์ต โยเกิร์ตชีส (fromage frais) โยเกิร์ตเปรี้ยว (quark) และครีมชีส รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่นๆ ที่อาจไม่ได้มีส่วนประกอบของนม เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมถั่วเหลืองหรือนมถั่ว ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีน วิตามิน และแคลเซียม ที่มีประโยชน์และดีต่อกระดูกและฟัน เมื่อต้องเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ แนะนำให้ซื้อแบบไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลหรือมีการเติมสารแคลเซียม 

ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมหรือผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่นๆ 

เราจำเป็นต้องวางเป้าหมายการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมให้มีความหลากหลาย เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางชนิดอย่างชีสหรือโยเกิร์ตแต่งรสแต่งกลิ่นนั้นมีปริมาณไขมัน น้ำตาล และเกลือสูง ดังนั้นเราควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล และเกลือต่ำ

นมกึ่งพร่องมันเนย นมพร่องมันเนย หรือนมไขมันต่ำจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่านมไขมันเต็มสัดส่วน ซึ่งยังคงมีปริมาณแคลเซียมและโปรตีนเช่นเดิม นอกจากนี้ โยเกิร์ตไขมันต่ำและโยเกิร์ตชีส (fromage frais) ก็มีปริมาณไขมันต่ำกว่าโยเกิร์ตไขมันเต็มสัดส่วนเช่นกัน อย่างไรก็ตามอย่าลืมอ่านฉลากบริโภคเพื่อพิจารณาปริมาณน้ำตาลด้วย

ปริมาณการบริโภคต่อครั้ง 

ยกตัวอย่างปริมาณที่ควรบริโภคต่อครั้ง:

  • นม 1 แก้ว (200 มล.)
  • โยเกิร์ต 1 ถ้วย (125 มล.)
  • ชีสขนาดประมาณกล่องไม้ขีดไฟ (25 กรัม)

ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันและผลิตภัณฑ์ทาขนมปัง

แนะนำให้บริโภคอาหารประเภทนี้ในปริมาณที่จำกัด นั่นเพราะอาหารเหล่านี้มีไขมันสูงมาก แม้ไขมันบางชนิดมีความจำเป็นต่อร่างกาย แต่การบริโภคในปริมาณที่มากเกินไปนั้นไม่เป็นผลดี

ไขมันอิ่มตัว 

ไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์จะส่งผลให้มีปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้นได้ และปริมาณคอเลสเตอรอลที่มากเกินไปนั้นอาจเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงต่างๆ ได้ ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองด้วย ซึ่งไขมันอิ่มตัวพบมากใน...

  • เนยและน้ำมันเนย
  • มาการีนและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหรือไขมันไฮโดรเจน
  • น้ำมันหมู
  • มันของเนื้อสัตว์
  • น้ำมันปาล์ม
  • น้ำมันมะพร้าว

หากจำเป็นต้องบริโภคไขมันอิ่มตัวเหล่านี้ แนะนำให้ใช้ในปริมาณน้อย

ไขมันไม่อิ่มตัว 

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวให้กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายและสามารถช่วยปรับระดับคอเลสเตอรอลให้เหมาะสมต่อร่างกายได้ เรียกได้ว่าเป็นไขมันชนิดดีนั่นเอง ไขมันไม่อิ่มตัวส่วนใหญ่ได้มาจากพืช โดยพบมากใน...

  • มะกอก พืชตระกูลกะหล่ำ ข้าวโพด และน้ำมันหรือผลิตภัณฑ์ทาขนมปังที่ได้จากงา
  • น้ำมันหรือผลิตภัณฑ์ทาขนมปังที่ได้จากถั่ว

ผลิตภัณฑ์ทาขนมปังที่มีไขมันต่ำถือเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้เนยเป็นการลดการบริโภคไขมันอิ่มตัวได้

ปริมาณการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันและผลิตภัณฑ์ทาขนมปัง 

เนื่องจากไขมันจากน้ำมันและผลิตภัณฑ์ทาขนมปังนั้นเป็นสาเหตุทำให้มีปริมาณคอเลสเตอรอลเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องบริโภคในปริมาณน้อยเพื่อสุขภาพที่ดี โดยมีแนวทางการบริโภค ดังนี้

  • สำหรับผู้ชาย ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 30 กรัมต่อวัน
  • สำหรับผู้หญิง ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวไม่เกิน 20 กรัมต่อวัน

น้ำดื่มและเครื่องดื่มต่างๆ 

การดื่มน้ำปริมาณมากเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายเพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและทำงานได้อย่างปกติ

ปริมาณการดื่มน้ำและเครื่องดื่มต่างๆ 

เราควรตั้งเป้าหมายการดื่มน้ำให้ได้ 6 – 8 แก้วในแต่ละวัน โดยเป็นน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มต่างๆ ดังนี้

  • น้ำเปล่า
  • น้ำหวานหรือน้ำอัดลม แนะนำให้เลือกดื่มแบบไม่มีน้ำตาล
  • นมสดไขมันต่ำ
  • ชาหรือกาแฟ ซึ่งกาแฟบางชนิดอาจมีปริมาณไขมันและน้ำตามสูง เช่น ลาเต้หรือมอคค่า เป็นต้น
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • น้ำผลไม้หรือสมูทตี้ แนะนำให้ดื่มไม่เกิน 150 มล.ต่อวัน

ระหว่างการออกกำลังกายหรือช่วงที่มีสภาพอากาศร้อน เราอาจต้องดื่มน้ำมากกว่าปกติเพื่อป้องกันไม่ไห้ร่างกายขาดน้ำ

น้ำผลไม้และน้ำผลไม้ปั่นหรือสมูทตี้ 

น้ำผลไม้และสมูทตี้เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุ อย่างไรก็ตามไม่ควรดื่มเกิน 150 มล.ต่อวัน เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้มีปริมาณน้ำตาลสูง เพราะหากดื่มมากกว่านี้จะทำให้เราได้รับน้ำตาลมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ

เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง 

เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ให้ปริมาณพลังงานแคลอรี่สูงและมีสารอาหารที่มีประโยชน์น้อย
  • เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการมีน้ำตาลส่วนเกินหรือมีน้ำหนักเกินในเด็กและผู้ใหญ่

หากต้องการควบคุมน้ำหนัก แนะนำให้เปลี่ยนการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาเป็นการดื่มน้ำเปล่า เครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล หรือไม่เติมน้ำตาลเพิ่มลงในเครื่องดื่มใดๆ จะดีต่อสุขภาพมากกว่า

เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน

เครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมบางประเภท รวมทั้งเครื่องดื่มชูกำลัง ต่างส่งผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะทำให้เรารู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นจึงทำให้เกิดการสูญเสียน้ำมากกว่าปกติได้ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะร่างกายขาดน้ำ แนะนำให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติเพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีปริมาณแคลอรี่จำนวนมากซึ่งอาจส่งผลเสียต่อร่างกายหากดื่มในปริมาณมากและบ่อยครั้ง โดยปริมาณของแคลอรี่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

  • ประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ปริมาณที่ดื่มเข้าไปในร่างกาย

ประเภทของเครื่องดื่มที่นำมาผสม

ตัวอย่างปริมาณแคลอรี่ที่มีอยู่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิด

  • เบียร์ 1 ไพนต์หรือประมาณ 473 มล.ที่มีแอลกอฮอล์ 5% มีปริมาณแคลอรี่ 182 กิโลแคลอรี่และมีปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 2.3 ยูนิต
  • สุรากลั่น (spirits) 1 ช๊อต ขนาด 25 มล.ที่มีแอลกอฮอล์ 40% มีปริมาณแคลอรี่ 61 กิโลแคลอรี่และมีปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 1 ยูนิต
  • ไวน์ 1 แก้วขนาดกลางหรือประมาณ 175 มล.ที่มีแอลกอฮอล์ 13% มีปริมาณแคลอรี่ 159 กิโลแคลอรี่และมีปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 2.3 ยูนิต
  • Alcopop หรือพวกเหล้าอัดลมซ่าๆ 1 ขวดหรือประมาณ 275 มล.ที่มีแอลกอฮอล์ 4% มีปริมาณแคลอรี่ 170 กิโลแคลอรี่และมีปริมาณความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ที่ 1.1 ยูนิต

อย่างไรก็ตาม แนะนำให้จำกัดปริมาณการดื่มเอลกอฮอล์อยู่ที่ไม่เกิน 14 ยูนิตต่อสัปดาห์จึงจะเป็นปริมาณที่พอเหมาะและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

อาหารที่มีไขมัน เกลือ และน้ำตาลในปริมาณสูง 

อาหารที่มีไขมัน เกลือ หรือน้ำตาลในปริมาณสูง และมีสารอาหารน้อย จัดให้อยู่ในพวก 'discretionary foods' หรืออาหารที่ให้พลังงานและสารอาหารต่ำที่ไม่ได้จัดอยู่ในหมวดอาหารจานหลัก เช่น

  • ช๊อกโกแลตและขนมหวาน
  • ขนมกรุบกรอบ
  • เค้ก ขนมปังกรอบ และขนมอบ
  • เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล

ซึ่งเราสามารถทานอาหารประเภทนี้ได้เป็นครั้งคราวในปริมาณที่น้อยเพื่อการควบคุมน้ำหนักและเพื่อสุขภาพที่ดี อย่างไรก็ตามพบว่าหลายคนทานอาหารประเภทนี้ในปริมาณที่มากและบ่อยเกินไปจนอาจส่งผลต่อการมีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน มีภาวะเสี่ยงต่อการมีความดันโลหิตสูง และฟันผุ

ฉลากโภชนาการ 

มีอาหารบรรจุเสร็จจำนวนมากที่ปรากฏฉลากโภชนาการอยู่ด้านหน้าบรรจุภัณฑ์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปริมาณสารอาหารที่ผู้บริโภคจะได้รับ และฉลากโภชนาการสามารถช่วยให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้นและสามารถเลือกอาหารที่ให้พลังงานต่ำ มีปริมาณไขมัน ไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และเกลือน้อย อย่างในต่างประเทศ ระดับสีของฉลากโภชนาการถูกนำมาใช้เพื่อให้ผู้บริโภคสังเกตได้ง่ายขึ้นว่าผลิตภัณฑ์ชนิดใดให้สารอาหารระดับน้อย ปานกลาง หรือมาก เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารอาหารมากฉลากจะมีสีเขียว ส่วนผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารอาหารน้อยฉลากจะมีสีแดง เป็นต้น





9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Healthy diet. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/behealthy/healthy-diet)
8 tips for healthy eating. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/eight-tips-for-healthy-eating/)
How to eat a balanced diet: A guide. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324093)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป